นักศึกษาไทย-จีนแสดงโขนรามเกียรติ์ เพื่อเทิดไท้ ๘๐ พรรษา มหาราชัน


คนที่ไม่เคยเล่นโขน หากฝึกซ้อมมาแต่ยังเล็กก็เล่นโขนได้ดี หากได้ฝึกซ้อมมานานก็อาจเล่นได้ดี แต่หากฝึกซ้อมเพียง ๒ สัปดาห์ และวันละ ๓ ชั่วโมง อาจเล่นได้ไม่ดีหรือเล่นไม่ได้เลย ยิ่งเป็นชาวต่างชาติและฝึกซ้อมเล่นเพียงเท่านี้ "ไม่น่าจะเล่นได้ "

 

 

 

 

 

 

 

นักศึกษาไทย-จีนแสดงโขนรามเกียรติ์ เพื่อเทิดไท้ ๘๐ พรรษา มหาราชัน

ความอัศจรรย์แห่งความจงรักภักดี

       

          คนที่ไม่เคยเล่นโขน  หากฝึกซ้อมมาแต่ยังเล็กก็เล่นโขนได้ดี  หากได้ฝึกซ้อมมานานก็อาจเล่นได้ดี  แต่หากฝึกซ้อมเพียง ๒ สัปดาห์ และวันละ ๓ ชั่วโมง  อาจเล่นได้ไม่ดีหรือเล่นไม่ได้เลย   ยิ่งเป็นชาวต่างชาติและฝึกซ้อมเล่นเพียงเท่านี้ "ไม่น่าจะเล่นได้ "

 

         แต่ความอัศจรรย์ได้เกิดขึ้นเมื่อนักศึกษาเอกภาษาไทยและนักศึกษาจีนจากมณฑลกว่างซีได้ลุกขึ้นมาฝึกเล่นโขนเพื่อแสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในงาน "ราชภัฏเชียงใหม่ เทิดไท้ ๘๐ พรรษา มหาราชัน"  ระหว่างวันที่ ๑-๕ ธันวาคม ๒๕๕๐  สร้างความหนักใจแก่อาจารย์ผู้ฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก เพราะเหลือเวลาเพียง ๒ สัปดาห์เท่านั้นที่จะต้องสอนการแสดงโขนแก่นักศึกษาไทยและนักศึกษาจีนที่ไม่เคยมีพื้นฐานการแสดงมาก่อนเลย 

 

         แต่เมื่ออาจารย์ผู้ฝึกสอนเห็นความตั้งใจจริงของนักศึกษาทั้งหมดแล้ว ก็ตัดสินใจฝึกซ้อมให้ แต่พอฝึกซ้อมไปแล้ว การณ์กลับเป็นว่านักศึกษาตั้งใจซ้อมจริงจัง มุ่งมั่นที่จะแสดงให้ได้ และมีความก้าวหน้าจนเป็นที่มั่นใจของผู้ฝึกสอนว่านักศึกษาทั้งหมดจะแสดงได้ดี

 

          ผมจะปล่อยให้ผู้ฝึกสอนฝึกสอนนักศึกษาไปพลางก่อน ตอนนี้ขอกล่าวถึงความรู้เรื่อง "โขน" ว่ามีความสำคัญและยิ่งใหญ่เพียงใด

โขน  ศิลปะการแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาติไทย

        

               โขน  เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของชาติไทย  กำเนิดมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐   โดยวิวัฒนาการมาจากปรับปรุงการเล่น ๓ ชนิด คือ  นำเอาเนื้อเรื่อง บทพากย์เพลง และลีลาการเต้นมาจาก หนังใหญ่    การแต่งกายนำมาจาก การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์   และท่าทางการสู้รบมาจาก การเล่นกระบี่กระบอง  เนื้อเรื่องที่นำมาเล่นโขนมักนิยมเล่นเรื่อง รามเกียรติ์ และ อุณรุธ  แต่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน นิยมเล่นเรื่อง รามเกียรติ์ เพียงเรื่องเดียว  ซึ่งเรื่องรามเกียรติ์นั้น ก็มีที่มาจาก เรื่อง รามายณะ  วรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของอินเดีย

    

             ศิลปะการเล่นโขน  ถือเป็นเครื่องราชูปโภคอย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์มาแต่เดิม เพราะความอลังการยิ่งใหญ่ ทั้งเครื่องแต่งกายที่ประณีตสวยงาม และเครื่องประกอบศีรษะที่เรียกว่า หัวโขน   ซึ่งแต่เดิมต้องสวมปิดหน้าหมดจึงต้องมีคนพากย์หรือเจรจาแทน  ต่อมาได้ปรับปรุงให้ผู้แสดงโดยเฉพาะตัวมนุษย์อย่างพระราม  พระลักษณ์ นางสีดา เปิดหน้าแต่แต่งประดับด้วย "ศิราภรณ์"  เช่น ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า แต่ก็ไม่ต้องพูดเช่นกันต้องมีคนพูดแทน  เว้นแต่ตัวฤาษีและตัวตลก

 

           นอกจากนี้ยังมีความยิ่งใหญ่ด้วยท่ารำ ท่าเต้น ที่ประณีงดงามที่สุด  สง่างามที่สุด  ยิ่งกว่าโขนของชาติอื่นๆ แม้แต่ของอินเดียก็ตาม  และที่ยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เนื้อเรื่อง มาจากรามายณะซึ่งเป็นมหากาพย์ของอินเดีย นั่นคือ เรื่องรามเกียรติ์

 

          รามเกียรติ์  เป็นเรื่องราวการสงครามระหว่างฝ่าย พระราม กษัตริย์ธรรมิกราชแห่งอโยธยา พระลักษมณ์อนุชา และพลพรรควานรนำโดยหนุมานผู้ทรงฤทธา  กับฝ่าย ทศกัณฐ์ ราชาแห่งยักษ์เจ้ากรุงลงกา กับพลพรรคยักษา  ต้นเหตุมาจากทศกัณฐ์ไปลักพานางสีดาอัครชายาของพระรามมา ทำให้พระราม พระ ลักษมณ์พร้อมพลพรรควานรต้องยกทัพไปชิงนางคืน สงครามระหว่างสองฝ่ายดำเนินไปหลายครั้งในที่สุดฝ่ายพระราม พระลักษมณ์ก็มีชัย สามารถปราบทศกัณฐ์ลงได้

 

                     ศิลปะการแสดงโขน ได้แสดงสืบเนื่องต่อมายาวนานจนถึงสมัยปัจจุบัน แต่ก็มีการแสดงแพร่หลายน้อย ยกเว้น โขนของกรมศิลปากรที่ยังคงรักษามาตรฐานการแสดงไว้ จะจัดแสดงเฉพาะในโอกาสสำคัญและยิ่งใหญ่เท่านั้น ทำให้สมด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต้องมีพระราชเสาวนีย์ให้มีการสืบสานและแสดงให้แพร่หลายขึ้น พระองค์มีพระราชเสาวนีย์ว่า  "เมื่อไม่มีคนดู  ฉันจะดูเอง"  

 

                    ด้วยเหตุนี้  สาขาวิชาภาษาไทย จึงดำริที่จะให้มีการแสดงศิลปะประจำชาติที่ยิ่งใหญ่เนื่องในงานมหามงคลในปีนี้ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยร่วมกับนักศึกษาจีนตามโครงการแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี ประเทศจีน  ร่วมแสดงศิลปะการแสดงชั้นสูงนี้ขึ้น

 

 

โขนรามเกียรติ์   ตอน ยกรบ

 

                  การแสดงโขนในงานมหามงคลครั้งนี้ ได้เลือกเอาตอนสำคํญและยิ่งใหญ่มากตอนหนึ่งนั่นคือ  ตอนยกรบ  เป็นตอนที่พระราม พระลักษมณ์ ยกกองทัพไปประกองทัพของทศกัณฐ์ พระรามเข้าต่อกรกับทศกัณฐ์    ทศกัณฐ์ถูกพระรามตีด้วยคันศรและแผลงศรปักอกทศกัณฐ์ล้มลง แต่ทศกัณฐ์ไม่ตายกลับฟื้นคืนชีพเป็นปกติ ทศกัณฐ์ประเมินกำลังแล้วสู้ไม่ได้ก็ถอยทัพกลับคืนลงกา

 

รายนามนักศึกษาผู้แสดง 

 

กองทัพฝ่ายพระราม

 

   พระราม               นายทิวากร  ทันเที่ยง 

   พระลักษมณ์       Mr.Yang  Haibin (นพรัตน์)

   หนุมาน               นายสถาพร   ลืนคำ

   องคต                 Mr. Zhao  Qi  (กนกพงศ์)

 

เสนาวานร

 

   นายณัฐพงศ์    โพธิวงศ์               นายมานิตย์  เซ็นนันท์

   นส.เกศศิยาภรณ์  เสียงกว้าง        นายศุภกิจ  สมศรี

   นายปรีดี   พนารื่นรมย์แจ่ม           นส.วัตชฎา  ทิพนี

   นส.รุ่งนภา  กันทะวงศ์                  นส.พริ้มเพรา  มณีโชติ

   นส.ภัสตราภรณ์  ใจยวน              นส.สุปิยา  ก้องพนาไพร

   Ms.Xiong  Jia (สวิตา)                Ms.Chu  Qiangnan (สิตา)

   Ms.Lu Xi (แสงอรุณ)

กองทัพฝ่ายทศกัณฐ์

 

  ทศกัณฐ์         นายศุภณัฐ   สินชู

  มโหทร           Mr.Li  Honghua (นที)

  เปาวนาศูร      นายจักกฤษณ์  มงคลเจริญรัตน์

เสนายักษ์

 

    นายเกียรติชัย   ปวนคำหล้า           นายสิรพล  ปัญญาศรี

    นายรณชัย  สุวรรณมาลี                 นายปรีดี  วังจินา

    Ms.Ren  Xiaoyu (สุภาวดี)            Ms.Xie  Fei (สุคนธา)

    Mr. Chen  Boqian (ภิธยา)            Ms.Qin  Lizhong (ชินรัตน์)

    Mr.Yan Yongia (สามารถ)             Ms.Peng  Jianlan (ผกาพรรณ)

    Ms.Yang  Xiangying (วาทินี)       Ms.Wen Ping (วัฒนาวลัย)

    Ms.Liu  Luxia (สุริศรี)

 

ผู้ควบคุมการแสดง    อาจารย์ไกรลาส  จิตร์กุล    อาจารย์อิสริยาภรณ์  แสงปัญญา และทีมงาน

 

เครื่องแต่งกาย     ทีมงาน นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะการแสดง  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

ขอขอบคุณ  คุณสุรศักดิ์  นาคเฉลิม   อาจารย์สารภี  วีระกุล   อาจารย์สมวุฒิ   กุลพุทธสาร   อาจารย์ชยธร  ศิริลิขิต   รศ.จักกฤษณ์  ดวงพัตรา   และ ดร. สาวิตร  พงศ์วัชร์

 

คณะที่ปรึกษาการแสดง

 

อาจารย์พิชัย  กรรณกุลสุนทร       คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ

อาจารย์พิมลแข  สุวรรณกนิษฐ์    รองคณบดีฯ

อาจารย์กรเพชร  เพชรรุ่ง             หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย

อาจารย์วิภาดา  เพชรโชติ           หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะการแสดง

คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาศิลปะการแสดง

บทสรุปแห่งความภาคภูมิใจ

 

              เมื่อการแสดงโขนเริ่มขึ้นต่อหน้าสายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรกในพิธีเปิดงานมหามงคล  สร้างความตื่นตาตื่นใจและอัศจรรย์ใจแก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก ด้วยลีลาท่าทางการแสดงที่เกือบเหมือนนักแสดงอาชีพ ที่ย่อหย่อนไปบ้างก็คงเป็นเครื่องแต่งกายของบรรดาเสนาวานรและยักษ์ ที่ไม่สามารถเช่าชุดมาได้ ที่ได้ก็เป็นตัวสำคัญๆ แสงสีอาจไม่บรรเจิดแต่ชุดนี้ทั้งหมดก็ต้องใช้ค่าเช่าชุดหลายหมื่นบาท  ที่ได้อรรถรสสะกดผู้ชมไว้ตลอการแสดงกว่าสินาทีก็คือ  การร้องการพากษ์ เสียงดนตรีปี่พาทย์ที่สอดรับกับลีลาของนักแสดงที่ไม่สะดุด สง่างามอลังการไม่น้อยเลยทีเดียว และนี่คือบทพิสูจน์ว่า  ศิลปะการแสดงโขนจะยังสามารถสืบสานต่อไปได้ด้วยนักศึกษาเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงชั้นสูงผ่านนักศึกษาจีนตามโครงการแลกเปลี่ยน คงจะทำให้ศิลปะแขนงนี้เป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

 

               โครงการนี้จะดำเนินสืบสานต่อไป และ จะเผยแพร่ออกไปในวงกว้างถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง  นักศึกษาทั้งหมดไม่ว่าไทยหรือจีน ต่างเกิดความรู้สึกซาบซึ้งในศิลปการแสดงชั้นสูงนี้ และภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้แสดงถวายต่อหน้าพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นที่เคารพรัก ศรัทธา ของประชาชนชาวไทยและผู้อยู่ใต้ร่มโพธิสมภารของพระองค์  ตลอดจนได้แสดงออกในความจงรักภักดีแด่พระองค์เนื่องในมหามงคล ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ นี้

ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

       

              

      

             

หมายเลขบันทึก: 151713เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์กรเพชรคะ

อ่านแล้วเกิดปิติมากเลยค่ะ  การสานต่อวัฒนธรรมนี้มีคุณค่าและความสำคัญมากเลยค่ะ

ชื่นชมนักศึกษา/อาจารย์ทุกท่าน  ทั้งไทยและจีน ที่มาร่วมกันแสดงโขนค่ะ

ขอปรบมือดังๆ ให้เลยค่ะ ^ ^ 

ดีจังเลยค่ะ  นอกจากสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาทั้งไทยและจีนแล้ว  ผลพวงที่ดี ๆ จะเกิดขึ้นมากมาย  นับตั้งแต่การสืบสานวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  งานนี้เชื่อว่าผู้ดำเนินการสรรค์สร้างทุกคนคงจะเหนื่อยสายตัวแทบขาด  แต่ความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นสุดจะหาคำใดมาบรรยายเช่นกัน....ขอร่วมชื่นชมยินดีด้วยค่ะ

สวัสดีครับP

          ขอขอบคุณที่เข้ามาให้กำลังใจกิจกรรมดีๆ ครับ ผมอยากทำกิจกรรมลักษณะนี้มากๆ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาไทยอีกทางหนึ่งครับ

สวัสดีครับP

         ไม่ได้พบคุณปอเป้นานมากครับ  สบายดีไหมครับ  ผมจะเข้าไปทักทายที่บล็อกนะครับ

ชอบโขนมากเลยคะ

การแสดงสนุกมากครับ

เอาเหนื่อยมากๆเลยครับ

หุๆ

ด.ช.วงศกร เสน่ห์วงศ์สกุล

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--โพลีพลัสพีอาร์

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ และคณะกรรมการจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน-ละคร จัด “การแสดงโขน ชุดศึกพรหมาศ” ตามพระราชเสาวณีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน-ละครขึ้นใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อเป็นการสืบสานฝีมือเชิงช่าง อันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งช่างทำหัวโขน ช่างปักสะดึงกรึงไหม และช่างเงินช่างทอง รวมทั้งศิลปะการแต่งหน้า จึงเห็นสมควรจัดการแสดงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ “โขน” ซึ่งเป็นการแสดงชั้นสูงของไทย ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมในรูปแบบที่ถูกต้อง โดยเลือกบท เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พรหมาศ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มาแสดงโดยศิลปินชั้นนำจากกองการสังคีต กรมศิลปากร, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, และวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท