การเรียนรู้กับจิตใต้สำนึก(๑)


ทำไมเด็ก...(นักเรียน).... มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว

       วันนี้เราเห็นว่าทำไมเด็กของเราถึงก้าวร้าว ก็เพราะว่าเราใส่ข้อมูลที่ไม่ดีในจิตใต้สำนึกของเด็ก เมื่อประมาณ ๔-๕ ปีที่แล้ว มีโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เด็กถือปืนกลอัตโนมัติเข้าไปในโรงเรียน ยิงกราดใส่เพื่อนตายไป ๑๑ คนและยิงครูตายไปอีก ๒ คน และหลังจากนั้นไม่กี่เดือน มีเด็กอายุ ๖ ขวบ ถือปืนพกเข้าไปในโรงเรียน และยิงเพื่อนอายุ ๖ ขวบตายเขาช็อคกันหมด เด็กอายุ ๖ ขวบไปฆ่าคนได้ยังไง เลยทำการศึกษากันใหญ่ และเจอว่าในสหรัฐฯในช่วงเวลา ๑ ปี โดยเฉลี่ยสำหรับเด็กทุกคนในสหรัฐฯ จะเห็นฆาตกรรมในบ้านของตัวเอง๑๕,๐๐๐ ครั้ง น่ากลัวมาก ถ้าเด็กของเราเห็นอย่างนี้ เราก็คงจะมีความก้าวร้าว ฆ่ากันเป็นว่าเล่นเหมือนกัน เขาเห็นผ่านสื่อโทรทัศน์ วิดีโอ คอมพิวเตอร์เกมส์ เราเห็นเขาฆ่ากันเป็นว่าเล่น พวกเราเป็นผู้ปกครอง เราไม่ยอม แต่สมัยนี้เรายอมทุกอย่าง เด็กก็จ้องมองโทรทัศน์ และวิธีการจ้องของเขาไม่เหมือนปกติ (เขาทำหน้าเหม่อๆ) เปิดรับทุกอย่างเข้ามาหมด ไม่มีการคิด ไม่มีการวิเคราะห์ ไม่มีการคิดว่าอันนี้ดีสำหรับเรา ดีสำหรับทุกคนไหม ไม่คิด รับๆๆเข้ามา และมันก็ฝังลงไปในจิตใต้สำนึก และมันก็ออกมาใช้ในการตีความ ถึงเวลาก็เกิดความรุนแรง เกิดการฆ่ากันเป็นว่าเล่นได้เหมือนกัน และถ้าเราดูเด็กของเรา เด็กไทยสมัยนี้ โดยเฉลี่ยก็จะดูโทรทัศน์ประมาณ๔ ชั่วโมงต่อวัน และถ้าเราให้เขาเปิดดูช่องบางช่องที่มีภาพยนตร์ต่างประเทศ เช่น HBO Cinemaxลองเปิดดู ๔ ชั่วโมง และนับจำนวนครั้งที่คนฆ่ากัน ยิงกัน ทำร้ายกัน เราจะเห็นว่าโดยเฉลี่ยประมาณ ๖๐ ครั้ง ใน ๔ ชั่วโมง และถ้าเด็กดูอย่างนี้ทุกวัน คูณด้วย ๓๖๕ มันก็จะเหมือนกับสหรัฐฯ แล้วคือ ๑๕,๐๐๐ กว่าครั้งโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี น่ากลัวมาก สังคมของเราจะเป็นอย่างไร เพราะเรากำลังฝังสิ่งที่ไม่ดีอยู่ในจิตใต้สำนึกของเด็ก ดูศัตรูของเรา มันอยู่ในตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่ไหน ความโกรธความโลภ ความหลง ความอิจฉาริษยา การยึดมั่นถือตน ความอาฆาตพยาบาท ความกลัวความวิตกกังวล ล้วนแต่อยู่ในใจของเรา แต่มันก็โชคดีที่มันอยู่ในตัวเรา เพราะถ้ามันอยู่ข้างนอกเราเปลี่ยนมันไม่ได้ เราแก้ไขไม่ได้ แต่ถ้ามันอยู่ในตัวเรา เราจัดการกับมันได้ ในโรงเรียนของเราเราก็จัดการได้ ในบ้านของเรา ผู้ปกครองก็จัดการได้ เพราะเรารู้ว่าศัตรูที่แท้จริงของมนุษย์มันอยู่ในตัวเรา

ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธนา

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 158702เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท