คำทักทายและเรียกขาน


มิงกะลาบา ขิ่มหยา ผู้เขียนขอกล่าวสวัสดีมายังท่านผู้อ่านที่เคารพด้วยคำทักทายแบบพม่า
คำทักทายและเรียกขาน
มิงกะลาบา ขิ่มหยา ผู้เขียนขอกล่าวสวัสดีมายังท่านผู้อ่านที่เคารพด้วยคำทักทายแบบพม่าเป็นลำดับแรก แต่ก่อนที่จะพาท่านผู้อ่านเรียนรู้ภาษาพม่านั้น ขอเรียนว่าภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีความแตกต่างจากภาษาไทยของเราอยู่มาก  เนื่องเพราะภาษาพม่ากับภาษาไทยนั้นเป็นภาษาต่างตระกูลกันหากยึดตามข้อสรุปที่นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับ จะถือว่าภาษาพม่าเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาทิเบต-พม่า( Tibeto-Burman )ซึ่งอยู่ภายใต้ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต(Sino-Tibetan )อีกชั้นหนึ่ง ส่วนภาษาไทยจะอยู่ในตระกูลภาษาไท-ไต( Thai-Tai ) นั่นคือภาษาพม่ามีลักษณะร่วมทางภาษาใกล้เคียงกับภาษาทิเบตและภาษาจีน แต่จะแตกต่างจากภาษาไทย โดยสิ้นเชิง
อันที่จริงในประเทศไทยมีชนกลุ่มน้อยบางเผ่าที่พูดภาษาร่วมตระกูลกับพม่าเช่นกัน อาทิ ภาษากระเหรี่ยง ภาษามูเซอ ภาษาลีซอ และภาษาอีก้อ สังเกตได้ว่า ชาวพม่าที่พูดภาษาไทยได้บ้างจะออกเสียงมีสำเนียงเป็นแบบเดียวกับชาวเขาส่วนใหญ่ที่พูดภาษาไทยไม่ชัด กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นชาวพม่า กะเหรี่ยง มูเซอ ลีซอ หรืออีก้อ มักจะพูดภาษาไทยโดยไม่มีเสียงสะกดท้ายคำ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะภาษาเหล่านี้มีเสียงพยัญชนะลงท้ายพยางค์น้อยกว่าในภาษาไทย โดยเฉพาะภาษาพม่านั้น นับเป็นภาษาที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายแม้แต่เสียงเดียว(ว่าตามระบบเสียง) คำทุกพยางค์จะออกเสียงเป็นพยางค์เปิดทั้งสิ้น หากบอกให้ชาวพม่าพูดคำไทยที่ลงท้ายด้วยอักษรในแม่กก กด กบ กม กน กง เกย และเกอว เช่นคำว่า นก รถ เก็บ ดม คน นุ่ง เลย เอว จะพบได้ว่าชาวพม่าแท้ๆจะออกเสียงคำเหล่านั้นได้ค่อนข้างยาก มักกลายเป็น โนะ โละ เกะ โด โค นู่ เล เอ ตามลำดับ แต่ถ้าเป็นคนไทยใหญ่หรือคนมอญจากพม่า จะออกเสียงคำลักษณะดังกล่าวได้ชัดเจนกว่าทั้งนี้เพราะภาษาไทยใหญ่เป็นภาษาร่วมตระกูลกับภาษาไทยส่วนภาษามอญเป็นภาษาร่วมตระกูลกับภาษาเขมร ซึ่งทั้งสองตระกูลภาษานี้มีการใช้พยัญชนะสะกดท้ายคำมากพอๆกับภาษาไทย   ดังนั้นพม่า รวมถึงคนกะเหรี่ยง มูเซอ ลีซอ และอีก้อ มักจะพูดภาษาไทยเพี้ยนไปทำนองเดียวกัน คือพูดภาษาไทยไม่เต็มคำ ด้วยขาดเสียงพยัญชนะสะกดท้ายคำนั่นเอง
ขอย้อนกลับไปที่คำทักทายภาษาพม่าที่เกริ่นไว้แต่แรก ชาวพม่ามีคำทักทายอย่างสุภาพว่า มิงกะลาบา ภาษาพม่าเขียนว่า ( ,8']kxj )คำว่ามิงกะลา(,8']k ) นั้น เป็นคำที่พม่ารับมาจากภาษาบาลี ตรงกับคำไทยว่า “มงคล” ส่วนคำว่าบา( xj ) เป็นคำในภาษาพม่า แปลว่า “มี.มีมา.พา” ดังนั้นคำว่า มิงกะลาบา จึงมีความหมายรวมว่า “มีมงคล” หากผู้พูดเป็นชายก็ควรลงท้ายด้วยคำว่า -'Nryk ขิ่มยา(ครับ) เป็น มิงกะลาบา ขิ่มยา ,8']kxj -'Nryk (สวัสดีครับ) และถ้าเป็นหญิงให้ลงท้ายด้วยคำว่า ia'N เชี้ยน(ค่ะ) พูดเต็มๆว่า มิงกะลาบา เชี้ยน (สวัสดีค่ะ) แต่ที่จริงชาวพม่าทั่วๆไปไม่ค่อยนิยมทักทายกันด้วยถ้อยคำนี้กันบ่อยนัก เพราะถ้าใช้บ่อยเกินไปก็จะพาให้รู้สึกห่างเหิน ส่วนมากจะนิยมทักทายด้วยการเรียกชื่อ บางทีก็ถามไถ่ธุระส่วนตัวกันเสียมากกว่า อาทิ จะไปไหน 4pNl:kt,]c (แบ-ตว้าหมะแล) หรือไม่ก็สบายดีหรือ gogdk'Nt]kt (เหน่-ก๊องล้า) หรือกินข้าวแล้วหรือ 5,'Nt0ktwxutwxu]kt (ถะมีงซาบี๊บี่ล้า) ชาวพม่าจะกล่าวทักทายด้วยถ้อยคำมิงกะลาบาเฉพาะกับคนที่ไม่รู้จักมักคุ้น โดยเฉพาะกับชาวต่างประเทศ  ฉะนั้นหากสนิทกันบ้างแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทักทายด้วยมิงกะลาบาก็ได้
อันที่จริงพม่าก็นิยมทักทายเหมือนๆกับคนไทยนั่นเอง คือ นิยมทักกันด้วยชื่อ พร้อมกับถามสารทุกข์สุกดิบ จึงจะดูน่าประทับใจ  ฉะนั้นหากจะคบหากับชาวพม่า ก็น่าที่จะพยายามจดจำชื่อเสียงเรียงนาม แม้ออกจะยากสักหน่อย  แต่ก็จำเป็นยิ่ง  และถ้าจะให้สนิทสนมยิ่งขึ้น ควรต้องรู้จักวิธีใช้คำเรียกเครือญาติแบบพม่า อาทิ อะโพ(ปู่,ตา) อะพวา(ยา,ยาย) อะเพ(พ่อ) อะเม(แม่) อู(ลุง) อูเล(น้าชาย) ดอดอ(ป้า) ดอเล(น้าหญิง) อะโก(พี่ชาย) อะมะ(พี่สาว) หม่อง(น้องชายของพี่สาว) ญี(น้องชายของพี่ชาย) นะมะ(น้องสาวของพี่ชาย) ญีมะ(น้องสาวของพี่สาว) ตา(ลูกชาย) ตะมี(ลูกสาว) ตู(หลานชาย) ตูมะ(หลานสาว) เป็นต้น การเลือกใช้ก็ให้พิจารณาตามวัยของผู้ร่วมสนทนา   แต่ถ้าคู่สนทนามีฐานะอย่างครูบาอาจารย์ก็ควรจะใช้คำว่า สะยา(ครูชาย) หรือสะยามะ(ครูหญิง) หากเป็นครูสูงอายุสักหน่อย ก็อาจเพิ่มคำว่า จี(ใหญ่) ต่อท้ายคำเรียกดังกล่าว เป็นสะยาจี(พ่อครู) และสะยามะจี(แม่ครู) ตามลำดับ ส่วนสรรพนามสำหรับตนเองนั้น ผู้ชายจะใช้ว่า จุนดอ(กระผม) ส่วนผู้หญิงจะใช้ว่า จุนมะ(ดิฉัน)
ศัพท์น่ารู้
v4b6t      อะโพ        ปู่,ตา         v4:kt      อะพวา      ย่า,ยาย
vgz      อะเพ        พ่อ           vg,        อะเม         แม่
fut          อู              ลุง            futg]t     อูเล           อาชาย,น้าชาย
gmKgmK   ดอดอ       ป้า            gmKg]t  ดอเล         อาหญิง,น้าหญิง
v0Ndb6     อะโก        พี่ชาย       v0N,        อะมะ        พี่สาว
Pu         ญี             น้องชาย    Pu,          ญีมะ         น้องสาว
g,k'N      หม่อง       น้องชาย    Oa,           นะมะ       น้องสาว
lkt       ตา            ลูกชาย      l,ut         ตะมี         ลูกสาว
9^         ตู              หลานชาย 9^,          ตูมะ         หลานสาว
Cik      สะยา        ครูชาย      Cik,      สะยามะ    ครูหญิง
dyoNg9kN จุนดอ       กระผม     dyoN,       จุนมะ       ดิฉัน
-'Nryk     ขิ่มหยา     ครับ         ia'N           เชี้ยน        ค่ะ
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15583เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ค่ะ มาดูภาษาพม่าค่ะ กำลังสนใจและกำลังอยากจะลองเรียนเพิ่มเติมดูค่ะ

ไอเหี้ยควยสัตว์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท