เมื่อเด็กดื้อ


ถ้าท่านต้องการให้ลูก(เด็ก) ทำสิ่งใด ท่านต้องสื่อสารกับเขาอย่างชัดเจนและท่าท่างน้ำเสียงหรือสำเนียงของท่านจะต้องไม่เหลาะแหละ ท่านจะต้องแสดงการพูดที่มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่พูด เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าไม่ได้พูดเล่น เพราะท่านจะเอาจริงแล้ว

              เด็กดื้อ เป็นเหมือนนิยายคลาสสิกเล่มหนึ่ง ปัญหาเป็นปัญหาใกล้ตัว เจอได้ทุกคนใช่ว่าจะมีลูก ถึงจะเจอ บรรดาลุงป้าน้าอา คุณครูอาจารย์ก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน

   มีใครเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่าทำไม เด็กจึงแสดงพฤติกรรมนี้

- ต้องการแก้แค้น

- ต้องการเอาใจใส่มาก ๆ

- ต้องการความรัก ไม่อยากแบ่งใคร

- ต้องการสินบน

- ต้องการแสดงอำนาจว่าเราแน่

- อยากได้ของเล่น

- เกเร ดื้อเฉย

   มีอย่างอื่น อีกไหมที่เราจะคิดถึงบ้าง

- เรามีความยุติธรรมกับเด็กไหม

- เราโกหก ไม่รักษาสัญญาที่ให้หรือเปล่า

- บางอย่างเราชัดเจนไหม หรือกำกวมเสียเอง

- รู้แต่ตำหนิไม่บอกให้ชัดเจน

- ชอบตะโกน แผดเสียง  หรือตวาดด้วยอารมณ์

- อารมณ์ร้อน วู่วาม

- พูดเยาะเย้ย ถากถางเด็ก ด้วยสำเนียงและคำพูดไม่เป็นมิตร

- ไม่เคยเป็นมิตร

   ปัญหาเด็กดื้อ คงไม่เกิด หากเราทั้งผู้ปกครองและอาจารย์จะช่วยกันทบทวน แก้ปัญหานี้

       เราเคยได้ยินข่าว อาจารย์ลงโทษเด็ก แล้วขึ้นโรงขึ้นศาล นี่เป็นปัญหาที่เกิดจากอะไร เด็กทำร้ายร่างกายครู , ครูทำร้ายเด็ก

 มาร่วมใจกันแก้ไข ปัญหา หรือ ป้องกันกันดีกว่าค่ะ

 นักจิตวิทยา กล่าวว่า

- เรียกชื่อ เช่น  ลูกเอ๋มานี่หน่อยสิลูก แทน นี่แม่ตัวดี

- บอกสิ่งที่ปรารถนาให้เขาทำอย่างชัดเจน

- บอกด้วยว่าเมื่อไรที่ท่านต้องการให้เขาทำ

- พูดดี ๆ (นุ่มนวล) อย่าวางอำนาจ

- เรียบเรียงคำพูดให้รัดกุม อย่าให้มีช่องโหว่ที่เด็กจะต่อล้อต่อเถียงได้

- ให้ยืนใกล้ ๆ ลูกเมื่อต้องการพูดให้ลูกทำสิ่งใด

- อย่าออกคำสั่ง หรือวางอำนาจด้วยน้ำเสียงก็ดี ท่าท่างก็ดี

- เวลาพูด พยายามมองหน้า  หากเด็กไม่มองหน้า ให้พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน บอกเขา และทวนในสิ่งที่ท่านบอก เพื่อให้แน่ใจว่าเขารับรู้

     ถ้าท่านต้องการให้ลูก(เด็ก) ทำสิ่งใด ท่านต้องสื่อสารกับเขาอย่างชัดเจนและท่าท่างน้ำเสียงหรือสำเนียงของท่านจะต้องไม่เหลาะแหละ ท่านจะต้องแสดงการพูดที่มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่พูด เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าไม่ได้พูดเล่น เพราะท่านจะเอาจริงแล้ว

 "แม่ครับ ถ้าผู้ใหญ่โกหก แล้วจะเป็นคนดีไหมครับ" ลูกถาม

" เป็นคนไม่รักษาสัญญา ย่อมเป็นคนไม่น่าเชื่อถือ" แม่ตอบ

" แม่ครับ ถ้าหากไม่รักษาสัญญาอีก ต่อไปน้องจะไม่เชื่อแม่อีกแล้ว" ลูกตอบ

   ( คุณแม่หน้าซีด เพราะอย่างนี้ ลูกถึงดื้อกับคุณแม่นั้นเอง )

 

หมายเลขบันทึก: 156625เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

 เป็นเรื่องเล่าที่ให้มุมมองกับผมได้ดีมากๆครับ

 

อ่านบันทึกของคุณเพชรน้อยจบ...ก็นึกถึงครอบครัวหนึ่งเป็นรายการปราบเด็กดื้อของต่างชาติเขานะค่ะ....พ่อทำงานนอกบ้าน แม่เป็นแม่บ้าน มีลูกสี่คน ชายสองคน หญิงสองคน...ปรากฏว่าเด็กสี่คนนี้มีพฤติกรรมเหมือนกันคือก้าวร้าวกับแม่  ถ่มน้ำลาย...ทำร้ายร่างกายแม่....เมื่อโกรธ  ถ้าแม่พาเขาไป Supermarket ก็จะมีแต่เรื่องปวดหัว....ยิ่งกว่าจับปูใส่กระด้ง...แต่เมื่อพ่อมา...จะมีพฤติกรรมตรงกันข้ามเชื่อฟังพ่อทุกอย่าง ไม่มีการโต้แย้งเมื่อถูกสั่งลงโทษ  แต่ทุกครั้งที่พ่อคล้อยหลัง....บ้านหลังนั่นก็เหมือนเกิดสงครามน้อยๆ ระหว่างแม่กับลูก.......จากการวิเคราะห์ของแนนนี่มืออาชีพ...พบว่าปัญหามาจากพ่อ...ที่สร้างอำนาจ ทำให้ลูกเกิดความกลัว...และหาทางระบายออกกับแม่...สุดท้ายครอบครัวนี้ทำงานแบบทีมระหว่างพ่อกับแม่หลังจากทราบจุดของปัญหาคือ ให้แม่มีอำนาจในบ้าน...โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อ....และพ่อก็เข้าหาลูกๆ ด้วยความอบอุ่น มากกว่าทำท่าดุ  ใช้เสียงดุ......สุดท้ายครอบครัวนี้ Happy ค่ะ...ปัญหาทุกปัญหาที่เราเห็นจากเด็กย่อมมีสาเหตุนะค่ะ...ขอให้แก้ไขถูกจุด...ทุกอย่างก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีค่ะ

สวัสดีค่ะท่าน kmsabai

ยินดีที่ร่วมคิดร่วมกับนอกเหนือจากองค์กรแล้ว

ส่วนหนึ่งคือ ครอบครัวที่เราไม่อาจปล่อยมือวางลงได้

เพราะคือ หน้าที่ และความรัก

...........................

สวัสดีค่ะคุณ noktalay

นับว่าปัญหาเรื่อง เด็กดื้อ ใช่ว่าจะเกิดที่ใดที่หนึ่ง

หากเราร่วมกันปัญหาคงไม่ตามมา

สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ

เราไม่เคยมองเห็นปัญหาด้วยตนเอง

จึงจำเป็นที่มีใครมา"สะท้อนปัญหา" คล้าย

เส้นผมบังภูเขา มองยังไงก็ไม่เจอสักที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท