10 ขั้น กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ (2)


การจัดการความรู้ในโรงเรียน ( KM )

10  ขั้น  กระบวนการจัดการความรู้  เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้   (2)

วันนี้ทีมงาน  km ของโรงเรียน  ขอนำเสนอ   วิธีการ 10  ขั้น  กระบวนการจัดการความรู้  เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้   มีรายละเอียด  ดังนี้           

ขั้นที่ 1  การสร้างแนวคิด

วิธีดำเนินการ   ผู้บริหารได้เข้าร่วมประชุมกันคณะกรรมการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพฯ เขต 2 นักวิจัยหลักของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ เพื่อรับทราบแนวคิดของการดำเนินโครงการฯ              

ขั้นที่ 2  การจัดตั้งทีมแกนนำการจัดการความรู้โรงเรียน

วิธีดำเนินการ   ได้แต่งตั้งทีมแกนนำจำนวน 7 คน เพื่อทำหน้าที่รับผดชอบการดำเนินงาน โดยพิจารณาคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ1.      เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญเกี่ยวข้องกับการบริหารและการพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร2.      เป็นผู้มีคุณลักษณะเอื้อต่อการทำงานด้านการจัดการความรู้ ได้แก่ มีความรับผิดชอบสูง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีทักษะในการถ่ายทอด มีความรู้ความสามารถหลายด้าน มีความเสียสละและภักดีต่อองค์กร เป็นต้น

ขั้นที่ 3  การสร้างความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติการ

วิธีดำเนินการ   โรงเรียนได้ส่งทีมแกนนำการจัดการความรู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติการเป็นเวลา 3 วัน โดยมีวิทยากรจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นผู้ให้การอบรม ร่วมกับทีมนักวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ขั้นที่ 4  การวางแผนสู่การปฏิบัติ

วิธีดำเนินการ   ทีมแกนนำการจัดการความรู้ได้ร่วมกันทบทวนความรู้ที่ได้รับการอบรมจากนั้นได้วิเคราะห์ภารกิจของโรงเรียนและพิจารณาโครงการ/กิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อบูรณาการการจัดการความรู้ในฐานะเครื่องมือที่จะช่วยในการดำเนินการ โดยมีการวางแผนดำเนินการจัดการความรู้เป็น    3 กลุ่มย่อย

ขั้นที่ 5  การดำเนินงาน

วิธีดำเนินการ   การดำเนินงานของ 3 กลุ่มย่อยประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1  กลุ่มพัฒนาการบริหารจัดการ ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน ผู้ช่วยผู้บริหาร 8 คน รวม 10 คน มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและความพึงพอใจ ซึ่งได้ดำเนินการนัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการสกัดขุมความรู้และแก่นความรู้ โดยได้นำแก่นความรู้ที่ได้มาพิจารณาแล้วสรุปเป็นองค์ประกอบ 4 เรื่อง คือ ความกระจ่างชัดกับภาระงาน การบริหารจัดการที่เป็นระบบความเป็นกัลยาณมิตรในการทำงาน และภาวะผู้นำ

กลุ่มที่ 2  กลุ่มพัฒนาครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัย ประกอบด้วย ครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัยเก่งๆ 7 คน และครูทั่วไป 29 คน มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาครูให้สอนด้วยกระบวนการวิจัยได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้ดำเนินการโดยจัดประชุมร่วมกันระหว่างครูที่สอนเก่งกับครูทั่วไป เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ให้ครูที่สอนเก่งเล่าเรื่อง ร่วมกันสกัดขุมความรู้และแก่นความรู้ นำแก่นความรู้ที่ได้มาพิจารณาแล้วสรุปเป็นองค์ประกอบ 5 เรื่อง คือ แรงจูงใจของผู้สอน ความรู้เรื่องระเบียบวิธีวิจัย เทคนิคการสอน การมีเพื่อนร่วมคิดผู้นำที่ดี และการมีแหล่งข้อมูลที่เอื้อต่อการเรียนรู้

กลุ่มที่ 3  กลุ่มพัฒนาครูใหม่โดยครูพี่เลี้ยงประกอบด้วยครูใหม่ 10 คน และครูพี่เลี้ยง 10 คน โดยมีเป้าหมาย คือ การพัฒนาครูใหม่ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งการดำเนินการเริ่มจากการปฐมนิเทศครูใหม่ จัดประชุม/กิจกรรม ให้ครูใหม่และครูเก่าได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ จนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สกัดขุมความรู้และแก่นความรู้ จากนั้น  นำแก่นความรู้มาพิจารณา แล้วสรุปได้เป็นองค์ประกอบ 5 เรื่อง คือ การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร การดูแล ชั้นเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู การปรับตัวและเรียนรู้วิธีการทำงานทั้ง 3 กลุ่ม ได้มีการดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการของการจัดการความรู้ ได้แก่ การเล่าเรื่อง (Storytelling) การหาผู้ที่ปฏิบัติได้ผลดี (Best Practice) ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) การสรุปประสบการณ์ AAR (After Action Review) การจัดตลาดนัดความรู้เฉพาะเรื่อง เป็นต้น

ขั้นที่ 6  การทบทวนการทำงาน

วิธีดำเนินการ   หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้ใน 3 กลุ่มย่อยไประยะหนึ่งแล้วทีมแกนนำการจัดการความรู้ของโรงเรียนได้ร่วมกันทบทวนการทำงานและประสานกับเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไขจุดที่ยังบกพร่อง จากการประเมินพบว่ามี 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องการขาดทักษะในการจดบันทึกข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ลง Blog

ขั้นที่ 7  การเสริมความรู้

วิธีดำเนินการ   การเสริมความรู้เรื่องที่ยังไม่สามารถทำได้ โดยขอความร่วมมือจากโรงเรียนเครือข่ายในการแบ่งปันความรู้เรื่องการจัดทำ Blog และฝึกฝนเพิ่มเติมเรื่องการจดบันทึกข้อมูล

ขั้นที่ 8 การดำเนินการต่อเนื่องและขยายสู่ทุกส่วนขององค์กร

วิธีดำเนินการ   ได้ดำเนินการในกลุ่มเริ่มต้น 3 กลุ่มย่อยต่อเนื่องต่อไป และขยายแนวคิด/วิธีการสู่บุคลากรทุกคน เพื่อให้กลุ่มที่พร้อมเริ่มดำเนินการ

ขั้นที่ 9  การจัดทำฐานข้อมูลความรู้ของโรงเรียนพร้อมทั้งเผยแพร่สู่บุคคลที่สนใจผ่าน Blog  

วิธีดำเนินการ  การจัดการความรู้ในโรงเรียนลงสู่  blog “                

1.  ผู้รับผิดชอบ blog  ความรู้ของโรงเรียน จะเป็นผู้บันทึกหรือผู้เล่า ข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการการจัดการความรู้ของโรงเรียน

2นำสิ่งที่บันทึกลงใน blog มาเล่าให้ผู้บริหาร  ทีมงาน km  หัวหน้างาน หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ได้รู้  (กระตุ้น)

3ให้ครูทุกท่านบันทึกสิ่งดีๆที่ประทับในการทำงาน  การจัดการเรียนการสอน  การดูแลเด็ก  (ลงมือปฏิบัติ)

4เลือกสรรผลงานของครูที่เขียนเรื่องเล่าได้อย่างดี  และเห็นกระบวนการการทำงาน และผลที่เกิดจากการกระทำ

5. นำผลงานของครุลงสู่ blog เพื่อขยายผลของความรู้สู่ชุมชน

6. นำผลงานที่ได้รับการบันทึก blog  มาติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนครู นักเรียน ผู้ปกครอง  ผู้บริหาร ได้อ่าน(บันทึกสิ่งดีๆ)

7.   เล่าเรื่องที่ครูบันทึกสิ่งดีๆให้ครูทุกคนฟังในการประชุมครูประจำเดือน 

8.   ให้หัวหน้าฝ่ายฯ  หัวหน้างาน  หัวหน้ากลุ่มสาระฯ  หัวหน้าสายชั้น ส่งตัวแทน เข้ารับการอบรมการสร้าง blog 

9. เชิญวิทยากร อ. บันทูร  พันทาง  จาก โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ  (โรงเรียนในเครือข่ายที่เข้าร่วมการจัดการความรู้) มาให้ความรู้

10.  ร่วมประชุมกับทีมงาน   blog  ของโรงเรียน (ตัวแทนของแต่ละหน่วยงาน) เพื่อวางแผนในการบันทึกข้อมูลความรู้ภายในหน่วยงานของตนเอง  

ขั้นที่ 10 การสรุปผลการดำเนินงานและการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียน 

ครั้งต่อไป  จะนำเสนอผลที่เกิดจากการจัดการความรู้ของโรงเรียนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 152750เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2007 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอชมเชยค่ะว่า บล็อกนี้มีความสม่ำเสมอ ในการบันทึก  และเนื้อหาดีค่ะ

   อ่านแล้วทำให้เข้าใจว่าได้ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและได้ผลดีทีเดียวนะคะ

ขอขอบคุณที่เป็นกำลังใจและชี้แนะแนวทางให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง   จนสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้

ขอบคุณค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท