ข้อมูลนวัตกรรมการลดต้นทุนการผลิตข้าว


ข้อมูลนวัตกรรมข้าวภายใต้ภูมิปัญญาไทยจากการปฎิบัติจริงของเกษตรกร

จากการที่คณะกรรมการสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงได้เห็นชอบให้มีการสืบค้น ถอดองค์ความรู้และรวบรวมนวัตกรรมข้าวตามโครงการนำร่องบูรณาการส่งเสริมการผลิตข้าวอย่่างยั่งยืนในเขตชลประทานภาคกลาง 8 จังหวัดได้แก่จังหวัดสิงห์บุรี  นครปฐม ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทองและปทุมธานี

     สถาบันเสริมสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง   (สนพ.)  ได้ประชุมหารือนอกรอบกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการถอดองค์ความรู้จากเกษตรกรตามโครงการดังกล่าวภายในระยะเวลา 3 เดือนเพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรด้านอื่น ๆ ที่จะดำเนินการต่อไป ประกอบด้วย

คุณจันทร์จิราซึ่งได้ให้ความกรุณามากเพราะขณะนี้ได้ลาออกจากราชการแล้วแต่ได้ทำโครงการนี้มาก่อนและได้ให้คำปรึกษาแก่ สนพ.ในการวางแผนงาน

 คุณอรุณพลซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร

คุณวิเศษศักดิ์และคุณสุนทรซึ่งรับผิดขอบการส่งเสริมการผลิตข้าวชุมชน 

แต่ละท่านให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการทำงานและจะได้นำข้อเสนอเหล่านี้หารือในการประชุมวันที่ 20 ธ.ค.2550 ซึ่งมีท่่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นประธาน 

ข้อเสนอแนะดังกล่าวได้แก่

  • การถอดองค์ความรู้ควรมีการกำหนดให้เกษตรกรเล่าเรื่อง ใช้เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือ มีประเด็นชัดเจนว่าจะมีคำถามอะไรบ้าง ควรจะสร้างบรรยากาศที่คุ้นเคยกับเกษตรกรก่อนการสัมภาษณ์เพื่อให้รู้สึกเป็นกันเอง ไม่ตื่นเต้นจนไม่เป็นธรรมชาติ
  • ประเด็นคำถามควรประกอบด้วยเดิมทำนาอย่างไร ให้เล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดเปลี่ยนในการลดต้นทุนว่าเริ่มที่ใด มีความคิดอย่างไรจึงเปลี่ยนวิธีการเป็นการลดต้นทุนการทำนา ทางออกที่นำไปสู่การแก้ปัญหาการลดต้นทุนการทำนาทำอย่างไร ใช้เทคโนโลยีอะไร และมีผลดีที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
  • ก่อนออกไปถอดองค์ความรู้ดังกล่าวควรมีการทำ pretest ก่อนโดยเลือกจังหวัดที่ไม่ได้เป็นเป้าหมายในการถอดฯ เพื่อทดสอบแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
  • หลังการถอดองค์ความรู้แล้ว ข้อมูลที่ได้มาจะเป็นรูปเรื่องเล่ามีการถ่ายทำวีดีโอ อัดเทป ถ่ายรูประหว่างการสัมภาษณ์ เราจะพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เช่นช่างภาพของเรา วิทยากรกระบวนการที่มีอยู่ในพืั้นที่ดำเนินการเองไปก่อน
  • สังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้ออกมาเป็นประเด็น (1)การจัดการเมล็ดพันธุ์ (2)การปรับปรุงบำรุงดิน (3)การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและชุดดิน(4)การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  • รวบรวมเป็นองค์ความรู้และส่งต่อให้ศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชน รวมทั้งการดำเนินงานตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าวซึ่งมีงบประมาณอยู่แล้ว แล้วยกระดับความรู้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากการปฎิบัติ        จริงของเกษตรกร
  • ติดตามผลและสรุปบทเรียนเพื่อการปรับปรุงต่อไป

     จากแนวทางดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การได้มาข้อมูลนวัตกรรมข้าวภายใต้ภูมิปัญญาไทยจากการปฎิบัติจริงของเกษตรกร และหวังว่าบทเรียนของเกษตรกรจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรด้วยกันเองในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ธุวนันท์  พานิชโยทัย

17 ธ.ค.2550

หมายเลขบันทึก: 154089เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท