Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๒๗)_๒
ตัวอย่างบทสนทนาในคลินิก Weblog
วิทยากร :
การอ่าน feed จะเป็น web base ซึ่งใน web base จะมี feed
ในตัวของมันเอง เพื่อตรวจสอบ
ช่วงนี้เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี internet
มีเรื่องสนุกให้ได้เรียนรู้หลายเรื่อง ในอดีต web คือ read only
พวกเราเป็นผู้อ่านเพียงอย่างเดียว
มีคนอยู่เพียงกลุ่มเดียวคนที่เป็นผู้เขียน คือ
ไรท์เตอร์หรือเว็บมาสเตอร์เท่านั้น ปัจจุบันจะเปลี่ยนไปแล้ว
ตอนนี้จะเปลี่ยนไปแล้ว content จะเกิดจากพวกเรา
ไม่เป็นไซด์คือจะอ่านข่าว CNN ต้องไป CNN เท่านั้น
โดยเปลี่ยนจากผู้ส่ง/บุคคลที่เราสน และtopic เป็นหลัก
ตัวตนของ provider จะหายไป
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
ถ้าไม่มีผู้ใดเขียนข้อมูลที่เราอยากรู้ลงไปในนี้เราก็จะค้นไม่เจอใช่ไหม
? ต้องมีคนที่ความรู้ช่วยกันเขียนลงไป
วิทยากร
:
เว็บ 2.0 จะเกิดขึ้นได้เพราะพวกเราเอง
เป็นกระแสระดับโลกไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เว็บ 1.0
เกิดจากพวกเรากันเองช่วยกันเขียน เพียงแต่บางกลุ่มจะหนัก
บางกลุ่มจะเบากว่า แต่ปัจจุบัน เว็บ 2.0
จะมีพวกเรากันเองเป็นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ใน go to know
เริ่มเขียนกันได้เลย ตรงนั้นจะเป็น writing platform
เทคโนโลยีของเราพัฒนาเรื่อย ๆ
สคส.เองก็มีเป้าหมายที่จะส่งออกเทคโนโลยีเหล่านี้
เพราะต้องการเน้นการสร้างสรรค์ซอฟแวร์ที่ทำขึ้นเอง ตอนนี้
Planet Site มี 2 ตัวในโลกคือ Planet Planet และ Planet
Matter ซึ่งใช้เป็น reading platform ไม่ทราบว่าการใช้
GotoKnow ใครมีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
ไม่สามารถอ่านได้ทัน เพราะมี blog เยอะมาก
วิทยากร
:
คงต้องรอ reading platform
หากเป็นหน่วยงานมหาวิทยาลัยในที่สุดแล้วมหาวิทยาลัยจะมี reading
platform เป็นของตัวเอง เพื่อใช้ Planet Site
ได้ปัญหาอยู่ที่ reading platform
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
จริงๆ แล้วปัญหาอยู่ที่การไม่มีเวลามากกว่า
วิทยากร :
reading platform ต้องใช้ feed reader อ่าน
ปัจจุบันมีหลายตัวเช่น Google ,Feed damon
ส่วนของเรามีชื่อว่า blog express
ส่วนเรื่องเวลาเชื่อว่าทุก ๆ คนคงจะมีปัญหา
แต่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
โดยอยากให้ติดตามเรื่องนี้ต่อไป
ซึ่งเราพยายามแก้ปัญหากันอยู่ ปัจจุบัน blog เติบโตเร็วมาก
มีคนเขียนเยอะมากขึ้นทุกวัน ซึ่งเขียนได้น่าสนใจ
ถือว่าเราโชคดีเพราะอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลง
ต้องใช้เวลาสักหน่อยในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมา
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
Planet Matter ใช้อย่างไร
วิทยากร
:
(อธิบายและสาธิตถึง การเข้าไปดาวน์โหลด Planet
Matter) ปัจจุบันกำลังพยายามพัฒนากันอยู่
อยากให้ช่วยกันใช้ เพื่อจะได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
ใน blog มีการจัดหมวดหมู่ความรู้หรือไม่
วิทยากร
:
ปัจจุบันยังไม่มี แต่ไอเดียของเราคือ แทรคกิ้ง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
สามารถจะจัดหมวดหมู่ในแง่ของ track directory ได้หรือไม่
วิทยากร
:
ปัญหาคือ content หนึ่งจะอยู่ได้หลายที่ เช่น
สมมติการว่า content คือ การทำ KM ในโรงพยาบาล
เราจะใส่ แทรกไหนระหว่าง ใน รพ.หรือKM นี่คือปัญหา
ซึ่งปัจจุบันพยายามพัฒนาอยู่
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
น่าจะมีระบบของจัดการหมวดหมู่ เพราะ GotoKnow กว้างมาก
น่าจะมีบอกย่อย
วิทยากร :
GotoKnow เราสามารถทำชุมชนได้ ส่วน blog อื่น ๆ เช่น
Diary hub, Exteen ไม่ใช่บอกมืออาชีพ แต่เป็นจะ blogger โดยมี
theme เข้าจะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น เรื่องพระ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
เนื่องจาก GotoKnow มีความรู้กว้างมาก หากมี blog เช่น
blog เกษตร ความรู้จะแคบลง หรือทำ blog มอ.
จะแคบลง ซึ่งน่าจะมีเครื่องมือ เข้ามาจับในอนาคต
วิทยากร
:
อยากอธิบายถึงแนวคิดของ Planet Matter ซึ่งอยู่ในช่วงของการพัฒนาอยู่
ในแต่ละ item จะอ่านเป็น community หมายความว่า
คนที่ไปแทรคในแต่ละ item จะเป็น community ของเรา
เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับเกษตร จะแทรคเกษตรโดยแต่ละ item
จะถามคำถามที่สามารถให้คนตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว
และสามารถจัดหมู่ได้ง่าย
ในที่สุดมันจะมีส่วนเพิ่มขยายของมันเองเอง
ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการผลิต
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
การใช้ blog ค่อนข้างลำบาก เพราะต้องทราบถึง
concept, modelรวมถึงลักษณะของ blog ปัญหาคือคนไม่รู้ว่า
blog คืออะไร
วิทยากร
:
มีคนมากมายที่เข้ามาใช้ blog เป็น web board คือเข้ามาและตอบ
commentต่างๆ เราต้องพยายามสร้าง concept ใหม่ สคส.
เชื่อว่า ความรู้ติดอยู่ที่ตัวบุคคล จึงน่าจะนำ blog
มาใช้ให้เป็นประโยชน์
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
blog
น่าจะเหมาะกับเจ้าของความรู้ที่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เอง
ซึ่งไม่เหมาะกับบางคนที่ต้องเขียนใส่กระดาษ
แล้วให้คนอื่นพิมพ์ให้
วิทยากร
:
ปัจจุบันกำลังพยายามก้าวเข้าสู่ blog cast ซึ่งเป็น multimedia
หากเอาวิธีการแบบนี้ไปให้กับชาวบ้านจะเกิดประโยชน์มาก เช่น
ใช้อุปกรณ์บันทึกเสียง ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้ง่าย
ทำให้เกิดการสร้างความรู้จากชุมชนชาวบ้านด้วยเทคโนโลยี
การใช้ GotoKnow ใช้ภาษา Python เขียน
ส่วนฐานข้อมูลใช้ MySQL อยากให้องค์กรต่างๆ
นำไปใช้ได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันกำลังพัฒนาอยู่
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
:
ทำอย่างไรให้สามารถใช้ร่วมกับ PDA หรือ Palm
ได้ เพื่อผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้ง่าย
วิทยากร
:
ต้องรอการพัฒนาหน่อย และอยากให้ช่วยกันใช้ blog
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการใช้งานต่อไปในอนาคต
คลินิก Faci Service
การให้คำปรึกษาในคลินิก Faci Service จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเทคนิค ข้อแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมคลินิกที่มีความสนใจหรือทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” (facilitator) เพื่อการฝึกฝนเทคนิค ความรู้ต่างๆในการเป็น “คุณอำนวย” ที่มีความชำนาญมากขึ้น
วิทยากร
นพ.สมพงษ์
ยูงทอง (คุณอำนวย จากกลุ่มนครสวรรค์ฟอรั่ม)
ร.อ.มลฤดี โภคศิริ (คุณอำนวย
จากโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จ.พิษณุโลก) และ
คุณนพรัตน์ เรืองศรี (คุณอำนวย
จากโรงพยาบาลพิจิตร จ.พิจิตร)
ผู้เข้าร่วม
ผู้เข้าร่วมขอรับคำปรึกษาในคลินิก Faci Service
จะเป็นผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนเข้าร่วมในงานมหกรรมการจัดการความรู้ครั้งนี้
ซึ่งเป็นผู้ขอเข้ารับคำปรึกษาส่วนใหญ่
มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นผู้สนใจแต่มิได้แจ้งความจำนงล่วงหน้า
การขอรับคำปรึกษาในคลินิกนี้ปรากฏว่าในช่วงดำเนินการจริง
มีผู้เข้าร่วมขอรับคำปรึกษาไม่มากนัก กลุ่มผู้เข้าร่วมในรอบหลังๆ
จึงเป็นผู้สนใจจริงมากกว่า
โดยฝ่ายผู้จัดได้เปิดคลินิกให้กับผู้สนใจที่มาเข้าร่วมโดยไม่มีการตรวจสอบรายชื่อตามที่เคยแจ้งความจำนงไว้
สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมในแต่ละรอบของ
การเปิดคลินิกนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 10 -15 คน
และผู้เข้าร่วมในช่วงท้ายของแต่ละรอบจะค่อยๆ ลดลง
เนื่องจากข้อจำกัดในของช่วงเวลาในแต่ละคลินิก
ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่จะมาจากภาครัฐ เช่น มหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลหรือรัฐวิสาหกิจ มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากภาคเอกชน ประชาสังคม
หรือ NGO
วัตถุประสงค์ของ facilitator กับ
KM
วัตถุประสงค์ของ
facilitator กับ KM นั้น เนื่องจาก facilitator หรือ “คุณอำนวย”
มีความเกี่ยวข้องกับ KM หรือการจัดการความรู้เป็นอย่างมาก เพราะ
“คุณอำนวย” จะต้องเป็นผู้จุดประกายความคิด
และต้องเป็นนักเชื่อมโยง เชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ หรือ
“คุณกิจ” กับผู้บริหาร หรือ “คุณเอื้อ” เชื่อมโยงระหว่าง
“คุณกิจ” ต่างกลุ่มภายในองค์กร
และเชื่อมโยงการจัดการความรู้ภายในองค์กรกับการจัดการความรู้ภายนอกองค์กร
สาระสำคัญในคลินิก Faci
Service
จากความสำคัญของผู้ที่ทำหน้าที่ facilitator หรือ “คุณอำนวย”
ในการจัดการความรู้ คลินิก Faci Service
จึงคาดหวังที่จะเป็นการเสริม เพิ่มเติม และแลกเปลี่ยนเทคนิค
ระหว่างผู้ร่วมด้วยกัน
แต่เนื่องจากข้อจำกัดในด้านเวลา
ทำให้ความคาดหวังที่ผู้จัดและวิทยากรรวมทั้งผู้ขอรับคำปรึกษาต้องการนั้น
ไม่สามารถดำเนินการได้
จึงต้องปรับเปลี่ยนมีการปรับเปลี่ยนแนวทางภายในคลินิก
โดยสรุปว่าจะเป็นการพูดคุยแสดงความคิดเห็น
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันมากกว่า
ซึ่งคณะวิทยากรจะเป็นผู้จุดประเด็นในการแลกเปลี่ยน
สาระสำคัญที่เกิดขึ้นจากคลินิก Faci Service
ภายหลังการปรับเปลี่ยนแนวทาง
จะเป็นการพูดคุยที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย เช่น
เกี่ยวกับบทบาทของ “คุณอำนวย”
ทั้งในหน่วยงานและการจัดการความรู้ การพัฒนายกระดับ
“คุณอำนวย” ที่มาหรือการเข้ามารับหน้าที่เป็น “คุณอำนวย”
ของผู้เข้าร่วมคลินิก “คุณอำนวย”
ในระดับต่างๆภายในองค์กร ลักษณะของ “คุณอำนวย” ที่ดี
นอกจากนี้จะมีประเด็นย่อยๆ อีกหลายประเด็น
ซึ่งถูกยกขึ้นมาพูดคุย
แลกเปลี่ยนกันในแต่ละรอบของคลินิกทั้ง 3 รอบ
ผลที่เกิดขึ้นในคลินิก Faci
Service
ผลที่เกิดขึ้นในคลินิก Faci Service
โดยรวมจะเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวของผู้เข้าร่วมทุกคน จากนั้น
เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยแนวทางการจัดการความรู้ในหน่วยงานหรือองค์กร
แล้วนำไปสู่บทบาท “คุณอำนวย”
และในคลินิกได้ให้ข้อสรุปในลักษณะของ “คุณอำนวย” ที่ดีว่า
จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้
ต้องเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาในการสื่อสารที่ดี
มีวิถีการเรียนรู้ ระบบคิดที่ดี
มองเห็นระบบ เห็นความสัมพันธ์
มีประสบการณ์หลากหลาย
มีทักษะในการเชื่อมโยง
มีความมุ่งมั่นสูง
ต้องระลึกอยู่เสมอว่า
ต้องเป็นเพียงผู้สรุปประเด็นจากกลุ่ม
เป็นผู้รวบรวมประสบการณ์ ให้คุณค่า
เป็นแม่สื่อ แม่ชัก
(ดำเนินกระบวนการชักชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม)
ทั้งนี้ผู้ร่วมคลินิกมีความเห็นร่วมกันว่า
ธรรมชาติของผู้ที่จะมาเป็น “คุณอำนวย” ได้นั้น
ส่วนหนึ่งต้องมาจากธรรมชาติ หรือนิสัยของผู้ที่จะเป็น
“คุณอำนวย” มีการสนับสนุนให้แสดงบทบาท
และเป็นผู้ที่มีศักยภาพความพร้อมในด้านต่างๆ “คุณอำนวย”
มักจะมาจากการคัดเลือกขององค์กร หรือจากความจำเป็น
ตามแต่สถานการณ์ และ “คุณอำนวย”
ที่จะต้องดำเนินกระบวนการกับคนในภาคประชาสังคมนั้น
จะมีลักษณะที่แตกต่างจากภาครัฐหรือภาคเอกชนอื่นๆ
การทำหน้าที่ในบทบาท
“คุณอำนวย”
จะต้องมีการวิเคราะห์องค์กรก่อนที่จะเริ่มกระบวนการ
การทำหน้าที่ “คุณอำนวย” ในการจัดการความรู้
จะเป็นการปรับแนวคิดในการทำงานใหม่ให้กับองค์กร
ทั้งนี้ควรพิจารณาเป็นกลุ่มมากกว่าพิจารณาเป็นรายบุคคล
จากการสังเกตกลุ่มผู้เข้าขอรับคำปรึกษาในคลินิก Faci Service
นี้
โดยรวมแล้วจะมีเป้าหมายหรือความต้องการในลักษณะสูตรสำเร็จ
ถึงการทำหน้าที่ในเรื่อง KM ในองค์กร บทบาทในรายละเอียด
และการสร้างหรือโน้มน้าวจิตใจ “คุณกิจ” หรือผู้ปฏิบัติ
ให้เกิดความรู้สึกและปฏิบัติตนเป็นผู้ให้
นอกจากนี้ในช่วงท้ายของคลินิกยังส่งผลให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างกันในเบื้องต้น
มีการแลกเปลี่ยนสถานที่ติดต่อระหว่างกันในกลุ่มผู้เข้าร่วมคลินิก
ข้อเสนอแนะจากคลินิก Faci
Service
ผู้เข้าร่วมคลินิกไม่ได้มีความเห็นเพิ่มเติมนอกเหนือไปจาก
เห็นด้วยกับหลักการของ KM และ
เห็นด้วยกับการดำเนินการรวมเป็นกลุ่มใหญ่
นำความหลากหลายของประสบการณ์ ”คุณอำนวย”
มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มากขึ้น