ความรู้สำหรับผู้มาไกล


ก่อมผีแมน หรือโลงไม้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

วัฒนธรรมโลงไม้ เป็นชื่อที่นักโบราณคดีได้แบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนไว้ เป็นยุคสุดท้ายของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เรียกว่า ยุคโฮโลซีนตอนปลาย คำว่า "โลงไม้" ภาษาไตเรียกว่า "ก่อมผีแมน" หรือโลงผีแมน ซึ่งพบกระจัดกระจายอยู่ตามถำต่างๆโดยเฉพาะในเขตอำเภอปางมะผ้า อำเภอเมืองและอำเภอสบเมย ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ลูกหลานฟังจากรุ่นสู่รุ่นว่า เป็นโลงไม้ของมนุษย์ถำที่เรียกว่าพวก "ผีแมน"

คำว่าผีแมน ซึ่งหมายถึงมนุษย์ถำที่เล่าขานกันนี้ สอดคล้องกับที่นักโบราณคดีจากหลายประเทศที่ได้มาขุดค้น ศึกษา รวมทั้งนักโบราณคดีของไทยด้วย ซึ่งได้แบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ 4 ยุค คือ

1. ยุควัฒนธรรมหินกะเทาะ เรียกว่าสมัย"ไพรสโตซีนตอนปลาย

2. ยุควัฒนธรรมหินกะเทาะ เรียกว่าสมัยโอโลซีนตอนต้น

3. ยุควัฒนธรรมหินขัด เรียกว่าสมัยโอโลซีนตอนกลาง

4. ยุควัฒนธรรมโลหะ ประเภทยุคเหล็ก หรือ วัฒนธรรมโลงไม้ สมัยโฮโลซีนตอนปลาย

วัฒนธรรมโลงไม้สมัยโฮโลซีนตอนปลาย (2,200 ปีมาแล้ว หรือ 47 ปีก่อนพ.ศ. ถึงพุทธศตวรรษที่14 หรือ 1,149 ปีมาแล้ว) คนโบราณในวัฒนธรรมโลงไม้เป็นคนมองโกลอยด์มีลักษณะเหมือนคนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดำรงชีพโดยการล่าสัตว์ ไม่มีหลักฐานการทำเกษตรกรรม ใช้ภาชนะดินเผาผิวเรียบ รมควัน ลายเชือกทาบ มีการตกแต่งฟัน เครื่องมือและเครื่องประดับทำจากโลหะเหล็กและสำริด เช่น สิ่ว ขวาน เป็นต้น กลุ่มนี้จะยึดเพิงผาและถำเป็นที่ฝังศพ เป็นถำที่อยู่บนหน้าผาหินปูนเป็นส่วนใหญ่

สำหรับความเชื่อ กลุ่มนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับคนตายน่าจะเป็นเรื่องสำคัญในวัฒนธรรมโลงไม้ เพราะมีความพิถีพิถันในการเตรียมปลงศพ นับตั้งแต่การตัดไม้ทำโลง การทำโลง การแกะสลักหัวโลง การเลือกที่ตั้งที่หาลำบาก โดยเฉพาะมักจะเป็นถำบนหน้าผาสูง มีการวางข้าวของเครื่องใช้ผู้ตาย มีประเพณีการตกแต่งฟันด้วยการเจาะรูฟันหน้าและฟันเขี้ยว เป็นธรรมเนียมในเรื่องความงาม

เมื่อประมวลจากหลักฐานทางโบราณคดีและจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสู่กันฟังต่อๆมา จึงน่าเชื่อได้ว่า "ก่อมผีแมน" หรือ โลงผีแมน หรือโลงไม้ น่าจะเป็นโลงไม้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ชาวไตในจังหวัดแม่ฮ่องสอนหากพบถำที่มีโลงไม้มักเรียกชื่อถำแห่งนั้นว่า ถำผีแมน จึงไม่แปลกที่ถำผีแมนปรากฏอยู่แทบทุกอำเภ ก่อมผีแมน เป็นโลงไม้ที่ทำจากไม้สักยาวประมาณเมตรเศษ กว้างประมาณ 50 ซม. มีการแกะสลักด้านหัวด้านท้าย ถูกวางไว้บนคานไม้ โดยมีเสาคำยัน 4 ต้น ซุกซ่อนอยู่ตามหลืบถำ โดยเฉพาะบนหน้าผาสูง เป็นข้อกังขาสำหรับผู้ที่พบเห็นว่า โลงไม้ที่แคบเพียง 50 ซม.จะสามารถบรรจุศพของมนุษย์โบราณที่มีรูปร่างใหญ่โตได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องน่าคิดสำหรับนักโบราณคดีทั้งหลายที่ต้องไขปริศนาข้อนี้ให้ชัดแจ้งต่อไป

อาจารย์เก 

หมายเลขบันทึก: 153772เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2007 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วันที่ ๑๖ ก.พ. ๕๑ จะมีการงานปิดโครงการวิจัย "วัฒนธรรมโลงไม้" ของ รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช  ม.ศิลปากร ที่ บ้านไร่ หมู่ที่ ๓ ต.สบป่อง อ.ปางมะผเ แม่ฮ่องสอน

ผมได้รับการติดต่อเป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการในงานนั้น  ในกิจกรรมที่ผมทราบรายละเอียดคร่าวๆจะมีการสนทนาแบบชาวบ้าน ผ่านสื่อมากมาย ลักษณะเวทีชาวบ้าน

หากท่านอาจารย์ว่างเรียนเชิญไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ผมเสียดายมาก ไม่ว่างจริงๆ บอกกระชั้นชิดไปหน่อย คราวหน้าถ้ามีกิจกรรมเช่นนี้ ช่วยบอกผมแต่เนินๆด้วยนะครับ เสียดายจริงจะได้สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านเขาคิดอย่างไร

อาจารย์เก

ผมดูผิวเผินไปหน่อย ถ้าเป็นเดือนกุมภาพันธ์ผมจะไปครับอาจารย์

อาจารย์เก

สวัสดีค่ะ อาจารย์   P  อาจารย์เก

หนูก็พึ่งจะทราบเหมือนกันค่ะ ว่า ก่อมผีแมน ที่แท้เป็น  โลงไม้ นี่เอง

ขอบคุณมากนะคะสำหรับสาระความรู้ใหม่

ว่างๆ เชิญเข้ามาเยี่ยมหนูได้ที่

http://gotoknow.org/blog/joom-kot

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท