GotoKnow

แผนที่ความคิด

บอย สหเวช
เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2548 18:46 น. ()
แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2555 02:26 น. ()
จัดระเบียบความคิด

ช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษา ผมเองได้มีโอกาสพาบุคลากรในหน่วยงานไปร่วมทำบุญที่วัดจุฬามณี ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพาบุคลากรไปร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษาและผ้าป่า นอกจากนี้ได้มีโอกาสไปทำบุญส่วนตัวกับญาติพี่น้องก็เป็นความสุขใจอย่างหนึ่งเมื่อได้อ่านบทสวดมนต์และน้อมใจให้ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งทำให้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต เวลาที่เรามีความสงบความคิดไม่ฟุ้งซ๋านไปในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้มีสมาธิในการคิดนึกสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบ สุดท้ายแล้วการที่เราจะทำอะไรให้ดีนั้นจะต้องทำเป็นเรื่อง ๆ อย่างเป็นระบย การใช้แผนที่ความคิด Mind Map ในการวางแผนการทำงาน หรือสิ่งใดก็ตามที่เรามีความตั้งใจอยากจะทำ โดยการหากระดาษที่วางเปล่ามาแผ่นหนึ่ง แล้วเขียนหัวข้อเรื่องที่สำคัญไว้ที่กลางกระดาษ แล้วใช้ความนึกคิดต่อว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สำคัญที่เราตั้งใจจะทำและทำให้เรื่องดังกล่าวสำเร็จ โดยการลากเล้นต่าง ๆ จากหัวข้อสำคัญที่กลางกระดาษและเขียนหัวข้อย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยทำให้เรามองภาพรวมของเรื่องนั้นอย่างเป็นระบบ ผมนำตัวอย่างการเขียนแผนที่ของคุณบุญศิริ เทพภูธร มาแบ่งปันให้ชุมชนสำนักงานเลขานุการทราบครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

กระป๋อง
เขียนเมื่อ

เห็นพี่บอยพูดเรื่อง mindmap ป๋มขอเสริมในส่วนของการทำ mindmap นิดนึงนะครับ ^^
คำกุญแจ                                            <p> </p>            คำกุญแจฟื้นความจำ หรือวลีเป็นสิ่งซึ่งโดยตัวมันเองแล้วสามารถก่อให้เกิดภาพพิเศษได้หลากหลาย เมื่อเห็นมันอีกครั้งก็จะนำไปสู่ภาพเดิม เพราะมันนำไปสู่คำนาม หรือคำกริยาที่สำคัญ โดยการล้อมรอบด้วยการเพิ่มกุญแจคำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์<p> </p>            ส่วนคำคิดสร้างสรรค์เป็นคำที่กระตุ่นความคิด และช่วยในการนึกภาพโดยเฉพาะ แต่จะเป็นคำที่กว้างขวางมากกว่าคำกุญแจฟื้นความจำซึ่งตรงไปตรงมา ยกตัวอย่าง คำว่าเยิ้ม” และ”มหัศจรรย์” เป็นคำที่กระตุ้นความคิดโดยเฉพาะแต่ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ภาพที่เจาะจงลงไปเสมอไป<p> </p>            นอกจากจะเข้าในถึงความแตกต่างระหว่างคำคิดสร้างสรรค์กับคำช่วยฟื้นความจำแล้วก็จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของคำเอง รวมไปถึงธรรมชาติของสมองในการใช้คำต่างๆด้วย<p> </p><p> </p> คำกุญแจกับการจดบันทึกแบบปกติ <p> </p>            เนื่องจากพวกเรามักจะคุ้นเคยกับคำพูดและการเขียนตัวหนังสือมากเกินไป เราจึงคิดอย่างผิดๆ ว่า โครงสร้างประโยคปกติเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการขจดจำภาพลักษณธและความคิดที่สื่อด้วยถ้อยคำ ดังนัเน นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาไปแล้ว ก็มักจะจดบันทึกแบบปกติ <p> </p>            จากความรู้ใหม่เรื่องแนวความคิดหลักและการฟื้นความจำที่แสดงให้เห็นว่า การจดบรรทึกแบบปกตินี้ 90 % ของคำต่างๆ นั้น ไม่จำเป็นสำหรับการฟื้นความจำ ตัวเลขที่สูงลิ่วอย่างมากเช่นนี้กลับยิ่งสร้างความน่าตกใจมากขึ้น เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการจดบรรทึกแบบประโยคๆ นั้นคือ<p> </p>1.เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์กับการจดบันทึกคำไม่ได้ช่วยในการจำ<p> </p>2.เสียเวลาไปกับการอ่านซ้ำคำที่ไม่จำเป็น<p> </p>3.เสียเวลาในการค้นหาคำซึ่งเป็นคำกุญแจฟื้นความจำ ซึ่งมันถูกกลืนหายไปโดยการที่ไม่มีการทำเครื่องหมายไว้ และถูกรวมอยู่กับคำที่ไม่ช่วยฟื้นความจำอื่นๆ<p> </p>            ในที่สุดแแล้ว การเชื่อมกันระหว่างคำกุญแจฟื้นความจำ และแนวคิดควรถูกเน้นควรหลีกเลี่ยงการบันทึกคำกุญแจในลักษณะบัญชีหางว่าว และต่อยาวบนบรรทัดเดียว<p> </p><p> </p>การจดบันทึกแบบ Mind Map<p> </p>            ถ้าเราต้องการให้สมองโยงใยใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรจำรูปแบบการบรรจุข้อมูลให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการจัดในลักษณะแบ่งเป็นช่อง” ซึ่งจะเป็นไปตามที่ว่า ถ้าหากสมองทำงานขั้นต้นกับคำสำคัญในการเชื่อมโยง และประสานรวมกับแล้ว ความสัมพันธ์ของการจดบันทึกและคำของเรา ก็ควรจะได้รับการจัดรูปแบบเดียวกัน แทนที่จะเป็นแบบ “เส้นตรง” อย่างที่เคยทำกันมา<p> </p>            แทนที่เราจะเริ่มจากบรรทึกบนแล้วเขียนลงมาเป็นประโยค หรือลำดับรายการ เราควรเริ่มจากศูนย์กลางด้งความคิดหลัก แล้วแตกสาขาออกมาเป็นความคิดย่อย ตามลักษณะของความคิดและโครงเรื่องหลัก<p> </p><p> </p>ข้อดีของการเขียนบันทึก Mind map                    <p> </p>   Mind Map หรือแผนที่ความคิดนั้น มีข้อดีหลายประการ เมื่อเทียบกับการจดบันทึกแบบเส้นตรง<p> </p>1. ศูนย์กลางหรือความคิดหลักจะถูกกำหนดขึ้นอย่างเด่นชัดกว่าเดิม<p> </p>2. ความสัมพันธ์ที่สำคัญของแต่ละความคิดเชื่อมโยงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยความคิดที่สำคัญกวาอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า ความคิดที่สำคัญน้อยลงไปจะอยู่บริเวณขอบ<p> </p>3. การเชื่อมโยงระหว่างคำสำคัญจะเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตำแหน่งที่ใกล้กันและการเชื่อมต่อกัน<p> </p>4. ผลจาก 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ทำให้การฟื้นความจำ และการทบทวบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น<p> </p>5. ธรรมชาติของโครงสร้างดังกล่าวช่วยให้การเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ ทำได้ง่ายขึ้น โดยข้อมูลจะไม่กระจัดกระจาย หรือต้องอัดใส่เข้าไป<p> </p>6. Mind Map แต่ละแผ่นจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ช่วยฟื้นความจำง่ายขึ้น<p> </p><p> </p>กฎของ Mind Map                            <p> </p>1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ ภาพๆเดียวมีค่ากว่าคำพันคำ ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มความจำมากขึ้นด้วย ให้วางกระดาษตามแนวนอน<p> </p>2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ<p> </p>3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เพื่อที่ว่าเมื่อย้อนกลับไปอ่านจะให้ภาพที่ชัดเจน สะดุดตาอ่านง่าย และก่อผลกระทบต่กความคิดมากกว่า การใช้เวลาเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยในการเขียนตัวให้ใหญ่ อ่านง่ายชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง<p> </p>4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ  เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ<p> </p>5. คำควรมีลักษณะเป็น “หน่วย” เช่น คำละเส้น เพราะจะช่วยให้แต่ละคำเชื่อมโยงกับคำอื่นๆ ได้อย่างอิสระ เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยือหยุ่นได้มากขึ้น<p> </p>6. ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา<p> </p> <p>7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่ามัวแต่คิดว่าจะเขียนลงตรงไหนดี หรือว่าจะใส่หรือไม่ใส่อะไรลงไป เพราะล้วนแต่จะทำให้งานล่าช้าไปอย่างน่าเสียดาย</p><p>อันนี้เป็นเพียงแนวทางในการทำ เฉยๆ นะครับ จริงๆแล้วผมคิดว่าการทำ mindmap นั้นทำให้เราได้มีการเรียบเรียงความคิดของตัวเราเองด้วยนะครับ ^^</p>


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย