จำคุกหมอ 3 ปีแล้ว ผ่าไส้ติ่งผู้ป่วยตาย ใครได้ ใครเสีย


จำคุกหมอ ผ่าไส้ติ่งผู้ป่วยตาย ใครได้ ใครเสีย
ต้นแหล่งข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 ธันวาคม 2550
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000145325
ข้อเท็จจริงที่สรุปได้จากข่าว
ศาลจังหวัดทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
มีคำพิพากษาให้จำคุก พญ.สุทธิพร ไกรมาก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
เนื่องจากผ่าตัดไส้ติ่ง นางสมควร แก้วคงจันทร์
ด้วยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง โดยประมาท
ทำให้ นางสมควร เสียชีวิต
โดยศาลลงโทษให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปี
โดยการตัดสินนี้เป็นของศาลชั้นต้น และมีการยื่นอุทรต่อไป

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทย์สภา ที่สรุปได้
1.การผ่าตัดใดๆ ก็ตาม ที่ต้องมีการดมยาสลบ หรือยาระงับความรู้สึกโดยการฉีดเข้าทางช่องไขสันหลัง ควรต้องทำในโรงพยาบาล ที่มีวิสัญญีแพทย์เท่านั้น เพราะแพทย์จะมีความเสี่ยงอย่างมาก หากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และอันตรายถึงชีวิตได้
2.ขวัญกำลังใจของแพทย์ และอาจทำให้แพทย์ตื่นตระหนก จนไม่กล้าเสี่ยงที่จะตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วย
3.แพทย์ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูงขึ้น
4.โรงพยาบาลชุมชนมีประมาณ 700 แห่งทั่วประเทศ

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย ศ.นพ.ธารา ตริตะการ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล อดีตประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่สรุปได้
1.การเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังการดมยา หรือฉีดยาระงับประสาททางไขสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้
2.หากเป็นการดมยา มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องปอด และโรคหัวใจ โดยผู้ป่วย 10,000 ราย จะมีอัตราการเสียชีวิต 5-6 ราย
3.แต่หากเป็นการฉีดยาเข้าทางไขสันหลังมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง หรือนักกีฬา โดยผู้ป่วย 10,000 ราย มีอัตราการเสียชีวิต 2-6 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร
4.ประเทศไทย มีวิสัญญีแพทย์ ประมาณ 700 กว่าคน ในจำนวนนี้เป็นแพทย์ในสังกัดโรงพยาบาลของรัฐ ประมาณ 200 กว่าคน
5.หากมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม หรือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปอีก จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเสี่ยงชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า เพราะได้รับการรักษาล่าช้าไม่ทันท่วงที

ข้อคิดเห็นและข้อมูลโดย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่สรุปได้
ขณะนี้วิสัญญีแพทย์ในโรงพยาบาลจังหวัดที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ถึง 50% ของโรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ

!! จบข่าว !!

ข้อคิดเห็นส่วนตัวเอง
1.กล่าวนำเบื่องต้น
ผมเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนหนองม่วงไข่
ในโรงพยาบาลมีแพทย์ 3 ท่านมีวิสัญญีพยาบาล 1 ท่าน
โรงพยาบาลจังหวัดแพร่ มีศัลยแพทย์ 3 ท่าน มีวิสัญญีแพทย์ประมาณ 1-2 คน(ไม่ได้เข้าจัวหวัดนานเลยไม่แน่ใจ)
ในจังหวัดแพร่มีโรงพยาบาลชุมชนอยู่ 7 โรงพยาบาล 60*1 30*6 ขณะนี้มีเพียงโรงพยาบาลลอง 60 เตียงที่ยังคงผ่าตัดไส้ติ่งอยู่โดยที่ไม่ไช่ศัลยแพทย์และไม่มีวิสัญญีแพทย์ด้วย
2.โดยส่วนตัวคิดว่าข่าวนี้อาจจะทำให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งไม่ผ่าตัดไส้ติ่ง คลอด ไส้เลื่อน และไม่แน่ว่าอาจจะไม่ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดด้วย โดยจะต้องส่งเข้าโรงพยาบาลจังหวัดทั้งหมด
3.ส่วนทางด้านโรงพยาบาลจังหวัดปกติก็ให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดไส้ติ่งอยู่แล้ว ก็คงต้องเหนื่อยกันหน่อย
4.ทางด้านวิสัญญีแพทย์ก็ต้องวางยาสลบแล้วเฝ้าจนเสร็จ ก็ต้องเหนื่อมากขึ้นเพราะว่า ถึงแม้มีวิสัญญีพยาบาลก็ไม่อาจวางใจได้ทุกๆราย
5.วิสัญญีแพทย์ก็เป็นคนนะครับก็ต้องมีกิจธุระ มีเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายทางใจ ถ้าเกิดว่ามีเหตุต้องลากันหมด(เช่นคนหนึ่งเป็นไข้ อีกคนถ่ายเหลว) แล้วการผ่าตัดก็ต้องหยุดทั้งหมดเลย
6.ยังก่อน โรคที่ต้องทำการผ่าตัดไม่ได้มีแค่ไส้ติ่งนะครับ มีอีกมากมายคงทราบกันอยู่
7.อยากรู้จังว่าวิสัญญีแพทย์ถ้าเจออย่างนี้จะอยู่ได้อีกซักกี่นาน
8.แล้วถ้าวิสัญญแพทย์ลาออกกันหมดแล้วห้องผ่าตัดต้องปิดเลยไช่มั้ย
9.เพราะไม่มีใครอยากเข้าไปนอนในคุกหรอก
10.สำหรับผู้ป่วยก็ได้ดีครับ ได้รับการส่งต่อออกนอกจังหวัดแน่นอน อาจไกลถึงเชียงไหม่ หรือกรุงเทพ เพราะจังหวัดข้างเคียงคงจะประสบปัญหาเดียวกัน
11.สำหรับโรงพยาบาลทั้วประเทศของรัฐบาลที่มีวิสัญญีแพทย์ ประมาณ 200 กว่าคน เกิดลาออกกันหมดไปอยู่เอกชน โรงพยาบาลรัฐก็ต้องปิดห้องผ่าตัดทั้งหมด
12.รัฐก็คงเดือดร้องเร่งผลิตมีวิสัญญีแพทย์เพิ่ม แต่เชื่อเถิดว่าก็คงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดภาวะสมองไหลไปเรื่อยๆ สูญเสียงบไปเรื่อยๆ
13.หรือไม่ก็ต้องส่งผู้ป่วยเข้าเอกชน ซึ่งถ้าเกิดการผูกขาดก็จะโกงราคาผ่าตัดกัน แล้วรัฐจะจ่ายไหวหรือ
14.เงินที่รัฐนำมาจ่ายนั้นก็มาจากประชาชนนั่นแหละ อานาคตอาจมีการขูดภาษีโหดมากขึ้น อาจถึงขั้นขูดภาษีความเป็นคนไทย(แค่เกิดมาก็ต้องจ่ายภาษีแล้ว)เลยก็ได้
15.การผ่าตัดบางอย่างก็รอไม่ได้นานเช่นการผ่าตัดคลอด อุบัติเหตุรุนแรง ถ้าส่งผู้ป่วยจากแพร่ไปเชียงไหม่ บางทีผู้ป่วยหรือญาติอาจขอให้โรงพยาบาลส่งเข้าวัดเลยจะดีกว่่า
16.สรุปแล้วไม่ว่าเบื่องต้น เบื่องกลาง เบื่องปลาย คนเสียประโยชน์คือประชาชนนั่นแหละ
17.ประชาชนส่วนใหญ่แน่นอนมักคิดเห็นแก่ตัว คิดถึงประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่ค่อยคิดถึงผลกระทบระยะยาว
18.ความจริงเรื่องนี้แพทย์สภาก็คงช่วยเหลือได้แต่ก็คงไม่มาก ควรเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะเลือกทางเดินเอง ว่าจะให้เรื่องต่างๆนั้นลงเอยอย่างไร เพราะคนเดือดร้อนที่แท้จริงคือประชาชน
19.หมอส่้วนใหญ่ก็ไม่ค่อยลงรอยกันอยู่แล้ว อย่างมากก็ลาออกไปอยู่เอกชน คนที่มีความตั้งมั่นที่จะทำเพื่อประชาชนจะเหลืออยู่ซักกี่คน แล้วจะทนได้ซักกี่นาน ถึงใจจะทนได้ แล้วกายจะรับไหวหรือ โรงพยาบาลที่เคยมีอยู่ 5 คนเหลือหมอ แค่คนเดียว งานที่เคยทำ 5 คนกลับต้องมาทำคนเดียว จะเกิดความผิดพลาดขึ้นอีกกี่เท่า ถึงจะมีคนเห็นใจ แต่จะเห็นใจหมอกันทุกคนหรือ คงต้องมีการฟ้องกันบ้างแหละ
20.ผมคิดว่าเรื่องนี้ ในส่วนของคดีก็ให้แพทย์สภาช่วยเหลือไป แต่ในส่วนภาพรวมต้องให้ประชาชนตัดสินใจเอง ไม่ไช่หน้าที่หมอแน่นอน
21.สำหรับใครได้ประโยชน์ก็คงคิดกันเองล่ะกัน

ขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์อ่าน ใครมีความคิดเด็จๆ หรือคิดต่างออกไปก็เชิญเลยครับ
(ผมไม่ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับคดีนะครับ เพราะไม่ทราบรายละเอียด กรุณาอย่ากล่าวหาผมว่าเอาใจช่วยหมอ หรือกล่าวปกป้องหมอนะครับ)
หมายเลขบันทึก: 152417เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ที่ทำงานป้าแดง ก็จะทบทวนความเสี่ยงเรื่องนี้กันค่ะ
  • คุณหมอที่ผ่าตัดมีสิทธิในการทำบล๊อกหลังนี่คะ โรงพยาบาลอำเภอจะมีซักกี่ที่ ที่มีวิสัญญีแพทย์ แต่โชคดีที่โรงพยาบาลป้าแดงมีวิสัญญีแพทย์
  • แต่ส่วนหนึ่ง ศัลยแพทย์ก็ทำการบล๊อกหลังค่ะ
  • การออกความคิดเห็นคงต้องรู้รายละเอียดเยอะกว่านี้ค่ะ ว่ามีปัญหาอะไรซ่อนเร้นอยู่
  • อยากเสนอว่า คนไข้ต้องให้ประวัติให้ละเอียด คุณหมอและวิสัญญีพยาบาลก็คงต้องซักประวัติและประเมินอาการให้ครอบคลุมอ่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ ขออธิบายเพิ่มเติม
วิสัญญีแพทย์เป็นสาขาขาดแคลน ในปัจจุบันนี้จึงอนุญาติให้แพทย์ที่จบแล้วกระทำการแทนได้ โดยแพทย์ทุกคนต้องเรียนการวางยาสลบและการบล็อกหลังอยู่แล้ว
ฉะนั้นดูเหมือนคำตัดสินของศาลเหมือนเป็นคำพิภาคษาว่า แพทย็ที่เรียนจบ 6 ปีห้ามกระทำการบล็อกหลังเด็จขาดเพราะไม่ไช่ผู้เชี่ยวชาญ
แล้วสำหรับศัลยแพทย์ก็ได้รับการฝึกเพิ่มเติมเช่นกัน คำตัดสินของศาลนี้ก็ต้องสร้างความระแวงแคลงใจให้มากขึ้น เพราะยังไงก็ไม่ไช่ผู้เชียวชาญด้านการวางยาอยู่ดี
สำหรับการแพ้ยา ก็คล้ายกับการแพ้อาหาร แพ้แมลง บางคนคงเคยได้ยินว่ามดกัดแพ้ถึงตายก็มี
และคงไม่มีหมอคนไหนกล้ารับรองว่า ทุกครั้งที่บล็อกหลังนั้นจะปลอดภัย 100.0000000 เปอร์เซ็น โดยเฉพาะในผู้ที่กำลังป่วยอยู่แล้ว เกิดการแพ้อาจจะแก้ไขได้ยากกว่าคนปกติ
ข่า่วนี้จึงสร้างความระแวงระวังและความหวาดกลัวให้กับแพทย์โดยรวม เพราะไม่มีใครอยากจะผ่าตัดผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น และถ้าหมอเขาเห็นแก่เงินเขาก็คงออกไปอยู่เอกชนกันหมดแล้ว เขาไม่อยู่ในโรงพยาบาลรัฐบาลหรอก แพทย์ในโรงพยาบาลรัฐนั้นก็ยังคงมีใจอยู่เพื่อประชาชนเพื่อชาติ ทุกคนหวังดีทั้งนั้น แต่ถ้าเกิดการฟ้องกันบ่อย คงมีหมอใจแข็งมากจริงๆ เหลืออยู่ไม่กี่คนหรอก

แวะมาเยี่ยมครับ..และเห็นด้วยในหลายประการ

นี่เป็นจุดเปราะบางของความสัมพันธ์ แพทย์-ผู้ป่วยระยะสุดท้าย...

ปัญหาที่ประเทศไทยต้องการคือการรักษาพยาบาลที่พอเพียงกับปัญหาสุขภาพ โดยผ่านกลไกของแพทย์ผู้ให้บริการ แบบศรัทธาธรรม ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสสังคมและความอยู่รอดของแต่ละสถานะภาพปัจจเจกบุคคล

สำนึกแพทย์ เมื่อคดีเกิดขึ้นไม่มีคนใดติดคุกแทน ..ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน.. ต้องคิดดี ทำดี รอบคอบ และเลี่ยงความเสี่ยง..

เมื่อใดสังคมมีปัญหา ดุจคลื่นที่ถาโถม เข้ามา สักพักจะถูกการปรับตัวทั้งระบบ และเข้าสู่สมดุลย์ใหม่ ท่ามกลางความปวดร้าวของทั้งแพทย์ และประชาชน...

และนี่อาจกลายเป็นชัยชนะของนายทุน รวมถึงกลุ่มผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดนี้....

ทิ้งไว้แต่ทรากความเสียใจของผู้ที่หลงคิดว่าตนกำชัยชนะ หากแต่รู้เมื่อสายว่าตนเองก็เป็นเบี้ยตัวหนึ่งที่พ่ายแพ้โดยผลประโยชน์เพียงน้อยนิด..ของระบบที่ถูกทำลายเมื่อเวลาผ่านไป

..หลังจากกลุ่มตนได้ทำร้าย พ่อแม่-พี่น้อง-ประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปอย่างมากมาย เมื่อนั้นความสำนึกเสียใจจะปรากฎขึ้น ซึ่งแม้จะทดแทนด้วยคำขอโทษประการใด.. ต่อฟ้าดิน ทุกสิ่งก็มิอาจหวลกลับคืนได้...

 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท