ข้อคิดนอกงาน1.การ์ตูน"โซ้ยแหลก"


ดูการ์ตูนย้อนดูตนเอง

 

ผมกำลังดูการ์ตูนย้อนดูตนเองว่า "การเรียนรู้เป็นอย่างไร" 

เริ่มจากผมได้อ่านกร์ตูนเรื่อง "โซ้ยแหลก" ที่ออกใหม่มาพอควรแล้วถึงเล่มหก ตอนแรกผมก็อ่านไปหัวเราะไปกับคนที่ยงชีพด้วยการแข่งกินจุ แต่หลังๆ ผมก็หัวเราะไม่ออกเพราะข้อมูลที่เขาแทรกมาอย่างแนบเนียน (นับถือคนแต่งมากครับ) สิ่งที่ผมเรียนรู้ได้มีดังนี้

  1. การกินจุเริ่มจากพรสวรรค์แต่จบลงด้วยพรแสวง

  2. จรรยาบรรณของนักกินจุ

  3.  การพยายามทำสิ่งที่ดีไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม แม้แต่การกินจุก็ทำให้คนประทับใจและอยากทำตามได้

ข้อแรก ทำให้ผมอึ้งมากๆ เพราะข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนที่กินจุต้องหาตนเองให้พบก่อนให้ได้ว่าตนเองสามารถกินจุแบบใดได้บ้าง เส้นทางของมืออาชีพกินจุไม่ได้ง่าย ต้องฝึกฝนพัฒนาตนเอง หาข้อมูลอาหารก่อนทุกครั้งที่ลงแข่ง เช่น การกินก๊วยเตี๋ยว ต้องรู้ก่อนว่าเราลิ้นรับความร้อนได้แค่ไหน สามารถกินก๊วยเตี๋ยวที่ทำเสร็จใหม่ๆ ร้อนๆ ได้แค่ไหน

ข้อสอง ข้อนี้ทำให้ผมเห็นภาพที่กว้างขึ้น
นักกินจุในการ์ตูนนั้นแบ่งเป็นสองฝ่ายชัดเจน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจง่าย คือ ฝ่ายธรรมะที่กินอาหารอย่างเคารพ, ฝ่ายอธรรมที่กินอาหารโดยใช้ทุกวิธีเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก็พัฒนากลายเป็นการใช้วิธีขี้โกงตั้งแต่ซื้อตัวผู้เล่น, ทำลายฝ่ายตรงข้าม,หาวิธีกิน(ดื่ม)อาหารให้ได้เร็วที่สุดโดยไม่สนรสชาติ
ซึ่งฝ่ายธรรมะเห็นว่าเป็นทำลายรสชาติอาหาร เป็นการไม่เคารพคนทำอาหารและทุกสิ่งที่ประกอบมาเป็นอาหาร พอย้อนมามองในสังคมไยมิใช่เช่นกัน ฝ่ายหนึ่งมีจรรยาบรรณทำอาชีพตนให้ดีที่สุด แต่อีกฝ่ายทำทุกวิธีเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ เพราะนั่นคือ ความเชื่อของเขาว่านั่นคือ"ชัยชนะ"

ชัยชนะของฝ่ายอธรรม คือ การมีชัยเหนือฝ่ายตรงข้าม
ชัยชนะของฝ่ายธรรมะ คือ การพัฒนาตนเอง

 ซึ่งฝ่ายธรรมะน้อยคนนักที่จะพัฒนาตนเองได้ถึงระดับที่ตนเองพอใจ คิดว่าตนไม่สามารถทำได้ดีกว่านี้แล้ว จิตเริ่มไขว้เขวสับสนกับเป้าหมายของตนเอง หากจะก้าวหน้าได้ต้องใช้วิธีฝ่ายอธรรมที่เมื่อก่อนเกลียดและดูถูก ทำให้หลายคนกลายเป็นฝ่ายอธรรมไปอย่างน่าเสียดาย

ส่วนตัวเอกเป็นตัวกลาที่คนเขียนเดินเรื่องได้น่าสนใจมาก คือ เขาไม่เข้าข้างไหนเต็มตัว (แต่เอนมาทางธรรมะเพราะไม่ค่อยชอบวิธีอธรรม จนกระทั่งมาโดนกับตนเองเป็นเหตุให้ออกเดินทางแก้แค้นด้วย) ภายหลังเป้าก็เปลี่ยนไปเป็นออกเดินทางเรียนรู้พัฒนาด้วยตนเองทีละน้อย
เข้าหลัก"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"และ"เรียนรู้จากการทำงาน"
พระเอกมีวินัยในตนเองมาก ใช้ความรู้ที่มีน้อยแต่หมั่นปรับปรุงให้เหมาะกับตนเอง (ไม่ลอกเขามาทั้งดุ้น)
ไม่อายที่จะถามผู้รู้
มีศรัทธาที่แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวกับสิ่งยั่วยุ
เป็นเหตุให้พระเอกก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
และภาพตอนเล่มหก ผมไม่แน่ใจว่าคนเขียนตั้งใจเช่นนแต่แรกหรือไม่

ภาพที่พระเอกแข่งกินจุที่สงบ ไม่แสดงออกทางสีหน้า บรรจงกินทุกคำแต่ไม่ลดความเร็ว ควบคุมทุกอิริยาบทให้ตอบสนองต่อการกินที่วางแผนไว้ ไม่หวั่นไหวต่อสปีดการกินของคู่เเข่ง ดูการกินของตนให้ดีที่สุด ทำให้คนที่มาดูเกิดความประทับใจและคู่แข่งเกิดความละอายใจที่พยายามไปทำลายสมาธิอีกฝ่ายแต่สิ่งนั้นกลับมาทำลายการกินของตนเอง

ผมเห็นพระเอกคล้ายพระที่บำเพ็ญเพียรไปทุกขณะี
พระเอกมีการศึกษาหาข้อมูลวางแผนก่อนแข่ง ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีที่สุดโดยไม่ทำลายสุขภาพตนเอง
ระหว่างแข่งทำตามสิ่งที่วางแผนมา ไม่หวั่นไหวกับสิ่งยั่วยุ ไม่ว่าอาหารอร่อย/ไม่อร่อยอย่างไร ก็กินด้วยความเร็วที่วางแผนไว้ หากมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์จากแผนที่วางไว้ก็มีสติแก้ไขสถานการณ์อย่างเยือกเย็น
หลังแข่งก็ช่วยเจ้าของร้านโปรโมทสินค้า
โดยบอกเคล็ดการกินที่อร่อยและเหมาะสมแก่แต่ละคนเพราะนี่คือ สิ่งที่ทำให้เขามีทุนทำกิจการมาเปิดแข่งกินจุแก่นักกินจุทั้งหลาย
รวมทั้งตรวจสอบสถิติที่ตนเองทำไว้ หาสิ่งที่บกพร่องของตนพร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ทำได้ดีกว่านี้ต่อไป

 มันแฝงขั้นตอนการทำงานให้สำเร็จได้อย่างน่าทึ่ง
รวมทั้งการเอาใจใส่ต่อผู้ประกอบอาชีพร่วมกับตนได้อย่างไม่น่าเชื่อ
(ผมไม่คิดว่าจะมีอย่างนี้เลย)

ข้อสาม เป็นสิ่งที่ผมกล่าวในข้อสองแล้ว ภาพที่ชัดเจนที่สุด คือ พระเอกกินแข่งกับฝ่ายอธรรมโดยทำสถิติได้เท่ากัน คือ ก๊วยเตี๋ยว19 ชาม(มั้งผมจำไม่ได้ชัดเจน) แม้จะทำเวลาได้ช้ากว่าแต่ทุกคนกลับเทคะแนนให้พระเอกชนะ
เพราะพระเอกมีมารยาทในการกินและจรรยาบรรณ รวมทั้งการไม่กินโดยราดน้ำเย็นลงไปเพื่อดับร้อนและดูดรวดเดียวแบบฝ่ายอธรรม
(หากเรามากินเฉยๆ ไม่แข่งไม่มีใครกล้าเลียนแบบ)
ต่างกับพระเอกที่ค่อยๆ สาวลงอีกชามเพื่อคลายร้อนค่อยๆ ดูด
(อันนี้มีคนทำตาม คือ แม่ทำให้เด็กไม่ร้อนปากกินง่าย)
เพียงแต่พระเอกคีบทีละสองมือและเพิ่มสปีดเร็วขึ้นเรื่อยๆ เหอๆ
ตบท้ายด้วยการเอาข้าวเปล่าราดน้ำในก๊วยเตี๋ยวที่อยากให้ทุกคนทำตาม
เพราะนี่คือวิธีกินที่เป็นต้นตำรับของท้องที่ ่เป็นสิ่งที่ฝ่ายอธรรมไม่ทำเด็ดขาดเพราะเป็นตัวฉุดปริมาณที่กินได้ของตน
พระเอกกินเพราะเห็นเป็นสิ่งที่ตนต้องทำถึงแม้มันจะทำให้ตนแพ้ก็ตาม
และกลายเป็นตัวแปรที่ทำให้พระเอกพลิกมาชนะอย่างเหลือเชื่อ

พิมพ์มาชักยาวแล้ว พอก่อนแล้วขอรับ ถ้ามีเวลาจะเอารูปมาลง
พิมพ์นาน 45 นาที หา...กลับไปนอนแล้วขอรับ

หมายเลขบันทึก: 156274เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2007 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คมคายมากครับสำหรับ ประโยคที่ว่า

ชัยชนะของฝ่ายอธรรม คือ การมีชัยเหนือฝ่ายตรงข้าม
ชัยชนะของฝ่ายธรรมะ คือ การพัฒนาตนเอง

 

สวัสดีขอรับ คุณโรจน์

P

1. โรจน์
เมื่อ อา. 30 ธ.ค. 2550 @ 13:42
504524 [ลบ]

[คมคายมากครับสำหรับ ประโยคที่ว่า

ชัยชนะของฝ่ายอธรรม คือ การมีชัยเหนือฝ่ายตรงข้าม
ชัยชนะของฝ่ายธรรมะ คือ การพัฒนาตนเอง ]

----------------------------------------------------- 

ข้อนี้บางทีก็ยากแยกได้ขอรับเพราะฝ่ายธรรมะก็จ้องเอาชนะฝ่ายอธรรมเหมือนกัน
เพียงแต่ต้องชนะด้วยวิธีที่ขาวสะอาด ชนะด้วยความพอใจที่ว่าชนะด้วยฝีมือจริงๆ ดังนั้นฝ่ายธรรมะบางครั้งชนะตามกติกาแล้วแต่ไม่พอใจเพราะอีกฝ่ยไม่ใช้ฝีมือเต็มที่หรือแพ้แล้วยังไม่แพ้เลยดูเหมือนบ้าๆ หรือมีคนบอกว่าโง่ไปบ้างขอรับ อิอิ (แต่ข้าน้อยชอบ)

สวัสดีปีใหม่ค่ะ ..ท่านจันทร์เมามาย

โดนกับประเด็นที่ว่า

ต้องหาตนเองให้พบก่อน

มีจรรยาบรรณในอาชีพตน

เรียนรู้พัฒนาด้วยตนเองทีละน้อย จากการทำงาน

มีวินัยในตนเอง ไม่อายที่จะถามผู้รู้ ศรัทธาแน่วแน่ ไม่หวั่นไหวกับสิ่งยั่วยุ

ทำในสิ่งที่ตนเองทำได้ดีที่สุดโดยไม่ทำลายสุขภาพตนเอง

มีสติ

เอาใจใส่ต่อผู้ม่ส่วนได้เสีย

-/\-  ขอบคุณนะจ๊ะกับของขวัญปีใหม่



 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท