สื่อการสอน


สื่อคณิตศาสตร์
สื่อคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาสติปัญญา ที่มาของปัญหา ความต้องการ  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับปฐมวัย การใช้สื่อเป็นสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนรู้  เพราะสื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ  ในการเรียนการสอนสื่อเป็นตัวกลางนำความรู้จากผู้สอนสู่เด็ก  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง  ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าใจยากกลายเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้ง่าย  รวดเร็ว  เพลิดเพลิน  เกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   .. 2542  การจัดการศึกษา   ขั้นพื้นฐานเริ่มต้นที่ช่วงชั้นปฐมวัย  ถ้าเด็กปฐมวัยเป็นเด็กฉลาด  มีปฏิภาณไหวพริบดี  เป็นคนช่างสังเกตรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลในอนาคตก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ฉลาดมีความสามารถในการตัดสินปัญหาและแก้ปัญหาต่าง ๆ  ได้โดยถูกต้องมีเหตุมีผล  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการมุ่งเตรียมความพร้อมให้เด็กเรียนในระดับประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นเด็กฉลาด  เป็นเด็กช่างสังเกต  รู้จักคิด  และแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล  การส่งเสริมให้เด็กรู้จักการคิดอย่างฉลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  เพราะจะช่วยให้เด็กเข้าใจเหตุผลสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้  เด็กฉลาด  คือ เด็กที่มีความสามารถในการคิดสรุปเรื่องราวได้อย่างสมเหตุสมผล  สามารถแก้ปัญหาได้โดยอาศัยประสบการณ์ในอดีตและนำหลักเกณฑ์ไปใช้ในระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถูกต้อง  การฝึกให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปลูกฝังให้มีขึ้นตั้งแต่เด็ก เด็กอายุ 3 – 5   ปี  เริ่มคิดหาเหตุผล ได้บ้างแล้ว  แต่ยังเป็นเหตุผลที่ได้จากการสังเกตและการรับรู้   ถ้าผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการสังเกต   ฝึกการคิดเชิงเหตุผลจะช่วยพัฒนาสติปัญญาของเด็กให้พัฒนาขึ้นได้อย่างรวดเร็ว   ทางโรงเรียนบ้านบ่อตาโล่  เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาช่วงชั้นปฐมวัย  โดยผู้รับผิดชอบด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย  ได้จัดทำโครงการการผลิตสื่อการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย  ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป นวัตกรรมนี้ได้ประยุกต์จากที่มีอยู่แล้วเป็นแนวทางในการสร้างสื่อการเรียนการสอนสำหรับครู  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะทางด้านสติปัญญาและส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นแนวคิด หรือทฤษฎี  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดเชิงเหตุผล                        เปียเจท์ (Piaget)  กล่าวว่า  การคิดอย่างมีเหตุผลนั้น  มีพัฒนาการมาเป็นขั้น ๆ โดยที่เด็ก ๆ  จะยังคิดอย่างมีเหตุผลไม่ได้  ต่อเมื่อมีอายุประมาณ  11 – 12  ปี  จึงจะคิดอย่างมีเหตุผล  รู้จักคิดถึงสาเหตุและผลที่ตามมา  สามารถที่จะคิดแบบตั้งสมมุติฐานได้ ( Hypotheco – deductive  thinking )                        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา และความคิดเชิงเหตุผล  เป็นทฤษฎีที่แพร่หลายที่สุดในปัจจุบันซึ่งเปียเจท์ (Piaget)  ได้ศึกษาถึงกระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาและการรับรู้ของเด็กจากแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น เขาได้กระตุ้นให้คนสนใจกับขั้นตอนของการพัฒนาการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ   เปียเจท์มีความเชื่อว่า เป้าหมายของพัฒนาการ คือ1.      ความสามารถที่จะคิดอย่างมีเหตุผลกับสิ่งที่เป็นนามธรรม2.      ความสามารถที่จะคิดสมมุติฐานอย่างสมเหตุสมผล3.      ความสามารถที่จะตั้งกฎเกณฑ์และการแก้ปัญหา    เปียเจท์  ได้แบ่งการพัฒนาทางสติปัญญา  และความรู้ความเข้าใจออกเป็นลำดับขั้นต่าง ๆ  4 ลำดับขั้น แต่ละลำดับขั้นประกอบด้วยการปรับเข้าโครงสร้างและการปรับขยายโครงสร้างอย่างสมดุลจนกระทั่งเกิดโครงสร้างของสมองที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ละดับขั้น การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในแต่ละลำดับขั้นอธิบายโดยละเอียดได้ดังต่อไปนี้        1.  ขั้นประสาทสัมผัส ( The  Sensorimotor  stage )  อายุแรกเกิด ถึง 2 ขวบ  ในช่วงสองขวบแรกเด็กทารกยังไม่สามารถบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองคิดออกมาเป็นคำพูดได้โดยสมบูรณ์ การคิดของเด็กจึงสังเกตได้จากการรับรู้  โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้า  และตอบโต้ออกไปโดยใช้อวัยวะเคลื่อนไหวทั้งหลาย  ขั้นประสาทสัมผัสนี้  เปียเจท์แบ่งเป็นขั้นย่อย ถึง  6  ขั้น                        ระยะแรก  ( 0 1 เดือน )  การตอบโต้ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นไปโดยธรรมชาติโดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้  คือตอบโต้แบบปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflexes)  การดูด  การร้อง  การหายใจ  การปัสสาวะ  การอุจจาระ  การเคลื่อนไหวร่างกายล้วนเป็นไปโดยไม่ต้องเรียนรู้ทั้งสิ้น                        ระยะที่สอง  ( 1 4 เดือน )  เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น  และเริ่มมี  การปรับตัวโดยใช้การปรับเข้าโครงสร้างและการปรับขยายโครงสร้าง  เด็กเริ่มมีการทำกิจกรรมซ้ำ ๆ  เช่น  กำมือ  ทำบางอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยความพอใจ  เปียเจท์ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ  ของเด็กไม่จำเป็นจะต้องมีสิ่งแวดล้อมภายนอกมากระตุ้นเด็ก  การพัฒนาความรู้ความคิดของเด็กสามารถเกิดขึ้นจากการค้นพบของเด็กเอง                        ระยะที่สาม ( 4 – 8  เดือน )  เด็กเริ่มสามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว   การกระทำบางอย่างของเด็กเป็นไปอย่างรู้ตัวและมีความตั้งใจมากขึ้น  เด็กจะทำกิจกรรมของตนซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยความพอใจ  ในขั้นที่สองเด็กมีการเคลื่อนไหวโดยมิได้หวังให้เกิดผลต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการเคลื่อนไหวตามความพึงพอใจของตนเท่านั้น  ส่วนในขั้นที่สามการเคลื่อนไหวของเด็กเริ่มเกี่ยวโยงกับสิ่งแวดล้อมเด็กทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะเกิดผลบางอย่างต่อสิ่งแวดล้อม  เช่น  เด็กเอื้อมมือขึ้นตีกระดิ่งที่แขวนบนเปล  เมื่อปรากฏเสียงเด็กจึงเอื้อมมือขึ้นตีอีก  เพราะสนุกกับเสียงกระดิ่ง  การตีเป็นไปโดยความตั้งใจ  มิใช่เพราะบังเอิญ                        ระยะที่สี่  ( 8 – 12  เดือน )  ขั้นนี้เริ่มมองเห็นการพัฒนาของสติปัญญาได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น  เด็กเริ่มค้นหาสิ่งที่เคยปรากฏ  แก่สายตาตนเองแล้วหายไป  นั่นคือเริ่มทราบว่าสิ่งต่าง ๆ  มีตัวตน  ก่อนหน้านี้ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ไปจากสายตาจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง  เด็กจะรับรู้ว่าวัตถุที่ปรากฏอีกที่หนึ่งนั้นเป็นวัตถุใหม่คนละชิ้นกับวัตถุเดิม  ทั้ง ๆ  ที่การจับวัตถุให้เคลื่อนที่นั้นอยู่ในสายตาของเด็กตลอดเวลาก็ตามจากขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ  มีตัวตนนั้น  เป็นการที่เด็กเริ่มเรียนรู้และเข้าใจถึงสาเหตุและผลด้วย  คือเด็กรู้จักทำนายผลที่เกิดขึ้นนั่นเอง  สิ่งที่ปรากฏตามมาก็คือ  เด็กสามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้  พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมายิ่งมองเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ทำไปโดยมีความตั้งใจอย่างเด่นชัดยิ่งขึ้น  นั่นคือ  มีการตั้งจุดมุ่งหมายและพยายามที่จะไปสู่จุดหมายนั้น  หรือพยายามทำอะไรให้สำเร็จนั่นเอง                        ระยะที่ห้า  ( 12 – 18  เดือน )  ในขั้น 1 – 4  เดือน  เด็กเริ่มมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ  เช่น  กำมือเพียงเพื่อการฝึกหัดของตน  เมื่ออายุ 4 – 8  เดือน  เด็กเริ่มมีความพึงพอใจในการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ  ของตน  และเลือกที่จะทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำ  เพราะพฤติกรรมนั้นทำให้เกิดผลที่ตนพึงพอใจในขั้นที่ห้านี้การทำพฤติกรรมซ้ำของเด็กมิใช่เป็นการซ้ำพฤติกรรมเดิมอีกแล้ว  แต่เป็นการทำเพื่อทดสอบดูผลแปลก ๆ  ใหม่ ๆ  ที่จะเกิดขึ้นในขั้นนี้เด็กเริ่มมีการทดลองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง  เปียเจท์  สังเกตจากพฤติกรรมที่ลูกชายของตน  บิขนมปังออก  1  ชิ้น  แล้วโยนลงไปที่พื้นแล้วเฝ้ามองด้วยความสนใจว่าขนมปังชิ้นนั้นวางอยู่ที่ไหน  เปียเจท์สังเกตว่ามิใช่เป็นการทำพฤติกรรมซ้ำเช่นเดียวกับขั้นต้น ๆ  แต่เป็นการทำเพื่อทดสอบว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อขนมปังหล่นลงไปบนพื้น  จากการทดลองของเด็กทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะเลือกกระทำเพื่อไปถึงจุดมุ่งหมายที่ตนต้องการ                        ระยะที่หก  ( 18 – 24  เดือน )  เป็นขั้นสุดท้ายในช่วงประสาทสัมผัสและอวัยวะเคลื่อนไหวพฤติกรรมที่เด็กกระทำไปด้วยความตั้งใจ  รู้ตัวและมิใช่ทำด้วยการลองผิดลองถูกอีกต่อไป  เด็กมีการนำสิ่งแวดล้อมมาผสมผสานกันด้วย  เช่น  เมื่อเด็กมองตุ๊กตาวางไว้สูงเกินเอื้อมและมองเห็นไม้วางอยู่อีกที่หนึ่ง  เด็กสามารถที่จะหยิบไม้มาเขี่ยตุ๊กตาตกลงมาได้  ในขั้นต้น ๆ  เด็กจะยังไม่สามารถนำสิ่งแวดล้อมมาผสมผสานกัน  ถ้ามีไม้อยู่ในมืออยู่แล้วเด็กจึงจะสามารถนำไม้นั้นไปเขี่ยตุ๊กตาได้  เด็กไม่สามารถวางแผนการณ์ล่วงหน้าในการที่จะหยิบไม้และนำไม้นั้นมาเขี่ยตุ๊กตา                        2.  ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล  (  The  Preoperation  Stage )  อยู่ในช่วงที่เด็กมีอายุประมาณ  2 – 7  ปี  เป็นช่วงที่เด็กสามารถคิดโดยใช้สมอง  แทนการทำความเข้าใจต่อสิ่งแวดล้อมและตนเองด้วยการใช้ประสามสัมผัสและการเคลื่อนไหวร่างกาย           ขั้นนี้แบ่งออกเป็นขั้นย่อย ๆ  สองขั้นคือ  ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล ( Preconceptual )   อายุประมาณ  2 – 4  ปี  และขั้นเริ่มคิดอย่างมีเหตุผล ( Intuitive )อายุประมาณ  4 – 7  ปี  ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผลเป็นขั้นที่เด็กยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลางเด็กจะใช้ตัวเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องต่าง ๆ  การแก้ปัญหาต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตนเอง  เมื่อเข้าสู่ขั้นเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นขั้นที่เริ่มเข้าสมาคมยิ่งขึ้น  และใช้ภาษาในการสัมพันธ์กับผู้อื่นเพิ่มขึ้น  การคิดของเด็กเริ่มใช้เหตุผลมากกว่าอาศัยการรับรู้ของตนเองภาษาเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาถึงขั้นนี้                        ในช่วงประสาทสัมผัสเมื่อเด็กเห็นสิ่งของเด็กจะพยายามเข้าไปหาและต้องการหยิบมากำไว้   ส่วนในขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผลนี้เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะคิดและร้องขอให้ผู้อื่นเอาของเล่นที่ต้องการให้แม้ของเล่นนั้นไม่ได้อยู่ในสายตาเลยก็ตาม เด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการและสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับโลกรอบตัวเด็ก                                                เปียเจท์  ได้ทำการทดลองกับเด็กเล็ก ๆ  เพื่อจะดูพัฒนาการทางสมองของเด็กโดยการนำดินเหนียวสองก้อนซึ่งมีเนื้อดินเท่ากันมาปั้นเป็นรูปลูกบอลให้เด็กดู  เด็กจะมองดินเหนียวสองก้อนและยอมรับว่า  ดินเหนียวสองก้อนนั้นมีขนาดเท่ากัน  เมื่อปั้นดินเหนียวก้อนหนึ่งให้เป็นรูปไส้กรอกแล้วถามเด็กว่าดินเหนียวทั้งสองก้อนนั้นมีเนื้อดินเท่ากันหรือไม่  เด็กที่ยังอยู่ในขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผลจะบอกว่าก้อนที่ปั้นเป็นรูปไส้กรอกมีเนื้อดินมากกว่าเพราะยาวกว่า  เมื่อก้อนดินเหนียวที่เป็นรูป ไส้กรอกถูกปั้นกลับเป็นรูปลูกบอล  ตามเดิมเด็กจะบอกว่าดินเหนียวทั้งสองก้อนมีเนื้อดินเท่ากัน                        3.  ขั้นคิดเชิงรูปธรรม ( The  Concrete Stage )  เป็นช่วงที่เด็กมีอายุประมาณ  7 – 11   ปี  การคิดของเด็กในวัยนี้จะพัฒนาสูงขึ้นโดยมีฐานมาจากการพัฒนาในขั้นก่อน ๆ  ในช่วงนี้เด็กสามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล   ความคิดของเด็กมิได้เกิดจากการรับรู้ของตนเหมือนขั้นก่อน  แต่เด็กสามารถที่จะคิดแบบรูปธรรมอย่างมีเหตุผลมากขึ้นเด็กสามารถใช้ความคิดแบบรูปธรรมจะไม่ยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลางในการคิด  แต่จะสามารถคิดอย่างมีเหตุผลกว้างขวางขึ้นโดยสามารถมองเห็นหรือเข้าใจความคิดของผู้อื่น  แต่ยังเป็นการคิดหรือแก้ปัญหาในสิ่งที่เป็นรูปธรรม  การแก้สมมุติฐานหรือปัญหาที่เป็นนามธรรมนั้นเด็กจะยังไม่สามารถทำได้ในขั้นนี้  การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในขั้นนี้ต่างจากขั้นก่อน ๆ  คือ สามารถนำความคิดรวบยอดที่มีอยู่เดิมมาทำการปฏิบัติการเชิงความคิด  นั่นคือสามารถที่จะแบ่งออกเป็นหมู่พวก  เป็นประเภทโดยเด็กจะสังเกตลักษณะความคล้ายคลึงของสิ่งที่พบแล้ว  จึงแบ่งออกเป็นพวก เช่น  พวกสีขาวจัดไว้ด้วยกัน  พวกสัตว์จัดไว้ด้วยกัน  พวกเครื่องมือจัดไว้ด้วยกัน  เป็นต้น  เด็กในขั้นนี้จะสามารถเข้าใจสังเกตเกี่ยวกับสิ่งของมวลสาร  ปริมาณ  ปริมาตรของสิ่งต่าง ๆ  เช่น  สามารถบอกได้ว่าดินเหนียวทั้งสองก้อนซึ่งมีเนื้อดินเท่ากันอยู่แล้วนั้นไม่ว่าปั้นเปลี่ยนรูปใดก็ตามก็จะยังมีเนื้อดินเหนียวเท่ากัน  หรือน้ำซึ่งเป็นของเหลวเมื่อรินใส่แก้วน้ำขนาดเดียวกันให้มีน้ำเท่ากันทั้งสองแก้ว  และมีการเทน้ำจากแก้วหนึ่งซึ่งเล็ก  และยาวกว่าหรือเทใส่แก้วรูปทรงอื่น ๆ  เด็กในขั้นคิดเชิงรูปธรรมนี้จะสามารถเกิดความเข้าใจ  และบอกได้ว่าน้ำในแก้วต่าง ๆ  นี้เท่ากัน  ถึงแม้จะเปลี่ยนใส่ภาชนะรูปแตกต่างกันไปก็ตาม                        4.ขั้นเชิงนามธรรม ( The  Formal Operational )อายุประมาณ  11 – 15  ปี  พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กจะเข้าสู่ขั้นสูงสุด  เด็กจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่สามารถคิดหาเหตุผลที่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ตนได้เห็น  สามารถสร้างความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งของที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้น  เช่น  สังเกตเกี่ยวกับความรัก  ความสนุกสนาน  ความจริง  ความยุติธรรม  สามารถที่จะคิดอย่างนักวิทยาศาสตร์  และตั้งสมมุติฐานในเรื่องต่าง ๆ  ขึ้นได้                        เธอร์สโตน ( Thurstone )  ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างทางสมอง  และค้นพบว่าสมองมนุษย์นั้นมีความสามารถที่แยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ  หลายกลุ่ม  แต่ละกลุ่มทำหน้าที่ต่างกัน  แต่บางกลุ่มทำหน้าที่รวมกัน  องค์ประกอบย่อยเหล่านี้  เธอร์สโตนให้ชื่อว่าความสามารถปฐมภูมิของสมอง  ซึ่งประกอบด้วยความสามารถของมนุษย์ที่สำคัญ  7  ประการ  คือ        1. องค์ประกอบทางภาษา ( Verbal  Factor )  องค์ประกอบนี้จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความสามารถด้านเข้าใจภาษา  การสื่อสารทั่วไป  การเข้าใจคำศัพท์  และการเลือกใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม        2. องค์ประกอบด้านความคล่องแคล่วในการใช้ถ้อยคำ ( Word  Fluency Factor)  เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำจำนวนมากในเวลาจำกัด  และความสามารถในการพูด        3.   องค์ประกอบด้านจำนวน ( Number Factor )  เป็นความสามารถเกี่ยวกับการเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนและปริมาณ  และความสามารถในการคิดคำนวณ        4.   องค์ประกอบด้านมิติสัมพันธ์ ( Space Factor )  เป็นความสามารถในการเข้าใจขนาดและมิติต่าง ๆ        5.   องค์ประกอบด้านความจำ  ( Memmory Factor )  เป็นความสามารถด้านความจำเรื่องราว  มีสติระลึกจนสามารถถ่ายทอดได้        6.   องค์ประกอบด้านการสังเกต พิจารณาหรือด้านสังเกตรับรู้  ( Perceptual  Speed  Factor )    เป็นความสามารถในการเห็นรายละเอียดต่าง ๆได้มากถูกต้องและรวดเร็ว      7.   องค์ประกอบด้านเหตุผล (Reasoning Factor) เป็นความสามารถด้านวิจารณญาณในการหาเหตุผล  ด้านการค้นหาความสัมพันธ์               พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย                ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยสิ่งที่ครูจะตระหนักคือจะต้องทราบพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างไรเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมได้สอดคล้องตามวัยของเด็กและครูจะต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (2546 ,หน้า 32-35)  ได้ระบุคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 4-5 ปีไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ดังนี้        คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 4-5 ปี 
พัฒนาการ เด็กอายุ ๔ ปี เด็กอายุ ๕ ปี
ด้านร่างกาย  - กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้-เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้-กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย  - กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้- รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง- เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว- เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้- ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่   กำหนด-ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติด     กระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ- ยืดตัว คล่องแคล่ว 
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ -แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์-เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น-ชอบท้าทายผู้ใหญ่-ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ  - แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับ-    สถานการณ์อย่างเหมาะสม- ชื่นชมความสามารถและผลงาน  ของตนเองและผู้อื่น- ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง 
พัฒนาการด้านสังคม - แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้อง    ส้วมได้เอง- เล่นร่วมกับคนอื่นได้ - รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง- แบ่งของให้คนอื่น- เก็บของเล่นเข้าที่ได้  - ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วย    ตนเอง- เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมาย  ร่วมกับผู้อื่นได้ -พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ-รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 
 ตารางที่1.1 คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 4-5 ปี (ต่อ)
พัฒนาการ เด็กอายุ ๔ ปี เด็กอายุ ๕ ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา - จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น-รู้จักใช้คำถาม ทำไม  -บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนก และ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง-สนทนาโต้ตอบ /
หมายเลขบันทึก: 157676เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2008 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท