การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ " การจัดการความรู้โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ประจำปีงบประมาณ 2549 วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2549 "
-
วันที่ 7 ในตอนบ่ายการอภิปรายคณะ โดยมีเรื่องเล่าและการชี้แจงรายละเอียดจากตัวแทนของ 6 จังหวัดนำร่อง และส่วนกลาง ตามลำดับคือ
1) ประสบการณ์การดำเนินการจัดการความรู้ของจังหวัดนำร่อง (กำแพงเพชร นครพนม และนครศรีธรรมราช)
2) แนวทางการจัดการความรู้ปี 2549 คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย และ
3) ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้ของจังหวัดนำร่อง (น่าน สตูล และสมุทรสงคราม)
ผมขอเล่าเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทีมงานของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งผมและคุณสายัณห์ ปิกวงศ์ ทีมงานคุณอำนวยของกำแพงเพชร ได้ขึ้นเล่าประสบการณ์ ในการนำการจัดการความรู้ไปใช้ในการทำงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร โดยเราได้ช่วยกันเล่า ซึ่งเราไม่ได้มีการเตรียมตัว คุยกับคุณสายัณห์ว่าเราเล่าเรื่องที่เราทำจริงๆ เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น การสอนงานนักส่งเสริมมือใหม่ การสร้างทีมงานและขยายเครือข่าย การค้นหาของดีเพื่อมาขยายผล ฯลฯ แต่สิ่งที่เราได้ใช้ประกอบในการเล่าในวันนี้ก็คือ
-
เว็ปไซต์ของสำนักงานเกษตรจังหวัด ทั้งข้อมูลและข่าวสาร โมเดลการทำงานที่เราได้ประชาสัมพันธ์ไว้อย่างต่อเนื่อง
-
รายละเอียดที่ผมได้บันทึกในบล็อก Gotoknow ของ สคส. เป็นการนำเสนอและ ปชส.บล็อกของ สคส.เพื่อให้เพื่อนนักส่งเสริมได้เห็นของจริง ว่ามีประโยชน์ต่องานและการเรียนรู้ของเราได้จริงๆ ง่ายกว่าทำเว็ปไซต์มาก
เล่าไปก็คลิ๊กไปเท่าที่รายละเอียดจะสอดคล้องกัน แต่มีหลายประเด็นที่ผมเก็บไว้ว่าจะเล่าต่อในรอบที่ 2 แต่บังเอิญไม่มีรอบ 2 เพื่อสรุป เลยขอบันทึกบางประเด็นที่ยังไม่ได้เล่า คือ
1. ผมอยากสื่อให้ทีมงาน KM ทุกจังหวัดให้ทราบว่า หากเราบันทึกหรือเก็บรายละเอียด โดยใช้ IT ช่วยสนับสนุนเท่าที่จะทำได้ อยู่ที่ไหนเราก็สามารถหยิบใช้ข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ (ถ้ามีอินเตอร์เน็ต)
2. ผมอยากเล่าถึง "เคล็ดไม่ลับในการทำKMในหน่วยงานราชการ" ที่ผมได้บันทึกไว้เพื่อแลกปลี่ยน เผื่อจังหวัดอื่นๆ อาจพบทางลัดได้บ้าง
3. มีอีกบทความหนึ่งที่ผมอยากให้ดูเผื่อสนใจอ่าน"กว่าจะมาเป็นการจัดการความรู้" ซึ่งผมเขียนตามความเข้าใจ ไม่อยากให้หลงไปยึดเอา KM เป็นเป้าหมาย และไม่ทำ KM โดยมองข้าม LO
เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมงานของทีมกำแพงเพชร ซึ่งในการเข้าร่วมงานครั้งนี้ เราได้สร้างทีมงาน และให้ทีมงานในระดับอำเภอ (หน้างาน) ได้เรียนรู้ในการนำการจัดการความรู้ไปใช้ในการทำงาน ในครั้งนี้เราได้นำเพื่อนนักส่งเสริมจาก 3 อำเภอ จำนวน 3 ท่าน จากซ้ายไปขวา คือ
-
คุณรังสรรค์ เลิศสูงเนิน จาก สนง.เกษตรอำเภอไทรงาม (ตำบลมหาชัย)
-
คุณเชิงชาย เรือนคำปา จาก สนง.เกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ตำบลนาบ่อคำ)และ
- คุณเสนาะ ยิ้มสยาย จาก สนง.เกษตรอำเภอพรานกระต่าย (ตำบลคลองพิไกร)
ทั้งสามท่านนี้ ได้มีโอกาสไปร่วม KM สัญจรครั้งที่ 2 ที่จังหวัดพิจิตรมาแล้ว และได้มีโอกาสมาเล่าประสบการณ์ในการทำงานให้กับนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่มาแล้ว (ยกเว้นคุณเสนาะ จะมาเล่าประสบการณ์ ในวันที่ 16 กพ.นี้) เป็นกุศโลบายในการนำ KM มาสวม/ขยายผลในองค์กรแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นอีกบันทึกหนึ่งที่บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ
วีรยุทธ สมป่าสัก 7 / 02 / 49
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย สิงห์ ป่าสัก ใน KMนักส่งเสริมการเกษตร
ได้อ่านบันทึกของ วีรยุทธทั้งภาคเช้า และภาคบ่ายเรียบร้อย แล้ว เห็นว่า นอกจากคุณวีรยุทธ จะเป็นคุณอำนวยแล้ว ยังเป็นคุณลิขิตที่ดีมาก ทำให้ผู้อ่าน "อินน์" ไปกับบรรยากาศการเล่าเรื่อง และการเขียนที่ได้ กระชับทั้งเนื้อหาสาระที่เป็นหัวใจของ Km
ผมอยากจะเข้าไปศึกษา KM ใน สนง.เกษตร จ.กำแพงเพชรบ้างแล้ว คิดว่า น่าจะได้เวลาสุกงอม ในฐานะที่ทำ "จัดการความรู้" มาระยะหนึ่งแล้ว และเป็นตัวอย่างในการใช้ จัดการความรู้ เข้าไปทำได้เนียนกับเนื้องาน เป็นตัวอย่างที่ดีกับ จังหวัดนำร่อง จังหวัดอื่นๆ ด้วย
คาดว่า จังหวัดนำร่องต่อๆไป ที่จะ ขยายผล จาก 9 จังหวัด เป็น 18 จังหวัด จะได้ครูดี ที่สามารถเด็ดยอดความรู้ไปใช้ได้เลยทีเดียว
คุณวีรยุทธ พอจะมีอีเมลไหมครับ ผมอยากสอบถาม เรื่อง KM ใน สนง. เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ว่ามีเรื่องราวจัดการความรู้ในรูปแบบอย่างไรบ้าง อยากส่ง อีเมลไปสอบถามก่อนน่ะ ครับ และอาจจะไปลงพื้นที่ดูงานเร็วๆนี้ ถ้าเกิดถามแล้วเราได้กลิ่นอายของ "จัดการความรู้" แฝงฝังอยู่
ขอบคุณล่วงหน้าครับ