ฟิตเงินกับฟิตร่างกาย แบบไหนก่อนดี


คนที่มีฐานะปานกลางขึ้นไปส่วนใหญ่มีสุขภาพดีกว่า และมีแนวโน้มจะมีอายุยืนกว่าคนยากจน วันนี้มีผลการสำรวจคนอเมริกาว่า ถ้าเลือกได้... ปีใหม่ (2008 / 2551) นี้จะเลือกฟิตกาย (fit body) ก่อนดี หรือว่าฟิตเงิน (fit finance) ก่อนดีมาฝากครับ

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนที่มีฐานะปานกลางขึ้นไปส่วนใหญ่มีสุขภาพดีกว่า และมีแนวโน้มจะมีอายุยืนกว่าคนยากจน วันนี้มีผลการสำรวจคนอเมริกาว่า ถ้าเลือกได้... ปีใหม่ (2008 / 2551) นี้จะเลือกฟิตกาย (fit body) ก่อนดี หรือว่าฟิตเงิน (fit finance) ก่อนดีมาฝากครับ

อเมริกาเพิ่งผ่านวิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และปัญหาการบริหารการเงินของธนาคารแห่งหนึ่งมาสดๆ ร้อนๆ ธนาคารคันทรีไวด์จึงทำการสำรวจว่า คนอเมริกาจะเลือกอะไรก่อนระหว่างสุขภาพกายกับสุขภาพการเงิน

...

[ ภาพจากวิกิพีเดียออนไลน์ > picture from Wikipedia ]

  • ภาพแสดงรายได้หรือผลิตผลของประเทศต่อหัวประชากร (GDP เฉลี่ยต่อคน) ในประเทศต่างๆ
  • โปรดสังเกตประเทศที่มีรายได้น้อยมากๆ สีแดงส้ม > ใกล้ๆ ไทยเราคือ พม่ากับบังคลาเทศ
  • ประเทศรวยมากๆ สีน้ำเงินเข้ม > ใกล้ๆ ไทยเราคือ สิงคโปร์

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์เมโลดี แอลเดอร์แมน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชคลินิกทำการสำรวจคนอเมริกาทั่วประเทศผ่านธนาคารคันทรีไวด์ (Countrywide bank study) การศึกานี้มีกลุ่มตัวอย่างตอบกลับมา 1,002 คน

สุขภาพการเงินที่ดี หรือ "ฟิตเงิน (fit finance)" มักจะหมายถึงการมีสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างน้อย 4-6 เดือนของรายจ่ายขั้นต่ำ กล่าวง่ายๆ คือ ถ้าตกงานหรือทำงานไม่ได้ฉุกเฉินขึ้นมาก็พอมีกินไปสักพัก การมีหนี้สินไม่มากเกินตัว และมีเงินออมหรือหลักประกันไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ

...

ผลการสำรวจพบว่า

  • คนส่วนใหญ่ต้องการมีสุขภาพการเงินดี (ฟิตเงิน) เป็นอย่างแรกมากกว่าสุขภาพกายหรือฟิตกาย (67% และ 57% ตามลำดับ)
  • ผู้ชายมีความรู้สึกว่า สุขภาพการเงินดี (ฟิตเงิน) มากกว่าผู้หญิง (55% และ 37% ตามลำดับ)

...

เมื่อเปรียบเทียบคุณพ่อ-คุณแม่ และคนโสด-คนแต่งงานแล้วพบว่า

  • คุณพ่อมีความเชื่อมั่นในสุขภาพการเงิน (ฟิตเงิน) มากกว่าคุณแม่
  • คนโสดมีความเชื่อมั่นในสุขภาพการเงิน (ฟิตเงิน) มากกว่าคนที่แต่งงานแล้ว

...

เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ต่างๆ ของอเมริกาพบว่า

  • เขตตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern) กล่าวว่า ฟิตเงินมากที่สุด (52%)
  • เขตตะวันตกกลาง (Midwest) และเขตใต้ (South) กล่าวว่า ฟิตเงินน้อยที่สุด (43%)

...

อาจารย์แอลเดอร์แมนไม่ได้บอกเหตุผลที่ผลการสำรวจออกมาเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนขอสันนิษฐานว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ดูจะมีวินัยทางการเงิน และเก็บหอมรอบริบได้ดีกว่าผู้ชาย นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงเชื่อมั่นในเรื่องฟิตเงินน้อยกว่า และมั่นใจน้อยกว่า

ยิ่งคุณแม่แล้วยิ่งมีความรอบคอบเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความรับผิดชอบต่อลูกมากกว่า ทำให้ต้องเพิ่มความรับผิดชอบไปมากขึ้น

...

คนโสดนั้นอาจจะมีความรอบคอบในเรื่องการเงินน้อยกว่าคนที่มีครอบครัว ทำให้มีความมั่นใจสูง

ส่วนเขตพื้นที่ในอเมริกานั้น... เดิมอังกฤษเริ่มตั้งรกรากแถบตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน / Northeast) หรือที่เรียกว่า "อังกฤษใหม่ (New England)" ก่อน ทำให้เศรษฐกิจแถบนั้นดีมาจนถึงทุกวันนี้

...

การตื่นทองทางตะวันออกเฉียงใต้ (Southwest) ในอดีตทำให้เกิดการอพยพเข้าของคนเอเชียในอดีต โดยเฉพาะคนจีนที่เข้าไปรับจ้างทำเหมืองทอง และทำการค้าในเวลาต่อมา ตลอดจนการอพยพเข้าของแรงงานราคาถูกจากละตินอเมริกา(อเมริกากลางและใต้)มีส่วนทำให้เศรษฐกิจของแถบนี้ดีมาตลอด

ยิ่งช่วงหลังมีอุตสาหกรรมใหญ่เกิดในแถบนี้มากมายไม่ว่าจะเป็นธุรกิจคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ และการท่องเที่ยว ทำให้แถบตะวันออกเฉียงใต้มีเศรษฐกิจดีมาจนถึงทุกวันนี้

...

คนที่อยู่ในแถบที่มีรายได้ดีมักจะฟิตเงินมากกว่าคนที่อยู่ในแถบที่หางานยาก หรือรายได้ไม่ค่อยดี

หลักการสำคัญๆ ในการรักษาสุขภาพการเงินที่ครูบาอาจารย์สอนผู้เขียนมาอีกหลายต่อ มีดังต่อไปนี้

  1. "งด-ลด-ละ-เลิก" หนี้และการค้ำประกันให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต และถือหลักว่า ถ้าไปค้ำประกันอะไรให้ใครก็เท่ากับการก่อหนี้เสมอ
  2. ลดรายจ่ายประจำ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าเงินผ่อน
  3. ลด-ละ-เลิกงานเลี้ยง งานสังสันทน์ ซึ่งเป็นแหล่งเงินรั่วสำคัญ (ไปเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ)
  4. ใจแข็ง "ไม่รับซอง" เพื่อลดภาษีสังคม หรือไม่จ่ายเกินตัว อย่าลืมว่า การทำบุญหรือการทำความดีเป็นเรื่องของเรา เรามีสิทธิ์เลือก ไม่จำเป็นต้องเป็นทาสของการยัดเยียดเสมอไป
  5. เลิกคบคนขี้ขอ ไม่ว่าจะน่ารักสักเพียงใด
  6. ทำกับข้าวกินเอง หรืออย่างน้อยที่สุดควรหุงข้าวกล้องกินเองให้ได้วันละ 1 มื้อขึ้นไป เพื่อลดรายจ่ายค่าอาหาร
  7. งด-ลด-ละ-เลิกเหล้า เบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำลายทั้งฟิตเงิน และฟิตกาย
  8. งด-ลด-ละ-เลิกบุหรี่

...

ขอเรียนเชิญท่านผู้อ่านที่มีข้อคิดดีๆ ในการรักษาความฟิตเงิน หรือฟิตกายมาร่วมกันเผยแพร่ความรู้เป็นวิทยาทานกัน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพการเงิน และสุขภาพกายดีไปนานๆ อย่าลืมว่า การเป็นหนี้มีส่วนเพิ่มความเครียด และเพิ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้อย่างมากมายครับ

...

ข่าวประกาศ                                        

  • ผู้เขียนขอลาไปอินเดีย-เนปาล > 21 ธันวาคม 2550 - 3 มกราคม 2551

ที่มา                                                 

  • Thank Reuters > Mary Milliken. Richard Chang ed. > Americans want fit finances before fit body: study > [ Click ] > December 18, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชนแม่สัน-เมืองยาว (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 19 ธันวาคม 2550 > 19 ตุลาคม 2551.

หมายเลขบันทึก: 154781เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
สวัสดีปีใหม่ ขอคุณพระศรีรัตนตรัยบันดาลให้อาจารย์ ครอบครัวและทุกท่านรอบข้างอาจารย์ มีความสุข สดขื่น สมหวัง ค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณใบบุญ

  • ขอขอบคุณสำหรับคำอวยพรที่อาศัยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นเบื้องหน้า(ปุเรจาริก)... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอให้คุณใบบุญ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ ความสำเร็จ ความก้าวหน้าอันได้มาโดยธรรมทุกๆ ประการเช่นกันครับ

 Sasinanda

สวัสดีค่ะ มาเยี่ยมค่ะ และขอให้มีความสุขความเจริญด้วยธรรมะเช่นกันนะคะ

ผมว่าไปพร้อม ๆ กัน ก็ไม่น่าจะติดอะไรนะครับ ตอนนี้ผมอายุ 27  เจอว่าสิ่งสำคัญกับชีวิตเราคือสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์  พร้อมที่จะทำงาน

หากชีวิตนี้เราไม่ตายไปจากโลกเร็วเกินควรด้วยโรคต่าง ๆ นา ๆ อันเกิดจากร่างกายที่ไม่แข็งแรงแล้วละก็ เราก็มีโอกาสตั้งมากมายที่จะหาเงินมาใช้

ทุกวันนี้ผมออกกำลังกายเป็นประจำ และออมเงินทุกเดือน .... 

 

ขอขอบพระคุณอาจารย์ sasinanda...

  • ขอขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนพร้อมกับความปรารถนาดี
  • ขอให้พวกเราทุกท่านทุกคนที่แวะมาอ่าน เขียน หรือสนับสนุน gotoknow ได้รับพร และความปรารถนาดีจากท่านอาจารย์ sasinanda ทุกท่านทุกคนเทอญ...

ขอขอบคุณ... คุณปรีดา

  • ขอแสดงความชื่นชมคุณปรีดาที่มีวินัยทางการเงิน และวินัยทางด้านสุขภาพตั้งแต่อายุน้อย... สาธุ สาธุ สาธุ
  • นับว่า เก่งกว่าผมมาก เพราะผมเพิ่งจะเริ่มออมอย่างเป็นระบบตอนอายุมากกว่า 35 ปี นับว่า ออมช้ามากๆ ทีเดียว

หวัดดีค่ะคุณหมอวัลลภ

  • นอกจากจะไม่ได้ฟิตสุขภาพกายแล้ว (ถึงอ้วนแบบนี้)
  • ยังไม่ฟิตเงินอีก...แบบว่า 8 ข้อที่คุณหมอกล่าวมานั้นหนูติ๊กเครื่องหมายถูกเกือบหมด
  • คงต้องหันมาสร้างวินัยในตนเองบ้างแล้ว...
  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ ที่ช่วยกระชากมุมมองของการใช้ชีวิตนะคะ

 

ขอขอบคุณอาจารย์ tuk-a-toon...

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน

อย่าเพิ่งตกใจครับ...

  • ผมเองก็เพิ่งเริ่มรักษาวินัยทางการเงินการคลังตั้งแต่อายุเกิน 35 ปีนี่เอง
  • ทีนี้ถ้าเริ่มสายหน่อย... จำเป็นต้องออมในสัดส่วนที่สูงขึ้นหน่อย
  • ขอให้เราอยู่แบบพอเพียงตามพระราชดำรัสให้ได้เป็นดีแน่ๆ

ขอแสดงความชื่นชมความตั้งใจดีของอาจารย์ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

แวะมาเยี่ยม ดิฉันกำลังพยายามจัดระเบียบการเงิน ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เพราะตรวจสุขภาพการเงินแล้วไม่ค่อยดีเท่าไร ขอบคุณคุณหมอที่ให้ข้อคิดค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณนภามากๆ เช่นกัน

  • เชียร์ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท