เศรฐกิจพม่าในสมัยราชวงศ์


เศรษฐกิจพม่าในสมัยราชวงศ์ ๑. สมัยราชธานีโบราณ
เศรษฐกิจพม่าในสมัยราชวงศ์
๑. สมัยราชธานีโบราณ (giatgsk'Ntw,b7hexO6b'N'",ykt)
เศรษฐกิจของเมืองราชธานีที่ตั้งโดยชาวปยู(xy&) มอญ(,:oN) และยะไข่(i-6b'N)เป็นเศรษฐกิจที่มีการเกษตรเป็นพื้นฐาน โดยมีการเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด และถั่วนานาชนิด ส่วนการผลิตสิ่งของเครื่องใช้นั้นมีงานทอผ้า งานปั้นหม้อ งานช่างเงินทอง งานตีเหล็ก และงานหล่อโลหะ เป็นอาทิ
การที่ราชธานีของชาวปยูตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำอิรวดีนั้น ได้ส่งผลให้มีความรุ่งเรื่องทางด้านการค้าทั้งภายในและจากภายนอก และพบว่ามีการใช้เหรียญเงินกันแล้ว เมืองปิตตะโน(rbÊO6bt)และเมืองศรีเกษตร(lgig-9µik)ต่างก็มีการค้าขายทางทะเล ส่วนเมืองฮันลีง(soN]'Nt)นั้นมีการค้าขายทางบกกับอินเดีย
เมืองสุวรรณภูมิ(l6;I³4^,b)เป็นเมืองท่าสำคัญทางการค้าในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ พบว่ามีพ่อค้าชาวอินเดียเข้ามาอาศัย นอกจากนี้ยังมีเขตการค้าสำคัญอื่นๆ ดังเช่น แถบชายฝั่งมัทราต(,mi9N)ของอินเดีย บริเวณแหลมมลายู และทวารวดีซึ่งตั้งอยู่ในเขตประเทศไทย เป็นต้น
 เมืองเวสาลี(g;lk]u)ทำการค้าขายกับอินเดีย ดินแดนเบงคลา(48§]ktopN)และชายฝั่งมัตราตเป็นอาทิ มีการใช้เงินตราแลกเปลี่ยนทางการค้า เมืองเวสาลีนับเป็นเมืองราชธานีที่มั่งคั่งโดดเด่นเมืองหนึ่ง
๒. สมัยราชอาณาจักร (xgmlik=N Vdik=NO6b'N'"g9kN,ykt)
ในช่วงสมัยพุกาม(x68")ถึงสมัยญองยาง(gPk'Ni,Nt) พม่าดำเนินเศรษฐกิจแบบการเกษตรเป็นหลัก ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนพอเพียงก็จะพึ่งน้ำฝนในการทำเกษตรกรรม ส่วนในพื้นที่แห้งแล้งจะมีการทำเหมืองฝายเพื่อการเกษตร
พื้นที่ทางการเกษตรอาจจำแนกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ กาย(d6b'Nt) สวน(fpykfN) ไร่(pk) และนา(]pN) การทำนาปลูกข้าวนั้นมี ๒ แบบ คือ แบบนาปรัง(,6i'Nt]pN) และแบบนาปี(loN]pN) นาปรังคือนาที่ทำในฤดูหนาว ส่วนนาปีเป็นนาที่ทำในฤดูฝน สำหรับนาปีนั้นมีปลูกทั้งข้าวหนัก(gdkdNWdut0xjt) และข้าวเบา(gdkdN]y'N0xjt) ชาวพม่ารู้จักวิธีการเพาะปลูกต้นกล้าก่อนที่จะย้ายไปปลูกยังแปลงนามาตั้งแต่สมัยพุกาม
การทำไร่จะทำกันบนที่ดอนซึ่งมีน้ำน้อย ในไร่มีการปลูกลู(]^t) ข้าวฟ่าง(CxN) ข้าวโพด(gexk'Nt) ข้าวบาร์เลย์(,6gpk) และงา(Oa,Nt) อีกทั้งมีการปลูกตาลไว้ในไร่ด้วย ส่วนในกายมีการปลูกพืชผักต่างๆ อาทิ ถั่วแปบ(xcWdut) ถั่วนา(xc]:oNt) ถั่วแขก(d6]ktxc) ฟัก(zU6") แตงกวา(l-:kt) ผักกาด(,6oNP'Nt) มะเขือ(-i,Nt) และกระเทียม(EddNl:oNez&) สำหรับยาสูบนั้นไม่พบว่ามีการเพาะปลูกจนเมื่อสิ้นสมัยตองอูแล้ว โดยเพิ่งมีการปลูกใบยาสูบกันเมื่อต้นสมัยญองยาง
ในการทำสวนนั้นเป็นการปลูกพืชที่ให้ผลระยะยาว ในสมัยพุกามพบว่านิยมปลูกหมากกันมาก ส่วนในสมัยอังวะ ตองอู จนถึงญองยางนั้น นอกจากจะปลูกหมากแล้ว ยังพบว่ามีการปลูกมะม่วง ขนุน ฝรั่ง และมะพร้าวเป็นพืชสวน
นับแต่สมัยพุกามจนถึงสมัยญองยาง ชาวไร่ชาวนาทำการเกษตรด้วยควายและวัว และใช้เครื่องมือเพาะปลูก เช่น คันไถ(5:oN96"t) คราด(5:oN9") จอบ ขวาน ไม้สงฟาง มีด เคียว เป็นต้น สำหรับพาหนะที่ใช้ในการขนส่งพืชเกษตรมีเรือและเกวียน ในการเลี้ยงสัตว์มีแพะ หมู ไก่ และเป็ด เป็นต้น
นอกจากการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์แล้ว ยังมีอาชีพฆ่าสัตว์ พรานป่าและชาวประมง ส่วนงานหัตถกรรมเพื่อเลี้ยงชีพนั้นจะได้แก่ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างโลหะ ช่างแกะสลัก ช่างกลึง ช่างวาด ช่างเงิน ช่างทอง และช่างทอ เป็นต้น
ในสมัยนี้การค้าขายภายในและระหว่างประเทศต่างก็รุ่งเรืองขึ้นแล้ว ในการซื้อขายมีการใช้ทอง เงิน และทองเหลืองในการเทียบเป็นราคา ๑ จัตตา ๒ จัตตา และมีการแลกเปลี่ยนในรูปสินค้าเช่นกัน ส่วนที่ยะไข่มีการหลอมทำเหรียญขึ้นใช้ พ่อค้าจากยุโรปที่เข้ามาค้าขายตามเมืองท่าของเมียนมานั้นได้นำโลหะชนิดหนึ่งที่เรียกว่า คันชา(8oN=k-ตะกั่วผสมทองแดง)มาทำเหรียญ พ่อค้าจากจีน อินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับได้เดินทางเข้ามาค้าขายที่เมียนมานับแต่สมัยพุกามแล้ว พอถึงสมัยตองอูมีพ่อค้าชาวโปรตุเกส อิตาลี และอังกฤษเดินทางมาค้าขายยังเมืองท่าต่างๆของเมียนมา  พ่อค้าเหล่านี้เข้ามาซื้ออัญมณี งาช้าง ครั่ง(-ybxN) และข้าวสารจากเมียนมา พอในสมัยญองยางนิยมเข้ามาซื้อทอง ทองแดง ดีบุก น้ำมันดิบ ไม้สักและพริกไทย ส่วนสินค้าจากต่างประเทศจะได้แก่ น้ำหอม เครื่องทองเหลือง พรม เครื่องนุ่งห่ม และปรอท เป็นต้น พ่อค้าจากต่างประเทศได้เข้ามาจอดเรือค้าขายยังเมืองท่าต่างๆ เช่น เมาะตะมะ(,69µ,) สิเรียม(loN]y'N) พะสิม(x6lb,N) ตังดวย(l"9:c) มเย่าก์อู(ge,kdNFt) ทวาย(5kt;pN) ในสมัยญองยางนั้น เมืองสิเรียม เมาะตะมะ และมเย่าก์อูได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุด มีการแต่งตั้งเจ้าเมือง(1,bh;oN) นายทหาร(00Ndc) และนายท่า(gi;oN) เพื่อกำกับดูแลและเรียกเก็บภาษีจากเหล่าพ่อค้าและเรือขนส่งสินค้าจากต่างประเทศที่มาจอดเทียบท่ายังเมืองเหล่านั้น พร้อมกับมีการแต่งตั้งนายอากร(v-:oN;oN)ให้ประจำอยู่เฉพาะที่เมืองพะโคเท่านั้น
นับจากสมัยตองอูเป็นต้นมา พ่อค้าจากต่างประเทศจะทำการค้าขายโดยผ่านบรรดานายหน้า(x:c0ktWdut)ที่กษัตริย์ทรงแต่งตั้งไว้ สำเภาสินค้าจากต่างประเทศจะต้องทำการค้าโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆที่กษัตริย์เมียนมาทรงวางไว้ สำหรับอัตราภาษีที่เรียกเก็บนั้นกำหนดไว้เป็นร้อยละ ๒๒ ของมูลค่าสินค้าที่นำมาวางขาย
นอกจากเมียนมาจะใช้เส้นทางทะเลในการทำการค้าแล้วยังมีการใช้เส้นทางบกอีกด้วย พ่อค้าที่เข้ามาค้าขายทางบกส่วนใหญ่จะมาจากเมืองจีน สินค้าที่พ่อค้าจีนนำเข้ามาขายจะได้แก่ ชา ผ้าไหม เส้นใยไหม พู่ห้อย(xoNtz:kt) และเกลือซึ่งจำเป็นสำหรับผู้คนที่อาศัยบนดอย พร้อมกับซื้อฝ้าย ผ้าฝ้าย และหยกจากประเทศเมียนมา
๓. สมัยราชอาณาจักรคองบอง (d6oNtg4k'NVdik=NO6b'N'"g9kN)
สมัยคองบองช่วงแรก (ค.ศ. ๑๗๕๒–๑๘๑๙)
เศรษฐกิจในสมัยคองบองในช่วงแรกนั้นเป็นเศรษฐกิจแบบขุนนางเจ้าที่ดิน(ge,ia'Nxgmlik=N) ตลอดสมัยขุนนางเจ้าที่ดินนี้เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย แต่พออังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาจึงเริ่มมีการหาช่องทางการค้ากับประเทศต่างๆทางทะเล การผลิตสินค้าของประเทศยังคงเน้นด้านการเกษตรเช่นสมัยก่อน ดังนั้นกษัตริย์สมัยคองบองจึงพยายามดูแลการเกษตรให้เติบโตตามอัตภาพ
อลองเมงตยาจีทรงให้มีการปรับขยายคูคลองเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร พอเสด็จกลับจากศึกมณีปุระก็เสด็จตามลำน้ำมูแล้วมีรับสั่งให้ขุดคลองจากเมืองมเยดู(ge,m^t)มายังหนองน้ำชเวโบนันทา(gU­46boO·k) ทรงจัดการชลประทานให้เป็นระบบ ในรัชสมัยพระเจ้ามเยดู(พระเจ้ามังระ)ทรงส่งเสริมการทำไร่นา ส่วนพระเจ้าปะดุงก็ทรงให้ขุดลอกหนองน้ำนันทา(oO·kdoN) อ่องปีงแล(gvk'Nx'N]pNdoN)และมิตถิลา(,b9¶u]kdoN) ช่วยให้มีน้ำสำหรับแปลงนาเป็นจำนวนนับพันเอเคอร์ อีกทั้งยังมีการขุดสระหลวง(doNWdut) สระตะโมะโซ(9,69NC6btdoN) และสระมยองมะด่อ(ge,k'Nt,g9kNdoN) นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปรับปรุงคูคลองจากเมืองทั้งเก้า(d6bt-U6b'N)ซึ่งใช้สืบมาหลายยุคสมัยให้เป็นระบบเพื่อมิให้เกิดการเหือดแห้ง อีกทั้งยังได้มีการแต่งตั้งนายฝาย(CPN;oN)และเสมียนฝาย(CPN0kgit)เพื่อให้คอยดูแลฝายเหล่านั้นด้วย
ในรัชสมัยพระเจ้าปะดุงการปลูกพืชสวนมีมากขึ้น มีการทำสวนมะพร้าว สวนพลูและสวนหมากกันในเขตเมาะตะมะ หงสาวดี และตองอู ส่วนที่เมืองเมงกุนก็พยายามทำสวนหมากพลูเช่นกัน หมากจากเมืองตะดาอู(9"9ktFt)มีชื่อมาก มีการทำสวนตาลในพื้นที่ว่างและในเขตเมืองบน(vPkgml-เขตแห้งแล้งตอนกลางแถบเมืองมีงบู) มีการปลูกตาลทั้งในที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์และเขตธรณีสงฆ์เพื่อผลิตน้ำตาลปึก(5oNt]ydN)และน้ำตาลเคี่ยว(9'N]c) ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าปะดุงมีการเกิดภาวะฝนแล้ง น้ำท่วมและไฟไหม้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จึงทรงให้มีการสำรวจเพื่อให้ทราบถึงสภาวะทางเศรษฐกิจของเวลานั้น
ในต้นสมัยคองบองนอกเหนือจากการเกษตรแล้วการทำมาหากินในด้านอื่นๆก็เจริญขึ้นเช่นกัน  โดยเฉพาะงานหัตถกรรมรุ่งเรืองขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าปะดุง ในเมืองตะโละ(9]6xN)มีทั้งการทอผ้า การทำครามย้อมผ้าและการปั้นโอ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือปั้นโอ่งของเมืองซะเหล่(0g])มีชื่อเสียงมาก มีการทำกระเบื้องเคลือบที่ตวนเด(9:"g9t) เมาะตะมะ และเจ้าก์มยอง(gdykdNge,k'Nt) ส่วนในพื้นที่หนองน้ำมีการทำประมง อีกทั้งการทำไม้ก็มีมากขึ้นด้วย ส่วนเมืองย่างกุ้งและเมืองทะละ(m])นั้นเป็นท่าเรือและมีอู่ต่อเรือ ไม้ที่นำมาใช้ในงานต่อเรือส่วนใหญ่ได้จากพื้นที่แถบเมืองตายาวดี(lkpk;9u)และเมืองแปร(exPN)
ในต้นสมัยคองบองสามารถนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้อย่างพอเหมาะพอควร มีการทำเหมืองอัญมณีที่เมืองโมโกะ(,6btd69N)และเขตจัตเปียง(EdxNex'N) พบทองมากในเขตเมืองกะตา(dlk)และเมืองวังโต(;oNtl6b) พบเงินในแผ่นดินฉาน(ia,NtexPN)และแถบตองอู(g9k'N'^) มีการขุดน้ำมันดิบที่เมืองเยนังชอง(gio"g-yk'Nt)และเมืองเช่าก์(g-ykdN)เป็นต้น พบดินประสิวในแถบซีมีโข่ง(Cu,ut-6") มีการทำบ่อเกลือที่พะโค พะสิม เมาะตะมะ และซะลีงจี(Ckt]'NtWdut)เป็นต้น มีการทำเครื่องใช้ในบ้านและอาวุธนานาชนิด เช่น ปืน มีด และหอกจากเหล็กที่ขุดได้ภายในประเทศ และการทำเหมืองแร่มีมากขึ้นโดยเฉพาะถ่านหินและเหล็ก
ในต้นสมัยคองบองนอกจากจะใช้การแลกเปลี่ยนตัวสินค้าในการซื้อขายแล้ว ยังมีการใช้เงินแท่งและทองแท่ง(ทองแดง?)เป็นเงินตรา การค้าขายภายในประเทศจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งจะอาศัยทั้งทางบกและทางน้ำ สินค้าต่างๆมักได้แก่ ปลา ปลาแห้ง เกลือ ข้าว สังฆภัณฑ์ ถั่วนานาชนิด น้ำมันปรุงอาหาร น้ำตาลปึก เมี่ยง ใบชา ใบตะนัต(loxNzdN) และฝ้าย เป็นต้น
ในด้านการค้ากับต่างประเทศก็เติบโตโดยลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยึดยะไข่ไว้ได้แล้วได้ทำให้การค้าทางบกกับอินเดียมีมากยิ่งขึ้น และพอสงบศึกกับจีนตั้งแต่สมัยพระเจ้ามเยดูการค้าระหว่างเมียนมากับจีนก็เพิ่มมากขึ้น ฝ่ายจีนนิยมซื้อฝ้ายจากเมียนมา และฝ่ายเมียนมาก็นิยมซื้อเส้นใยไหม ผ้าไหม และเครื่องทองเหลืองจากจีน
ในรัชสมัยพระเจ้าปะดุงพ่อค้าจีนได้เข้ามาค้าขายทั้งโดยทางน้ำและทางบก และจากการให้การดูแลความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของพ่อค้าจีนจึงทำให้การค้าขายบังเกิดความราบรื่น เมืองทางการค้าที่เจริญขึ้นมาได้แก่ พะมอ(roNtg,kN) หงสาวดี(s"lk;9u) เมาะตะมะ มะริด(w,b9N) พะสิม และธัญวดี(TP;9u) ยางบะแย(i,Ntwrc) ตังดวย(l"9:c) มานอ่อง(,koNgvk'N) ส่วนเมืองท่าที่เนืองแน่นที่สุดก็คือเมืองย่างกุ้ง(ioNd6oN) พระเจ้าแผ่นดินจะค้าขายผ่านผู้ตีราคา(ikez9N)และพ่อค้าคนกลาง(d6oNlPNx:c0kt)ซึ่งทรงแต่งตั้งไว้อีกทอดหนึ่ง
กษัตริย์ในต้นสมัยคองบองนั้นได้ทรงผ่อนปรนตามความจำเป็นอย่างพอควรต่อพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาทำการค้าโดยมิได้แทรกแซงทางการเมือง อย่างไรก็ตามในการค้ากับอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นมีการแทรกแซงทางการเมือง จึงเป็นเหตุให้การค้าขายไม่อาจเจริญเติบโต
ในด้านสินค้าออกของประเทศเมียนมานั้นจะได้แก่ ไม้สัก สีเสียด ครั่ง งาช้าง น้ำมันดิบ ตะกั่ว ดีบุก อำพัน หูฉลาม รังนก เป็นต้น ในบรรดาสินค้าออกของประเทศเมียนมานั้นไม้สักนับเป็นสินค้าที่พ่อค้าชาวต่างประเทศหลงใหลมากที่สุด ส่วนสินค้าที่ชาวต่างประเทศนำเข้ามาขายในประเทศเมียนมานั้นได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องโลหะ เครื่องทองเหลือง และเครื่องแก้ว
สมัยคองบองช่วงหลัง (ค.ศ. ๑๘๑๙–๑๘๘๕)
ในระหว่างรัชสมัยพระเจ้าสะกายและพระเจ้าปะกังแห่งคองบองนั้นได้เกิดสงครามขึ้น ๒ ครั้ง ซึ่งมีผลให้ประเทศเมียนมาตอนล่างต้องตกไปอยู่ในมือของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ(opN-ychv8§]bxN-พวกอังกฤษขยายดินแดน) และเนื่องจากพื้นที่ที่เสียไปนั้นได้รวมถึงเมืองท่าชายทะเลด้วยจึงส่งผลกระทบต่อการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่ที่นาอันมีค่าและพื้นที่อันอุดมด้วยป่าไม้ต้องหลุดมือไปจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเมียนมาเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่สมัยพระเจ้ามินดงเป็นต้นมาจึงมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเมียนมาตอนบนให้เติบโตขึ้น ในขั้นแรกนั้นพระเจ้ามินดงได้ทรงพยายามพัฒนาด้านการเกษตร โดยทรงให้ความสำคัญต่อการผลิตข้าวเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการเพาะปลูกงา ข้าวโพด ฝ้าย ถั่วนานาชนิด ข้าวสาลี และยาสูบ ในบางพื้นที่ทรงกำหนดให้ปลูกฝ้ายและข้าวโพดปีละหน ส่วนในพื้นที่เจ้าก์แซ(gdykdNCPN)นั้นให้มีการปลูกข้าวปีละ ๒ - ๓ ครั้ง
มีการขุดลอกฝาย ทางน้ำ สระ และลำคลอง โดยดำเนินการปรับปรุงสระมหานันทา(,skoO·kdoN) สระยีงมา(p'Nt,kdoN) สระโจจา(!dbtEdkdoN) สระกะดู(dm^tdoN) สระมิตถิลา(,b9¶u]kdoN) สระมองมะ(g,k'Nt,doN) และสระมยะตอง(e,g9k'NdoN) เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการขุดคลองรัตนานที(i9okomu) และมีการสร้างเขื่อนก่อคันดินกั้นตลอดริมฝั่งแม่น้ำอิรวดีเพื่อกันน้ำท่วม ในด้านการเกษตรมีการสนับสนุนให้ราษฎรที่ยากจนสามารถกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตรสำหรับซื้อวัว ควายและเมล็ดพันธุ์
ในด้านการทำปศุสัตว์นั้นการเลี้ยงไหมนับเป็นอาชีพที่โดดเด่น ผ้าไหมของเมียนมามีชื่อด้านความทนทานและเนื้อผ้าที่เป็นมันงาม แหล่งผลิตผ้าไหมที่สำคัญได้แก่ อังวะ อมรปุระ ซะเหล่(0g]) และพุกาม
ส่วนงานด้านหัตถกรรมนั้นก็รุ่งเรืองเช่นกัน บ้านเรือนเกือบทุกหลังบนริมฝั่งแม่น้ำอิรวดีจะนิยมปลูกคราม และมักยึดอาชีพทอผ้า ทำคราม และปั้นโอ่ง นอกจากนี้ ยังมีอาชีพทำสีเสียด ดินประสิว และเครื่องเหล็กอีกด้วย
ในรัชสมัยของพระเจ้ามินดง นอกจากงานหัตถกรรมแล้วงานด้านอุตสาหกรรมก็เริ่มงอกงาม พระเจ้ามินดงและเจ้าชายกะนอง(dgok'N)ผู้เป็นพระอนุชาได้ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่างๆให้รุ่งเรือง จากการกำกับดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวนั้นจึงได้เกิดโรงงานต่างๆขึ้นมา อาทิ โรงงานผลิตผ้าไหมและผ้าฝ้าย โรงงาน
ทำน้ำตาล โรงงานผลิตคราม โรงงานหลอมเหล็ก โรงงานผลิตอาวุธประเภทต่างๆ และโรงงานผลิตแก้ว เป็นต้น โดยทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายกะนองเป็นผู้ควบคุมดูแลโรงงานดังกล่าว  หลังจากจากที่เจ้าชายกะนองสิ้นพระชนม์จึงมอบหมายให้เจ้าชายมักขรา(,d¢ik)ดูแลแทน จากการที่ทรงให้การสนับสนุนขนาดนั้นจึงทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในประเทศเมียนมาตอนบนกว่า ๕๐ แห่ง และเมื่อมีโรงงานผลิตเรือกลไฟขึ้นในสมัยของพระเจ้าธีบอ จึงสามารถต่อเรือกลไฟได้เอง อาทิ เรือมยะนันจักร(e,ooNt0Edk) เรือจักรยีงมูน(0EdkpfN,:oN) และเรือมยะนันยีงตา(e,ooNtpfNlk) เป็นต้น
ในรัชสมัยพระเจ้ามินดงนั้นพระองค์ทรงกำกับดูแลบ่อน้ำมัน เหมืองทับทิม เหมืองหยก เหมืองเงิน และเหมืองตะกั่วด้วยพระองค์เอง ในพื้นที่เยนังชอง(gio"g-yk'Nt)และเยนังชัต(gio"-yxN)มีบ่อน้ำมันถึง ๒๐๐ บ่อ และยังได้ทรงสร้างโรงสกัดน้ำมันขึ้น ๑ แห่ง ในเหมืองทับทิมที่โมโกะ(,6btd69N) จัตเปี่ยง(EdxNex'N) และกะตา(dlk)มีการขุดได้ทับทิมที่มีค่าเป็นจำนวนมาก ส่วนหยกและอำพันนั้นขุดได้จากบริเวณลุ่มแม่น้ำในเขตกะบ่อ(dg4kN)และฮูกอง(s^tgdk'Nt) อีกทั้งมีการขุดถ่านหินในเขตชเวโบซึ่งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำชิดวินและในเขตรัฐฉาน มีการขุดเหล็กได้จากเขาโปปา(x6x»jtg9k'N)และเมืองมเยดู(ge,m^t)เป็นต้น ส่วนเงิน ตะกั่ว และทองแดงนั้นพบทั่วไปในเขตรัฐฉานโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองบ่อตวง(g4kN9:'Nt)และบ่อซาย(g4kNC6b'Nt)เป็นต้น สำหรับทองแดงนั้นสามารถขุดได้จากฟากเมืองสะกาย
ในด้านการค้าขายภายในประเทศนั้นมีการขยายตัวขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ามินดง โดยเปิดโอกาสให้ราษฎรดำเนินการค้าไปอย่างเสรี การขายสินค้าในตลาดนัดทุก ๕ วัน('jtidN90NgGt)และในงานไหว้เจดีย์ก็ยังคงมีอย่างแต่ก่อน ในปี ค.ศ.๑๘๕๔ มีการกำหนดมาตราชั่งตวงวัดให้เป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๕ มีการตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญเงิน เหรียญทองแดงและเหรียญตะกั่ว บนเหรียญนั้นด้านหนึ่งประทับตรานกยูงและอีกด้านหนึ่งเป็นปีศักราชการที่ขึ้นครองราชย์ ส่วนการค้าภายในประเทศนั้นก็เจริญมากขึ้น เนื่องจากมีการใช้เรือกลไฟขึ้นล่องตลอดลำน้ำอิรวดี
ในด้านการค้าพาณิชย์กับต่างประเทศนั้นมีการซื้อเครื่องทองเหลือง เครื่องเหล็ก และผ้าไหมจากประเทศจีน ส่วนสินค้าจากเมียนมาที่ส่งไปขายยังประเทศจีนนั้นนอกจากฝ้ายแล้วยังส่งอำพันและหยกไปขายอีกด้วย ในรัชสมัยของพระเจ้ามินดงการค้าพาณิชย์เติบโตมากเป็นพิเศษ ส่วนในการเก็บภาษีการค้านั้นได้มีการเปิดด่านเก็บภาษีขึ้นที่เมืองพะมอ ส่วนภาษีสำหรับฝ้ายดิบและสินค้าประเภทต่างๆที่จะส่งจากประเทศเมียนมาไปยังยูนนานนั้นจะถูกเรียกเก็บภาษี ณ ที่เมืองพะมอ หรือไม่ก็ที่เมืองอมรปุระ
หลังจากที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษยึดประเทศเมียนมาตอนล่างได้แล้ว แทนที่ชาวเมียนมาจะได้ค้าขายกับต่างประเทศทางทะเล กลับมีแต่ชาวอังกฤษในประเทศเมียนมาตอนล่างเท่านั้นที่ทำการค้าขายได้ ในรัชสมัยของพระเจ้ามินดงนั้นประเทศเมียนมาส่งถั่วนานาชนิด น้ำมันงา ข้าวสาลี หินมีค่า น้ำมันดิบ เครื่องเขิน วัวควาย ไปขายยังประเทศเมียนมาตอนล่างของอังกฤษ และซื้อข้าว ผ้า เกลือ กะปิปลาร้า ปลาแห้งจากประเทศเมียนมาตอนล่าง ในการค้าขายกับประเทศเมียนมาตอนล่างนั้นพระเจ้ามินดงทรงดูแลด้วยพระองค์เอง และมีการตั้งด่านเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่เมืองตองอูและมีงละ(,'Nt]a)
ข้อมูลจากแบบเรียนประวัติศาสตร์เมียนมา ชั้น ๙ : ๒๕๔๔
(วิรัช นิยมธรรม  แปล)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15515เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท