4 เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ


การออกแบบประเภทต่าง จำเป็นต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์

      การออกแบบประเภทต่าง ๆ  จำเป็นต้องมีเครื่องมือเครื่องใช้  และวัสดุอุปกรณ์อย่างครบครัน  เพื่อช่วยให้งานออกแบบสะดวกรวดเร็ว  สวยงามและมีคุณค่า  เครื่องมือดีมีคุณภาพพร้อมที่จะใช้งาน   มีจำนวนหลายชิ้นที่สามารถสนองความต้องการในการออกแบบได้ในทุกลักษณะงาน ย่อมทำให้งาน ชิ้นนั้น  สำเร็จออกมามีคุณค่ายิ่งขึ้น  เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นสำหรับ ใช้ใน การออกแบบมีดังนี้   

1. ดินสอดำ   (  Pencil )   ดินสอดำเป็นเครื่องเขียนขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มีไส้ทำด้วยแกรไฟท์     ผสมดินเหนียว ใช้  ในการออกแบบทั่ว ๆ  ไปแบ่งออกได้ดังนี้

1.1 ดินสอชนิดหุ้มด้วยไม้ ( Drafting  Wood )  มีตั้งแต่ไส้แข็งไปจนถึงไส้อ่อน  ได้แก่ HB  B  2B  3B 4B 5B  6B  และEE ตามลำดับ 

1.2  ดินสอชนิดบรรจุไส้ ( Merchanical  pencil  )  ไส้ดินสอมีหลายชนิด  มีทั้งชนิดเหลาไส้  และไม่เหลาไส้ดินสอ  ทั้ง  2  ชนิดนี้แบ่งออกเป็น  3  กลุ่มคือ               
1.  กลุ่มแข็ง (  Hard  )  เหมาะกับ งานร่างภาพหรือร่างแบบ       
2.  กลุ่มอ่อนปานกลาง  (  Medium )   เหมาะกับงานร่างภาพแรเงา        
3.  กลุ่มอ่อน (  Soft ) เหมาะกับงานแรเงาเน้นน้ำหนักผิวเน้นเงาแก่ ( เข้ม)                       
      การเก็บรักษา   นักเรียนควรมีกล่องสำหรับเก็บดินสอและเครื่องเขียนอื่น ๆ ให้อยู่ ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้
2.   ยางลบ ( Eraser )  เป็นวัสดุทำด้วยยางไม้หรือพลาสติก   ส่วนใหญ่ทำเป็นแท่งมี  2  ประเภทคือ   
     
 2.1.  ยางลบทำด้วยยาง ( Rubber ) 
       
 2.2   ยางลบทำด้วยพลาสติก ( Plastic ) คุณสมบัติของยางลบพลาสติก แข็งกว่ายางลบที่ทำด้วยยางเหมาะที่จะตัดเป็นชิ้นเล็ก     เพื่อนำไปลบบริเวณที่มีรายละเอียด     และบริเวณเนื้อแคบ   คุณสมบัติในการใช้งานจะใกล้เคียงกัน  ถ้านักเรียนชอบยางลบที่นุ่มนวล  ก็ใช้ยางลบที่ทำด้วยยาง    เมื่อใช้เสร็จแล้ว   ควรทำความสะอาดยางลบโดยถูกับกระดาษที่สะอาด  แล้วเก็บใส่กล่องพร้อมกับดินสอ
    3. ปากกา ( Pen )    ปากกาเป็นเครื่องเขียนใช้น้ำหมึกในการสร้างสรรค์งาน  จึงมีน้ำหมึกสีเข้มและคงทนถาวรกว่าการใช้ดินสอ  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานวาดเส้น และงาน ออกแบบทุกชนิดมีหลายประเภทดังต่อไปนี้  
          3.1  ปากกาปลายแหลมจุ่มเขียน  เหมาะสำหรับงานวาดเส้นและงานออกแบบ            
          3.2  ปากกาสปีดบอล    เหมาะสำหรับงานเขียนน้ำหนักและเขียนตัวอักษร             
          3.3  ปากกาเขียนแบบมีหลายขนาด   ตั้งแต่เบอร์  0.1 - 0.2    เหมาะกับงาน ออกแบบทุกชนิด   นักเรียนควรใช้อย่างทะนุถนอม     เพราะปากกาเขียนแบบนั้นมีสภาพค่อนข้าง บอบบาง   ควรใช้กับกระดาษอาร์ตเท่านั้น   เมื่อรู้สึกว่าหมึกเดินไม่คล่องต้องรีบถอดออกล้าง  แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดหรือใช้ลมเป่าให้แห้งก่อนประกอบเข้าอย่างเดิมให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้อีกทันที ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้แล้ว 
 4.หมึก ( Ink )  หมึกเป็นอุปกรณ์ประกอบเครื่องเขียน   มีทั้งชนิดบรรจุขวดและบรรจุหลอด  มีลักษณะเหลวหมึกที่ใช้ในการออกแบบส่วนใหญ่เป็นสีดำ มี 2  ชนิดคือ  
     4.1 หมึกจุ่มเขียน ได้แก่หมึกที่ใช้พู่กันหรือปากกาจุ่มเขียน เช่น อินเดียอิ้งค์   สีหมึกเป็นต้น   เหมาะกับการเขียนแบบและระบายน้ำหนักบริเวณกว้าง ๆ  
      4.2 หมึกซึม  เป็นหมึกที่ใช้กับปากกาเขียนแบบโดยเฉพาะ  ใช้เติมเข้าไปในหลอดปากกาเขียนแบบนอกจากนี้ยังมีหมึกที่บรรจุหลอดสำเร็จรูป   สามารถใช้กับปากกา เขียนแบบได้ทันที   ช่วยให้งานเขียนแบบมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น  เมื่อใช้แล้วต้องปิดฝาให้สนิท  
5. วงเวียน ( Compass ) คือเครื่องมือประกอบการเขียน  มีสองขาใช้ในการสร้างวงกลม   ส่วนโค้งและส่วนเว้าที่นิยมใช้กัน คือ        
5.1   วงเวียนดินสอ  มีลักษณะปลายแหลมข้างหนึ่ง  อีกข้างหนึ่งมีที่คีบดินสอ  ใส่เข้าและถอดออกได้  ใช้ในการเขียนวงกลม  เส้นโค้งและเส้นเว้า        
5.2    วงเวียนปากกา  มีลักษณะปลายแหลมข้างหนึ่ง  อีกข้างหนึ่งมีที่คีบปากกาใส่เข้าและออกได้ใช้ในการเขียนวงกลม ส่วนโค้งและเว้า       
5.3    วงเวียนแบ่ง มีลักษณะปลายแหลมทั้ง 2 ข้างใช้ในการวัดระยะความกว้าง  ความยาว        
5.4  วงเวียนคัตเตอร์  เป็นลักษณะปลายแหลมข้างหนึ่ง   อีกข้างหนึ่งเป็นใบมีดใช้สำหรับตัดกระดาษให้เป็นวงกลมส่วนโค้งและส่วนเว้าใส่เข้าและถอดออกได้        
6. พู่กัน(  Brush )  พู่กันเป็นอุปกรณ์สำหรับวาดระบายสีภาพ  ตอนปลาย ทำด้วยขนสัตว์หรือใยสังเคราะห์  มีหลายชนิดแต่ที่จะกล่าวถึงพู่กันที่ใช้กับสีน้ำและสีโปสเตอร์เท่านั้น   พู่กันดังกล่าวบางชนิดมีลักษณะกลมปลายแหลม   บางชนิดกลมพอง  บางชนิดมีลักษณะ แบนปลายตัด   ขนพู่กันบางชนิดทำด้วยใยสังเคราะห์   บางชนิดทำด้วยขนสัตว์  ซึ่งมีคุณสมบัติ อุ้มน้ำได้ดีและมีสปริงดีกว่าขนพู่กันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์          
      6.1พู่กันกลมพอง เป็นพู่กันที่มีขนาดใหญ่ ใช้สำหรับระบายสีบนพื้นที่กว้าง        
      6.2 พู่กันปลายแหลม  มีขนาดเล็กกว่าพู่กันกลมพอง  ใช้สำหรับระบายสีบริเวณพื้นที่แคบเก็บรายละเอียดของภาพได้ดีเมื่อเน้นความสมบูรณ์ของภาพ      
      6.3  พู่กันปลายตัด   ใช้สำหรับระบายสีบนพื้นที่กว้าง  ระบายสีในลักษณะโครงสร้างและเขียนตัวอักษร  พู่กันดังกล่าวมีตั้งแต่เบอร์  0  ถึงเบอร์  24  แต่ในระดับนักเรียนใช้ เบอร์  3, 6, และ 12  ก็เพียงพอและเหมาะสมกับงานแล้ว    การวางพู่กันหรือเก็บพู่กัน   ไม่ควรวางพู่กัน จุ่มลงในภาชนะรองรับ  เพราะจะทำให้ขนของพู่กันบิดงอเสียรูปทรงได้ทำให้การระบายสีขาด ประสิทธิภาพ  ควรวางพู่กันให้ด้ามปักลงและขนพู่กันตั้งขึ้น                                                   
7.   สี ( Colour )  คือคลื่นหรือความเข้มของแสงที่เข้ามากระทบตาเรา  ทำให้เรามองเห็นเป็นสีได้   สีที่นิยมมาใช้ในการออกแบบได้แก่  ดินสอสี  สีน้ำ  สีโปสเตอร์และสีเมจิก็เพียงพอแล้ว  ส่วนคุณสมบัติควรมีดังต่อไปนี้      
 7.1  สีดินสอ  เป็นประเภทเครื่องเขียนที่เหลาไส้มีมากมายหลายสี  ใช้ระบายสีเป็นลาย  วาดเส้น  เน้นน้ำหนักแสงและเงา  ดินสอสีบางชนิดเมื่อระบายแล้ว  ใช้พู่กันจุ่มน้ำระบาย ทับลงไปสีจะกลายเป็นเทคนิคสีน้ำอย่างสวยงาม      
7.2    สีน้ำ เป็นสีวัตถุธาตุมีคุณสมบัติโปร่งใส ( Transparent )    การลดน้ำหนัก ของสีใช้วิธีการผสมน้ำให้เจือจาง   ไม่ควรระบายสีทับกันหลาย ๆ ครั้งจะทำให้สีไม่สดใส  สีน้ำ มีทั้งชนิดบรรจุหลอดและบรรจุตลับ  แต่ที่นิยมใช้กันมากคือสีบรรจุหลอด   เมื่อนักเรียนใช้เสร็จ แล้วควรปิดฝาให้เรียบร้อย  เพื่อป้องกันปัญหาสีแห้งแข็ง      
7.3    สีโปสเตอร์ เป็นสีวัตถุธาตุใช้ผสมกับน้ำระบายมีคุณสมบัติทึบแสง ( Opaque )  การลดน้ำหนักของสีทำได้โดยการผสมกับสีขาว    สามารถระบายสีทับกันได้หลาย ครั้งเมื่อนักเรียนใช้เสร็จแล้วต้องปิดฝาขวดให้แน่น   เก็บบรรจุเข้ากล่องให้เรียบร้อย 
7.4    สีเมจิก  เป็นสีน้ำบรรจุหลอด  ส่วนปลายเป็นสักหลาด ( ทำด้วยขนสัตว์ ) มีคุณสมบัติกึ่งทึบแสง    มีหลายขนาด  ใช้สำหรับเขียนตัวอักษร   วาดลายเส้นระบายสอด สีได้หลากหลาย   เมื่อนักเรียนใช้เสร็จแล้วต้องปิดฝาให้แน่น   มิฉะนั้นสีจะแห้งอย่างรวดเร็ว  
 8. จานสี ( Pallet ) เป็นภาชนะสำหรับใส่และผสมสี   มีช่องสำหรับบีบสีและผสมสี  นักเรียนควรใช้จานสีที่มีสีขาว   ถ้าเป็นจานสีพลาสติกควรเป็นพลาสติกสีขาวทึบแสง เพราะถ้าใช้จานสีที่เป็นสีอื่น    จะทำให้มองเห็นสีในจานหลอกตาเราได้    ส่วนจานสีที่เป็นสังกะสีด้านนอก จะเป็นสีอะไรก็ได้   แต่ด้านในควรเป็นสีขาวเท่านั้น    เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องล้างสีออกให้สะอาดเช็ด ให้แห้งเก็บให้เรียบร้อย
 9. ไม้ที ( T - Square )  เป็นอุปกรณ์ใช้ในงานออกแบบ มีลักษณะเป็นรูปตัว T  ทำด้วยไม้หรือพลาสติก  ใช้สำหรับเขียนเส้นตั้งฉาก  เป็นอุปกรณ์หลักในการออกแบบ 
10. ไม้สามเหลี่ยม ( Triangle )  เป็นอุปกรณ์ใช้ในงานออกแบบ  มีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว    และสามเหลี่ยมมุมฉากสองอันคู่กัน  ทำด้วยพลาสติก  ใช้สำหรับ เขียนมุมในองศาต่าง ๆ บางชนิดปรับองศาได้    เป็นอุปกรณ์ประกอบในการออกแบบ 
11.เทมเพลท ( Template ) ทำด้วยพลาสติกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจาะพิมพ์รูปทรงเรขาคณิตเป็นอุปกรณ์ประกอบในการเขียแบบที่จะทำให้งานเขียนแบบเกิดความคล่องตัว  เมื่อใช้งานแล้วควรเก็บใส่ซองให้เรียบร้อย

12.  กระดาษ ( Paper )    สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการออกแบบคือกระดาษ การออกแบบที่ดีนักเรียนจะต้องศึกษาเรื่องลักษณะของกระดาษที่มีหลายแบบแตกต่างกันไป  เพราะกระดาษเป็นตัวรองรับภาพงานออกแบบ  จึงจำเป็นที่เราจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน  กระดาษแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 

 
       12.1  กระดาษวาดเขียน  (  Drawing    Paper  )  เป็นกระดาษสีขาวมีลักษณะแตกต่างกันหลายชนิด เช่น  สีขาวหนา  เนื้อด้าน  ผิวละเอียด  ผิวหยาบผิวขรุขระ  เป็นต้น   มีความหนากำหนดหน่วยเป็นปอนด์  เช่น  60  ปอนด์ , 70 ปอนด์ ,  80 ปอนด์ ,  100 ปอนด์  และ 300 ปอนด์ เป็นต้น   กระดาษวาดเขียนมีคุณสมบัติดูดซึมสีน้ำได้ดีเหมาะ กับงานระบายสีน้ำและสีโปสเตอร์   
      12.2   กระดาษปรู๊ฟ (  News Print  Paper )   เป็นกระดาษ ชนิด ธรรมดาที่ผลิตจากเยื่อไม้ราคาถูก  มีคุณภาพต่ำ  มีสีค่อนข้างเหลือง  ถ้าเก็บไว้ นานจะ กลายเป็นสีน้ำตาล  เหมาะสำหรับนำไปใช้กับงาน  ร่างแบบ  ร่างภาพ                                   
        12.3   กระดาษโปสเตอร์ ( Poster Paper)   เป็นกระดาษมีสีหน้าเดียวเป็นสีสดใสมีให้เลือกหลายสี    เหมาะสำหรับงานปะติดออกแบบแทนสีได้ หรือใช้กับงาน เขียนตัวอักษร และงานออกแบบด้วยสีโปสเตอร์หรือสีหมึก  
        12.4   กระดาษสี  ( Color Poster ) เป็นกระดาษสี  2  หน้าผิวด้านมีให้เลือกหลายสี   คุณภาพดีกว่ากระดาษโปสเตอร์   ประโยชน์การใช้สอยเหมือนกับกระดาษโปสเตอร์
         12.5  กระดาษไข (  Transparent  Paper  ) เป็นกระดาษไขโปร่งแสง  มีทั้งชนิดหนาและบางให้เลือก  ควรเลือกใช้ชนิดหนาเพราะเมื่อเขียนผิดพลาด สามารถ แก้ไข ได้ด้วยการใช้ปลายมีดคัทเตอร์ขูดออก  ใช้เป็นใบปะหน้างานออกแบบเพื่อ บอกรายละเอียดต่าง ๆ เป็นคำสั่งเพื่อการพิมพ์    กระดาษไขจะเหมาะสำหรับการเขียนด้วยปากกาหมึก  แต่ไม่เหมาะ กับ การเขียนด้วยสีน้ำหรือสีโปสเตอร์                                 
                    Master.Thani Phunopakun.Audio Visual & Art    
คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 155306เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นรีตยจครน่รีนตคนตัคุพ

เจมส์ ธีรพงษ์ คูณคำ

ควยยย กากาากากกากากากากากาวะ หาไรที่กากกว้า นี้ไม่ได


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท