ERP


Enterprise Resource Planning (ERP)
การพัฒนาคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เริ่มแรกคอมพิวเตอร์ยุคแรกนั้นถูกสร้างขึ้นในปี 1944 โดยมีขนาดใหญ่ ราคาแพง และความจุน้อย ถัดมาก็มีคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจยุคแรกที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งคอมพิวเตอร์เมนเฟรมจะเหมาะสำหรับการทำงานที่เป็นลำดับหรืองานกระบวนการทางข้อมูลที่ซ้ำๆ กัน ต่อมาก็เริ่มมีคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ราคาที่ถูกลงและเร็วกว่า ไม่นานก็เกิดชิฟคอมพิวเตอร์หรือว่าไมโครโปรเซสเซอร์ขึ้น และถูกทำให้สมบูรณ์ในทางธุรกิจเมื่อ IBM ได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือว่า PC ในปี 1981 โดยเพิ่มความสามารถและราคาที่ลดลง
ขอบเขตหน้าที่ของการปฏิบัติงาน จะประกอบด้วยงานบริหารด้านต่างๆ ดังนี้ คือฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย (มีหน้าที่ทางการตลาด การขาย ดูแลลูกค้า ประเมินการขายฯ), ฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดการทรัพยากร (มีหน้าที่ทางด้านการจัดซื้อ การขนย้าย การผลิต การวางแผนซ่อมบำรุงฯ), ฝ่ายบัญชีและฝ่ายการเงิน (มีหน้าที่ทางด้านบัญชี การเงิน การจัดสรรและควบคุมราคา วางแผนด้านงบประมาณฯ), ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (มีหน้าที่ทางด้านการว่าจ้าง การฝึกสอนฯ)
            กระบวนการทางธุรกิจ เกิดจากการทำงานของแต่ละฝ่ายทุกๆ ฝ่ายมารวมกัน โดยที่แต่ละฝ่ายนั้นจะต้องพึ่งพาอาศัยข้อมูลของฝ่ายอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใดๆ ก็ตาม ดังนั้นจึงเกิดซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า ERP เกิดขึ้น
ERP เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและการวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงาน ข้อมูลต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากในช่วงปี 1960 และ 1970 มีการพัฒนาการขึ้นจากระบบการติดตามรายการสินค้าอย่างง่ายไปยังซอฟท์แวร์ Materials Requirement Planning หรือ MRP โดยหน้าที่พื้นฐานของ MRP จะใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมในการจัดลำดับไฟล์ และต่อมาได้มีการพัฒนา MRP ไปเป็น MRP 2 และได้ถูกพัฒนาต่อมาเป็น ERPต่อมาบริษัท SAP เริ่มการพัฒนาเวอร์ชันการประสานงานกันของผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ เรียกว่าระบบ R/2 เพื่อเพิ่มความสามารถในการติดตามของซอฟท์แวร์ และในปี  1988  SAP  ก็การพัฒนาระบบ  R/3  และถูกจำหน่ายในปี  1992โดยปี 2000 SAP AG มีลูกจ้าง 22,000 คนใน 50 ประเทศและ 10 ล้านผู้ใช้ และมีคู่แข่งหลักในตลาด ERP คือ PeopleSoft, J.D. Edwards, Oracle และ Baan
ประโยชน์ของ ERP คือ
1. ช่วยรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมของฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารได้
2. ERP จะทำให้บริษัทดำเนินการต่างๆ ได้ง่ายรวมถึงการสื่อสารกันระหว่างภายใน และยังสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินงานได้ ซึ่งจะเป็นการประสานกันระหว่างกระบวนการ
3. สร้างมาตรฐานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการผลิต ซึ่งบริษัทผู้ผลิตที่ใช้ระบบต่างๆ กันสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกันได้ โดยที่ ERP ได้เข้ามาช่วยสร้างมาตรฐานดังกล่าวในกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดียว ทำให้ประหยัดเวลา เพิ่มผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุนต่อหน่วยได้เป็นอย่างดี
4. ลดภาระด้านสินค้าคงคลัง ERP จะช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นและยังเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ด้วยยอดการสั่งซื้อที่เป็นจริง ทำให้ช่วยลดสินค้าคงคลังได้ และยังช่วยในการวางแผนในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าซึ่งจะช่วยลดสินค้าขั้นสุดท้ายในระบบคงคลังของการขนส่งได้เป็นอยางดี
5. ช่วยจัดและสร้างระบบมาตรฐานในเรื่องข้อมูลทางด้านบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่ง ERP จะสามารถขจัดปัญหาการสื่อสารเรื่องผลประโยชน์และบริหารไปยังพนักงานทุกคนได้
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15779เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท