สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

การผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยน้ำหมักสมุนไพร


ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยน้ำหมักสมุนไพร

วันที่ 12 กรกฏาคม 2550 หมู่ที่ 7 ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ ****************************

              ฝึกปฎิบัติการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยน้ำหมักสมุนไพร   กิจกรรมนี้ ดำเนินกิจกรรม โดย นายเสนีย์ ศรีปราชญ์ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพลายวาส ได้เชิญผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้  เข้ามาดูใกล้ๆ   โดยเป็นกิจกรรมที่จะต้องร่วมมือกันปฏิบัติกันทุกคน และได้แนะนำสมุนไพร จำนวน 15 ชนิด    ให้แก่ผู้เข้าร่วมได้รู้จักกันดังนี้ หนอนตายหยาก มะขามเปียก บรเพชร  พริกไทยสดหรือแห้ง   ฟ้าทะลายโจร   ขมิ้นพริกขี้หนูเขียวแดง   หางไหล   ข่า   ตะไคร้หอม หญ้าใต้ใบ   ผักคราด  ใบสะเดา   (อายุ 10ปี ขึ้นไป) ใบกะเพรา และใบหรือเปลือกยูคาลิปตัส พร้อมทั้งย้ำว่าหากท่านใดยังไม่รู้จักให้เข้ามาดูใกล้ๆ พร้อมทั้งได้แนะนำ

วัสดุสำหรับการผลิต ได้แก่

1. สมุนไพรดังกล่าว จำนวน อย่างละ 2 กิโลกรัม รวม 30 กก.

2. กากน้ำตาล จำนวน 10 กิโลกรัม

3. น้ำ จำนวน 30 ลิตร

4. สารเร่ง พด.7 จำนวน 1 ซอง

5. ถังหมักขนาด 100 ลิตร จำนวน 1 ถังพร้อมฝาปิด

              และได้เชิญผู้เข้าร่วมเรียนรู้ร่วมกันทำ โดยนำสมุนไพรทั้ง 15 ชนิดมาทำการสับ และ บดด้วยเครื่องปั่นผลไม้ ให้ละเอียดตามความเหมาะสมของแต่ละชนิดสมุนไพร   หลังจากสมุนไพรละเอียดแล้วนำมาคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล  จำนวน 10 กิโลกรัม   ในถังหมักที่เตรียมไว้ ทำการละลายสารเร่ง พด.7 (ขนาด 25 กรัม)  จำนวน 1 ซอง    ด้วยน้ำ 30 ลิตร นาน 5 นาที    แล้วเทลงกวนกับสมุนไพรให้เข้ากัน แล้วปิดฝาโดยให้อากาศเข้าออกได้    นำไปเก็บในที่ร่มเป็นเวลา 25-30วัน จึงสามารถนำมาใช้ได้ และควรมีการพลิก หรือกวนทุกๆ 5-7 วัน เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น

วิธีการใช้ ใช้ในการขับไล่แมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะพืชผักและผลไม้ อัตรา 4-8 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ20 ลิตรฉีดพ่นก่อนค่ำ  ถ้าฝนตกติดต่อกันควรมีการใช้ให้บ่อยครั้ง   ถ้าฝนไม่ตก ใช้ 3-4 ครั้งต่อเดือน 

             สำหรับการเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ไม่ควรถูกแสงแดดและฝน

นายสิทธิชัย ช่วยสงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 4                                                       สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ โทรศัพท์ 089-9633078

หมายเลขบันทึก: 158272เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

* หวัดดีปีใหม่นะน้อง

* เยี่ยมมากครับ การใช้วิธีการทางชีวภาพปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้บริโภคครับ

หวัดดีครับ

  • ขยายผลไปสู่ กลุ่มข้างเคียงบ้างหรือยังครับ

 

หวัดดีค่ะ

* ได้อ่านแล้วเยี่ยมมากๆๆ

* อยากทราบว่าทำไมช่วงที่ฝนตกติดต่อกันจึงแนะนำให้ใช้บ่อยครั้ง

* เคยอ่านในเอกสารคำแนะนำของศูนย์บริหารศัตรูพืชฯ เขาแนะนำว่าช่วงฝนตกติดต่อกันไม่ควรฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพเพราะจะทำให้สภาพเหมาะสมต่อการเกิดเชื้อรา  ในกรณีของสารไล่แมลงไม่แน่ใจว่าเกี่ยวด้วยหรือเปล่า

*ขอคำแนะนำด้วยนะค่ะ ตอนนี้โรงเรียนเกษตรผักมีการส่งเสริมให้ใช้สารไล่แมลงเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท