ภารกิจของนักรังสีเทคนิคด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี


ให้นิสิตช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภารกิจด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีของนักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
รังสีที่นำมาใช้ในทางการแพทย์นั้น นอกจากจะมีประโยชน์แล้วก็ยังมีโทษอยู่ไม่น้อยนะคะ ในฐานะนักรังสีเทคนิคที่ดีควรตระหนักถึงการใช้รังสีอย่างปลอดภัย อยากทราบว่านักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานอยู่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ นั้นมีหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ตนเองและผู้ป่วยอย่างไรบ้างค่ะ ให้นิสิตลองไปสัมภาษณ์หรือพูดคุยกับรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วนำมาเล่าผ่าน Blog  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ นะคะ
หมายเลขบันทึก: 155822เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2007 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (72)
อันดับแรกเราก็ต้องดูก่อนว่าผนังของห้อง x-ray สามารถที่จะป้องกันรังสีได้จริงหรือไม่ ต้องมีการตรวจสอบ เช็คปริมาณรังสีที่ห่างในระยะต่างๆ จากหลอด x-ray เช้คว่าเวลาที่ปิดประตูแล้ว เวลากด Shoot ยังมีรังสีรั่วออกอยู่หรือไม่ ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เขาจะมาตรวจให้ทุกปี เราก็ต้องไปดูกับเขาด้วย บางทีเราก็ต้องตรวจเอง หากพบว่ามันไม่ได้มาตรฐานก็ต้องตามช่างของทางโรงพยาบาลหรือประสานงานไปทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มาปรับปรุงแก้ไข หน้าที่ของเราตรงนี้ก็คือดูแลมาตรฐานของห้อง x-rayในการตรวจทาง x-ray เราต้องเปิดcollimator ให้พอดีกับอวัยวะที่จะถ่าย ไม่ควรที่จะเปิดพื้นที่รังสีให้มากเกิน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยได้รับx-rayเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น การถ่าย x-ray ปอดก็ควรเปิดแค่ 14 x 17 นิ้วไม่ควรเปิดมากกว่านี้การจัดท่าผู้ป่วยให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการ repeat rate โดยไม่จำเป็น ตามหน่วยงานก็จะมีค่าดรรชนีตัวชี้วัดความสำเร็จหรือ KPI (Key Performance Indicator) เป็นเหมือนตัวกำหนดคุณภาพขององค์กร เป็นค่าที่บอกว่าเราจะ repeat rate ได้ไม่เกินเท่าใดใน 1 เดือน เช่น 1.5 %ต่อเดือน ต้องควบคุมให้ได้มาตรฐาน ทำกราฟทุกเดือน ซึ่งทางองค์กรเขาจะเข้มงวดเรื่องนี้มาก เพราะว่าดรรชนีตัวนี้มันเป็นคุณภาพของทั้งโรงพยาบาลและแผนกรังสีวิทยาของเราด้วยในหญิงที่ตั้งครรภ์ก็จะต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ เราเองก็ต้องมีการทำป้ายสัญลักษณ์เตือนภัยทางรังสีไปติดไว้ที่หน้าห้องของแผนกเราทุกห้อง ถ้าผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจทางรังสีก็ต้องมีการป้องกันให้เขาด้วย ถ้าต้องฉายรังสีบริเวณที่ท้อง แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าอายุครรภ์กี่เดือน สามารถที่จะรับการฉายรังสีได้หรือไม่ ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องเป็น 3 เดือน ส่วนมากแล้วจะเป็นแพทย์สูติตรวจเรื่องที่ทางโรงพยาบาลออกกฎมาก็จะเป็นการติดเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล ซึ่งถ้าหากว่าเราได้รับมอบหมายให้ดูแลและเก็บบันทึกผลเราก็ต้องดูแลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรังสีทุกคน ตั้งแต่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในแผนก

จากการท่ได้สอบถามและพูดคุยกับรุ่นพี่ที่ทำงานแล้วนั้นได้ความว่า  ในโรงพยาบาลที่พี่ทำงานอยู่นั้น จะเน้นการให้ทั้งผู้ป่วยและนักรังสีเทคนิคสวมอุปกรณ์ป้องกันรังสีและห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในห้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับรังสีโดยเด็ดขาด    นักรังสีเทคนิคต้องพกเครื่องวัดรังสีประจำบุคคลทุกคน

                                            น.ส ศรัญญา บุญเกิด

                                              นิสิรังสีเทคนิคชั้นปี  ที่2

                                                         49661202

น.ส.เบญจรัตน์ เกตุนิล รหัสนิสิต 49662858

จากการที่หนูได้สอบถามพี่มา  พี่เค้าบอกว่าถ้าเป็นการป้องกันกับตัวเองก็เป็นการหลบเข้าฉากกำบังถ้าอยู่ในแผนก x-ray (พี่เค้าพูดว่าแผนกข้างล่างอ่ะค่ะ)  แล้วก็ออกแบบห้องให้มิดชิดเพื่อให้รังสีไปโดนผู้อื่นและผู้ที่ใช้บริการให้น้อยที่สุดรวมไปถึงตัวเราเองด้วย

ถ้าออกไป x-ray นอกสถานที่ก็แนะนำให้หลบรังสีอย่างปลอดภัยโดยให้อยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมประมาณ 2 เมตรขึ้นไป  และในการที่จะป้องกันคนไข้ที่ x-ray ปอดก็ให้คนไข้ใส่กระโปรงตะกั่วหรือไม่ก็มีฉากตะกั่วกัน(ถ้าเป็น x-ray ปอดนะโดยวางกั้นตั้งแต่เองลงไป)  และก็คอลิเมเตอร์ ก็ต้องบีมลำแสงที่ออกมาจากคอลิเมเตอร์ให้พอดีกับขนาดของพื้นที่ที่เราจะถ่ายอย่างเ่ช่นปอดก็คลุมแค่ปอด ไม่ต้องลงไปถึงข้างล่าง ถ้าเป็นเด็กน้อยๆก็ให้เอาเสื้อตะกั่วคลุมเลยซึ่งเสื้อมันจะมีลักษณะเหมือนผ้าอ้อมเด็ก แล้วก็ตั้งค่าเทคนิคให้เหมาะสมจะได้ x-ray แค่ครั้งเดียว

ถ้าเป็นเครื่อง CT เค้าจะมีแผ่นตะกั่วเหมือนเป็นแผ่นกระโปรงใหญ่ๆ CTมันจะ x-ray สมอง เราก็ให้คนไข้นอนลงบนแผ่นตะกั่วเลยแล้วก็คลุมให้คนไข้เลยมันจะกันรังสีให้คนไข้ได้เยอะเหมือนกับเราห่มผ้าห่มให้เลยแต่ขาก็คงไม่คลุมหรอกนะ คลุมตั้งแต่หน้าอกไป

และต้องมี film badge ด้วย 

นางสาวลดาวัลย์ วิชัยมูล 49662179
ในการป้องกันอันตรายจากรังสี  ส่วนมากขึ้นอยู่กับตัวของนักรังสีเทคนิคเอง  เป็นบทบาทของแต่ละคนที่จะป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างไร  ก็คือ  นักรังสีเทคนิคแต่ละคนสามารถป้องกันรังสีให้กับตนเองและคนไข้  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในการปฏิบัติการทำงาน  เช่นในการถ่ายภาพ  x-ray  ปอดกับคนไข้  เป็นการถ่าย  x-ray   ทีใช้ความเร็วเป็นการใช้เวลาในช่วงสั้น จึงอาจไม่มีการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับคนไข้-   การถ่ายภาพเอกซเรย์ที่มีการใช้ปริมาณโดสต่ำ ๆ ในการถ่ายภาพ  x-ray  บางครั้งอาจจะไม่มีการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับคนไข้  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนักรังสีเทคนิคด้วยว่าจะป้องกันอันตรายจากรังสีให้คนไข้หรือไม่-   การถ่ายภาพ x-ray  ที่มีปริมาณโดส ๆ  จะมีการป้องกันอันตรายรังสีให้กับคนไข้ เช่น  การใส่กระโปรงตะกั่วให้กับคนไข้                แต่ในการทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ทางโรงพยาบาลมีความเข้มงวดในการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับคนไข้  นักรังสีต้องมีการป้องกันอันตรายจากรังสีให้ผู้ป่วยคนไข้ทุกรายและปฏิบัติต่อคนไข้เป็นอย่างดี
นางสาว พัชรา นันตา รหัสนิสิต 49660748

การป้องกันรังสีแก่ผู้ป่วย     ทำได้โดยการที่เราพูดคุยกับผู้ป่วยเวลาที่ผู้ป่วยมาถ่ายภาพx-rayกับเราถึงขั้นตอนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้ป่วยและการใช้เวลาในการถ่ายภาพให้น้อยที่สุดเพื่อลดปริมาณรังสีและการใช้เครื่องป้องกันอันตรายรังสีให้แก่ผู้ป่วย และไม่อนุญาตให้กับคนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องx-rayขณะกำลังถ่ายภาพ

การป้องกันรังสีแก่ผู้ปฏิบัติงาน   การใช้เครื่งกำบังรังสีถ้าจำเป็นต้องอยู่ในห้องx-rayขณะที่มีการถ่ายภาพ ติดเครื่องวัดรังสีประจำตัวทุกครั้งที่ปฏิบัติงานเพื่อจะได้ทราบปริมาณรังสีที่ได้รับในการปฏิบัติงานรวมทั้งการจดบันทึกปริมาณรังสีที่ได้รับทุกครั้งเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองในกรณีที่ได้รับปริมาณรังสีเกินกว่าที่กำหนดต่อปีก็ต้องทำงานในแผนกอื่นเพื่อลดการได้รับปริมาณรังสี การถ่ายภาพx-rayเคลื่อนที่ทุกครั้งก็ต้องสวมเสื้อตะกั่วเพื่อป้องกันรังสี

นาวสาวทิมาพร เสือครุธ รหัสนิสิต49660410 รังสีเทคนิค ปี 2

    จากการสอบถามการปฏิบัติงานจริงของรุ่นพี่ที่ทำงานในการป้องกันอันตรายทางรังสีนั้น ส่วนใหญ่การป้องกันจะเป็นการตัดสินใจของนักรังสีเทคนิคเองว่าจะมีการป้องกันอันตรายให้แก่ตนเองและผู้รับการรักษาอย่างไรมากน้อยแค่ไหนโดยจะไมมาตรการที่แน่ชัดในแต่ละโรงพยาบาลนั้นแต่โดยหลักๆทีนักรังสีปฏิบัติก็จะมีดังนี้

      1. สวมเสื้อตะกั้วบ้างเป็นบางครั้งเมื่อมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ในห้อง แต่จะสวมทุกครั้งเมื่อมีการถ่ายเอกซเรย์เคลื่อนที่และบอกให้บุคคลที่ไม่มีเกี่ยวข้องหลบห่างจากบริเวณที่จะมีการถ่ายภาพเเอกซเรย์

      2. เมื่อมีการควบคุมผู้ป่วยระหว่างการถ่ายภาพเอกซเรย์นักรังสีเทคนิคจะไม่เป็นผู้ควบคุมผู้ป่วยเองเด็ดขาดจะให้ผู้ที่มาด้วยเป็นคนจับแทน

      3. พยายามยืนห่างจากเครื่องเอกซเรย์มาที่สุดเท่าที่จะทำได้เมือมีการถ่ายภาพเอกซเรย์

     4. ควรปิดประตูห้องเอกซเรย์ทุกครั้งเมื่อมีการถ่ายเอกเรย์

     5. ใส่อุปกรณ์ป้องกันให้กับผู้รับการรักษาบ้างเป็นบางครั้งถ้าไม่ขัดกับการสร้างภาพในอวัยวะนั้นๆ (ถ้าผู้ป่วยให้ความร่วมมือและรับฟังการแนะนำของนักรังสีเทคนิคเป็นอย่างดีก็จะได้รับการป้องกันที่ดีด้วย)

     ส่วนมาตราการการป้องกันอื่นที่ปฏิบัติงานจริงก็จะเป็นการติดเรื่องวัดปริมาณรังสีในตัวนักรังสีเทคนิคนิคตลอดเวลาเพื่อทำการส่งตรวจตามเวลาที่ได้กำหนดไว้ อีกอย่ฝางก็คือนกรังสีเทคนินคที่ตั้งครรภ์ก็จะไม่ได้ทำงานในห้องถ่ายภาพเอกซเรย์เลยแต่ให้ไปทำงานอย่างอื่นแทน

 

    

นางสาวสุนันทา บุญช่วย 49662377

บทบาทในการป้องกันอันตรายจากรังสีของนักรังสีเทคนิค   เพื่อที่จะช่วยป้องการอันตรายจากรังสีให้กับตัวป่วยและตัวนักรังสีเองคือ

1.  ใช้  gonad   shiel  ในการป้องกันรังสีให้กับผู้ป่วย

2.  ใช้  field   size  ให้เหมาะสม

3.  ใช้ค่า  exposure    ให้เหมาะสม

4.  ใช้เทคนิค  hight  kv  ในการถ่าย  x-ray

5.  ควบคุมคุณภาพของ  x-ray 

6.  ลดการถ่ายซ้ำ

7.  ปิดประตูขณะทำการถ่าย x-ray

 แต่ว่าในแต่ละโรงพยาบาลจะมีหลักการคล้าย ๆ กันแต่อย่างไงเราก็ต้องป้องกันให้ได้มากที่สุด

นางสาวดวงใจ สีสงปราบ

จากการได้สอบถามรุ่นพี่ที่ทำงานแล้วถึงวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีนั้นได้ข้อมูลดังนี้ ที่โรงพยาบาลเค้าจะแบ่งหน้าที่ใครหน้าที่มันไว้อย่างชัดเจน หน้าที่ของคน x-ray ให้กับคนป่วยเป็นของคนหนึ่ง หน้าที่การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีก็จะเป็นอีกของคนหนึ่ง แต่ถ้าเป็นการป้องกันของตัวเราเองในขณะที่เราจะต้องเกี่ยวข้องหรือ x-ray ให้กับผู้ป่วยนั้นเราก็จะต้องพิจารณาก่อนว่าจะ x-ray บริเวณส่วนใด อวัยวะใดของผู้ป่วยและเราจะได้รับปริมาณของรังสีในครั้งนั้นมากไหมหากพิจารณาแล้วว่าการ x-ray ในครั้งนี้ทำให้ได้รับปริมาณรังสีไม่มากพอที่จะเป็นอันตรายแก่ตัวเราก็จะไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน แค่ยืนให้ห่างจารังสีที่สุดก็พอ แต่ถ้าปฏิบัติงานบางครั้งเราพิจารณาแล้วว่าเราจะได้รับปริมาณรังสีที่มากก็จะสวมอุปกรณ์ป้องกันเช่น เสื้อตะกั่ว ถุงมือตะกั่ว ส่วนของการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้ป่วยนั้นก็จะพิจารณาในหลักเกณท์เดียวกัน

น.ส.ธัญญาลักษณ์ แก้วจุฬา

 จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่มานั้น นักรังสีเทคนิคต้องมีการใส่ชุดตะกั่ว หรืออุปกรณ์ป้องกันอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายขณะปฎิบัติงาน ที่สำคัญจะต้องมีเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล(Film Badge หรือTLD)ติดตัวตลอดในการปฎิบัติหน้าที่  และยังมีหลัก 3 ประการที่สำคัญ คือ

1.เวลา(Time)

2.ระยะทาง(Distance)

3.เครื่องกำบัง(Shielding)

สำหรับผู้ป่วยนั้น ขณะปฎิบัติงานนักรังสีเทคนิคต้องเลือกอุปกรณ์ที่ป้องกันได้อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเราถ่ายx-ray ปอดเราก็ใส่Shieldเพื่อป้องกันอวัยวะสืบพันธุ์แก่คนไข้อย่างเหมาะสม  ส่วนคนป่วยหรือบุคคลภายนอกที่ยังไม่ได้เรียกก็ให้อยู่ห่างๆห้องx-rayไว้

หัสยา เมืองเขียว รหัสนิสิต 496661523

จาการสัมภาษณ์พี่สากล  ที่ทำงานอยู่ที่ โรงพยาบาลท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์  เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี   มีดังนี้

1. มีการปิดประตูห้องเอกซ์เรย์ทุกครั้งที่ทำการ X-ray

2. มีการชักประวัติผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธุ์อย่างละเอียด ทุกครั้งก่อนจะทำการถ่าย x-ray และเมื่อมีการตั้งครรภ์ก็หาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีที่เหมาะสม

3. มีการเปิดลำแสงที่ต้องการถ่ายภาพเอกซเรย์ ก็คือ  มีการเปิดลำแสงพอเหมาะพอดี   โดยไม่กว้างหรือแคบเกินไป

4.เมื่อคนไข้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็จะให้ญาติมาจับเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าโรงพยาบาลที่พี่เค้าอยู่เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอมีบุคคาลากรทางการแพทย์น้อย  โดยจะให้ญาติสวมเสื้อตะกั่ว และถุงมือตะกั่ว

5.นำอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันอวัยวะเพศให้กับผู้ป่วยเมื่อมีการถ่ายเอกซเรย์บริเวณที่ใกล้เคียง

6.เรียกชื่อผู้ป่วยและชักประวัติผู้ป่วยก่อนทุกครั้งที่ถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อป้องกันการถ่ายภาพเอกซเรย์อวัยวะผิด และจะไม่ต้องมีการถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ

7.เมื่อถ่ายเอกซเรย์เสร็จแล้วให้ผู้ป่วย ไปรออยู่ข้างนอกห้องเอกซเรย์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเมื่อเครื่องเอกซเรย์เกิดการชำรุด

8.ในการถ่ายภาพเอกซเรย์ ปอด ก็ทำการซ้อมการกลั้นหายใจก่อนการถ่ายเอกซเรย์จริง  ในผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจ ป้องกันการถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ

9. ทำการล้างฟิล์มอย่างมีประสิทธิภาพและให้มีคุณภาพสูงที่สุด

10.พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างเป็นมิตร

นางสาวกมลรัตน์ จันอร่าม รหัส 49660014

จากการสอบถามและพูดคุยกับรุ่นพี่ทำให้ทราบข้อมูลดังนี้ คือ  การที่เราจะป้องกันอันตรายจากรังสีนั้นเราต้องป้องกันให้ทั้งตัวเรา   ผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย  ผู้ร่วมงานกับเรา  และสาธารณะชนทั่วไปด้วย  คือ

- ปิดประตูทุกครั้งที่มีการถ่ายภาพ x-ray

- มีการพูดคุยกับผู้ป่วย ถึงการเปลี่ยนเสื้อผ้า  ขั้นตอนการถ่ายภาพ   และการปฎิบัติตัวที่ถูกต้อง

-ห้ามญาติ หรือ ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ  เข้ามาในห้องโดยไม่จำเป็น

-ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะมีการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์

-มีป้ายเตือนถึงอันตราย  และป้ายเตือนสำหรับหญิงมีครรภ์

-มีไฟสัญญาณเตือนทุกคร้งที่มีการถ่ายภาพ x-ray

-ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่เหมาะสม

-นักรังสีเทคนิคทุกคนต้องติด film  badge  เพื่อวัดปริมาณรังสีในแต่ละเดอนที่ได้รับ

-ใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีทุกครั้งที่จะต้องจับผู้ป่วย

 

 

นางสาวบริพัฒน์ กัดมั่น รหัส 49662841 ปี 2

 

ตอบ  จากการสัมภาษณ์รุ่นพี่ที่ทำงาน    นักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานอยู่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ นั้นมีหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ตนเองและผู้ป่วยโดยเราจะป้องกันอันตรายจากรังสีคร่าวๆได้ดังนี้

สำหรับคนไข้และญาติ

1. ถ้าเราจะทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ แล้วมีญาติผู้ป่วยเข้ามาในห้องเราก็บอกให้เขาออกไปรออยู่ข้างนอกก่อน

2. ในการถ่ายภาพเอกซเรย์ทุกครั้งควรมีเครื่องกำบังรังสีให้ผู้ป่วยตามความเหมาะสม เช่น  ภาพเอกซเรย์ที่เท้า ให้สวมเสื้อตะกั่ว เป็นต้น

3.สำหรับคนท้อง เช่น จะมาเอกซเรย์มือ  เราก็ต้องมีความระมัดระวังไว้ก่อน โดยต้องมีการสวมเสื้อตะกั่ว

4. ในการเอกซเรย์นั้น ควรเอกซเรย์ในส่วนที่ต้องการจริงๆ เช่น จะเอกซเรย์เฉพาะนิ้วกลาง  ก็ไม่ต้องเอกซเรย์ทั้งมือ

5.ใช้ collimator จำกัดลำรังสีให้มีขนาดเล็กลง

6. ปิดประตูทุกครั้งที่จะทำการเอกซเรย์

7. ตั้งค่า exposure ให้พอดี ให้แพทย์สามารถอ่านค่าได้ก็พอ

สำหรับนักรังสีเทคนิคเอง

1. ต้องมีเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล( Film Badge หรือTLD)  ติดตัวตลอดในการปฏิบัติหน้าที่

2. มีการใช้เครื่องกำบังรังสี เช่น ใส่เสื้อตะกั่ว

3. ให้ญาติหรือผู้อื่นจับคนไข้เพราะเราโดนรังสีเป็นประจำอยู่แล้ว

 

นางสาวสิริยานันท์ ไชยมนตรี รหัสนิสิต 49662322

ตอบ  จากการสอบถามจากรุ่นพี่นั้น การป้องกันอันตรายจากรังสีนั้น ขึ้นอยู่กับควมเข้มงวดของแต่ละโรงพยาบาลแต่ละที่

        แต่อย่างไรก็ตามแต่เราก็ควรตระหนักถึงความปลอดภัยสำหรับตัวเราเองและสาธารณชนทั่วไป

       ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสรเทคนิคเอง

      - เวลา  ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด ใช้เลาน้อยเท่าไหร่เราก็ได้รับรังสีน้อยเท่านั้น

      -ระยะทาง  ควรอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณความเข้มของรังสีได้ 

      -อุปกรณ์ป้องกัน เราต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสี

       ป้องกันอันตรายให้ผู่ที่มารับการรักษา

     -ต้องมีการตัดสินใจว่าที่ทำไปนั้นควีที่จะมีประโยชน์มากกว่าโทสฃษ

     -มีความพอเพียงในการใช้ปริมาณรังสี ควรให้น้อยที่สุดแต่พอเพีบงต่อการวินิจฉัยโรค

    -การจำกัดปริมาณของรังสีให้อยู่ตามที่ICRP กำหนดไว้

    -มีการให้ผู้ป่วยสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันรังสี

   -ปิดประตูห้องเอกซเรย์ด้วย

   -ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องขณะมาการฉายรังสี

น.ส.ปิยะดา ทอนสูงเนิน รหัสนิสิต 49660663

จากการสอบถามพี่บัณฑิต  ได้ข้อมูลดังนี้

 การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้ป่วยและบุคคลภายนอก

- การพูดคุย โดยบอกวิธีปฏิบัติให้กับผู้ป่วย

- ซักถามผู้ป่วยที่เป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์และได้รับอันตรายต่อเด็กในครรภ์โดยไม่รู้

- ปิดห้อง x- ray ทุกครั้ง

- ใช้อุปกรณ์กำบังให้กับผู้ป่วย

- ห้ามไม่ให้ญาติผู้ป่วยเข้าไปในห้อง x - ray โดยไม่จำเป็น

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับนักรังสีเทคนิคเอง

- ส่วมเครื่องกำบัง

- หลบที่ฉากทุกครั้ง

- ยืนให้ห่างจากเครื่อง x - ray

- ใช้เวลาถ่ายให้ไวที่สุด ( อาจเป็นเพราะผู้ป่วยมีจำนวนมากด้วย )

- ติดเครื่องวัดปริมาณรังสีส่วนบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

ในการป้องกันรังสีให้กับผู้ป่วย

1.การสือสารกับคนไข้เพื่อให้คนไข้เข้าใจขั้นตอนการถ่ายภาพเอกซเรย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

2.ปิดประตูทุกครั้งก่อนทำการเอกซเรย์

3.ให้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีเท่าที่สามารถทำได้ แล้วแต่ว่าคนไข้มาถ่ายอะไรเช่น  flat  contact  shield  ป้องกันอวัยวะสืบพันธ์ เช่นในกรณีที่คนไข้มาถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก ถ้าอวัยวะไหนที่ไม่ได้ทำการถ่ายก็ใช้อุปกรณ์กำบังรังสีให้

 

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับนักรังสีเทคนิค

-ในการปฏิบัติงานนั้นพี่เค้าบอกว่าในการปฏิบัติงานก็จะอยู่ด้านหลังฉากตะกั่วในขณะที่ทำการเอกซเรย์ให้กับผู้ป่วย ส่วนเรื่องของอุปกรณ์ป้องกันพวกเสื้อตะกั่วจะไม่ค่อยไดใช้เท่าไร จะใช้ในกรณีที่ต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยไปจัดท่าเป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะหลบอยู่หลังฉากตะกั่วมากกว่า แล้วเวลาถ่ายเอกซเรย์ก็ควรอยู่หากจากต้นกำเนิดรังสีมากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานก็จะมีฟิล์มแบดจ์ไว้สำหรับตรวจวัดปริมาณรังสีที่อาจได้รับขณะปฏิบัติงาน สุดท้ายต้องมีความระมัดระวังในขณะปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

นางสาว ชราลัย นาคจรุง รหัสนิสิต 49660243

จากการสอบถามเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี จากรุ่นพี่นั้น ก็จะมีการใส่อุปกรป้องกันเวลาถ่ายภาพเอ็กซเรย์ ก็ใส่ทั้งนักรังสีเทคนิคแล้วก็คนไข้ด้วยของคนไข้ก็ใส่กันเฉพาะบริเวณที่ไม่ต้องการให้เห็นในฟิล์มนะ  เวลาถ่ายก็ต้องปิดประตูด้วย  ถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ต้องให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในห้องเอ็กซเรย์  คุยกับคนไข้ด้วยว่าเราจะทำอะไรบ้างเค้าต้องทำไงบ้าง  การตั้งค่าต่างๆก็ต้องตั้งให้ดีจะได้ไม่ต้องถ่ายใหม่มันก็จะช่วยลดปริมาณรังสีที่เรากับคนไข้จะได้ด้วย  เวลาจะถ่ายจัดท่าให้คนไข้เรียบร้อยแล้วเราก็ไปหลบหลังฉากตะกั่ว นักรังสีเทคนิคก็จะต้องติดฟิล์มแบดจ์ด้วยเอาไว้ตรวจเราจะได้รู้ว่าได้รับรังสีไปแค่ไหนแล้ว 

นส.ปวรรณรัตน์ เพชรชาติชั้น (49660618)

 

     จากการสัมภาษณ์รุ่นพี่นะค่ะ ในเรื่องบทบาทหน้าที่ที่มีต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี พี่ก็บอกว่า...       1. ที่ รพ. จะมีการ check ฉากตะกั่วที่เป็นที่กั้นตรงที่เราจะ shoot  คือมีการตรวจสอบว่าสามารถป้องกันรังสีได้จริงมั้ย    

2. มีการวัดปริมาณรังสีรอบๆห้อง x-ray ว่าตรงไหนปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย เช่น บริเวณกำแพง หลังประตู เป็นต้น                                                             

3. นักรังสีเทคนิคทุคนจะต้องมีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำบุคคล ซึ่งทาง รพ.จะมีการส่งไปให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจปริมาณรังสีอีกที  

   จากการที่ได้สัมภาษณ์รุ่นพี่ รุ่นพี่บอกข้าพเจ้าว่าในการป้องกันอันตรายจากรังสีจะใช้วิธีปฏิบัติ 3 ประการ คือ

   1. Time (เวลา) ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้น้อยที่สุด เพื่อลดปริมาณรังสี

   2. Distance (ระยะทาง) คือเราอยู่ห่างรังสีมากเท่าไร เราจะได้รับปริมาณรังสีน้อยเท่านั้น

   3. Shielding (เครื่องกำบัง) ใช้เครื่องกำบังทุกครั้งเวลาปฏิบัติงาน  เพื่อลดปริมาณรังสี ทำให้เราได้รับรังสีน้อยที่สุด

นางสาวธารารัตน์ สมชื่อ รหัสนิสิต49662025

จาการที่ได้ไปพูดคุยกับพี่ถึงเรื่องประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่การป้องกันอันตรายจากรังสีนั้นได้ข้อมูลดังนี้    

    ก่อนการทำงานทุกครั้งเราต้องติดฟิล์มแบดด้วยเพื่อที่ว่าจะวัดปริมาณรังสีที่ตัวเราได้รับ    และในการป้องกันอันตรายจากรังสีนั้นที่สำคัญคือเราต้องใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้น้อยที่สุด    ยืนให้ห่างจากต้นกำเนิดรังสี และก็สุดท้ายก็ต้องใช้เครื่องกำบังด้วย เช่น เสื้อตะกั่ว        สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือเราก็ต้องทำการเอกซเรย์ให้ภาพออกมาให้ดีที่สุดโดยใช้รังสีในปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ถ้าภาพออกมาไม่ดีอาจจะถูกหมอตำหนิได้         ไม่ควรมีการเอกซเรย์ซ้ำเพราะจะเป็นการเพิ่มปริมาณรังสีให้กับผู้ป่วยและตัวเราด้วย

นายธนพัฒน์ ช่องสาร

กระผมได้ดำเนินการสัมภาษณ์ นักรังสีเทคนิค อัจฉรา  พระสาวงศ์ นักรังสีเทคนิคประจำโรงพยาบาลพญาไท ๑ กรุงเทพมหานคร ได้ผลสรุปดังนี้

เจ้าหน้าที่รังสี

                - สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งที่ทำเกี่ยวกับเครื่อง Flu

            - ปิดประตูห้องทุกครั้งที่ถ่ายภาพเอกซเรย์

                -หลบฉากกันรังสีทุกครั้งที่ภ่ายภาพ

 

ผู้ป่วย

- สอบถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยเจริญพันธุ์ทุก  case ก่อนการเอกซเรย์  เนื่องจากว่ารังสีมีผลต่อทารกในครรภ์

- สวมกระโปรงตะกั่ว  หรือแผ่นตะกั่วป้องกันรังสี  ในส่วนที่ไม่ต้องการถ่ายภาพทุก case

 

ก็ในฐานะที่พี่เป็นนักรังสีเทคนิคพี่ก็ได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและในฐานะในการป้องกันตัวเองด้วย

 

 

 

 

นายธนพัฒน์ ช่องสาร เลขประจำตัวนิสิต 49662803

กระผมได้ดำเนินการสัมภาษณ์ นักรังสีเทคนิค อัจฉรา  พระสาวงศ์ นักรังสีเทคนิคประจำโรงพยาบาลพญาไท ๑ กรุงเทพมหานคร ได้ผลสรุปดังนี้

เจ้าหน้าที่รังสี

                - สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งที่ทำเกี่ยวกับเครื่อง Flu

            - ปิดประตูห้องทุกครั้งที่ถ่ายภาพเอกซเรย์

                -หลบฉากกันรังสีทุกครั้งที่ภ่ายภาพ

  ซึ่งก็บางครั้งก็ได้มีการส่งบุคลากรไปอบรมและทั้งนี้ผู้ที่ไปอบรมก็จะมาถ่ายทอดความรู้กับบุคลากรคนอื่นด้วย

ผู้ป่วย

- สอบถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยเจริญพันธุ์ทุก  case ก่อนการเอกซเรย์  เนื่องจากว่ารังสีมีผลต่อทารกในครรภ์

- สวมกระโปรงตะกั่ว  หรือแผ่นตะกั่วป้องกันรังสี  ในส่วนที่ไม่ต้องการถ่ายภาพทุก case

 

ก็ในฐานะที่พี่เป็นนักรังสีเทคนิคพี่ก็ได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและในฐานะในการป้องกันตัวเองด้วย

น.ส.อัญญารัตน์ คำก่อ รหัสนิสิต 49661707

จากการสัมภาษณ์รุ่นที่ รุ่นพี่บอกเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีว่า..

-อันดับแรกเลยเราก็ต้องเรียกชื่อคนไข้ก่อน พอเวลาคนไข้เข้ามาในห้องแล้วเราก็ต้องปิดประตูห้องทุกครั้งที่จะมีการถ่ายภาพ เพื่อป้องกันอันตรายให้กับบุคคลภายนอกที่เดินผ่านไปผ่านมา หลังจากนั้นเราก็ดูรูปร่างลักษณะของคนไข้ว่าอ้วนหรือว่าผอมเพราะเวลาเราจะถ่ายภาพเราต้องตั้งค่าคอลิเมเตอร์ว่าควรจะเท่าไหร่ลำรังสีมากไปไหม เราก็ต้องดูให้เหมาะสมกับอวัยวะที่เราจะถ่ายด้วยจะได้ไม่เป็นอันตรายกับคนไข้ และภาพที่ได้ออกมาจะได้ชัดและก็มีคุณภาพ อย่างเช่นให้ถ่ายที่ปอดเราก็จำกัดพื้นที่ที่ปอด ไม่ต้องไปเผื่อที่อื่น เพราะจะทำให้อวัยวะอื่นได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น แล้วเวลาเราจะถ่ายให้คนไข้เนี่ย เราก็ต้องป้องกันอันตรายให้กับคนไข้ด้วย คือเราก็ต้องนำกระโปรงตะกั่วไปให้คนไข้ใส่ เพื่อที่จะป้องกันรังสีให้กับคนไข้ในส่วนที่เราไม่ต้องการถ่ายเป็นการจำกัดรังสีให้กับคนไข้อีกทางหนึ่ง แล้วส่วนตัวเรา(นักรังสี)ก็ต้องป้องกันตนเองด้วย อย่างโรงพยาบาลที่พีทำงานมันจะไม่มีห้องกระจกตะกั่วอยู่ เวลาเราจะ shoot เนี่ยเราก็ต้องหาที่กำบัง ในห้องถ่ายเนี่ยมันจะมีกระจกตะกั่วอยู่เราก็ไปหลบตรงนั้นแหละ อีกอย่างนะถ้าไม่จำเป็นเราไม่ต้องไปจับอยู่กับตัวคนไข้นะเวลาถ่ายอะ เพราะจะทำให้เราได้รับรังสีไปด้วย เพราะเราต้องทำงานอยู่กับมันอีกนาน เรามีโอกาสสะสมรังสีอีกเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปจับ หรือเราอาจจะให้ญาตเป็นคนจับก็ได้ แต่ก็ต้องมีเสื้อตะกั่วให้กับญาติด้วยนะ และที่สำคัญเวลาถ่ายจะต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุดด้วยเพื่อจะได้ลดปริมาณรังสีให้กับคนไข้

และที่สำคัญเลยอันนี้นักรังสีเทคนิคจะต้องติดฟิล์มแบดทุกคน

แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลไหนๆเค้าก็จะมีมาตรการการป้องกันอันตรายอยู่ เราก็ปฏิบัติตามก็จะปลอดภัยทั้งตัวเราเอง คนไข้ แล้วก็สาธารณะชนทั่วไปด้วย

นายกิตติศักดิ์ วิเชียรสรรค์

นักรังสีเทคนิคมีบทบาทหน้าที่ต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี ดังนี้

1.ในกรณีที่เป็นเด็กมาเอ็กซ์เรย์เราจะใส่เครื่องป้องกันอวัยวะเพศให้เด็ก

2. มีการจัดทำบอร์ดให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปในเรื่องของอันตรายจากรังสี และการป้องกันตนเองเบื้องต้น

3. เวลามีญาติของผู้ป่วยเข้าไปจับผู้ป่วยขณะถ่ายเอ็กซ์เรย์ เราต้องใส่เครื่องป้องกันให้กับญาติด้วย

4. ใช้หลักการดังนี้คือ 1. ใช้ระยะเวลาในการสัมผัสกับรังสีให้น้อยที่สุด 2. อยู่ห่างจากบริเวณที่มีรังสีให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3. ควรใส่เครื่องป้องกันทุกครั้งที่มีการสัมผัสกับรังสี

5. ตัวนักรังสีเองมีการใส่ Film badge เพื่อวัดค่ารังสีที่เราได้รับ และส่งวัดผลทุกเดือน มีการประมวลผลค่าของรังสีประจำปี

        นายกิตติศักดิ์ วิเชียรสรรค์ 49660083

นายอำนาจ ยางลิ่ม รหัสนิสิต 49662445
ตอบ   การป้องกันอันตรายจากรังสีนั้น ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละที่แต่ละโรงพยาบาล ٭  แต่จากการได้คุยกับรุ่นพี่ข้อมูลที่ได้คือ          1. ป้องกันอันตรายให้ผู้ที่มารับบริการ-มีความพอเพียงในการใช้ปริมาณรังสี ควรให้น้อยที่สุดแต่พอเพียงต่อการวินิจฉัยโรค-ต้องมีการตัดสินใจว่าที่ทำไปนั้นควรที่จะมีประโยชน์มากกว่าโทษ-มีการให้ผู้ป่วยสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันรังสี-การจำกัดปริมาณของรังสีให้อยู่ตามที่ ICRP กำหนดไว้-ปิดประตูห้องเอกซเรย์ด้วย-ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องขณะมาการฉายรังสี- ป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ       2.  ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสรเทคนิคเอง                       - เวลา  ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด ใช้เลาน้อยเท่าไหร่เราก็ได้รับรังสีน้อยเท่านั้น                      - ระยะทาง  ควรอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณความเข้มของรังสีได้                       - อุปกรณ์ป้องกัน เราต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสี                      - การใช้เทคนิคการถ่ายและการป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ 
ตอบ   การป้องกันอันตรายจากรังสีนั้น ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละที่แต่ละโรงพยาบาล ٭  แต่จากการได้คุยกับรุ่นพี่ข้อมูลที่ได้คือ 
  •          1. ป้องกันอันตรายให้ผู้ที่มารับบริการ
  • มีความพอเพียงในการใช้ปริมาณรังสี ควรให้น้อยที่สุดแต่พอเพียงต่อการวินิจฉัยโรค
  • ต้องมีการตัดสินใจว่าที่ทำไปนั้นควรที่จะมีประโยชน์มากกว่าโทษ
  • มีการให้ผู้ป่วยสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันรังสี
  • การจำกัดปริมาณของรังสีให้อยู่ตามที่ ICRP กำหนดไว้
  • ปิดประตูห้องเอกซเรย์ด้วย
  • ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องขณะมาการฉายรังสี
  •  ป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ

       2.  ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสรเทคนิคเอง                     

  •   - เวลา  ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด ใช้เลาน้อยเท่าไหร่เราก็ได้รับรังสีน้อยเท่านั้น
  •  - ระยะทาง  ควรอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณความเข้มของรังสีได้ 
  •  - อุปกรณ์ป้องกัน เราต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสี
  •  - การใช้เทคนิคการถ่ายและการป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ 
นายอำนาจ ยางลิ่ม รหัสนิสิต 49662445
ตอบ   การป้องกันอันตรายจากรังสีนั้น ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละที่แต่ละโรงพยาบาล ٭  แต่จากการได้คุยกับรุ่นพี่ข้อมูลที่ได้คือ 
  •          1. ป้องกันอันตรายให้ผู้ที่มารับบริการ
  • มีความพอเพียงในการใช้ปริมาณรังสี ควรให้น้อยที่สุดแต่พอเพียงต่อการวินิจฉัยโรค
  • ต้องมีการตัดสินใจว่าที่ทำไปนั้นควรที่จะมีประโยชน์มากกว่าโทษ
  • มีการให้ผู้ป่วยสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันรังสี
  • การจำกัดปริมาณของรังสีให้อยู่ตามที่ ICRP กำหนดไว้
  • ปิดประตูห้องเอกซเรย์ด้วย
  • ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องขณะมาการฉายรังสี
  •  ป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ

       2.  ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสรเทคนิคเอง                     

  •   - เวลา  ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด ใช้เลาน้อยเท่าไหร่เราก็ได้รับรังสีน้อยเท่านั้น
  •  - ระยะทาง  ควรอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณความเข้มของรังสีได้ 
  •  - อุปกรณ์ป้องกัน เราต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสี
  •  - การใช้เทคนิคการถ่ายและการป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ 
นางสาวกุหลาบ บุญเรือง

จากการที่ข้าพเจ้าได้สอบถามรุ่นพี่ ทำให้ได้ทราบว่านักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนั้นมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างในการป้องกันอันตรายรังสี ซึ่งประกอบไปด้วย

1. การป้องกันอันตรายให้กับตัวนักรังสีเอง ซึ่งเวลาเราปฏิบัติงานนั้นเราก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อที่จะให้ตัวเราและผู้ป่วยได้รับรังสีปริมาณน้อยที่สุด ซึ่งการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสีเองนั้นก็สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1.1 ทุกครั้งที่มีการฉายรังสีเราต้องปิดประตูห้องทุกครั้ง รวมทั้งห้องควบคุมด้วย

1.2 สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งที่คาดว่าจะต้องได้รับรังสี เช่นการทำการเอกซเรย์แบบ flu

1.3 เมื่อปฏิบัติงานต้องติดฟิล์มแบดทุกครั้ง

1.4 หลบหลังฉากตะกั่ว

1.5 พยายามไม่ไปจับผู้ป่วยขณะฉายรังสี ถ้าไม่จำเป็น

2. การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้ป่วย เราก็ต้องให้ความสำคัญ โดยทุกครั้งเราก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้ป่วย และอธิบายให้ผู้ป่วยฟัง ผู้ป่วยจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูก และง่ายต่อการทำงานของเรา โดยเราจะมีการป้องกันรังสีให้กับผู้ป่วยดังต่อไปนี้

2.1 ใช้เวลาในการถ่ายภาพเอกซเรย์ให้น้อยที่สุด

2.2 ใช้อุปกรณ์ป้องกันให้กับผู้ป่วยในส่วนที่มีความสำคัญ เพื่อป้องกันการได้รับรังสีในบริเวณที่ไม่จำเป็น

2.3 หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงก็ควรสอบถามเรื่องการตั้งครรภ์ก่อน

สรุปพี่เค้าก็บอกว่าในทุกครั้งที่ทำงานก็ต้องสนใจเรื่องงานเป็นอันดับแรก ต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่าวันนี้จะทำอะไร ต้องทำให้ดีที่สุด

นางสาวธนาพร อินคุ้ม รหัส 49660458 คณะสหเวชศาสตร์ สาขารังสีเทคนิค

จากการสอบถามรุ่นพี่นะคะ   พี่เค้าบอกว่าถ้ามีคนมาถ่าย x-ray  กับเราเนี้ยะ  เราต้องสอบถามชื่อของเค้าให้ดีว่าเค้าชื่ออะไร  ป่วยเป็นอะไรมาเพื่อป้องการถ่าย x-ray ผิดคน  แล้วเวลาถ่าย x-ray ก็ต้องดูให้ดีให้ละเอียดรอบคอบว่าจัดท่าให้คนไข้ถูกต้องแล้วหรือเปล่า เครื่องปกตอดีไหม? เพื่อป้องการการถ่าย x-ray ซ้ำ ทำให้คนไข้ได้รับรังสีมากเกินไปโดยไม่จำเป็นต้องระวังด้วย  ถ้ามีคนที่ตั้งครรภ์มา x-ray ก็ต้องระวังให้มากหรือไม่ก็ต้องโทรไปถามหมอเจ้าของไข้อีกเพื่อทีความแน่ใจ  และจะต้องปิดประตูห้อง x-ray ทุกครั้งด้วยเพื่อป้องกันผู้ที่เดินผ่านไปมาได้รับรังสี 

  สำหรับตัวเรา(นักรังสีเทคนิค)ต้องติดฟิล์มแบดทุกครั้ง  และต้องเข้าไปอยู่ในห้องควบคุม หรือไม่ก็อยู่หลังฉากกำบัง  ถ้าไม่มีก็ต้องใส่ชุดตะกั่วต้องดูแลตัวเองไว้ก่อนนะ

พี่เค้าบอกว่าการป้องกันอันตรายจากรังสีของโรงพยาบาลอื่นอาจแตกต่างจากนี้ได้นะตามมาตรฐานของแต่ละโรงพยาบาลแต่ส่วนใหญ่เค้าก็มีมาตราการป้องกันที่ดีกันทุกโรงพยาบาลนั่นแหละ

นายพิชัย พันธ์พืช รหัสนิสิต 49661806
จากการที่ได้สอบถามพี่เกี่ยวกับหน้าที่ของนักรังสีเทคนิคเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี คือ
 
- ติดป้ายแสดงบริเวณที่มีรังสี
- มีบอร์ดแนะนำการป้องกันอันตรายจากรังสี
- เมื่อมีการถ่ายเอกซเรย์อวัยวะต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ในช่วงกระดูกเชิงกราน pelvis ควรมีการป้องกันโดยการให้คนไข้สวมเสื้อตะกั่ว หรือ ใช้ gonad sheild เพื่อป้องกันบริ้เวณอวัยวะสืบพันธุ์
- ถ้าจำเป็นต้องให้ญาติคนไข้สวยจับคนไข้ควรให้ญาติคนไข้สวมเสื้อตะกั่วเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี
- มีป้ายติดแจ้งให้ทราบในกรณีผู้ป่วยที่มีการตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครภ์ ว่า ให้แจ้งเจ้าหน้าที่
- สอบถามเพื่อความแน่ใจอีกครั้งว่า ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือไม่ หรือประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
- ตั้งค่า technic ให้เหมาะสมโดยใช้ technic high kVp เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับในปริมาณที่มากเกินไป
- เมื่อจะทำการเอกซเรย์ ควรปิดประตูทุกครั้ง และ ควรแจ้งให้ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทราบว่าจะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์กรณีที่ไป portable
นางสาวจิราภรณ์ คำห้าง รหัสนิสิต 49662780

           จากการสอบถามนักรังสีเทคนิค

หน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากรังสีของนักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

         การป้องกันของนักรังสีของนักรังสีเทคนิค

1.ภายในแผนกรังสีจะมีเครื่องมือในการป้องกันรังสี เช่น ฉากตะกั่ว, เสื้อตะกั่ว,thyroid shield, ถุงมือตะกั่ว และแว่นตากันตะกั่ว เป็นต้น สำหรับตัวนักรังสีเทคนิคเองต้องใส่อุปกรณ์ในการป้องกันรังสีทุกครั้งที่ปฏบัติงาน

2.จะต้องติดfilm badge ทุกครั้งที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง โดยติด film badge ให้กับพนักงานที่ทำงานในแผนกทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค และเจ้าพนักงานอื่นๆในแผนก

3.ในโรงพยาบาลต้องมี RSO ที่ทำหน้าที่ควบคุมมาตราการการป้องกันอันตรายต่างๆของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นนโยบายของโรงพยาบาล โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาตรวจทุกปี

        การป้องกันของนักรังสีเทคนิคต่อผู้ป่วย

             ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการที่แผนกอาจต้องมีการป้องกันอันตรายจากรังสีเช่น การทำ CT ต้องมีการป้องกันโดยการเอาเสื้อตะกั่วพันรอบตัว ตั้งแต่ลำคอจนถึงปลายเท้า  ,เด็กอาจจะมีผ้าตะกั่วลักษณะเหมือนผ้าอ้อมพันบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ,ในคนตั้งครรภ์ ต้องมีการสอบถามแพทย์ก่อนว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องถ่ายเอกซเรย์ โดยอาจต้องเอาเสื้อตะกั่วคลุมท้องไว้ และที่สำคัญคือต้องป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้ป่วยทุกครั้ง

นางสาวเจนจิรา วรรณประโพธิ์ รหัสนิสิต 49660212

บทบาทหน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี

          จากการสอบถามรุ่นพี่ก็ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับบทบาทของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี  ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 อย่างคือ

  1. การป้องกันให้กับตนเอง
  • เมื่อเราจะทำการถ่ายเอกซเรย์เราก็ต้องมาหลบที่หลังฉากกำบังรังสี(กำแพงตะกั่ว) 
  • เมื่อจำเป็นต้องไปจับคนไข้ในขณะที่มีการถ่ายเอกซเรย์เราก็ต้องมีการสวมเสื้อตะกั่วเพื่อป้องกันรังสี
  • เมื่อเราต้องทำการตรวจพิเศษหรือว่าเครื่องFluoroscopy เราก็ต้องมีการใส่ คอนลาร์ที่คอ(เพื่อป้องกันต่อมไทลอยด์) และมีการใส่เสื้อตะกั่วที่เป็นแบบเต็มตัว

     2.  การป้องกันให้กับคนไข้และบุคคลอื่นๆ

  • ถ้าคนไข้ท้องประมาณว่าเด็กในท้องยังไม่เป็นตัว  เราจะไม่ทำการถ่ายเอกซเรย์ให้
  • ถ้าเป็นการเอกซเรย์ที่มือ เท้า เราก็ให้คนไข้ใส่เสื้อตะกั่ว  และที่สำคัญต้องมีการป้องกันที่อวัยวะสืบพันธุ์ของคนไข้ด้วยเพราะเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อรังสี
  • ถ้าเป็นคนไข้เด็กการเอกซเรย์ต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นและต้องมีการป้องกันให้ปลอดภัยอย่างมากด้วย
  • เมื่อทำการเอกซเรย์เราต้องปิดประตูห้องให้มิดชิดทุกครั้ง ให้ญาติรออยู่ข้างนอก
  • หากจำเป็นที่จะต้องให้ญาติหรือบุคคลอื่นเข้ามาในห้องเอกซเรย์เพื่อที่จะช่วยยกหรือจับคนไข้ในขณะที่ทำการถ่ายเอกซเรย์อยู่นั้นเราก็ให้เขาใส่เสื้อตะกั่ว

       **พี่บอกว่า การป้องกันนี้เป็นของทางรังสีวินิจฉัย  ถ้าเป็นทางด้านอื่น เช่น ทางด้านเวชศาสตร์หรือรังสีรักษา  ก็จะมีวิธีการป้องกันที่มากว่านี้เพราะต้องใช้รังสีมากกว่าและอันตรายกว่า**

น.ส.วัชราพรรณ สุราฤทธิ์ รหัสนิสิต 49662896

จากการสอบถามรุ่นพี่ที่ปฏิบัติงานด้านรังสีวินิจฉัยเกี่ยวกับบทบาทของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี  ก็ได้ข้อมูลมาว่า

การป้องกันให้กับตนเอง

 

พี่ก็บอกว่า  เราทำงานด้านนี้มันอันตราย  เราก็ต้องมีการป้องกันตนเอง  เพื่อที่จะไม่ให้ร่างกายได้รับรังสีหรือเจ็บป่วยเป็นอะไร  ซึ่งเราก็สามารถป้องกันได้โดย  เวลาที่เราจะทำการถ่ายเอกซเรย์เราก็ต้องมาหลบที่หลังฉากกำบังรังสี  แล้วบางทีเราก็ต้องไปจับคนไข้ในขณะที่มีการถ่ายเอกซเรย์เราก็ต้องมีการสวมเสื้อตะกั่วเพื่อป้องกันรังสี  หรือว่าเมื่อเราต้องทำการตรวจพิเศษหรือว่าเครื่องFluoroscopy เราก็ต้องมีการใส่ คอนลาร์ที่คอ(เพื่อป้องกันต่อมไทรอยด์) และมีการใส่เสื้อตะกั่วที่เป็นแบบเต็มตัว  และนอกจากนี้ในขณะปฏิบัติงานเราก็ควรติดเครื่องวัดรังสีปรจำตัวบุคคลหรือ film  badge ไว้ด้วย  เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเราได้รู้ว่าเราได้รับรังสีไปเท่าไหร่  การป้องกันให้กับผู้รับบริการหรือคนไข้และบุคคลอื่นๆ
  1.  อันดับแรกเลย  เราต้องเรียกชื่อผู้ป่วย  ซักประวัติผู้ป่วย  และอธิบายขั้นตอนการถ่ายเอกซเรย์ทุกครั้งที่ถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อป้องกันการถ่ายภาพเอกซเรย์อวัยวะผิด และจะไม่ต้องมีการถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ
  2. ถ้าคนไข้ท้อง  ซึ่งถ้าเป็นท้องช่วงแรกๆที่เด็กในท้องยังไม่เป็นตัว  เราจะไม่ทำการถ่ายเอกซเรย์ให้  แต่ถ้าเป็นท้องที่โตแล้ว เราก็เอกซเรย์ได้  แต่ต้องป้องกันคนไข้ให้มากที่สุด เช่น ให้สวมเสื้อตะกั่วในการเอกซเรย์มือ เป็นต้น แต่ทางที่ดีก็ควรหลีกเลี่ยงในจุดนี้
  3. ให้ผู้ป่วยสวมอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันอวัยวะเพศเมื่อมีการถ่ายเอกซเรย์บริเวณที่ใกล้เคียงกับระบบสืบพันธุ์
  4. ถ้าเป็นคนไข้เด็กการเอกซเรย์ต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นและต้องมีการป้องกันให้ปลอดภัยอย่างมากด้วย
  5. ถ้าเป็นการเอกซเรย์ที่มือ เท้า เราก็ให้คนไข้ใส่เสื้อตะกั่ว  และที่สำคัญต้องมีการป้องกันที่อวัยวะสืบพันธุ์ของคนไข้ด้วยเพราะเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อรังสี
  6. วลาที่เราจะทำการเอกซเรย์เราต้องปิดประตูห้องให้มิดชิดทุกครั้ง และให้ญาติผู้ป่วยรออยู่ข้างนอก  แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องให้ญาติหรือบุคคลอื่นเข้ามาในห้องเอกซเรย์เพื่อที่จะช่วยยกหรือจับผู้ป่วยก็ควรให้เขาสวมเสื้อตะกั่วด้วย
น.ส.ฉัตรนภา นันตื้อ รหัสนิสิต 49662797

จากการสอบถามพี่เกี่ยวกับหน้าที่ของนักรังสีเทคนิคในการป้องันันตรายจากรังสี ก็จะแบ่งการป้องกันเป็น 2 ด้าน ดังนี้

1. ป้องกันอันตรายนรังสีกับตัวนักรังสีเอง

1.1.ทุกครั้งที่มีการฉายรังสีให้ปิดประตูห้องทุกครั้ง

1.2. ขณะที่ทำการฉายรังสีจะต้องเข้าที่กำบังทุกครั้ง

1.3. ติดฟิล์มแบดทุกครั้งขณะปฎิบัติงาน

1.4. เมื่อมีการตรวจพิเศษหรือว่าเครื่องFluoroscopy เราต้องสวมเสื้อตะกั่ว และคอร์ลาร์ที่คอ

1.5. หากเป็นงานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ สวมถุงมือตะกั่วหากต้องมีการฉีดสารทึบรังสี

2.ป้องกันอันตรายให้กับผู้รับบริการ

2.1. สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้รับบริการทุกครั้งที่ถ่ายเอกซเรย์

2.2. หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงก็ให้สอบถามว่าผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย

 

 

ขนิษฐา เมืองพระฝาง 49660106

จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่นะค่ะ

การป้องกันรังสีให้ผู้ป่วย

  1. ให้ผู้ป่วยใส่ชุดตะกั่ว  และมีที่ป้องกันอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งที่มีการถ่ายภาพเอกซเรย์
  2. ถ่ายภาพเอกซเรย์แค่ครั้งเดียวและได้ภาพที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อป้องกันให้ผู้ป่วยได้รับรังสีน้อยที่สุด
  3. ควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย  ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กก็ให้ญาติมาจับไว้  หรือใช้เครื่องควบคุมการเคลื่อนไหว

การป้องกันอันตรายรังสีให้กับนักรังสีเทคนิค

  1. มีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลคือฟิล์มแบด
  2. ใส่เสื้อตะกั่ว
  3. มีข้อกำหนดในการที่นักรังสีตั้งครรภ์   หรือได้รับอุบัติเหตู
นางสาวลลิตา ม่วงเครือสุข 49660953

ตอบ  จากการที่ได้ไปสอบถามจากรุ่นพี่ได้รายละเอียดดังนี้

สำหรับนักรังสีเทคนิค

   - ปิดประตูห้องให้สนิททุกครั้งที่มีการทำการถ่ายภาพ x-ray

   -  สวมเสื้อตะกั่วเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี

   -  พยายามถ่ายภาพเพียงครั้งเดียว

   - ควรมีเครื่องตรวจวัดรังสีติดตัว เพื่อให้เราได้รู้   ปริมาณรังสีที่เราได้รับ

สำหรับผู้ป่วย

   - ต้องมีการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อจะได้รับความร่วมมือในการถ่ายภาพ

   -  ถามผู้ป่วยว่าตั้งครรภ์ หรือ เป็นประจำเดือนหรือไม่

   -  ใช้ collimator จำกัดลำรังสีให้มีขนาดเล็กลง

   -  ตั้งค่า exposure ให้พอดี  

ตอบ

ในการป้องกันอันตรายให้กับผู้ป่วย

 -ต้องมีการสื่อสารกับผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความร่วมมือที่ดี

 -  มีการสอบถามหญิงวัยเจริญพันธุ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่

 - ปิดประตูห้อง x-ray  ให้สนิท ทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงาน

 - ในกรณีที่เป็นเด็กควรมีเครื่องจำกัดการเคลื่อนไหว

 -  หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพ ซ้ำ

ในการป้องกันอันตรายให้กับนักรังสีเทคนิค

 - นักรังสีควรสวมเครื่องกำบังทุกครั้ง

 - หลบไปที่ฉากกันรังสีทุกครั้งที่ภ่ายภาพ

 - ยืนให้ห่างจากเครื่อง x - ray

ปิยพร กาญจนประเสริฐ 49660656

จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่ พบว่าการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาล ซึ่งการปฏิบัติจะต่างกันออกไป

1.โรงพยาบาลเอกชนจะมีการป้องกันอันตรายจากรังสีโดยที่การถ่ายเอกซ์เรย์ให้แก่ผู้ป่วยจะฉายภาพให้ติดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีด้วย เพื่อเป็นเครื่องยืนยันผ่านหลังได้หากผู้ป่วยเป็นอันตรายภายหลังว่าเราก็มีการป้องกันแล้วเช่นกัน

2. โรงพยาบาลของรัฐบาล เวลาการถ่ายเอกซ์เรย์แล้วจะไม่ติดเครื่องป้องกันในฟิล์ม แต่ยังพบว่ามีการป้องกันอยู่เช่นกัน

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ป่วยมีดังนี้

1. ติดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี

2. หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงก็ให้สอบถามว่าผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย

3. ควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย  ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กก็ให้ญาติมาจับไว้  หรือใช้เครื่องควบคุมการเคลื่อนไหว

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสีเทคนิค

1. เวลา  ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยเท่าไหร่เราก็ได้รับรังสีน้อยเท่านั้น

2. ระยะทาง  ควรอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณความเข้มของรังสีได้ 

3. การใช้เทคนิคการถ่ายและการป้องกันการถ่ายภาพซ้ำ

4. อุปกรณ์ป้องกันรังสีขณะที่ต้องเข้าไปปฏิงานในที่ ที่มีรังสีอยู่

5. มีการติดฟิล์มแบดเพื่อตรวจวัดว่าเราได้รับรังสีปริมาณเท่าไรแล้ว

 

นายคมศักดิ์ กุลคง รหัสนิสิต 49661929

จากการได้สอบถามพี่ว่าบทบาทของพี่เขาในเรื่องของการป้องกันอันตรายจากรังสีในโรงพยาบาลพี่ก็ตอบว่า

      ในการป้องกันอันตรายจากรังสีนั้นเราต้องมีการป้องกันเลยนะที่สำคัญคือ

1.การป้องกันให้กับตัวนักรังสีเองหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์

   1.1มีการใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีทุกครั้งที่ปฎิบัติงาน เช่น พวกเสื้อตระกั๋วทั้งหลาย

   1.2ต้องคนต้องติด Film badge เพื่อนจะได้รู้ว่าเรามีปริมาณรังสีอยู่เท่าใดในร่างกาย

   1.3และถ้าจำเป็นจะให้ญาติของคนไข้มาจับตัวคนไข้เราต้องให้ญาติใส่เสื้อตระกั๋วด้วยทุกครั้ง

2.ป้องกันให้กับคนไข้และบุคคลทั่วไป คือ

   2.1มีการใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีในอวัยวะที่เราไม่ได้ถ่าย  เช่น ถ่ายทรวงอก เราก็ต้องมีอุปกรณ์การป้องกันกับอวัยวะที่เราไปต้องการถ่าย อย่างเช่น อวัยวะสืบพันธุ์ อะไรประมาณนี้คับ

   2.2บอกให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งว่าเราจะทำอะไรกับผู้ป่วย เพราะว่าจะทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับเรา  ซึ่งจะส่งผลให้เราสามารถถ่ายภาพ x-ray ได้มีคุณภาพ ครั้งเดียวผ่าน ไม่ต้องถ่ายซ้ำ ลดการได้รับรังสีของผู้ป่วย

   2.3ที่สำคัญเลยนะเมื่อมีการ x-ray อะเราต้องปิดประตูห้อง x-ray ให้สนิจ ถ้าปิดไม่สนิจคนที่อยู่นอกห้องก็จะได้รับรังสีไปด้วย

    พี่เข้าบอกว่ายังมีหลายข้อที่เป็นบทบาทของเรา  แต่ที่หลักๆ ก็มีประมาณนี้คับ

นางสาวจุฑารัตน์ สอนชาวเรือ รหัสนิสิต 49661967

         จากการได้ถามรุ่นพี่    พี่ก็บอกว่าในการป้องกันอันตรายจากรังสีนั้นเป็นหน้าที่หลักของนักรังสีเทคนิคอยู่แล้ว โดยพี่ได้บอกต่ออีกว่า เราก็อาศัยความรู้ที่ได้จากการเรียนนั้นแหละ เพียงแค่เอามาประยุกต์เพิ่มเติมเท่านั้น เพื่อให้มันเกิดประโยชน์สูงสุด และในแต่โรงพยาบาลก็มีข้อปฏิบัติและข้อควรระวังอยู่แล้วโดยเราสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. ก่อนเราจะทำอะไรเราควรแนะนำและอธิบายให้ผู้รับบริการฟังอย่างเข้าใจ ถึงขั้นตอนต่างๆของการเอ็กซเรย์และสอบถามว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือเปล่า เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับงานรังสี

2.มีการป้องกันโดยการใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น เสื้อ,ถุงมือ,แว่นตา ฯลฯ โดยทั้งหมดทำมาจากตะกั่ว

3.ตั้งค่าปัจจัยการถ่ายภาพที่เหมาะสม เพื่อเน้นคุณภาพและการลดการถ่ายเอ็กซเรย์ซ้ำ

4.และเมื่อมีการถ่ายควรตรวจสอบให้ดีว่ามีการปิดห้องดีหรือยัง หรือมีญาติผู้รับบริการยังคงอยู่ในห้องหรือเปล่า นักรังสีเทคนิคควรตรวจสอบอย่างดีและให้แน่ชัดเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการและญาติ

5.พี่บอกว่าไม่ใช่ว่าเราจะป้องกันแค่ผู้รับบริการเท่านั้นเราต้องป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเองด้วย การติดเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลวัดปริมาณรังสีที่เราได้รับในแต่ละเดือนเพื่อประเมินตัวเราเองว่าควรแก้ไขอย่างไรต่อไป

6.เราต้องให้ความสำคัญกับอันตรายจากรังสีเพราะเราได้รับอันตรายมากกว่าคนอื่น เราก็ต้องห่วงตัวเราด้วย อะไรที่ควรหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีก เพราะเราต้องทำงานด้านนี้อีกนาน

7.ปฏิบัติตามข้อบังคับของโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ และพี่ยังบอกอีกว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นมาขณะที่เราถ่ายเอ็กซเรย์อยู่นั้นเราควรตั้งสติให้ดีและหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเร็วอันตรายที่เกิดขึ้นก็น้อยลงตามเวลาที่สั้นลง

นางสาวชินาภรณ์ แก้วคง รหัสนิสิต 49660267

จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานด้านรังสีเทคนิค

สิ่งแรกที่ต้องทำคือรุ่นพี่จะต้องถามรายชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการถ่ายภาพ x-ray ผิดคน

- ติด film badge ทุกวันและต้องส่งคืนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกเดือน

- เวลา x-ray ในบางจุดต้องสวนเสื้อป้องกัน เช่น เสื้อตะกั่ว

- ยืนห่างจากเครื่องอย่างน้อย 2 เมตร

- บอกเจ้าหน้าที่หรือญาติคนไข้ที่ไม่เกี่ยวข้องให้ออกไปรอข้างนอก

- การ x-ray ต้องปิดประตูทุกครั้ง

 

นายทศพล ช่วยเมือง รหัสนิสิต 49662001

   หลักการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน(บางกอก9อินเตอร์เนชั่นแนล)

     มีดังต่อไปนี้

1.การใช้อุปกรณ์ เครื่องกำบังรังสีให้ผู้ป่วย เช่น gonad ปลอกคอ

2.ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี พยายามหลีกเลี่ยงการได้รับรังสี เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับรังสีเกินกำหนด

3.ตรวจเช็คฉากกำบังและอุปกรณ์ต่างๆเป็นประจำและเลือกใช้ให้เหมาะสม

4.ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพิการ ต้องให้ญาติช่วยยึดผู้ป่วยไว้ตอยถ่ายเอกซเรย์ และญาติต้องใส่เครื่องช่วยกำบัง

5.ปรับปริมาณของลำรังสีโดยให้มีความเฉพาะกับจุดที่จะเอกซเรย์ จะได้ไม่เกิดรังสีกระเจิง

6.วัยเจริญพันธ์ เด็ก วัยรุ่น จะด้องป้องกันอวัยวะที่ไวต่อรังสีให้กับเขาโดยเฉพาะเด็ก

7.สอบถามผู้ป่วยว่ามีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไร ถ้าไม่แน่ใจก็ต้องใช้กระโปรงตะกั่วช่วย เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

8.นักรังสีต้องติดflim badge และป้องกันรังสีให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานร่วมกับเรา

 

นางสาวกนกพร ทนทาน รหัสนิสิต 49661851

  บทบาทหน้าที่ของการป้องกันอันตรายจากรังสีของนักรังสีเทคนิค

                     (ในด้านงานรังสีวินิจฉัย)

1.ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องเอกซเรย์เป็นประจำก่อนการปฏิบัติงาน

2.ติดเครื่องวัดปริมาณรังสีส่วนบุคคลทุกครั้งที่เราปฏิบัติงาน

3.ปิดห้องทุกครั้งที่เราทำการเอกซเรย์

4.การเอกซเรย์แต่ละครั้งต้องคำนึงถึงผลได้ผลเสีย ในกรณีคนรวยมาตรวจสุขภาพประจำปีแล้วมาขอเอกซเรย์ทั่วทั้งตัว เราต้องอธิบายได้ว่าการเอกซเรย์อย่างนี้จะได้รับรังสีโดยที่ไม่จำเป็น

5.ทุกครั้งที่เอกซเรย์เราต้องป้องกันอันตรายรังสีให้แก่ผู้ป่วย  เพราะถ้าเราเรียกเขามาเอกซเรย์ซ้ำ เขาจะรู้สึกว่าปลอดภัยเพราะเราป้องกันรังสีให้เขา (ในรายที่คนไข้มีความรู้)แล้วเขาจะไม่ว่าเราว่าทำงานไม่ดี

6.เราต้องป้องกันอันตรายให้กับทุกคนที่คาดว่าน่าจะได้รับรังสี เช่น ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย บุคลากรที่เกี่ยวข้องและตัวเราเอง

7.ต้องใช้อุปกรณ์และเทคนิคต่างๆเข้ามาช่ายเพื่อลดรังสีกระเจิง

8.เราต้องควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย

9.มีป้ายเตือนและสัญลักษณ์แสดงบริเวณรังสี

 

                                                         ที่มาของข้อมูล

                                                                พี่โจ้ รุ่น 4

                                                โรงพยาบาลพญาไท 2

 

นายนพธีรา จิรกาลนุกุล 49662827

จากการสัมภาษณ์รุ่นพี่นักรังสีเทคนิคในเรื่องบทบาทหน้าที่ ที่มีต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีนะครับ รุ่นพี่บอกว่า “การจะฉายรังสีที่ครั้งเราต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเราเองและผู้ป่วยหรือผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน” โดยมีวิธีดังนี้

นักรังสีเทคนิค

- สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งที่ทำการฉายรังสี

- ติดเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

- หลบอยู่หลังฉากกำบังทุกครั้ง

ผู้ที่มารับการรักษา

- พูดคุยและบอกวิธีปฏิบัติในระหว่างฉายรังสี เพื่อป้องกันการฉายรังสีซ้ำ

- ถามผู้ป่วยหญิงว่าตั้งครรภ์หรือไม่ เพราะรังสีที่ฉายอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็ก

- สวมเครื่องกำบังรังสีให้กับผู้ป่วย

- ห้ามไม่ให้ญาติหรือผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องฉายรังสี

- ปิดประตูห้อง x-ray ให้สนิททุกครั้งในระหว่างที่มีการฉายรังสี

***ข้อมูลจากการสัมภาษณ์รุ่นพี่ นักรังสีเทคนิควรุณยุพา นุ้ยเย็น (พี่รุ่ง)

ยุพิน แสนยังกูล รหัสนิสิต 49660892
จากการไปสัมภาษณ์รุ่นพี่เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีจากการปฎิบัติงานจริงๆ มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง( ในด้านรังสีวินิฉัย)      ข้อมูลที่ได้คือ                         1. เวลาถ่ายเอกซเรย์เคลื่อนที่เราควรสวมเสื้อตะกั่วทุกครั้ง พี่ยังบอก  อีกว่าสิ่งที่  สำคัญคือพี่ไม่ควรลืมที่จะใส่ปอคอเอาไว้ป้องกันต่อมไทรอยด์ด้วย                        2. เวลาถ่ายเอกซเรย์ธรรมดาเราจำเป็นต้องหลบรังสีหลังฉากตะกั่วและมองคนไข้ ผ่านฉากตะกั่ว แต่พี่บอกว่ามองไม่ถนัดพี่เลยชอบยื่นหน้าออกมาจากฉากตะกั่วเพื่อมองคนไข้                        3. ในการถ่ายเอกซเรย์ถ้าจำเป็นต้องจับคนไข้ให้หยุดนิ่งขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ พี่จะให้ญาติของคนไข้เป็นคนจับให้                         4. เวลาทำงาน พี่จะติดเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน ขอขอบคุณ ผู้ให้ข้อมูล  พี่ (หมวย) พรพิมล ชายทวีป
นางสาว อริศรา จิระวรรธนะ รหัสนิสิต 49661639
จากการสอบถามรุ่นพี่ ได้ความว่าในความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติงานทางรังสีวินิจฉัยนั้นผลจากการได้รับรังสีนั้นจะเป็นแบบ deterministic effect ก็คือเราทราบว่าเมื่อได้รับปริมาณรังสีเท่าไรถึงจะเกิดอาการ แต่โอกาสของการเกิดจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณรังสีที่ใช้   ในกรณีที่ผู้ป่วยมาถ่ายภาพ เราควรทำการป้องกันรังสีให้กับนักรังสีเทคนิคเองและผู้ป่วยโดย หน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฎิบัติงาน เช่น- ถ้าอยู่ในระยะใกล้ ต้องใส่เครื่องป้องกันอันตรายจากรังสี  เช่น ควรสวมเสื้อตะกั่วหนาไม่น้อยกว่า 1 มม. ตะกั่วหรือเทียบเท่า (apron) , ถุงมือตะกั่ว ( lead glove) ,เครื่องป้องกันต่อมไทรอยด์ (thyroid shield) , แว่นตาตะกั่ว (lead glasses)- การใช้ฉากป้องกันรังสีที่บุด้วยตะกั่วหนาไม่น้อยกว่า  2  เซนติเมตร เพื่อป้องกันรังสีกระเจิงซึ่งเกิดจากการถ่ายภาพผู้ป่วย เข้าสู่ร่างกายของผู้ปฎิบัติงาน- ขณะถ่ายภาพด้วยเครื่องถ่ายแบบเคลื่อนที่ ควรอยู่ห่างจากหลอดเอกซเรย์ประมาณ 2 เมตร และควรใช้รีโมทในการ shoot  หน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้รับบริการ เช่น- ใส่เครื่องป้องกันรังสีแก่ผู้ป่วย เช่น Gonad shielding device , shape contacted shield ใส่บริเวณอวัยวะเพศของผู้ป่วย- ใช้เวลาในการถ่ายสั้นลง- การใช้ high Kv technique เพื่อให้มีแต่รังสีที่มีพลังงานสูง หรือมีอำนาจการทะลุทะลวงสูง เพื่อลดรังสีที่มีพลังงานต่ำตกค้างในร่างกายของผู้ป่วย            - สอบถามประวัติการตั้งครรภ์ก่อน            - หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพซ้ำ            - ปิดประตูทุกครั้งขณะถ่ายภาพ            - ป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือบุคคลทั่วไปได้รับรังสีขณะทำการถ่ายภาพ
นางสาว อริศรา จิระวรรธนะ รหัสนิสิต 49661639

จากการสอบถามรุ่นพี่ ได้ความว่าในความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติงานทางรังสีวินิจฉัยนั้นผลจากการได้รับรังสีนั้นจะเป็นแบบ deterministic effect ก็คือเราทราบว่าเมื่อได้รับปริมาณรังสีเท่าไรถึงจะเกิดอาการ แต่โอกาสของการเกิดจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณรังสีที่ใช้   ในกรณีที่ผู้ป่วยมาถ่ายภาพ เราควรทำการป้องกันรังสีให้กับนักรังสีเทคนิคเองและผู้ป่วยโดย

หน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ปฎิบัติงาน เช่น

- ถ้าอยู่ในระยะใกล้ ต้องใส่เครื่องป้องกันอันตรายจากรังสี  เช่น ควรสวมเสื้อตะกั่วหนาไม่น้อยกว่า 1 มม. ตะกั่วหรือเทียบเท่า (apron) , ถุงมือตะกั่ว ( lead glove) ,เครื่องป้องกันต่อมไทรอยด์ (thyroid shield) , แว่นตาตะกั่ว (lead glasses)

- การใช้ฉากป้องกันรังสีที่บุด้วยตะกั่วหนาไม่น้อยกว่า  2  เซนติเมตร เพื่อป้องกันรังสีกระเจิงซึ่งเกิดจากการถ่ายภาพผู้ป่วย เข้าสู่ร่างกายของผู้ปฎิบัติงาน

- ขณะถ่ายภาพด้วยเครื่องถ่ายแบบเคลื่อนที่ ควรอยู่ห่างจากหลอดเอกซเรย์ประมาณ 2 เมตร และควรใช้รีโมทในการ shoot

 

หน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้รับบริการ เช่น

- ใส่เครื่องป้องกันรังสีแก่ผู้ป่วย เช่น Gonad shielding device , shape contacted shield ใส่บริเวณอวัยวะเพศของผู้ป่วย

- ใช้เวลาในการถ่ายสั้นลง

- การใช้ high Kv technique เพื่อให้มีแต่รังสีที่มีพลังงานสูง หรือมีอำนาจการทะลุทะลวงสูง เพื่อลดรังสีที่มีพลังงานต่ำตกค้างในร่างกายของผู้ป่วย

- สอบถามประวัติการตั้งครรภ์ก่อน

- หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพซ้ำ

- ปิดประตูทุกครั้งขณะถ่ายภาพ

- ป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือบุคคลทั่วไปได้รับรังสีขณะทำการถ่ายภาพ
พชรพล เทพคำ รหัส49660700
จากการสอบถามรุ่นพี่เรื่อง บทบาทหน้าที่ของการป้องกันอันตรายจากรังสีของนักรังสีเทคนิคนะครับ ต้องปฏิบัติดังนี้ 1.ต้องถามผู้ป่วยผู้หญิงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ก่อนว่า มั่นใจมั๊ยว่าตนเองไม่ได้ตั้งครรภ์ 2.ถ้ากรณีที่เป็นเด็กแล้วไม่ยอมอยู่นิ่งๆ ก็ให้พ่อ-แม่ ผู้ปกครองของเด็กมาช่วยจับ และต้องให้ผู้ปกครองเด็กใส่เสื้อตะกั่วด้วย 3.ในกรณีที่ต้อง x-ray เครื่อนที่ ต้องใส่ชุดตะกั่ว thyroid chields ทุกครั้ง 4.เวลาที่ x-ray ให้ยืนห่างจากผู้ป่วยให้มากที่สุด 5.ต้องติด TLD ทุกครั้ง ถ้าเราใส่เสื้อตะกั่วก็ให้ใส่ไว้ข้างในนะครับ 6.สำหรับการตั้งค่า ต้องตั้งค่าให้พอดี 7.ถ้าในกรณีที่ถ่ายภาพ x-ray บริเวณที่เป็นอวัยวะหนาๆ ต้องใช้แบบ AEC คือมันจะตัดรังสีอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้ปริมาณรังสีมากเกินไป 8.ต้องดูแลรักษาเครื่อง x-ray ให้ดี 9.ต้องควบคุมคุณภาพของเครื่อง x-ray
น.ส.ศิริญญา เรืองชาญ รหัสนิสิต 49661295 นิสิตรังสีเทคนิคชั้นปีที่ 2

จากการสอบถามและได้พูดคุยกับรุ่นที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้ทราบนักรังสีมีหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตนเองและผู้ป่วยดังนี้นะคะ

ความรับผิดชอบหรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัตินั้น ก็จะต้องทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษค่ะ คือ เราจะต้องป้องกันตนเองจากอันตรายของรังสีรวมทั้งเราก็ต้องป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยที่มาให้บริการด้วย เพราะว่าเค้ามาตรวจกับเราเพื่อที่จะทำการรักษา หรือหาสาเหตุของการเกิดโรค ไม่ใช่ว่า เค้ามารับบริการจากเราแล้วก็ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงกับตัวผู้ป่วย คือเราจะต้องทำหน้าที่ของเราให้เกิดประโยชน์ต่อทางการแพทย์มากที่สุด เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการเลือกถ่ายภาพเอกซเรย์ หรือการใช้รังสี เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคให้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลดีของตัวนักรังสีเทคนิคเอง และก็ผลดีต่อผู้ป่วยที่มารับบริการด้วย แล้วสิ่งที่เราจะควบคุม หรือหน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากรังสีก็มีดังนี้ค่ะ

- ก่อนถ่ายภาพเอกซเรย์ เราจะต้องพูดคุยกับผู้ป่วยที่มารับบริการ บอกให้เค้ารู้ว่าเราก็ทำอะไรกับเค้าบ้าง เค้าจะได้ให้ความร่วมมือกับเรา รวมทั้งสำรวจประวัติของผู้ป่วยด้วย เช่นมีการตั้งครรภ์หรือไม่

- ตรวจสอบว่า ได้มีการปิดห้อง เอกซเรย์ หรือยัง เพื่อไม่ให้เอกซเรย์ หรือรังสี ออกไปข้างนอกนะคะ

- ใช้วัสดุกำบังรังสีกับตัวนักรังสีเอง ขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมี ฟิล์มแบดจ์ติดตัวตลอดเวลาทำงาน

- ใช้วัสดุกำบังรังสี ให้กับผู้ป่วย ในส่วนที่ไวต่อรังสี เพื่อไม่ให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับรังสี

- ไม่ถ่ายฟิล์มซ้ำคะ อันนี้ก็สำคัญพี่เค้าบอก

- ไม่ถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ

- ก็ตามหลัก ของ time distance shielding ที่ใช้เวลาให้น้อยที่สุด อยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมต่อการถ่ายภาพ แล้วก็ต้องใช้วัสดุป้องกันรังสี

นายอภิชัย ใหลเจริญ รหัส 49661530

จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานด้านรังสีเทคนิค ได้ข้อมูลมาคือ

- การป้องกันรังสีต่อตัวผู้ป่วยนั้นทำได้โดย

1.พยายามอย่าภ่ายภาพ x-ray ซ้ำ

2.ใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสีแก่อวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้ง

3.ตรวจสอบประวัติการตั้งครรภ์ของผุ้ป่วยด้วย

-การป้องกันแก่นักรังสีเอง ทำได้โดย

1.ใส่เครืองป้องกันรังสีทุกครั้ง เช่น เสื้อตะกั่ว

2.เวลาจะถ่ายภาพ x-ray ต้องปิดประตูด้วย

3.ติดฟิล์มแบดทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

 

นาย ณัฐวัฒน์ ดอกพิกุล รหัสนิสิต 49660335
จากการสอบถามรุ่นพี่จบไปแล้วเกี่ยวกับ
หน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากรังสีของนักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
การป้องอันตรายนักรังสีต่อผู้รับบริการและบุคคลอื่นๆ
  1. มีการใช้เครื่องป้องกันรังสี ในการป้องกันอันตรายอวัยวะต่างๆของร่างกายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการถ่าย x-ray เช่น เสื้อตะกั่ว เป็นต้น
เพื่อไม่ให้รังสีจากการถ่าย x-ray เข้าไปทำลายบิรเวณที่ไม่ได้รับการถ่าย x-ray
  2. นักรังสีต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่มารับบริการ ว่าเราจะทำอะไรกับเค้า ทำให้ผู้ที่มารับบริการนั้นเกิดความเข้าใจและปฏิบัติตามที่เราทำความเข้าใจ
กับเค้า ทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ทำให้ผู้ที่มาบริการเกิดการได้รับปริมาณรังสีที่มากกว่าจะได้รับ
การป้องกันอันตรายจากรังสีต่อนักรังสีเทคนิค
  1.ใช้อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีประจะตัวบุคคลเพื่อวัดปริมาณรังสีที่ได้แต่ละเดือน
  2.ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติทางรังสีในเวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3.ควรอยู่จากเครื่องกำเนิดรังสีในระยะที่จะสามารถจะทำได้
  4.ใช้เครื่องป้องกันอันตรรายจากรังสี  เมื่อมีการปฏิบัติการรังสี
นางสาวศิรินิภา พุกโหมด
สำหรับการป้องกันอันตรายให้กับตัวนักรังสีเอง ซึ่งเวลาเราปฏิบัติงานนั้นเราก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ เพื่อที่จะให้ตัวเราและผู้ป่วยได้รับรังสีปริมาณน้อยที่สุด ซึ่งการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสีเองนั้นก็สามารถปฏิบัติได้ดังนี้- ทุกครั้งที่มีการฉายรังสีเราต้องปิดประตูห้องทุกครั้ง รวมทั้งมีการสอบถามชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและส่วนที่ต้องการตรวจให้ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอกซเรย์ที่ผิดส่วนหรือผิดคนไข้ซึ่งจะนำมาถึงเรื่องการเอกซเรย์ซ้ำทำให้ผู้ป่วยและนักรังสีได้รับ Dose โดยไม่จำเป็น- สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งที่คาดว่าจะต้องได้รับรังสี ที่ต้องใช้เวลาในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยนานๆเช่นในการทำ Fluoroscopy เนื่องจากต้องมีการปล่อยเอกซเรย์ออกมาเกือบตลอดเวลา และควรทำการใส่ Thyroid shiel ด้วยทุครั้ง - ติด film badge ทุกวันและต้องส่งคืนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกเดือน เพื่อทำการวัดปริมาณรังสีที่ได้รับในแต่ละเดือนหากได้รับปริมาณรังสีมากเกินขอบเขตที่สามารถยอมรับได้นั้นก็ควรทำการพักหรือย้ายไปทำงานในห้องอื่นก่อน- หลบหลังฉากตะกั่ว ทุกครั้งที่ทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยภายในห้อง Control หากจำเป็นต้องจับผู้ป่วยจริงๆควรสวมเสื้อตะกั่วทุกครั้ง แต่ถ้ามีญาติควรเรียกให้มาช่วยจับให้และทำการ shiel ให้เขาด้วย  - ใช้เวลาในการถ่ายภาพเอกซเรย์ให้น้อยที่สุด อย่างเช่นในการทำ Fluoroscopy ควรทำการ Spot Film ให้เร็ว  หรือในการปฏิบัติงานในด้าน รังสีรักษา หรือเวชศาสตร์นิวเคลียร์นั้นเรามีการใช้สารกัมมันตรังสีหรือสารเภสัชรังสีซึ่งมีการปล่อยรังสีมาตลอดเวลา จึงจำเป็นที่เราควรปฏิบัติงานดดยใช้เวลาน้อยที่สุด - Distance (ระยะทาง) คือเราอยู่ห่างรังสีมากเท่าไร เราจะได้รับปริมาณรังสีน้อยเท่านั้น ตามกฎกำลังสองผกผัน เช่นในการการไปทำการเอกเรย์  Port ที่ หอผู้ป่วยควรทำการใส่เสื้อตะกัวและใช้ระยะทางในการปฏิบัติงานให้มากที่สุดจากแหล่งกำเนิดรังสีเท่าที่จะทำได้และควรทำการแจ้งเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ปฏิบัติงานแถวนั้นให้ทราบด้วยสำคัญ หากเป็นไปได้ในการเอกซเรย์สตรีควรถามถึงภาวะเสี่ยงถึงการตั้งครรภ์ก่อนทำการตรวจทุกครั้ง หากพบการตั้งครรภ์ควรทำการ consound กับรังสีแพทย์หรือแพทย์เจ้าของไข้ก่อนทุกครั้ง สำหรับรายละเอียดต่างๆในการปฏิบัติงานในแต่ละห้องที่ทำการตรวจก็จะมีอีกมากมายในการทำการ screen คนไข้ก่อนเข้าทำการตรวจซึ่งพอถึงเวลาฝ฿กงานจริงพวกเราก็จะได้ศึกษาอีกทีนึง  
นางสาวศิรินิภา พุกโหมด 49661288
สำหรับการป้องกันอันตรายให้กับตัวนักรังสีเอง ซึ่งเวลาเราปฏิบัติงานนั้นเราก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ เพื่อที่จะให้ตัวเราและผู้ป่วยได้รับรังสีปริมาณน้อยที่สุด ซึ่งการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสีเองนั้นก็สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  • ทุกครั้งที่มีการฉายรังสีเราต้องปิดประตูห้องทุกครั้ง รวมทั้งมีการสอบถามชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและส่วนที่ต้องการตรวจให้ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอกซเรย์ที่ผิดส่วนหรือผิดคนไข้ซึ่งจะนำมาถึงเรื่องการเอกซเรย์ซ้ำทำให้ผู้ป่วยและนักรังสีได้รับ Dose โดยไม่จำเป็น
  • สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งที่คาดว่าจะต้องได้รับรังสี ที่ต้องใช้เวลาในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยนานๆเช่นในการทำ Fluoroscopy เนื่องจากต้องมีการปล่อยเอกซเรย์ออกมาเกือบตลอดเวลา และควรทำการใส่ Thyroid shiel ด้วยทุครั้ง
  • ติด film badge ทุกวันและต้องส่งคืนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกเดือน เพื่อทำการวัดปริมาณรังสีที่ได้รับในแต่ละเดือนหากได้รับปริมาณรังสีมากเกินขอบเขตที่สามารถยอมรับได้นั้นก็ควรทำการพักหรือย้ายไปทำงานในห้องอื่นก่อน
  • หลบหลังฉากตะกั่ว ทุกครั้งที่ทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยภายในห้อง Control หากจำเป็นต้องจับผู้ป่วยจริงๆควรสวมเสื้อตะกั่วทุกครั้ง แต่ถ้ามีญาติควรเรียกให้มาช่วยจับให้และทำการ shiel ให้เขาด้วย
  • ใช้เวลาในการถ่ายภาพเอกซเรย์ให้น้อยที่สุด อย่างเช่นในการทำ Fluoroscopy ควรทำการ Spot Film ให้เร็ว  หรือในการปฏิบัติงานในด้าน รังสีรักษา หรือเวชศาสตร์นิวเคลียร์นั้นเรามีการใช้สารกัมมันตรังสีหรือสารเภสัชรังสีซึ่งมีการปล่อยรังสีมาตลอดเวลา จึงจำเป็นที่เราควรปฏิบัติงานดดยใช้เวลาน้อยที่สุด
  • Distance (ระยะทาง) คือเราอยู่ห่างรังสีมากเท่าไร เราจะได้รับปริมาณรังสีน้อยเท่านั้น ตามกฎกำลังสองผกผัน เช่นในการการไปทำการเอกเรย์  Port ที่ หอผู้ป่วยควรทำการใส่เสื้อตะกัวและใช้ระยะทางในการปฏิบัติงานให้มากที่สุดจากแหล่งกำเนิดรังสีเท่าที่จะทำได้และควรทำการแจ้งเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ปฏิบัติงานแถวนั้นให้ทราบด้วย
  • สำคัญ หากเป็นไปได้ในการเอกซเรย์สตรีควรถามถึงภาวะเสี่ยงถึงการตั้งครรภ์ก่อนทำการตรวจทุกครั้ง หากพบการตั้งครรภ์ควรทำการ consound กับรังสีแพทย์หรือแพทย์เจ้าของไข้ก่อนทุกครั้ง
  • สำหรับรายละเอียดต่างๆในการปฏิบัติงานในแต่ละห้องที่ทำการตรวจก็จะมีอีกมากมายในการทำการ screen คนไข้ก่อนเข้าทำการตรวจซึ่งพอถึงเวลาฝ฿กงานจริงพวกเราก็จะได้ศึกษาอีกทีนึง
  •   
น.ส.ศิรินันท์ จันทร์กล้า รหัส49662285

การนำรังสีมาใช้นั้นทำให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษดังนั้นเราในฐานนะเป็นนักรังสีเทคนิคเราก็ต้องมีการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางรังสีเทคนิค ดังนี้

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงานทางรังสี                           1.สอบถามประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงสอบถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ว่าอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือไม่ ถ้าอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ก็จะปรืกษาแพทย์เพื่อจะใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่เด็กในครรภ์                                                                           2.เมื่อเราจะทำการถ่ายเอกซเรย์เราจะต้องมีการจัดท่าผู้ป่วย หรือต้องให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุด หรือเราจะทำอะไรกับผู้ป่วยก็ตามเราต้องบอกให้ผู้ป่วยรับรู้เพื่อจะได้เป็นการใช้เวลาในการถ่ายให้น้อยที่สุด และได้ภาพถ่ายเอกซเรย์ที่ดี                                                                3.ใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสีให้แก่ผู้ป่วยและนักรังสีเทคนิค                                                                      4.ปิดห้องเอกซเรย์ทุกครั้งที่ทำการถ่ายเอกซเรย์       5.ในห้องเอกซเรย์มีฉากกำบังรังสี                             6.นักรังสีเทคนิคจะมีการติดเครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลทุกครั้งที่ปกิบัติหน้าที่                                      7.มีสัญลักษณ์ติดที่แสดงว่าเป็นห้องเอกซเรย์           8.ห้องเอกซเรย์จะอยู่ในชั้นล่างๆ และไม่อยู่ใกล้กับแผนกอื่นมาก ตามความเหมาะสม

นางสาวสุชา สุบิน 49661394

การป้องกันอัตรายจากรังสี นั้น เราควรป้องกันทั้งตัวเรา และผู้ป่วย ซึ่งเราควรตระหนักถึงเรื่องนี้ให้มาที่สุด เพื่อป้องการรับ dose มากเกินไป และต้องจัดบอร์ด จัดสารสนเทศน์ต่างๆ เพื่อเป็นการบอกถึง อันตรายจากรังสี และ การป้องกันที่ถูกต้อง เพราะว่าเราเรียนมาเราจะรู้ว่ามีการป้องกันอย่างไร แต่บุคลากรทางโรงพยาบาล หรือ ว่าผู้ที่มารักษาอาจจะไม่เข้าใจจึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและบางทีอาจจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับเรา  เพราะฉะนั้น เราจึงควรการจัดบอร์ด ไว้ เพือบอกถึงอันตรายของรังสี และวิธีการป้องกัน  รวมทั้งมีการติดป้ายคำเตือนต่างๆ  
              ในการปฏิบัติงาน เราควรทำให้รวดเร็วและถูกต้อง ซึ่ง เราควรพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อสอบถามเรื่องต่างๆ  เช่น ถ้าเป็นผู้ป่วย หญิง  ควรสอบถามถึงเรื่องการตั้งครรภ์ ถ้าพบว่ามีการโอกาสตั้งครรภ์ได้ ควรปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ก่อนที่จะกระทำการทางรังสี  เป็นต้น  และขณะมีการปฏิบัติงานก็ควรปิดประตูให้สนิทและเตือนผู้คนบริเวณนั้น อย่าเปิดประตูเข้ามาในขณะปฏิบัติงานหรืออาจจะมีการติดป้ายบอกว่า ขณะปฏิบัติงานห้ามเปิดประตู  และ ถ้าหากว่าต้องมีการจับผู้ป่วย เราควรให้ญาติ หรือ ผู้ที่มาส่งผู้ป่วยเป็นผู้ช่วยจับ พร้อมกับมีเครื่องป้องกันอันตรายจากรังสีให้ด้วยทั้งผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้รับ dose  มากเกินไป  และเราควรทำให้รวดเร็วและมีคุณภาพมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดการถ่ายซ้ำ  ซึ่งในขณะที่เรา กำลังปกิบัติงานนั้นก็ควรสวมใส่ชุดป้องกันหรือว่า มีฉากตะกั่วป้องกันเราด้วย
                ห้องที่ทำการปฏิบัติการก็ควรอยู่ให้ไกลจากการเดินผ่านไปผ่านมาของคนทั่วไป  และ ผนังก็ควรได้มาตรฐานด้วย
                การใช้ปริมาณรังสีก็ควรใช้ให้เพียงพอ เช่น ถ้าหาก จะทำการ X - ray ควรที่จะใช้เทคนิคที่ถูกต้องและใช้ปริมาณที่เพียงพอ เพื่อป้องกันฟิล์มเสีย และการถ่ายซ้ำ ซึ่งตรงนี้ทำให้เราและผู้ป่วยได้รับรังสรมากเกินความจำเป็น

น.ส.ปัญจนีย์ จันทรประทักษ์ รหัส : 49662872

         จากการสอบถามจากรุ่นพี่นักรังสีเทคนิคที่ทำงานอยู่ตามโรงพยาบาล   ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการป้องกัน
อันตรายจากรังสีให้แก่ตนเองและผู้ป่วยรุ่นพี่บอกว่า  "ที่พี่ทำก็คือเกี่ยวกับงานด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งเท่าที่พี่ทำงานอยู่
ที่โรงพยาบาล  เค้าก็จะมีการป้องกันอันตรายจากรังสี ทั้งที่ป้องกันให้ตัวเราเอง(นักรังสีเทคนิค) แล้วก็ผู้ป่วยด้วย"

สำหรับการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวเราในฐานะที่เป็นนักรังสีเทคนิค ก็จะมีการป้องกันดังนี้
  -     นักรังสีแต่ละคนต้องมีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลหรือที่เรียกกันว่า film badge
         ติดตัวไว้ตลอดในขณะที่เราปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี  แล้วในแต่ละเดือนเค้าก็จะมีการนำ film badge
         นี้ไปตรวจวัดว่าเราได้รับปริมาณรังสีในแต่ละเดือนเท่าไหร่ เกินที่ ICRP กำหนดหรือไม่  และถ้าเกินที่กำหนด
         ไว้ควรจะมีวิธีป้องกันอย่างไร เพื่อให้ได้รับรังสีน้อยลงในเดือนถัดไป
  -      เราต้องใส่เครื่องป้องกันรังสีทุกครั้งขณะปฏิบัติงาน เช่น เสื้อตะกั่ว ถุงมือตะกั่ว เป็นต้น
  -      ถ้าหากต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่อง fluoroscopy เราก็ต้องใส่ thyroid shield เพื่อป้องกันต่อมธัยรอยด์ด้วย
  -      ถ้าหากต้องมีการควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ควรให้ญาติผู้ป่วยเป็นผู้จับตัวผู้ป่วยไว้แต่ถ้าหากจำเป็นจริงๆ
         คือญาติไม่อยู่ ซึ่งเราก็จำเป็นจะต้องจับเองเราก็ควรจะใส่ชุดป้องกันอันตรายจากรังสีด้วย เช่น เสื้อตะกั่ว ถุงมือ
         Thyroid shield เป็นต้น
  -      พยายามใช้เวลาในการถ่าย x-ray แต่ละครั้งให้น้อยที่สุดและควรอยู่ห่างจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด
   
สำหรับการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ป่วย   ก็จะมีการป้องกันดังนี้
 -       ก่อนที่จะทำการถ่าย X-ray ให้กับผู้ป่วย  เราต้องมีสื่อสารกับผู้ป่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับคำแนะนำในการถ่าย X-ray
         เช่น  ต้องถอดเครื่องประดับออก, ต้องหายใจเข้าลึกๆและต้องนิ่งขณะถ่าย ซึ่งควรจะบอกให้ชัดเจนและมั่นใจว่า
         ผู้ป่วยทราบและเข้าใจดีแล้ว  เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนต้องถ่าย x-ray ซ้ำซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณ
         รังสีเพิ่มเป็นสองเท่า
 -       ปิดประตูห้อง x-ray ทุกครั้งขณะทำการ x-ray เพื่อไม่ให้ผู้ที่อยู่ข้างนอกซึ่งอาจจะเป็นญาติผู้ป่วยหรือบุคคลอื่นๆ
        ได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น
-        ผู้ป่วยที่กำลังท้องอยู่   ก็ให้ใส่เครื่องป้องกันที่ท้องของผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เด็กในท้องได้รับรังสี      หรือหากได้รับก็
         ได้รับน้อยลงกว่าที่ไม่มีเครื่องป้องกัน
 
          รุ่นพี่ยังบอกอีกว่า "เรารู้จักวิธีป้องกันตัวเราเองแล้วเราควรปฏิบัติให้เคร่งครัดด้วย เพื่อที่จะให้ตัวเราได้รับรังสี
น้อยที่สุด    และที่สำคัญคือเราต้องให้คำแนะนำกับผู้ป่วยทุกคนอย่างชัดเจนเท่าเทียมกัน  และไม่เลือกแนะนำเฉพาะ
คนใดคนหนึ่งหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง   ซึ่งเราควรคิดเสมอว่าผู้ป่วยนั้นเปรียบเหมือนญาติของเรา เราควรใส่ใจ ดูแล
 และให้คำแนะนำอย่างดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยนั่นเอง "

น.ส.ปัญจนีย์ จันทรประทักษ์ รหัส : 49662872 (เอาอันนี้ค่ะ)

         จากการสอบถามจากรุ่นพี่นักรังสีเทคนิคที่ทำงานอยู่ตามโรงพยาบาล   ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการป้องกัน
อันตรายจากรังสีให้แก่ตนเองและผู้ป่วยรุ่นพี่บอกว่า  "ที่พี่ทำก็คือเกี่ยวกับงานด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งเท่าที่พี่ทำงานอยู่
ที่โรงพยาบาล  เค้าก็จะมีการป้องกันอันตรายจากรังสี ทั้งที่ป้องกันให้ตัวเราเอง(นักรังสีเทคนิค) แล้วก็ผู้ป่วยด้วย"

สำหรับการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวเราในฐานะที่เป็นนักรังสีเทคนิค ก็จะมีการป้องกันดังนี้
  -     นักรังสีแต่ละคนต้องมีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลหรือที่เรียกกันว่า film badge
         ติดตัวไว้ตลอดในขณะที่เราปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี  แล้วในแต่ละเดือนเค้าก็จะมีการนำ film badge
         นี้ไปตรวจวัดว่าเราได้รับปริมาณรังสีในแต่ละเดือนเท่าไหร่    เกินที่ ICRP กำหนดหรือไม่   และถ้าเกินที่
         กำหนดไว้ควรจะมีวิธีป้องกันอย่างไร เพื่อให้ได้รับรังสีน้อยลงในเดือนถัดไป
  -      เราต้องใส่เครื่องป้องกันรังสีทุกครั้งขณะปฏิบัติงาน เช่น เสื้อตะกั่ว ถุงมือตะกั่ว เป็นต้น
  -      ถ้าหากต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่อง fluoroscopy เราก็ต้องใส่ thyroid shield เพื่อป้องกันต่อมธัยรอยด์ด้วย
  -      ถ้าหากต้องมีการควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ควรให้ญาติผู้ป่วยเป็นผู้จับตัวผู้ป่วยไว้แต่ถ้าหากจำเป็น
         จริงๆ   คือญาติไม่อยู่ ซึ่งเราก็จำเป็นจะต้องจับเองเราก็ควรจะใส่ชุดป้องกันอันตรายจากรังสีด้วย      เช่น
         เสื้อตะกั่ว,  ถุงมือ ,  Thyroid shield เป็นต้น
  -      พยายามใช้เวลาในการถ่าย x-ray แต่ละครั้งให้น้อยที่สุดและควรอยู่ห่างจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด
   
สำหรับการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ผู้ป่วย   ก็จะมีการป้องกันดังนี้
 -       ก่อนที่จะทำการถ่าย X-ray ให้กับผู้ป่วย  เราต้องมีสื่อสารกับผู้ป่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับคำแนะนำในการถ่าย
         X-ray เช่น  ต้องถอดเครื่องประดับออก, ต้องหายใจเข้าลึกๆและต้องนิ่งขณะถ่าย ซึ่งควรจะบอกให้ชัดเจน
         และมั่นใจว่าผู้ป่วยทราบและเข้าใจดีแล้ว    เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจนต้องถ่าย x-ray ซ้ำซึ่งจะทำให้
         ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มเป็นสองเท่า
 -       ปิดประตูห้อง x-ray ทุกครั้งขณะทำการ x-ray เพื่อไม่ให้ผู้ที่อยู่ข้างนอกซึ่งอาจจะเป็นญาติผู้ป่วยหรือบุคคล
         อื่นๆได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น
-        ผู้ป่วยที่กำลังท้องอยู่   ก็ให้ใส่เครื่องป้องกันที่ท้องของผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เด็กในท้องได้รับรังสี    หรือหากได้
         รับก็ได้รับน้อยลงกว่าที่ไม่มีเครื่องป้องกัน
 
          รุ่นพี่ยังบอกอีกว่า "เรารู้จักวิธีป้องกันตัวเราเองแล้วเราควรปฏิบัติให้เคร่งครัดด้วย เพื่อที่จะให้ตัวเราได้รับ
รังสีน้อยที่สุด  และที่สำคัญคือเราต้องให้คำแนะนำกับผู้ป่วยทุกคนอย่างชัดเจนเท่าเทียมกัน  และไม่เลือกแนะนำ
เฉพาะคนใดคนหนึ่งหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง   ซึ่งเราควรคิดเสมอว่าผู้ป่วยนั้นเปรียบเหมือนญาติของเรา เราควร
ใส่ใจ ดูแล  และให้คำแนะนำอย่างดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยนั่นเอง "

นายสาธิต มณีโชติ 49661356

กาลครั้งหนึ่งนานมาแย้วนานมากๆๆได้ก่อเกิดวิทยาการอันลำสมัยและมีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างมากแต่หารู้ไม่ว่าว่าวิทยาการที่ได้รับนั้นเป็นเหมือนดาบสองคมคมใครผู้ใดถ้าได้รับวิทยาการนี้เข้าไปแล้วอาจเกิดอันตรายถึงตรายได้ ช้าเร็วแล้วแต่กรณีวิทยาการที่ว่านี้คือการถ่ายภาพ X-ray ray ray (มี Echoด้วย)   ในฐานะที่กระผมน้นเป็นผู้พิทักแห่งรังสี มน.เอ็กแมน  ผมมีภาระอันใหญ่หลวงที่ต้องกันอันตราย อย่างภาระอันยิ่งย่อมมาพร้อมกับพลังอันใหญ่ยิ่ง   ต้องป้องกันเหล่ามวลมนุษย์ให้รอดพ้นจากอันตรายนี้ไปได้ ภาระกิจของข้าคือ

ต้องปล่อยพลัง three beam  คือ

1. เวลา คือต้องใช้เวลาทางกับคนไข้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะให้คนไข้ได้รับรังสีน้อยๆๆๆๆ

2. ระยะทาง คือต้องใช้ระยะทางให้ห่างจะต้นกำเนิดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะว่าปริมาณรังสีนั้นจะลดลงตามเวลาผกผันยกกำลังสอง

3. เครื่องป้องกัน  ต้องมีเครื่องป้องกันทุกครั้งและตรงจุดปริเวณที่จำเป็น

สมมะติว่ามีคนไข้มาเข้าตรวจเอาเป็นว่าเขาเป็นทอมมาแต่งตัวเป็นชายก่อนหน้านั้นเข้าเกิดโดนเพือ่นที่คิดไม่ซื่อปลุกปล้ำเกิดท้องขึ้นมาแต่ทอมนั้นเหมือนผู้ชายมากๆๆๆและก็ไม่อยากเอาเด็กไว้เกิดปวดท้องอย่างหนักจากการที่รถควำมา  หมอให้ตรวจเอ็กเรย์ว่าเธอกระดูกซี่โครงหักหรือเปล่า

ในฐานะที่เราเป็นนักรังสีอันดับแรกก็เราก็ต้องดูชื่อก่อนว่าเขาเป็นเพศอะไรเพราะว่าถ้าดูที่หน้าเราอาจจะคิดว่าเขานั้นเป็นชายก็ได้เมื่อจากนั้นก็ทำการพูดคุยกับเขาอธิบายผลต่างการปฏิบัติตัวต่างให้เขาเข้าใจเพื่อที่จะได้เกิดความร่วมมือและจะทำการถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น  แล้วก็ถามรอบเดือนเขาว่าเขาเป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหล    แต่ในรายนี้ปรากฎว่าเข้านั้นท้องมาสามเดือนแล้วแต่คนไข้บอกว่า "ผมไม่อยากเอาเด็กไว้คับถ่ายเอ็กเซล์ให้มันแท้งไปเลยครับ" แต่ในฐานนะที่เรานั้นเป็นนักรังสีทีมีจิตใจอันดีงานเราก้ต้องทำการป้องกันอันตรายกับเด็กอย่างเต็มกำลังความสามารถ   จากนั้นเราก้ทำการถ่ายภาพที่ออกโดยเรานำเสื้อตะกั่วมาคุมบริเวณท้องเราสามารถดันแปลงเครื่องกำบังทางรังสีได้อย่างเหมาะสมต้องมีหัวคิดนิดนึ่งเราพว่าเวลาที่เรานั้นทำงานจริงมันไม่ฟิกได้ดังใจง่ายสะไปหมดเราต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก  จากนั้นก็ทำการปิดห้องต่างๆบอกญาติพี่น้องให้ออกจากห้องบอกพยาบาลผู้ช่วยและเราต้องช่วยให้เครื่องป้องกันหรือบอกวิธีที่ทำให้เขาเหล่านั้นที่อยู่นะตอนนั้นเข้าใจและไม่กลัวกันจนเกินเหตุ และที่สำคัญเราก็ทำการป้องกันตัวเราเองด้วยพราะเราต้องทำงานกับรังสีอีกนาน จกานั้นก็ทำการถ่ายภาพเอ็กเรย์โดยเราจะใช้แบบhight เทคนิค เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นได้รับอันตรายให้น้อยที่สุด  และขั้นตอนสุดท้ายคือการล้างฟิมล์เราต้องล้างอย่างมีคุณภาพเพื่อไม่ให้เกิดการภ่ายภาพซ้ำ  

การป้องกันอันตรายจากรังสีนอกจากเราจะป้องกันที่โรงพยาบาลแล้วเราก็อาจจะบอกเพื่อนหรือบึคคลอื่นที่เรารู้จักว่าเวลาถ่ายเอ็กเรย์นั้นจะเกิดอะไรบ้างเขาจะได้เข้าใจเพราะเราไม่สามารถที่ไปทำการป้องกันระมัดระวังตัวได้ เพราะมาตราฐานแต่ละโรงพยาบาลนั้นมันจะไม่เท่า   และอันสุดท้ายให้กำลังใจผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อทำงานเสร็จ และทำการป้องกันให้กับเข้าเหมือนญาติ ให้เขาทำการถ่ายภาพเพียงครั้งเดียวแล้วหายจากโรคที่เขาเป้นอยู่ไปเลย

จบภาระกิจ มน. เอ็กแมน

 

      จากการสอบถามรุ่นพี่ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี พี่ก็ตอบมาว่า ก็มีนะ ก็เหมือนที่เราเรียนๆกันนั่นแหละ แต่ที่พี่ทำก็มีทั้งการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ตนเองและผู้ป่วยนะ การป้องกันอันตรายจากรังสีให้ผู้ป่วย- ปิดประตูห้องเอกซเรย์ก่อนทุกครั้ง- มีการพูดคุยแนะนำผู้ป่วย และก็ให้ผู้ป่วยสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันรังสี- ต้องแน่ใจว่าในการถ่ายเอกซเรย์จะมีประโยชน์มากกว่าโทษและจะไม่ต้องถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ- การใช้ปริมาณรังสี ควรใช้ให้น้อยที่สุดแต่ภาพเอกซเรย์มีคุณภาพพอ       การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวเราเอง                     - เราต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสี- ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด - อยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มาก 

                                                                                                                     ข้อมูลจาก : พี่รัชตวรรณ (P’มิ้น)

สถานที่ทำงาน : โรงพยาบาลพิษณุเวช
นางสาวกัญญารัตน์ อิ่มอุระ รหัสนิสิต49660045

     จากการสอบถามรุ่นพี่ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของนักรังสีเทคนิคต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี พี่ก็ตอบมาว่า ก็มีนะ ก็เหมือนที่เราเรียนๆกันนั่นแหละ แต่ที่พี่ทำก็มีทั้งการป้องกันอันตรายจากรังสีให้แก่ตนเองและผู้ป่วยนะ

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้ผู้ป่วย 

- ปิดประตูห้องเอกซเรย์ก่อนทุกครั้ง

 

- มีการพูดคุยแนะนำผู้ป่วย และก็ให้ผู้ป่วยสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันรังสี

 

- ต้องแน่ใจว่าในการถ่ายเอกซเรย์จะมีประโยชน์มากกว่าโทษและจะไม่ต้องถ่ายเอกซเรย์ซ้ำ

 

- การใช้ปริมาณรังสี ควรใช้ให้น้อยที่สุดแต่ภาพเอกซเรย์มีคุณภาพพอ

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวเราเอง                      

- เราต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสี

 

- ควรใช้เวลาอยู่ที่มีรังสีให้น้อยที่สุด

 - อยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มาก
น.ส.กนกวรรณ พรหมเสน รหัสนิสิต 49662759

จากการได้สอบถามรุ่นพี่(ปู่รหัส  :  นายอาทิตย์  วงศ์ใหญ่)  สถานที่ทำงาน รพ.พญาไท 1 

โดยได้สอบถาม  2  หัวข้อคือ 

       1.การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับตัวนักรังสีเอง  มีอะไรบ้าง

พี่เค้าตอบว่า  มันขึ้นอยู่กับว่าเราเองจะป้องกันตัวเราเองได้มากน้อยแค่ไหน  เช่น

-ให้ป้องกันตัวเองทุกครั้งที่ปฎิบัติงาน  เช่น  สวมเสื้อตะกั่ว

-ให้หลบอยู่หลังฉากกำบังรังสี

-จัดท่าผู้ป่วยให้ถูกต้องทำหลัก  เพื่อลดอัตราการถ่ายภาพซ้ำ

-พก film  badge  ติดตัวทุกครั้งที่ปฎิบัติงาน

       2.การป้องกันอันตรายรังสีให้กับคนไข้และญาติของคนไข้  มีอะไรบ้าง

-ปิดประตูห้องเอ็กซเรย์ให้มิดชิด

-หากเป็นผู้หญิงที่เข้าข่ายว่าจะต้องครรภ์  ควรหลีกการถ่ายภาพเอ็กซเรย์

-ไม่ให้ญาติคนไข้หรือบุคคลภายนอกเข้ามาในห้องปฎิบัติการรังสีโดยเด็ดขาด  หากไม่จำเป็น

-สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับคนไข้ด้วย  ขณะที่ทำการถ่ายภาพเอ็กซเรย์

-ที่สำคัญเราควรใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่เหมาะสมให้กับคนไข้  เพื่อลดการถ่ายภาพซ้ำ

นางสาวนภาพร ปวงมาลัย

 

     จากการสอบถามพี่ที่ทำงานจริงๆ ในโรงพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากรังสีทั้งตัวเองและผู้ป่วยนะค่ะ ก็ได้ทราบว่า

     สำหรับงานทางด้านรังสีวินิจฉัยนะค่ะ ก็จะมีหลักๆที่ใช้ตลอดคือ เสื้อตะกั่วค่ะและมักจะเป็นแบบคลุมทั้งตัว ส่วนสำหรับผู้ป่วยการป้องกันมักจะไม่ใช้อะไรค่ะ นอกจากว่าผู้ป่วยตั้งครรภ์ก็จะหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ไปก่อนค่ะและสำหรับนักรังสีเทคนิคนะค่ะอุปกรณ์ป้องกันอีกอย่างคือ เครื่องกำบังรังสีซึ่งจะเหมือนที่เราเรียนมาเลยคือจะเป็นฉากตะกั่วและจะมีกระจกอยู่เราก็จะมองคนไข้ผ่านกระจกนะค่ะและในการทำงานจริงเราจะใช้เวลาให้เร็วที่สุดค่ะ

     ส่วนในงานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์(ซึ่งพี่เขาทำงานด้านนี้เลยค่ะ)ก็จะใช้ถุงมือตะกั่ว ที่ใช้บ่อยจะสวมทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน แล้วก็จะมี Syling shielding มันจะเป็นตะกั่วค่ะเอาไว้หุ้มตอนฉีดสารรังสี แล้วก็จะมีกล่องตะกั่วเอาไว้ใส่ยาเภสัชรังสีและที่จะใช้ป้องกันอีกอันที่ใช้บ่อย คือแว่นตาตะกั่วเพราะเวลาทำงานด้านนี้จะต้องระมัดระวังเรื่องตาต้ว

     และจากการสอบถามพี่บอกว่ามันจะมีเครื่องเอกซเรย์ที่เราจะ control อยู่ข้างนอก คือ คนไข้อยู่ในห้องเอกซเรย์เราเข้าไปจัดท่าแล้วออกมาถ่ายภาพข้างนอกซึ่งเราจะเห็นคนไข้ได้จากกล้องวงจรปิดค่ะซึ-งจะช่วยลดอันตรายที่เราจะได้รับรังสีค่ะ

 

 

 

น.ส.อมรรัตน์ สมควรกิจดำรง รหัสนิสิต 49661561

จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่ที่ได้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเกี่ยวกับหน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากรังสี

การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ที่รับการบริการ  ขั้นแรกเลยเมื่อผู้ป่วยเข้ามาถึงเราก็ต้องสอบถามข้อมูลเบื่องต้นเกี่ยวกับผู้ป่วยก่อนว่าเป็นอะไรมาเพื่อลดความผิดพลาดในการถ่ายภาพเอกซเรย์หลายครั้ง และในขั้นตอนของการเอกซเรย์เราก็ต้องมีการให้ผู้ป่วยใส่เสื้อตะกั่วเพื่อป้องกันอวัยวะส่วนที่ไม่ต้องการให้ได้รับรังสีและในบางกรณีถ้าเราสามารถที่จะถ่ายให้เห็นอุปกรณ์ที่ป้องกันอันตรายเฉพาะส่วนได้เราก็ถ่ายเพื่อว่าถ้ามีปัญหาทีหลังเราจะได้บอกได้ว่าเรามีการป้องกันอันตรายให้กับผู้ป่วยนะ  และหลังจากการเอกซเรย์แล้วก็ต้องมีการให้คำแนะนำให้แก่ผู้ป่วยด้วยเพื่อให้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในการให้บริการ(พี่ทำงานอยู่โรงพยาบาลเอกชนก็เลยก็ทำให้คนที่เข้ารับการบริการเค้าเห็นว่าเราใส่ใจ)

การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ตัวผู้ปฏิบัติงาน  ที่โรงพยาบาลที่พี่ทำอยู่สิ่งที่เน้นที่สุดในการปฏิบัติงานก็คือการใส่เสื่อตะกั่วทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงาน รวมถึงการติดอุปกรณ์เครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวด้วย (แต่ก็ต้องทำงานให้เร็วมากๆ ด้วยเนื่องจากในแต่ละวันคนที่เข้ารับการบริการมีจำนวนมาก) และในการถ่ายภาพเอกซเรย์แต่ละครั้งพี่ก็ต้องปิดประตูห้องเอกซเรย์ทุกครั้งด้วย

ที่โรงพยาบาลบของพี่ก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมด้วยเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการแพทย์ที่ก้าวหน้า ซึ่งจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปและล่าสุดพี่ก็ได้ไปอบรมเกียวกับเครื่อง CT มา ทางโรงพยาบาลจะเป็นคนเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด(ยกเว้นค่าเดินทาง)........................ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่แนน

            

นางสาวปรารถนา ปันพวง รหัสนิสิต 49660601

จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่ที่ได้ทำงานในโรงพยาบาลในส่วนของรัฐบาล เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี พี่เค้าได้บอกว่า

การป้องกันอันตรายจากรังสี นอกจากจะป้องกันตัวเราเองจากรังสีแล้วยังต้องรู้จักป้องกันอันตรายแก่ผู้ที่มารับบริการ รวมทั้งญาติของผู้ที่มารับบริการโดยยึดหลักที่ว่า "การป้องกันโดยให้ตัวเราและผู้ที่มารับบริการได้รับปริมาณรังสีให้น้อยที่สุด" พี่เค้าว่าอย่างนั้น

    การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ตัวนักรังสีเอง  โดยยึดหลักการที่ว่า ใช้เวลาในการถ่ายภาพให้น้อยที่สุด ยืนให้ห่างจากจุดกำเนิดมากที่สุด แล้วควรมีอุปกรณ์การป้องกัน คือ ใส่เสื้อตะกั่วทุกครั้งที่มีการถ่าย ติดฟิล์มแบดจ์ เพื่อตรวจวัดปริมาณรังสีที่ได้รับ แล้วเวลาการถ่ายภาพเราควรต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การถ่ายภาพแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าตัวผู้ป่วยจะได้รับเพียงคนเดียว แต่ตัวเราก็อาจได้รับไปด้วย(โดยเฉพาะรังสีกระเจิง)ฉะนั้นเราจึงต้องมีการป้องกันตัวเราเองอยู่เสมอ "ป้องกันไว้ก่อนดีกว่ามาแก้ทีหลังถูกไหม"

     การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้มารับบริการ    

  พยายามที่จะถ่ายภาพเพียงครั้งเดียว และมีการตระหนักเสมอว่าประวัติของผู้ป่วยเป็นหลักการสำคัญ อย่างเช่นผู้ป่วยอาจตั้งครรภ์มา ฯลฯ และมีการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น Gonad Shilding ,Lead apronฯลฯ แก่ผู้มารับบริการเมื่อไม่ได้ถ่ายภาพตรงจุดสำคัญนั้น

    การป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ญาติของผู้มารับบริการ   โดยมีผนังป้องกันรังสีรอบทิศทาง มีการปิดประตูทุกครั้งที่ถ่ายภาพ และให้ญาติผู้ที่มารับบริการรออยู่ข้่างนอก หรือถ้าในกรณีที่ต้องให้ญาติมาช่วยในการจับตัวผู้ป่วยเด็ก ก็ให้ญาติใส่อุปกรณ์ป้องกันรังสีที่เหมาะสม

         ขอขอบคุณ: ข้อมูลจากพี่นเรศ สุทธิศักดิ์(พี่ท๊อป)

นาย ฐิตินันท์ ยมวัน 49660144

จากที่ไปสอบถามรุ่นพี่มาได้ว่า การป้องมีทั้งของผู้ป่วยและของนักรังสีเทคนิค

โดยของผู้ป่วยมีการให้ผู้ป่วยใส่ชุดตะกั่ว  และมีที่ป้องกันอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งที่มีการถ่ายภาพเอกซเรย์ ถ่ายภาพเอกซเรย์แค่ครั้งเดียวและได้ภาพที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับรังสีน้อยที่สุด ควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย  ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กก็ให้ญาติมาจับไว้  หรือใช้เครื่องควบคุมการเคลื่อนไหว

สำหรับของนักรังสีเทคนิคคือมีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลคือฟิล์มแบด การใส่เสื้อตะกั่ว มีข้อกำหนดสำหรับนักรังสีที่ตั้งครรภ์   มีแผ่นฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

น.ส.สุภาพร คำพ้อง รหัสนิสิต 49662919
บทบาทหน้าที่ต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี
  1. ให้กับผู้ป่วย
-          มีป้ายคำเตือนผู้ป่วยที่มีครรภ์ให้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ต้องป้องกันอันตรายจากรังสีทุกครั้ง-          มีป้ายสัญลักษณ์แสดงเขตรังสีและมีไฟสัญญาณติดไว้ด้านนอกของประตูห้อง-          ไม่อนุญาติให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องเอกเซเรย์ในระหว่างที่มีการถ่ายภาพเอกซเรย์ยกเว้นกรณี ต่อไปนี้§         ผู้ป่วยเด็ก ถ้าให้ญาติช่วยจับต้องมีการป้องกันอันตรายจากรังสีทุกครั้ง§         ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ไม่รู้เรื่อง เมาสุรา อื่นๆ 
  1. ให้กับเจ้าหน้าที่
-          สวมเสื้อตะกั่วทุกครั้งในการออกเอกซเรย์เคลื่อนที่-          มี Film Badge สำหรับเจ้าหน้าที่ทุกคน และสวมทุกครั้งเมื่อปฏิบัติงานทางรังสี และมีรายงานผลการวัดรังสีประจำตัวบุคคล -          สวมเสื้อตะกั่ว แว่นตาตะกั่ว และ Thyroid Shield ทุกครั้ง เมื่อการปฏิบัติงานในห้องฟลูออกโรสโคปี
นางสาวภัทราภรณ์ จำรัส 49660847
จากการที่ได้สอบถามรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลพี่เค้าจะเน้นในเรื่องยึดหลักการใช้รังสีน้อยที่สุด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ป่วยนักรังสีต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ เวลา (Time) ระยะทาง (Distance) และวัสดุป้องกันรังสี (Shield) ดังนั้นต้องใช้เวลาน้อยที่สุด อยู่ห่างที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องใส่เสื้อตะกั่วป้องกันรังสีเสมอ  -  ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามตำแนะนำของรังสีแพทย์และเจ้าหน้าที่รังสีอย่างเคร่งครัด เช่น การถ่ายภาพปอด ต้องเปลี่ยนเสื้อ ถอดสร้อยหรือโลหะทุกชนิดที่อยู่ในบริเวณหน้าอกออกให้หมดเพื่อจะได้ไม่ต้องถ่ายซ้ำใหม่ ก็จะได้รับรังสีมากขึ้น รวมถึงการจัดท่าทาง และกลั้นหายใจขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วย-  สตรีวัยเจริญพันธุ์ ถ้าต้องทำการตรวจทางเอกซเรย์ของท้องน้อย ควรทำภายใน 10 วัน หลังจากมีประจำเดือน (นับจากวันที่ 1 ของรอบประจำเดือน) ถือเป็นช่วงที่ไม่มีไข่ตก-  ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะมีการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ช่วงท้อง ถ้าจำเป็นควรใช้อัลตราซาวด์แทน การเอกซเรย์ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายถ้าจำเป็น ต้องใช้เสื้อตะกั่วปิดบริเวณท้องเสมอ- กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก หรือผู้ป่วยที่มีสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้เอง ต้องมีผู้ช่วยเป็นญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ฝ่ายอื่น ควรปฏิบัติดังนี้·       สวมเสื้อตะถั่ว ถุงมือตะกั่วทุกครั้งที่เข้าช่วย ·       ถ้าเป็นไปได้ให้อยู่ห่างจากแนวรังสีอย่างน้อง 2 เมตร-  ผู้ป่วยเด็กที่ต้องเอกซเรย์บ่อย ๆ ควรจะใช้ตะกั่วปิดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
-  ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเอกซเรย์ ไม่ควรเข้ามาในแผนกโดยไม่จำเป็น

 

นายธนรัตน์ กาล้อม 49662810

จากการที่ข้าพเจ้าได้ไปสอบถามรุ่นพี่ที่ได้ทำงานแล้วได้ความดังนี้

 

การป้องกันอันตรายให้กับนักรังสีเทคนิค

- ใช้เวลาที่อยู่ในห้องที่มีการฉายรังสีให้สั้นที่สุด

- ใช้เครื่องกำบังทุกครั้งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี

- อยู่ห่างจากเครื่องที่มีการฉายรังสีใหมากที่สุด

- เมื่อปฏิบัติงานต้องติดฟิล์มแบดทุกครั้ง

- ทุกครั้งที่มีการฉายรังสีเราต้องปิดประตูห้องทุกครั้ง

 

การป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้รับบริการ

- สวมที่ป้องกันอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งที่มีการถ่ายภาพเอกซเรย์

-ถ่ายภาพทางรังสีให้ได้คุณภาพมากที่สุดและใช้ปริมาณรังสีให้น้อยที่สุด

 -หากผู้รับบริการเป็นเด็ก ก็ควรที่จะมีผู้ปกครองคอยจับไว้ด้วย

น.ส. ประภาสิริ เกาะน้อย 49660595

จากการที่ข้าพเจ้าได้สอบถามรุ่นพี่ ทำให้ได้ทราบว่านักรังสีเทคนิคที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนั้นมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างในการป้องกันอันตรายรังสี

การป้องกันรังสีแก่ผู้ป่วย     [vdขั้นตอนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้ป่วยและการใช้เวลาในการถ่ายภาพให้น้อยที่สุดเพื่อลดปริมาณรังสีและการใช้เครื่องป้องกันอันตรายรังสีให้แก่ผู้ป่วย และไม่อนุญาตให้กับคนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องx-rayขณะกำลังถ่ายภาพ

 

การป้องกันรังสีให้กับนักรังสีเทคนิค  เรื่องของอุปกรณ์ป้องกันพวกเสื้อตะกั่วจะไม่ค่อยไดใช้เท่าไร จะใช้ในกรณีที่ต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยไปจัดท่าเป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะหลบอยู่หลังฉากตะกั่วมากกว่า แล้วเวลาถ่ายเอกซเรย์ก็ควรอยู่หากจากต้นกำเนิดรังสีมากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานก็จะมีฟิล์มแบดจ์ไว้สำหรับตรวจวัดปริมาณรังสีที่อาจได้รับขณะปฏิบัติงาน และใช้เครื่องกำบัง

นางสาวกรรณิการ์ ยาวิชัย รหัสนิสิต 49662766

สำหรับการป้องกันรังสีให้กับตัวของนักรังสีเทคนิคนั้นต้องมีการป้องกันรังสีโดยใช้หลักการ เวลา(Time) ระยะทาง(Distance) เครื่องกำบัง(Shield) คือ

- ควรอยู่ห่างจากเครื่อง X-ray อย่างน้อยประมาณ 2 เมตร

- การยืนควรยืนทำมุม 90 องศา กับเครื่อง X-ray

- มีการใช้เครื่องวัดปริมาณรังสีส่วนบุคคลทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงานทางรังสี

- มีการใช้เครื่องป้องกันรังสีทุกครั้งที่มีการใช้เครื่องฟลูออโรสโคปี

- หลีกเลี่ยงการใช้รังสีโดยไม่จำเป็น

ส่วนการป้องกันรังสีให้กับตัวผู้ป่วยนั้นก็จะสามารถทำได้โดยตัวของนักรังสีเอง ต้องให้ผู้เข้ารับบริการได้รับปริมาณรังสีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจจะใช้เครื่องกำบังรังสีให้กับผู้ป่วยในส่วนบริเวณที่เป็นอวัยวะที่สำคัญ การหลีกเลี่ยงให้ญาติผู้ป่วยไม่ให้เข้าใกล้บริเวณทีมีการถ่ายภาพ X-ray ยกเว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น และเราควรหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพซ้ำเพื่อลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับโดยไม่จำเป็น

อยากทราบว่าการป้องกันรังสีกับบุคคลภายนอกห้อง กำแพงต้องหนาเท่าไหร่ บุตะกั่วหรือไม่ ถ้าไม่วัสดุเป็นอะไร จึงปลอดภัย

อยากสอบถามว่า เมื่อวันที่ 23/8/52 ลูกสาวต้องเข้าไปเอกซ์เรย์เราเป็นแม่ต้องเข้าไปช่วยจับเพราะลูกยังเด็กแค่ 2ปี แล้วเราตั้งครรภ์อยู่ 3 เดือนอยากทราบว่าจะเป็นอันตรายมากไหมค่ะ

วราภรณ์ วานิชสุขสมบัติ

อาจจะช้าไปที่เพิ่งเข้ามาดูบล็อกนี้ แต่ขอชมว่าเป็นไอเดียที่ดีมาก และการหาข้อมูลของนักศึกษาและสรุปมาได้ดี แต่จากคำถามของคุณนริศา ทำให้อยากเข้ามาตอบเพราะการที่คุณต้องเข้าไปดูแลลูกสาวนั้น น่าเห็นใจ เพราะเด็กคงไม่ยอมให้คนอื่นแทนคุณได้ แม้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่โดยปกติเครื่องเอกซ์เรย์จะต้องมีการควบคุมคุณภาพของลำรังสี ไม่ให้กว้างกว่าที่ต้องการจะถ่ายภาพ ดังนันหากจะมีรังสีโดนคุณบ้าง ก็เป้นเพียงรังสีสะท้อนเล็กน้อยเท่านั้น ตอบมาเพื่อให้คุณสบายใจขึ้นบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท