ชาวบ้านอยากเห็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง


พี่เจริญบอกว่าเคล็ดลับอย่างหนึ่งในการสร้างเครือข่ายที่ได้ผลดี คือการทำวงเรียนรู้ จากวงเรียนรู้เล็กๆไม่กี่ครัวเรือน เป็นวงเรียนรู้ระดับกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน(อาจจะอาศัยกลุ่มต่างๆที่มีอยู่แล้ว) จากนั้นเป็นวงเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน และวงเรียนรู้ระดับตำบลซึ่งใหญ่ที่สุดในระดับตำบล เรียนรู้วนไปวนมาไหลความรู้ไปมาระหว่างวงเรียนรู้เล็กสุดคือระดับกลุ่มครัวเรือนไม่กี่ครัวเรือนกับวงเรียนรู้ระดับตำบลกลับไปกลับมา

วันที่ 27 ธ.ค.50 ปีที่แล้ว ต้องเรียกว่าปีที่แล้วเลย แม้จะเพิ่งผ่านมาปี 51 ได้แค่ 2 วันก็ตาม ประทับใจที่จะพูดถึงวันนั้นอยู่

เพราะวันนั้นได้มีการประชุมถอดบทเรียนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบางจาก ซึ่งผมพูดเอาไว้ที่บันทึกนี้ ชื่นชมการทำงานของภาคประชาชน

การประชุมถอดบทเรียนในวันนั้นทำให้ได้เห็นว่าพี่เจริญ สุขคร คนที่กำลังรายงานการดำเนินงานต่อที่ประชุม ภาพข้างล่าง ซึ่งเป็นราษฎรธรรมดาคนหนึ่งของหมู่ที่ 10 เคลื่อนงานกองทุนสวัสดิการชุมชนของหมู่ที่ 10 ตำบลบางจาก มาแต่ปี 2541 ประสบผลสำเร็จ อยากนำแนวคิดนั้นขยายขอบข่ายการเคลื่อนงานสู่ระดับตำบลบางจากจนเริ่มได้ในปี 2548 จากหมู่ที่ 10 หมู่เดียว เขาสามารถขอแรงสนับสนุนจากหลายภาคส่วนจนปัจจุบัน (พ.ย. 50 ) ขยายไปได้ 9 หมู่บ้าน ในจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดของตำบลบางจาก 11 หมู่บ้าน

เขาเก่งจริงๆครับ เขาขยันที่จะเรียนรู้ ลองผิดลองถูก  ไปศึกษาดูงาน ปรึกษาผู้รู้ ลงมือทำด้วยตนเอง  ระยะแรกๆเมื่อจะพูดชักชวนให้เพื่อนบ้านมาร่วมกิจกรรมมักจะไม่ค่อยมีคนเชื่อถือ แต่เดี๋ยวนี้เชื่อถือมากขึ้น

จนกิจกรรมกองทุนสวัสดิการชุมชนที่พี่เจริญ สุขคร เคลื่อนไหวอยู่เพิ่มสมาชิกจากสามร้อยเป็นพันกว่าคนในปี 50  จากไม่มีใครให้การสนับสนุน ปัจจุบัน พอช.ให้การสนับสนุนในปี 2549 หนึ่งแสนบาท อบต.ให้การอุดหนุนในปี 2549 หนึ่งหมื่นบาท และในปี 2550 ให้การอุดหนุนอีกสองแสนบาท เป็นต้น นับว่าได้รับการหนุนเสริมจากหลายหน่วยงาน

พี่เจริญบอกว่าเคล็ดลับอย่างหนึ่งในการสร้างเครือข่ายที่ได้ผลดี คือการทำวงเรียนรู้ จากวงเรียนรู้เล็กๆไม่กี่ครัวเรือน เป็นวงเรียนรู้ระดับกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน(อาจจะอาศัยกลุ่มต่างๆที่มีอยู่แล้ว) จากนั้นเป็นวงเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน และวงเรียนรู้ระดับตำบลซึ่งใหญ่ที่สุดในระดับตำบล เรียนรู้วนไปวนมาไหลความรู้ไปมาระหว่างวงเรียนรู้เล็กสุดคือระดับกลุ่มครัวเรือนไม่กี่ครัวเรือนกับวงเรียนรู้ระดับตำบลกลับไปกลับมา

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องคือหนทางสู่ความเข้มเข้มและยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชน เวทีแห่งนี้จึงต้องการทีมคุณอำนวยชุมชนเป็นอย่างมากสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ชุมชน ซึ่งผมคิดว่าชุมชนมีคนของชุมชนอยู่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่เจริญ สุขคร และอาจจะสมทบด้วยทีมคุณอำนวยตำบลของโครงการชุมชนอินทรีย์นครศรีธรรมราชอีกจำนวนหนึ่ง

เสริมสมรรถนะการทำงานในหน้าที่คุณอำนวยดังกล่าวด้วยกระบวนการโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน ก็น่าจะเข้าท่าดี

หมายเลขบันทึก: 157086เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2008 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ครูนงครับ

ผมลองสอบถามน้องๆ ใน สคส. ดูแล้ว แต่นึกไม่ออกเหมือนกันว่าเป็นอันไหนที่ครูนงหมายถึง และกำลังหาอยู่

แต่ความเห็นส่วนตัวเท่าที่นึกได้ตอนนี้นะครับ  เกี่ยวกับ KA ที่อาจารย์ถามถึง   ผมคิดว่าต้องไปถามคนบางจากว่าเขาชอบพันพรือ?   เขาชอบอ่านหนังสือหม้าย? เพราะว่าเขียนรวบรวมแล้วใครจะอ่าน?   ถ้าคนไม่ถนัดอ่าน ด้วยเหตุผลใดก็ตาม  ลองคุยกันแล (กับคนบางจาก) ว่ามีวิธีการอื่นอีกหม้าย  ที่ว่าจะช่วยให้เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยของการทำงานดีๆ วิถีชุมชนดีๆ ของคนบางจาก ได้ขยับ ขยาย จากหนึ่งคน ไปสองคน ไปสามคน และไปอีกหลายๆ คน  

หรือว่า ลองแลกลไกอื่นในชุมชน เช่น ลูกหลาน เด็กรุ่นใหม่ ทั้งในและนอกโรงเรียน มาช่วยขยับตรงนี้ในเรื่องการขีดการเขียน แทน   เพราะอ่านจากบันทึกอาจารย์ เห็นว่าคนบางจาก มีวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่แล้ว   แล้วเราค่อยเอาบันทึกจากเด็กดึงเข้ามาในวง ลปรร. ของเขาอีกที   เท่ากับ ดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย  และเป็นการฝึก คุณลิขิต ของชุมชนไปด้วย

อันนี้เป็นเพียงไอเดียเท่านั้น นะครับ  ผมว่าคำตอบสุดท้ายอยู่ที่บางจากครับ

โครงการเขียนก็อาจจะมี

เรื่องเล่า (ครูนงเซียนอยู่แล้ว สอนเทคนิคนี้ให้เด็กๆ สบายมาก)   คนเล่า (ถ้ามีรูปภาพยิ่งทำให้คนเล่ายิ่งภูมิใจ)  ที่อยู่ของคนเล่า  และอื่นๆ ที่คิดว่าสำคัญ

เรื่องเล่าน่าจะเก็บได้มาก เพราะเห็นในบันทึกว่าคนเป็นพัน   ผมว่าลองปรึกษาอาจารย์ภีม   มวล.  ในเรื่องการหยิบจับประเด็นขึ้นมาเขียนน่าจะดี  เพราะว่าอาจารย์ภีมคลุกคลีมานาน  น่าจะแนะนำได้ว่าประเด็นที่น่าจะเขียนก่อนเป็นเรื่องไอ้ไหร่   เช่นว่า กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสวัสดิการชุมชน ธนาคารชาวบ้านเขามักจะเจอปัญหาไอ้ไหร่บ่อยๆ มากๆ   แล้วที่บางจากเข้าจัดการกับเรื่องนั้นพันพรือ  (อันนี้ยกตัวอย่างเฉยๆ เช่นว่าที่ผมเคยเห็น   วิธีการพูดคุยทำความเข้าใจของชุมชนกันเอง, การจัดการเรื่องการระดมทุน, การทวงหนี้, การจัดกลุ่มเล็กในกลุ่มใหญ่เพื่อให้บริหารกันเอง ควบคุมกันเอง ฯลฯ)  

  • แวะมาให้กำลังใจคุณครูนง
  • ให้งานทุกๆงานที่ทำสำเร็จไปได้ด้วยดีนะคะ

- สวัสดีปีใหม่ค่ะครูนง

- ขอเป็นกำลังใจในการทำงานของครูนะคะ

- ขออนุญาตนำสิ่งที่ดีที่น่าทำมาใช้กับคนทางเหนือบ้าง...ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท