สูติกรรม 1 น้ำนมแม่ เลิศ ประเสริฐสุด 30 พ.ย. 50


คุณแม่เอามือมาแตะ มือของหนู สบตา หนูก็ รู้ว่า เขาดีใจ ขอบคุณ เรา โดยไม่ต้องพูดเลย

 หมอหน่อยเดินมาที่ตึกสูติกรรม 1 ช้าไป 5 นาที  

ป้าอ้อย หัวหน้าตึก บอกว่า เขางดเวทีสัญจร  เก็บของและอุปกรณ์ ไปหมดแล้ว 

ตกใจโหมะเลยค่ะ   ต้องรับผิด ว่าไม่ได้ ประสานกับศูนย์ คุณภาพก่อนเยี่ยม

โอ นี่ละคะ ความสำคัญของการสื่อสาร 

ด้วยความคล่องตัวของทีม พรส น้องแดน และ คุณ สง่า ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ถึง 5 นาที เราก็เปิดเวทีกันได้               

 คุณอ้  คุณแจ๋ว หัวหน้าตึก NS  และสูติ  2 ก็ ตามมาช่วยเติมบรรยากาศให้เวทีสดใสขึ้น

ป้าอ้อยเริ่มเล่าในเวทีก่อน ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลาของเธอ

 เธอเล่าถึงความดี ความสามัคคี รักใคร่ กลมเกลียวในการทำงานร่วมกัน

เน้นการให้ความรู้แก่คนไข้เรื่องของการให้ลูกกินนมแม่

การใช้ความพยายามในการให้ความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงลูก

และความรู้ต่างๆ ให้แก่มารดาหลังคลอด

จนได้รับคำชม และได้รับเกียรติบัตรมากมาย ทุกอย่างที่เขามีรางวัล ทีมนี้ กวาดหมด (นมแม่,แม่และเด็ก,โรงพยาบาลสายสัมพันธ์ และท้ายสุด โรงพยาบาลสายใยรัก แห่งครอบครัว)

ทำให้ทุกคนภูมิใจในงานของตน ทุกคนมีความกระตือรือล้นที่จะทำงานและพร้อมดูแลคนไข้ด้วยใจรักและความจริงใจในการทำงาน

เธอและทีมงานเล่าถึงวันแม่แห่งชาติ ที่ผ่านมาด้วยความภาคภูมิ หน้าตาเปี่ยมสุขว่า

 12 ส.ค.50 มีการจัดโครงการสายใยรักครอบครัวขึ้นที่ห้องประชุมเสม รพ เชียงรายฯ

 เราคัดเลือกแม่ที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบตอบรับส่งไปที่บ้านแต่ได้รับการตอบรับน้อยมาก

พอถึงวันจัดกิจกรรมมีครอบครัวประมาณ 150 ครอบครัว ประมาณ 300 คน มาร่วมงาน  เกินความคาดหมายมากๆ

ในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการนำลูก หลานมาคลานแข่งกันได้รับความสนุกสนานเป็นสีสันของงาน อย่างมาก 

เราเชิญกุมารแพทย์ คุณหมอ เอ้า (พัชราพร )มาให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการในด้านต่างๆ และการเลี้ยงดูเด็ก

เชิญคุณพ่อคุณแม่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วย

มีผู้สนับสนุนเพียบ บริษัทมาร่วมชงนมแจกขนมให้เด็กโต มอบของที่ระลึก

ห้องเด็กอ่อน ก็ช่วยในเรื่องของการลงทะเบียน 

งานใหญ่ แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนมีจิตอาสาช่วยกันทำงานด้วยความตั้งใจ สนุกสนาน

 

เมื่อดูผล สรุป  ความรู้สึกและจากรวมจากแบบประเมินในครั้งนี้

พบว่า

 

          คุณพ่อคุณแม่มีความพึงพอใจในการจัดงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก และอยากให้จัดทุกปี

 

กลับมาคุย เรื่อง งานประจำที่ ภาคภูมิใจมาก ของ ward  คือช่วยคุณแม่ให้สามารถให้นมแม่

ช่วยแก้อุปสรรคปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น เรื่องนมแม่นี้เป็นนโยบาย ของโรงพยาบาลเลยนะคะ

นำเอาวิธีการที่มีคุณค่าจาก โรงพยาบาลศิริราช คือ LATCH SCORE มาใช้ มีการให้คะแนนที่ชัดเจนในทุกเวร 8 ชั่วโมง

 การประเมินลูกกินนม  การประเมินน้ำนม  ก่อนหน้าที่ไม่มี น้ำนม จนมีมากมาย

ทำให้สามารถส่งต่อระหว่างเวร  ส่งต่อการดูแล  ประเมินการให้นม ต่อเนื่องได้

 

ที่สำคัญคือ ผลลัพธ์ แม่แทบทุกคนสามารถให้นมลูกได้

ทั้งคุณแม่ และ ทารกมีความสุขมากๆ

คุณแม่แสดงออกถึงความพอใจโดยสายตาและการสัมผัส

 คุณแม่เอามือมาแตะ มือของหนู สบตา หนูก็ รู้ว่า เขาดีใจ ขอบคุณ เรา โดยไม่ต้องพูดเลย 

การนำแลชสกอร์  ลงมาสู่การปฏิบัติได้  เป็นความภาคภูมิใจของหน่วยงาน ช่วยให้รู้ว่ามารดาต้องการความช่วยเหลือในด้านใด และสามารถเป็นข้อมูลครั้งต่อไปได้

ขยาย วิธีการนี้ ไว้เผื่อใครจะนำไปใช้ค่ะ

เป็นการสอนทั้งวิธีการอุ้มลูก พุ่งความสนใจไปที่การให้นมลูก     ทำให้ทำงานชัดเจนและ ได้ง่ายขึ้นมาก

         

 L = LATCH = การอม   ถ้าอมถึงลานหัวนม ได้ เต็ม 2 

                 

A= AUDIBLE = การได้ยินเสียงกลืนนมของทารก ต้องได้ยินเป็นช่วงๆ ต่อเนื่อง

 

T = TYPE = ลักษณะหัวนม ถ้ายื่นออกมาดี ก็ยอดเยี่ยม ถ้าสั้น ถ้าบอด ก็ ต้องช่วย มีวิธีค่ะ

                     

C = COMFORT = ความสบาย

H = HOLD =    ท่าอุ้มลูก ถ้าถูกต้องก็จะสบาย ทั้งแม่ทั้งลูก

ได้คะแนน 10 ก็คือเต็ม ค่ะ

ขอ เพิ่มเติมเรื่องนมแม่นี้อีกนิด

หมอหน่อย เคยอ่าน เรื่องที่อาจารย์ ประมวล เพ็งจันทร์ เล่า ในการประชุมจิตวิวัฒน์  ว่าท่านไปฟังการอธิบายคุณ พ่อใหม่ คุณแม่ หลังคลอด แทนคุณพ่อเพื่อนชาวต่างประเทศของท่าน ที่รพแม่และเด็ก เชียงใหม่

คุณหมอ สอนดีมากบอกว่า

"การให้นมขวด หยอดเข้าไปในปาก  เด็ก ออกแรงนิดหน่อย ก็มีน้ำนมไหลเข้าปากได้เลย เป็นการแย่มากที่จะเริ่มต้นชีวิตด้วยความรู้สึกง่ายๆแบบนี้

และถ้าเด็ก ดูดนมขวด จะติดรสชาด เพราะมันอร่อย และปฏิเสธน้ำนมจากแม่"

อาจารย์ประมวล ท่าน เอามาบอกเพื่อน ยอดกว่าที่หมอที่สอนท่านอีกว่า

"นี่เป็นโอกาสอันประเสริฐ ที่จะให้ลูกเราได้สัมผัสกับบรมธรรม ได้ว่าชีวิตต่อไปจะต้องสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ต้องจิตใจเข้มแข็งอดทน

ให้ลูกดูดนมแม้จะไม่มีน้ำนมเลย ในตอนแรก

เป็นการฝึกความเพียรพยายาม ทั้งที่แม่กลัวลูกหิว กลัวลูกร้อง สะเทือนใจ

แต่ต้องสำนึกรู้ และเล็งเห็นว่าการให้นมแม่เป็นสิ่งดีงาม"

กลับมาฟังน้องๆ เล่าต่อ ถึง การทำงาน  สอน มารดาให้การดูแลทารก จะค่อย สอน แนะนำให้อดทน มีบางครั้งบางทีการสอนอาจจะล้มเหลวถ้าหากมารดาไม่มีความอดทน 

เปลี่ยนค่านิยมของคุณแม่สร้างสุขนิสัยให้ลูกกินนมแม่และ เพิ่มการอำนวยความสะดวกให้แม่และลูกในด้านต่างๆค่ะ

ที่ตึกนี้มี ความกลัวค่ะ เคยมีประสบการณ์เด็กหายโดยที่เด็กหายไปหนึ่งอาทิตย์เต็มๆ ในที่สุด เราตามเจอ แต่กลัวจะเกิดอีก

อยากให้ ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อป้องกันการขโมยเด็ก (ข่าวดีล่าคือ ท่านรองบริหารพี่หมูบอก หมอหน่อย เมื่อกี้เองว่าเราจะได้ติดกล้องวงจรปิด ในจุดสำคัญของ โรงบาล แล้วค่ะ  และตึกสูติก็เป็นจุดที่จะได้ด้วย)

ตอนนี้เรามี แนวทางการป้องกันเด็กหายหรือสลับสับเปลี่ยนกัน คือจะติดป้ายข้อมือทารกหญิงเป็นสีชมพู  ชายเป็นสีฟ้าตั้งแต่คลอด และเน้นย้ำระวังป้ายข้อมืออย่าให้หาย

เราของดการเยี่ยมช่วงเวลา 8-12 น. เพราะเจ้าหน้าที่จะยุ่ง ไม่มีเวลาดูแลมารดา หรือทารก อย่างเต็มที่

หรือ หากมารดาจะเข้าห้องน้ำ ต้องนำเด็กมาฝากพยาบาล ไม่ให้ฝากข้างเตียงหรือคนอื่น

แถมอีกอย่างว่า เราประสานกับเวชกรรมสังคม หลังคลอดก็จะมีการออกเยี่ยมบ้านทุกราย

ทั้งผู้ช่วยเหลือคนไข้ และคนงาน ก็ทำงานสอดคล้องกันค่ะ 

 หนูจะ ดูแลให้คำแนะนำมารดา การแนะนำสถานที่ต่างๆ การช่วยเหลือมารดาในขณะที่พยาบาลท่านอื่นไม่ว่าง

ทางคนงาน- จะสอดส่องดูแล การสังเกตความผิดปกติต่าง แล้วช่วยแจ้งพยาบาล  ช่วยแม่ของเด็กเปลี่ยนผ้าอ้อม พาไปเข้าห้องน้ำ  และรวมไปถึงการทำความสะอาดห้องน้ำที่ทำวันละ 2 ครั้ง

ที่นี่บรรยากาศดีค่ะ   เป็นกันเองระหว่างเจ้าหน้าที่ทุกระดับไม่มีการถือตัว ไม่แบ่งชั้นวรรณะ เรารับประทานอาหารร่วมกันตลอด 

 การทำ HA ที่ผ่านมาทำให้เกิดการทำงานอย่างมีระบบ ประกอบกับทุกคนในหน่วยงานมีจิตใจดีงามอยู่แล้ว ทำให้การทำงานมีความสำเร็จ อาจมีบางครั้งที่ขัดแย้งกันบ้างแต่ก่อให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี

- ทุกคน  ใส่ใจในเรื่องความเสี่ยง และสามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงที

หัวหน้าอ้อยกล่าวตอนท้ายว่า  เป็นความภูมิใจที่น้อง สามารถเป็นอาจารย์สอนคนไข้ สอนนศ. และสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับคนใหม่ ได้ตลอดเวลา

ดีใจที่เราใช้การประเมิน LATCH กันจริงจัง ทำให้ต้องสัมผัสผู้ป่วยทุกคน เกิดความคุ้นเคย ทราบถึงสภาพปัญหาของ Pt ได้อย่างรวดเร็วชัดเจน

จบเวทีด้วยความรู้สึกชื่นชมความดีงามของพวกเรา  เจ้าหน้าที่ตึกนี้ ที่ได้ช่วยให้เด็กๆ  ทารกทุกคนที่คลอดที่รพเชียงรายฯกินนมแม่    ช่วยที่จะทำให้มนุษย์ใหม่คนหนึ่ง เริ่มต้นการฝึกความอดทน และช่วยจน ประสบความสำเร็จในบันไดขั้นแรกครั้งแรกของชีวิต   ให้สามารถเติบโต อดทน   มีชีวิตดีงามในสังคม ต่อไป

 เกินความคาดหมาย

-ทุกคนมีความสุขเป็นครู สามารถดูแล สอนผู้ป่วย และ บุคลากรอื่นๆ ได้

- บรรยากาศตอนแรกเครียด ต่อมาเริ่มผ่อนคลายตอนน้องแจงเริ่มพูดคำเมืองนี่แหละค่ะ

- ความรักไคร่สามัคคี เต็มใจมาร่วมเวทีในครั้งนี้

- มีความภูมิใจในการมาร่วมเวทีในครั้งนี้ เพราะได้พูดคุย แสดงออก

ต่ำกว่าความคาดหมาย

- เวลาน้อยไป

- อยากให้มาบ่อยๆ

- การใช้ภาษาในการสื่อสารอาจเป็นอุปสรรคในการพูด

 สิ่งที่จะทำต่อไป

- จะพูดให้มากกว่านี้

- ชมกันบ่อยๆ ทุกวัน

- ควรพูดคำเมืองจะได้ไม่เกร็ง (คราวหน้า อู้กำเมืองดีกว่า)

คุณ อ้อหัวหน้า NS  เธอแถม ตอนท้าย ของเวทีว่า เธอเก็บข้อ ปฏิบัติดีๆ จากการไปฟัง อ พัชราพรสอนในการประชุม วันแม่ที่เราช่วยกันจัดผ่านมานี่แหละ

นำมาใช้เอง เธอบอกว่าได้ประโยชน์มากเลย ทำให้ชีวิต ทุกคนในบ้านเธอดีหมด

ตอนเช้า เธอจะกอดลูก กอดสามี และร่วมกันอธิฐานจิตว่า 

ฉันจะเป็นคนดี                 

ฉันจะทำแต่ความดี 

ฉันจะพบแต่สิ่งที่ดีๆ 

น่าสนใจ เอาไปทำนะคะ   ททท ทำทันที ได้เล้ยยยยย

หมายเลขบันทึก: 153686เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2007 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท