ERP as I know


Create by Pandev
ERP


             ในโลกปัจจุบันนี้ การที่แต่ละส่วนงานหรือแต่ละฝ่ายขององค์กรต่างทำงานกันเป็นเอกเทศโดยที่ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันแล้ว นอกจากจะทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่น่าจะเกิดแล้ว โอกาสที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่เพียงแต่คู่แข่งภายในประเทศเพียงเท่านั้น องค์กรจะต้องหาทางรับมือโดยการนำเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง
มาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
                การเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละส่วนงานหรือแต่ละฝ่ายขององค์กรนั้น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงคือ โปรแกรมทางด้านการวางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือเรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) คำว่า ERP นี้ความหมายทางทฤษฎีคือ เป็นการรวบรวมกระบวนการทางธุรกิจ  ตลอดจนเชื่อมโยงโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ของแต่ละส่วนงานเข้าเป็นระดับองค์กรโดยมีข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพียงแห่งเดียว เป้าหมายของ ERP เพื่อรวบรวมแง่มุมทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) เชื่อมโยงข้ามส่วนงานต่างๆ เพื่อให้การใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการแบ่งปันเครื่องมือในการสร้างรายงานแก่ระดับบริหาร มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกันและสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้ ประโยชน์ที่ได้รับคือ กำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ลดการบำรุงรักษาระบบ ลดโอกาสที่ข้อมูลไม่ถูกต้องลง และลดแหล่งจัดเก็บข้อมูล
            ดังนั้น ERP จึงเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลและกระบวนการทางธุรกิจ โดยที่จะต้องมีข้อมูลมาจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการกระบวนการมาตรฐานร่วมกัน และสนับสนุนการทำงานข้ามสายงานกัน ประโยชน์ของ ERP ที่สามารถวัดได้คือ ลดสินค้าคงคลัง ลดบุคลากร เพิ่มผลิตภาพ ปรับปรุงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ลดต้นทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ลดต้นทุนการจัดซื้อ ปรับปรุงการบริหารกระแสเงินสด เพิ่มรายได้และกำไร ลดต้นทุนการขนส่ง ลดการบำรุงรักษา และปรับปรุงการส่งสินค้าให้ตรงเวลา ส่วนประโยชน์ที่วัดไม่ได้คือ เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้ ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า การลดลงของต้นทุนอื่นๆ ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ เพิ่มความสะดวกคล่องตัว และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นต้น
                ข้อจำกัดของ ERP จะเป็นเรื่องค่าโปรแกรม ERP ที่จะมีราคาค่อนข้างสูงมาก รวมถึงค่าที่ปรึกษาสำหรับการติดตั้งโปรแกรมด้วย การที่แต่ละองค์กรจะเลือกใช้โปรแกรม ERP ไหนนั้นควรจะคำนึงถึงในเรื่องของความเหมาะสมของโปรแกรมว่ารองรับกับการทำงานได้มากน้อยขนาดไหน องค์กรจะต้องปรับตัวเข้ากับการทำงานของโปรแกรมหรือไม่ และองค์กรสามารถจ่ายค่าโปรแกรมและค่าที่ปรึกษาได้หรือไม่
            มีผู้พัฒนาโปรแกรม ERP อยู่หลายราย โดยบริษัทที่ริเริ่มทำโปรแกรมนี้คือ SAP นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งที่สำคัญคือ PeopleSoft, J.D. Edwards, Oracle และ Baan
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15801เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท