คุยคุ้ยงานการวิจัย : เครื่องมือรวบรวมข้อมูล


เมื่อวานนี้  ครูอ้อยฟิตจัด  เขียนบันทึกเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  ตั้ง 3 เรื่อง คือ..คุยคุ้ยงานการวิจัย...และ...คุยคุ้ยงานการวิจัย : การตั้งชื่องานวิจัยในชั้นเรียน...และ... คุยคุ้ยงานการวิจัย : การทบทวนวรรณกรรม.นิยามศัพท์เฉพาะ 

พอมาถึงวันนี้  ครูอ้อยก็อยากเขียนต่อ  ล้ำหน้าจากที่ปฏิบัติที่โรงเรียนอีกนะคะ  แต่ไม่เป็นไร  ถือว่าเป็นการวางแผนไว้ในอนาคตก็ได้ค่ะ 

สำหรับบันทึกนี้  จะเป็นการกำหนดเครื่องมือรวบรวมข้อมูล  ท่านต้องคิดก่อนว่า  วัตถุประสงค์ ของงานวิจัยท่านนั้นคืออะไร  นำวัตถุประสงค์มาเป็นตัวตั้งทั้งหมดทุกข้อ  ที่ครูอ้อยกำหนดไว้เป็นตัวอย่างมี 3 ข้อ 

ได้แก่....ข้อที่ 1 คือ  การสร้างนวัตกรรมที่จะทำให้เกิดการพัฒนา  สำหรับตัวอย่างคือ  ภาษาท่า  นาฏยศัพท์  ที่จะต้องเขียนนวัตกรรม  เพื่อการทดลอง 3 ขั้นตอน  ขั้นตอนของการทดลอง  ท่านต้องศึกษาให้เข้าใจ 

ใส่ดอกจันไว้  ครูอ้อยจะอธิบายอย่างละเอียดในภายหลัง  บันทึกนี้จะเน้นเรื่องเครื่องมือรวบรวมข้อมูล  

 เมื่อท่านทำนวัตกรรมเสร็จแล้ว...ท่านต้องนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจความสอดคล้อง  กับหลักสูตรเนื้อหา  ด้วยวิธี IOC ก่อนที่จะนำไปทดลองสอน  นักเรียนที่มาเป็นกลุ่มทดลองของท่านต้อง  เป็นนักเรียนที่ผ่านการเรียนเนื้อหานี้มาก่อน  นำมา สัก 3 กลุ่มๆละ 3 คน  5 คน และ  8 คน  ทำการทดลอง ทีละกลุ่ม พร้อมกับการแก้ไข  แต่ละกลุ่มนั้น  ต้องมีนักเรียนที่มีระดับคะแนนอยู่ในระดับ น้อย ปานกลาง และมาก เฉลี่ยให้สมดุลกัน  ก่อนทดลอง  ท่านต้องให้นักเรียนทำข้อทดสอบก่อนเรียน..สัก 10 ข้อ  เพื่อให้ได้คะแนนก่อนเรียน  และทดสอบหลังเรียนจะได้เห็นว่า..นักเรียนมีการพัฒนาทางด้านการเรียน  

ที่ครูอ้อยกล่าวมาทั้งหมดในย่อหน้านี้    พอจะ กำนหดได้ไหมว่า...ต้องมีเครื่องมืออะไรบ้าง  นั่นล่ะ  คือ  เครื่องมือรวบรวมข้อมูล  ของวัตถุประสงค์ข้อที่ 1..ได้แก่   แบบวัดค่าความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน   แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน  แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สำหรับทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง..ซึ่งจะต้องหาค่าความเที่ยงตรงของนวัตกรรมกันอีก ในคราวต่อไป 

ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 2  คือ  ...แบบวัดผลสัมฤทธิ์ที่กล่าวมาแล้ว  จะเห็นได้ว่า  เครื่องมือ ข้อ1และ 2 นั้นเกี่ยวพันกัน  ทำไปพร้อมๆ กัน ก็จะได้เครื่องมือฉบับเดียวกัน  

วัตถุประสงค์ข้อ 3 คือ แบบสำรวจความพึงพอใจ  5 ระดับ  จัดทำสัก20ข้อ  จะได้นำมาใช้อภิปรายในบทที่ 4 และ 5ต่อไป 

เรื่องเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้  ท่านต้องศึกษาให้ชัดเจน  และต้องนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญของท่านตรวจความถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาและหลักสูตรเสมอ   งานวิจัยของท่านจะได้สมบูรณ์ เที่ยงธรรม...

บันทึกต่อไปจะเป็นเรื่อง...สถิติพื้นฐานที่นำมาใช้ในงานวิจัยในชั้นเรียน 

โปรดติดตาม    

หมายเลขบันทึก: 152724เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2007 03:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ภาพนี้ซานคาครอส เยอะดีจังเลย
  • เด็กๆ คงชอบนะคะ ครูอ้อย

เด็กๆชอบมากค่ะคุณหมอนนท์..เพื่อนร่วมทาง

  • ปีนี้ ค่อนข้างเงียบเหงา  เพราะนักเรียนมุ่งไปสนุกในงาน ต่อไป คือ ขึ้นปีใหม่  ที่สนุกกว่า  มีรางวัลมากกว่า..
  • ครูอ้อยก็สนุกค่ะ  คุณหมอ  สนุกหรือเปล่าคะ

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ วันนี้ผมก็เขียนในเรื่องของการถอดรหัสจากเครื่องมือ เหมือนกัน แต่เป็นงานวิจัยคนละอย่างกันครับ  ผมว่าดีนะครับคนอ่านจะได้มีมีความรู้หลากหลาย ผมจะติดตามและแลกเปลี่ยนต่อไปนะครับ เพราะว่าผมไม่ค่อยถนัดการวิจัยประเภทอื่น แล้วจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่นะครับ

สวัสดีค่ะน้อง.....ครูเจิด.... ครูบรรเจิด

  • น้องคงจะหมายถึง  งานวิจัยเชิงคุณภาพ  ดีมากเลยค่ะ  ครูอ้อยก็ต้องการเรียนรู้  เพราะส่วนหนึ่งของการเรียน  ที่ต้องทำดุษฎีนิพนธ์ ก็คือ  เชิงคุณภาพด้วยค่ะ
  • ครูอ้อยเข้าไปอ่าน  การถอดรหัสแล้วค่ะ  ดีมากเลยค่ะ
  • ยินดีที่เรา จะได้แลกเปลี่ยน สนทนาแลกความคิดเห็น  ครูท่านอื่นก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ 

  • สวัสดีครับ
  • เกาะช้าง ช่วงนี้ฝนตกทุกวัน ไปไหนไม่ได้เลยครับ
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะ เป็นห่วงสุขภาพ

สวัสดีค่ะ คุณจ๊อด  .... Mr_Jod

  • ไปทำงานที่เกาะช้างแล้วใช่ไหมคะ
  • ครูอ้อย ไม่สบายอยู่ 3 วันกินยาแล้วนอน ยังไม่หายดี อาบน้ำ เลยไข้กลับอีกค่ะ
  • ตอนนี้ ทำงานที่โรงเรียน  วันเสาร์อาทิตย์นี้ ต้องพาน้องเอ็ดดี้ไปสอบที่ชัยภูมิค่ะ

ขอบคุณค่ะที่เป็นห่วง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท