เรียนภาษาอาหรับออน์ไลน์


สำหรับท่านที่สนใจจะเรียนภาษาอาหรับกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา นั้นเรามีสถาบันภาษานานาชาติซึ่งรับผิดชอบในการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอาหรับ(รวมทั้งภ.มลายูและอังกฤษ) และมีสาขาวิชาภาษาอาหรับ และล่าสุดสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในการประชุมครั้งที่ผ่านมาได้อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอาหรับและวรรณคดี

ผมได้รับ e-mail จากคุณวราทิพย์ จิตรตรีพล เธอเขียนถามมาดังนี้ครับ

หัวเรื่อง: อยากเรียนรู้ภาษาอาหรับที่มีภาษาไทยกำกับด้วย

ข้อความ:
อัสลามมุอะลัยกุม,สวัสดีค่ะอาจารย์อาลัม คือ ดิฉันสนใจอยากจะเรียนรู้ภาษาอาหรับค่ะ คือตอนนี้ดิฉันเรียนอยู่นอร์เวย์ค่ะ และก็มีเพื่อนที่เป็นมุสลิม ดิฉันก็อยากที่จะลองสื่อสารกับพวกเค้าเป็นภาษาอาหรับ คงไม่ผิดใช่ไหมค่ะที่ดิฉันไม่ได้เป็นมุสลิมแต่อยากที่จะเรียนรู้ภาษาอาหรับ

 

ผมคิดว่ามีคนไทยอีกหลายคนทีเดียวที่สนใจอยากเรียนรู้ภาษาอาหรับ ทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กันทั้งเพื่อการศึกษา งานอาชีพ และหรือมิตรภาพในฐานะเพื่อนร่วมโลกและการสื่อสารแปลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และความรู้สึกดีๆระหว่างกัน

 ผมจึงขออนุญาตตอบคุณวราทิพย์ จิตรตรีพล ในบล็อกนี้นะครับ เพื่อว่า ท่านอื่นๆที่มีความสนใจเช่นเดียวกันจะได้อ่านด้วย

สวัสดีและวะอาลัยกุมฯ ครับคุณวราทิพย์

ช่วงหลังๆนี้ผมมักจะได้รับการทักทายในบล็อกและรวมถึงใน e-mail ด้วยคำว่า "อัสสะลามุอาลัยกุมฯ" จากพี่น้องต่างศาสนิกถี่มากครับ ทำให้รู้สึก "อบอุ่น" ดั่งข้อสังเกตของ"ลูกสาว"เมื่อเธอบังเอิญได้เปิดอ่านบันทึกของอาเยาะ(พ่อ)ที่พบว่ามีข้อความเช่นนั้น

จริงๆแล้วภาษาอาหรับก็เหมือนกับภาษาอื่นๆทั้งหลายในโลกที่ใช้สื่อสารระหว่างกันครับ และไม่ได้มีข้อห้ามใดๆสำหรับต่างศาสนิก หรือคนที่ไม่ใช่อาหรับจะใช้พูด เขียนสื่อสารแต่ประการใดครับ(ในยุคที่อาณา จักรอิสลามรุ่งเรืองนั้นภาษาอาหรับในขณะนั้น ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ ณ ปัจจุบันนี้ ที่คนทั่วทุกมุมโลกในขณะนั้นต่างสนใจเรียนกันเพราะภาษาอาหรับเป็นภาษาแห่งวิชาการที่มีเขียนเกี่ยวกับศาสตร์ต่างๆหลากหลายและก้าวหน้ามาก) และในแง่ศาสนานั้นภาษาอาหรับได้รับเลือกให้เป็นภาษาที่อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าใช้เป็นภาษาที่พระองค์ "สื่อสาร" กับมวลมนุษย์ โดยการที่พระองค์ประทานวะหยู หรือวิวรณ์แก่ท่านศาสดามุหัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เป็นภาษาอาหรับๆ จึงมีความสำคัญขึ้นในฐานะที่เป็นภาษาของอัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮฺประทานลงมาแก่มวลมนุษย ชาติ

ผมได้เคยแนะนำลิงค์เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเรียนภาษาอาหรับไว้ในบล็อกหัวข้อ ท่านใดสนใจเรียนภาษาอาหรับเชิญที่นี่ครับ ซึ่งปรากฏว่าบล็อกนี้ได้รับความสนใจมีผู้เข้าไปอ่านมากที่สุด อัลหัมดุลิลละฮฺ (บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ) รองลงมาก็เป็นบล็อกที่แนะนำการเรียนภาษามลายูออนไลน์

อย่างไรก็ตามในโอกาสนี้ผมจะขอแนะนำอีกครั้งเกี่ยวกับการเปิดเว็บไซต์การเรียนภาษาอาหรับที่อ้างถึงดังนี้ครับ

คลิ๊กที่ลิงค์ท่านใดสนใจเรียนภาษาอาหรับเชิญที่นี่ครับ หลังจากนั้นท่านจะพบกับหน้าเว็บเพจ ดังนี้ครับ

จากนั้นให้ดูที่คอลัมส์ขวามือ ท่านจะพบกับ available languages เลื่อนสครอบาร์ลงไปที่ ภาษาไทย แล็วก็คลิ๊กครับ

จากนั้นก็จะพบกับเว็บเพจดังนี้ครับ

จะเห็นว่าที่คอลัมส์ซ้ายมือจะเปลี่ยนเป็นภาษาไทย ที่นี่ก็คลิ๊กตามใจชอบครับ ในกรณีที่คุณคลิ๊ก Arabic Grammar 1 ซึ่งมีอยู่ 4 Level และแต่ละLevel ก็มีLevel ย่อยๆอีก ดังตัวอย่างข้างล่างครับ

หมายเลขบันทึก: 153687เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2007 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากเรียนภาษาอาหรับค่ะ โดยเฉพาะที่ใช้ในประเทศอียิปต์ค่ะ

ที่ภูเก็ตมีที่ไหนให้เรียนบ้างค่ะ

  • อัสสะลามุอาลัยกุมฯ ครับคุณซานา
  • ลองแวะไปสอบถามที่มัสยิดใดมัสยิดหนึ่งที่ใกล้ที่อยู่คุณซานาดูนะครับ อาจจะได้คำตอบ

         ชื่อมัสยิด   สถานที่ตั้ง   อำเภอ
  ๑. ยาเมี๊ยะ   ๔๗ หมู่ ๘ ซ.ตลิ่งชัน ต.ตลาดใหญ่ เมือง
  ๒. กอรีอ๊ะ   ๒๑ หมู่ ๖ ต.เกาะแก้ว เกาะมะพร้าว เมือง
  ๓. ลิวาอุลีอิสลาม  หมู่ ๒ ซ.บางชีเหล้า เกาะแก้ว  เมือง
  ๔. ยาบรรนูรค์   หมู่ ๕ ซ.หัวควน เกาะแก้ว  เมือง
  ๕. นูเร็นอิสมิยะฮ์  หมู่ ๑ ถ.วิเศษ บ้านไสยวน ต.ราไวย์ เมือง
  ๖. อิซซาตุ้ลอิสลาม  ๑๓ หมู่ ๗ ถ.ศักดิเดช ต.วิชิต  เมือง
  ๗. ดารุลอิสลาม  ๒๔ หมู่ ๓  บ้านเกาะโหลน ต.ราไวย์ เมือง
  ๘. กามาลียะห์   หมู่ ๗ ซ.แหลมหิน เกาะแก้ว  เมือง
  ๙. เอ้าวาลุ้ลฮีดายะห์  หมู่ ๓ ซ.ร่วมใจ ต.ราไวย์   เมือง
๑๐. นู่รนอิสลามียะห์  หมู่ ๘ ถ.ศักดิเดช ต.วิชิต   เมือง
๑๑. นู่รศดีนียะห์  ๑๔ หมู่ ๔ ถ.วิเศษ ต.ราไวย์  เมือง
๑๒. กียามุดดิน   หมู่ ๖ ซ.บ้านบ่อแร่ ต.ราไวย์  เมือง
๑๓. นูรุลอีบาดายะห์  หมู่ ๑ ต.ไม้ขาว    ถลาง
๑๔. บ้านคอเอน   หมู่ ๒ ต.ไม้ขาว    ถลาง
๑๕. บ้านพารา   หมู่ ๔ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๑๖. บ้านบางโรง   หมู่ ๓ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๑๗. บ้านอ่าวปอ   หมู่ ๖ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๑๘. บ้านผักฉีด   หมู่ ๑ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๑๙. บ้านพรุสมภาร  หมู่ ๘ ต.เทพกษัตรี   ถลาง
๒๐. มูกัรร่ม(บางเทา)  หมู่ ๒ ต.เชิงทะเล   ถลาง
๒๑. บ้านหยิด   หมู่ ๗ ต.ไม้ขาว    ถลาง
๒๒. บ้านนาใน   หมู่ ๗ ต.เทพกระษัตรี   ถลาง
๒๓. บ้านบางลา   หมู่ ๘ ต.ศรีสุนทร   ถลาง
๒๔. บ้านบางโจ   หมู่ ๔ ต.ศรีสุนทร   ถลาง
๒๕. บ้านเกาะนาคา  หมู่ ๕ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๒๖. บ้านแหลมทราย  หมู่ ๖ ต.เทพกระษัตรี   ถลาง
๒๗. ยามีอุ้ลอีบาดะห์  หมู่ ๙ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๒๘. ดารุ้ลมุตตากีน  หมู่ ๗ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๒๙. บ้านบ่อสอม  หมู่ ๔ ต.ไม้ขาว    ถลาง
๓๐. นูรนอิสลามียะห์  หมู่ ๑ ต.ป่าตอง    กะทู้
๓๑. หวะด้านิย้าตุ้ลอิสลามิย้ะ หมู่ ๕ ต.ป่าตอง    กะทู้
๓๒. ผดุงศาสน์   หมู่ ๕ ต.กมลา    กะทู้
๓๓. บ้านกมลา   หมู่ ๒ ต.กมลา    กะทู้
๓๔. อัลมาดีนะห์  หมู่ ๖ ต.ตลาดใหญ่   เมือง
๓๕. นูสรุ้ลเอี๊ยะซาน  หมู่ ๖ ต.กมลา    กะทู้
๓๖. ดารุลฮิกมะฮ์  หมู่ ๔ ต.ป่าคลอก   ถลาง
๓๗. นูรุลฮาดา   หมู่ ๑ ต.ป่าตอง    กะทู้
๓๘. บ้านบางม่าเหลา  หมู่ ๑ บ้านบางม่าเหลา ต.สาคู  ถลาง
๓๙. บ้านบ่อกรวด  หมู่ ๑ บ้านบ่อกรวด ต.เทพกระษัตรี ถลาง
๔๐. บ้านบางดุก   หมู่ ๑ ต.ไม้ขาว    ถลาง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท