ปัญหาการวิจัย


วิจัย
02etm738
เอกสารประกอบการเรียนวิชา 427-302 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์Download จาก http : //pattani 02.hypermart.net/sonvijai/#เบื้องต้น 7 พฤศจิกายน 2545ใช้ประกอบการเรียนเท่านั้นปัญหาการวิจัย (Research Problem) ความหมายการเลือกปัญหาการวิจัยแหล่งของปัญหาการวิจัยข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัยระดับของความรู้ความจริงปัญหาทั่วไปในการเลือกปัญหาการวิจัย

ความหมาย


                 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ
ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย
                
ในการกำหนดปัญหาการวิจัย จะต้องแยกแยะให้ได้ว่า
                -
อะไร คือ ตัวปัญหา
                -
อะไร คือ อาการที่แสดงออกมา
                
ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง ผลิตสินค้ามีคุณภาพ เครื่องหมายการค้าได้รับการ ยอมรับจากผู้ บริโภคว่า "เป็นยี่ห้อที่ใช้ทนใช้นาน" ดำเนินกิจการด้วยดีมาโดยตลอด แต่ในระยะหนึ่งปีที่ผ่านมา (เหตุการณ์สมมติ) ต้องประสบกับสภาวะยอดขายสินค้าลดลงเรื่อยๆ ทั้งๆที่บริษัทดำเนินนโยบาย เหมือนเดิมมาโดยตลอด ในกรณีเช่นนี้ ผู้วิจัยอาจเข้าใจว่า ปัญหาในเรื่องดังกล่าว คือ ยอดขายสินค้าตกต่ำลง แต่ถ้าพิจารณาให้ถี่ถ้วน จะพบว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหานั้น คือ อาการที่แสดงออกมาเท่านั้น ตัวปัญหาหรือสาเหตุที่แท้จริงเรายังไม่สามารถให้คำตอบได้ การที่ยอดขายลดลงนั้น อาจจะ มาจาก การโฆษณาไม่ได้ผล หรือ สินค้าไม่ตอบสนองนโยบาย ประหยัดพลังงาน (เช่น ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ไม่ประหยัดน้ำมัน ฯลฯ) หรือ สินค้ามีคุณภาพลด ลง หรือ มีสินค้ายี่ห้ออื่นเข้ามาตีตลาด ฯลฯ ดังนั้น ผู้วิจัยจำเป็นต้องแยกแยะเสียก่อน ว่า อะไร คือ ปัญหา อะไร คือ อาการ เพราะหากผู้วิจัยสามารถคาด การณ์ว่า ปัญหา ควรอยู่ในแวดวงอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว หลังจากนั้นก็จะง่ายต่อการเริ่มต้น 



 การเลือกปัญหาการวิจัย
                นักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ทั่วๆไป มักคิดว่าไม่รู้จะวิจัยเรื่องอะไร หรือไม่มีเรื่องจะวิจัย หรือคิดว่า
เรื่องนี้ ปัญหานี้มีคนทำมาแล้วทั้งนั้น ขอบอกไว้ ณ ที่นี้ว่า ท่านคิดผิด เพราะแท้จริงแล้ว มีปัญหาอยู่
มากมายรอบตัวเรา เพราะ
                1.
ตัวแปรที่เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ชุมชน บุคคล องค์การ วิธีการบริหาร อาชีพ สถานการณ์ ฯลฯ มีความผันแปรตลอดเวลา ยากต่อการสรุปมากกว่าเรื่องของฟิสิกส์ เคมี หรือคณิตศาสตร์
                2.
ปัญหาทางสังคมศาสตร์นั้น ไม่ได้คงที่แน่นอนตลอดเวลา
                3.
ปัญหา หรือ ข้อสรุปต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เคยศึกษามาแล้ว ต้องการ การตรวจสอบ เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
                4.
การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ เพราะในช่วงเวลาที่แปรเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนไป ปัญหานั้นควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ เนื่องจากตัวแปรใหม่มัก เกิดขึ้นอยู่เสมอ
                
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัย หรือ นักศึกษาปริญญาโทจึงไม่ควรคิดว่า ตนเองนั้นไม่มีปัญหาสำหรับทำวิจัย เพราะปัญหานั้นมีอยู่แล้วมากมาย แต่ท่านยังหาไม่พบ เท่านั้นเอง    

แหล่งของปัญหาการวิจัย


                นักวิจัยอาจหาข้อปัญหาการวิจัยได้จากแหล่งต่อไปนี้
                1.
วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำมาก่อนในเรื่องที่ตนเองสนใจ และกำลังศึกษาอยู่ พร้อมทั้ง วิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ พยายามหาช่องว่าง หรือ ช่วงที่ขาดตอนสำหรับเรื่องนั้นๆ ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือหาคำอธิบายเรื่องนั้นไม่ได้ ก็จะได้ปัญหาสำหรับการวิจัย
                2.
นำคำพูด ข้อเสนอแนะของผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียงหรือเป็น ข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ ทำการทดลองด้วยวิธีการวิจัยมาเป็นปัญหาสำหรับการวิจัย
                3.
วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาว่าสังคมมีการ เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เวลา และเทคนิควิทยาการต่างๆอาจทำให้เกิดปัญหาได้
                4.
วิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนา หรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่เป็น นักศึกษา อาจใช้วิธีปรึกษา (เท่านั้น ... อย่าไปถามว่าจะทำเรื่องอะไรดี!) กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือ อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชานั้นๆ
                5.
ศึกษาปัญหาจากสถาบันต่างๆ หรือสถานที่ที่มีการวิจัย หรือบุคคลที่ทำการวิจัย โดยเข้าร่วม โครงการวิจัยนั้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวทางในการเลือกปัญหาได้ 



 ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย
                
1. รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน เพราะข้อมูลนั้นอาจ ไม่ครอบคลุมปัญหานั้นๆอย่างสมบูรณ์
                2.
หาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และพยายามคิดปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะข้อมูลที่เก็บมาจาก แหล่งใดแหล่งหนึ่งอาจไม่มีความสมบูรณ์
                3.
ข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบแหล่งของการเก็บรวบรวม ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลหรือข้อยุติต่างๆ
                4.
ทำวิจัยโดยไม่อ่านผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่คล้ายๆกัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบและอาจเกิด ความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
                5.
ทำวิจัยโดยไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎี หรือ ไม่มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานทางการวิจัย จะก่อให้ เกิดปัญหาในการวางแผนงานวิจัย หรือ การตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ
                6.
ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจน ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด และผู้ทำการวิจัยไม่เห็น แนวทาง ในการทำวิจัยนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง อาจเป็นผลให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้
                7.
การวิจัยที่มีปัญหาครอบจักรวาล ไม่จำกัดขอบเขต เป็นสาเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่รู้จักจบสิ้น เพราะไม่ทราบว่ามีขอบเขตแค่ใหน (หาที่ลงไม่ได้)  วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย
                1.   ให้เลือกปัญหาที่ตนเองมีความสนใจจริงๆ
                2.   
สะสมความรู้ความจริงและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้มากที่สุด
                3.   
เลือกสรรความรู้ความจริงที่สะสมไว้ โดยพิจารณาที่เกี่ยวข้องจริงๆ
                4.   
เขียนสมมติฐานการวิจัยให้ชัดเจน
                5.   
เลือกสรรสมมติฐานที่จะมีข้อมูลมาทดสอบได้
                6.   
เลือกปัญหาที่ตนเองมีความรู้พอจะทำได้
                7.   
เลือกปัญหาที่ตนเองมีเครื่องมือที่จะทำวิจัยได้
                8.   
เลือกปัญหาการวิจัยโดยคำนึงถึงเงิน และ เวลาพอจะทำได้
                9.   
เลือกปัญหาที่มีความสำคัญพอเพียงที่จะได้รับอนุมัติให้ทำได้
                10.
เลือกปัญหาที่ให้ความรู้ใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่เคยทำโดยไม่จำเป็น
                11.
เลือกปัญหาที่เป็นประโยชน์ ทั้งในแง่การนำไปใช้ และเสริมความรู้ใหม่
                12.
เลือกปัญหาที่จะชี้ช่องให้คนอื่นทำวิจัยต่อไปได้   


   ประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัย
                ก่อนที่จะเสนอหัวข้อ ควรพิจารณาความเหมาะสมของปัญหานั้นเสียก่อน โดยการตั้งคำถาม คำถามที่ควรถาม คือ
                1.
สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยวิธีวิจัยหรือไม่ หาข้อมูลได้เพียงพอหรือไม่
                2.
ปัญหามีความสำคัญพอหรือไม่
                3.
ปัญหานั้นเป็นของใหม่หรือเปล่า ผลที่ได้จะเป็นประโยชน์หรือไม่
                4.
ตนเองมีความสามารถจะวางแนวการศึกษาเรื่องนั้นหรือไม่
                5.
มีเงินสำหรับดำเนินการเพียงพอหรือไม่
                D.B. Van Dalen
เสนอแนะหลักในการพิจารณาว่าปัญหาใด ควร หรือ ไม่ควร จะวิจัย โดยตั้งคำถามตนเอง ดังนี้
                1.
เป็นปัญหาที่ตนเองหวังไว้ และตรงกับความหวังของคนทั่วไปหรือไม่
                2.
ตนเองสนใจปัญหานั้นอย่างแท้จริงหรือไม่
                3.
ตนเองมีทักษะ มัความรู้ความสามารถ และพื้นความรู้เดิมพอเพียงจะศึกษาวิจัยเรื่องนั้น ได้หรือไม่
                4.
ตนเองมีเครื่องมือ แบบทดสอบ ห้องทดลอง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะใช้ดำเนินการวิจัยเรื่องนั้นๆหรือไม่ ถ้าไม่มีตนเองมีความรู้ที่จะสร้างเองได้หรือไม่
                5.
ตนเองมีเวลาและเงินที่จะทำได้สำเร็จหรือไม่
                6.
ตนเองจะไปรวบรวมข้อมูลได้หรือไม่ มีข้อมูลให้รวบรวมแค่ใหน
                7.
ปัญหานั้นๆครอบคลุมและมีความสำคัญถูต้องตามระเบียบของสถาบันที่ท่านกำลังเรียน หรือทำงานหรือไม่
                8.
ปัญหานั้นๆได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มตัวอย่าง มากน้อยเพียงใด ข้อนี้มีความสำคัญไม่น้อย คือ การเลือกปัญหานั้นต้องคำนึงถึงความสามารถของอาจารย์ที่ปรึกษา และบุคคลที่ท่านเชิญมาเป็นที่ปรึกษาด้วย ว่ามีความถนัด ความรู้ ความสามารถที่จะให้คำปรึกษา ได้ดีเพียงใด เขาเหล่านั้นช่วยท่านได้แค่ใหน ประเภทเอาเข้ามานั่งเป็นผีในหลุมศพ พูดไม่ได้ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ที่เชิญมาเพียงเพื่อต้องการเอาใจเพราะเป็นหัวหน้าหน่วยงาน เขาจะได้ซาบซึ้ง ว่าให้เกียรติ จะได้เอ็นดูว่าเป็นลิ่วล้อที่ดีในภายภาคหน้า นั้น ขอความกรุณาอย่านำบุคคลประเภท นี้เข้ามาในวงจรวิทยานิพนธ์ของท่านเป็นอันขาด เนื่องจากตัวท่านเองจะเดือดร้อนวุ่นวาย ต้องไป ซอกซอนหาผู้รู้อื่นๆให้เขาช่วย ต้องไปติดบุญติดคุณ หรือบางสถานการณ์ท่านต้องสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ส่วนผีใบ้ที่เชิญมาได้หน้าโดยไม่ต้องทำอะไร ดังนั้น โปรดระลึกไว้เสมอว่า ใครก็ตามที่ท่านเชิญมา บุคคลนั้นต้องมีความรู้ในกระบวนการทำวิจัยของท่าน และสามารถช่วยท่านได้  

 ปัญหาทั่วไปในการเลือกปัญหาการวิจัย
                . ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะเลือกหัวข้อวิจัย เช่น
                    1.
เลือกหัวข้อช้าโดยรอให้เรียนวิชาต่างๆจบเสียก่อน
                    2.
เลือกหัวข้อปัญหาที่คนอื่นบอกให้ แต่ตนเองไม่มีความรู้เพียงพอ หรือขาดความสนใจในเรื่องนั้น
                    3.
เลือกปัญหาที่กว้างเกินกำลัง และเวลา
                    4.
เลือกสมมติฐานที่ไม่มีทางทดสอบได้
                    5.
เลือกหัวข้อโดยไม่คิดให้ตลอดไปถึงลักษณะข้อมูล วิธีการจะได้ข้อมูล ตลอดจนวิธีวิเคราะห์ข้อมูล

                
. ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะอ่านรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                    1.
อ่านอย่างเร่งรีบ
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 152313เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท