คุยคุ้ยงานการวิจัย : การทบทวนวรรณกรรม.นิยามศัพท์เฉพาะ


สำหรับเพื่อนครูที่กำลัง  สาละวนกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  ซึ่งครูอ้อยก็กำลังสาละวนกับการให้คำปรึกษา  จากการแต่งตั้งของท่าน ผอ.โรงเรียนที่ครูอ้อยสอน..ในการทำ KM กับงานวิจัยในชั้นเรียน 

ตลอดจนเป็นที่ปรึกษากับเพื่อนครูผู้สนใจ  ท่านยังมีโอกาส ศึกษา ไปพร้อมๆกับครูอ้อย  เรียนเชิญอ่านที่...คุยคุ้ยงานการวิจัย ..และ.....คุยคุ้ยงานการวิจัย : การตั้งชื่องานวิจัยในชั้นเรียน   ก่อน  แล้วจึงมาอ่านบันทึกนี้ 

ท่านจะพอเข้าใจ  หากสงสัย  เรียนเชิญถามครูอ้อยในการแสดงความคิดเห็นได้เลย  มีเวลา มีโอกาส มีปัญญา  จะรีบตอบทันทีค่ะ 

หลังจากที่ท่านได้...ชื่อวิจัย  มีวัตถุประสงค์  และเขียนสภาพปัญหาในบทที่ 1 แล้ว   ท่านมีความมั่นใจว่า  จะทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่องนี้ล่ะแน่นอน  ท่านก็ต้องยึด 3 ข้อของวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นสรณะ  หมายถึง จะทำอะไรในการวิจัย  ต้องย้อนกลับมาหา 3 ข้อวัตถุประสงค์นี้  อย่าออกนอกกรอบไป  

บันทึกนี้จะเป็น บทที่ 2  เรื่อง....การทบทวนวรรณกรรม  และนิยามศัพท์เฉพาะ..ทำไมต้องทบทวนวรรณกรรม  วรรณกรรมคืออะไร  บางแห่งบางที่  ก็เรียกว่า  การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง    ท่านต้องศึกษา รายละเอียดที่จะนำมาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของท่าน

ทำไมต้องนิยามศัพท์เฉพาะ  มันคืออะไร  เกี่ยวข้องและจำเป็นมากแค่ไหน  มีคำถามมาหาครูอ้อยบ่อยมาก  แม้กระทั่งการไปเป็นที่ปรึกษางานวิจัย  เมื่อขาดตรงนี้  การนิยามคำศัพท์เฉพาะ  ผู้เชี่ยวชาญจะไม่อ่านอีกต่อไปเลย  เพราะจะไม่เข้าใจ หัวข้อ หรือเอกสาร หรือวรรณกรรมที่ผู้วิจัยได้ระบุมา..

ดังนั้นท่านต้องนิยามศัพท์ เฉพาะ  หมายถึง  การอธิบายว่า...ศัพท์นี้ หมายถึงอะไร  ซึ่งท่านต้องใช้ให้ตรงกันทั้งฉบับของวิจัย  เพื่อความสะดวก และ ความเข้าใจที่ตรงกัน  ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ  ผู้อ่านงานวิจัย  และตัวผู้วิจัยเอง

ซึ่งได้แบ่งการทบทวนวรรณกรรม  ออกไปหลายๆกรณี  เช่น  หลักการ  ทฤษฎีการเรียนรู้ จิตวิทยา  ระเบียบ  วิธีการ  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  บทความ  หรือ  เอกสารอะไร  ที่จะทำให้งานวิจัยของเราท่านนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 

คราวนี้ล่ะ  ท่านต้องศึกษา  อ่านงานวิจัยต่างๆ  และเทียบเคียงกับงานของท่านเอง   

ท่านต้องรู้จักเขียนกรอบการวิจัยว่า  ท่านต้องศึกษาอะไรนะ  ที่จะมาเกี่ยวข้องกับ  งานวิจัยของตนเอง 

เช่น    ครูอ้อย จะทำวิจัย เรื่อง การสอนการอ่านภาษาอังกฤษด้วยตาราง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ครูอ้อยต้องศึกษารายละเอียดอะไรบ้าง  ....

อันดับต้น  ครูอ้อยต้อง code ข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตรภาษาอังกฤษ  ระดับช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  สาระการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้...

จากนั้นอันดับต่อมา..ครูอ้อยต้องศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  อ่านเรื่อง ตาราง  การใช้ตาราง  การอ่านที่เกิดประสิทธิภาพ 

ครูอ้อยต้อง code มาเพราะ เรื่องของหลักสูตร เป็นกฏหมาย หรือระเบียบที่มีเฉพาะ  ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ 

ในขณะที่หาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และหานิยามศัพท์เฉพาะไปด้วยกัน  ..ข้อมูล  เอกสาร  ได้มาจากแหล่งใด  ต้องจดรายละเอียดให้หมด  เพื่อเป็น  บรรณานุกรม  ที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับ นักวิจัย  งานวิจัย....

อ่านนะคะ  ที่จะช่วยท่านได้  ท่านต้องเข้าห้องสมุด  อ่านมากๆ  ข้อมูลนั้น  ไม่จำเป็นต้องได้มาจากวิทยานิพนธ์  อาจจะได้มาจากหนังสือต่างๆ   ที่สำคัญอย่าลืมจดที่มาของข้อความ หรือ ข้อมูลเหล่านั้นด้วยค่ะ 

ต่อไป จะยาก และซับซ้อนมากขึ้นนะคะ 

แต่อย่าท้อแท้ค่ะ 

ท่านลำบากยากเย็นตอนแรกนี้  คราวต่อไป หรือ ปีต่อไป  ท่านจะสบาย  เพราะงานวิจัยชิ้นต่อไป  จะใช้วิธีการนี้  ข้อมูลนี้ก็อาจยังใช้ได้อยู่ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 152489เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2007 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากเลย ที่ได้เปิดอ่านจะจัดทำครูชำนาญการพิเศษยังไม่ชัดเจนเลยและจะจัดทำวิชาภาษาอังกฤษด้วยถือได้ว่าได้ความรู้อันใหญ่หลวง

สวัสดีค่ะ  ครูตุ๊ก

  • ดีใจ ยินดี พร้อมเสมอ ที่จะช่วยเหลือ เท่าที่จะทำได้
  • น้องอ่านไปเรื่อยๆ ค่ะ จะเข้าใจ เพราะครูอ้อย เขียนไว้ในบันทึก
  • และกำลัง ช่วยเพื่อนๆ ทำที่โรงเรียนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท