Buddy Ax - ร่วมกันประเมินและรักษาผู้ป่วย


บันทึกนี้อยากให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักถึง "การสื่อสาร" และ "ความสามัคคี" ในการร่วมกันประเมิน วางแผนการรักษา ตั้งเป้าหมายของการรักษา ให้การรักษา และติดตามความก้าวหน้าทางการรักษา ในผู้รับบริการหนึ่งราย อย่างสุดแรงกาย แรงใจ และสติปัญญา

หนึ่งปีผ่านไป หลังจากคลินิกกิจกรรมบำบัด ม. มหิดล พยายามสร้าง OT-MCS copyright 2006 เพื่อให้อาจารย์และนักกิจกรรมบำบัดสามารถประเมินและสร้างความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบพบว่า มีความถูกต้องของลำดับกระบวนการและเนื้อหาที่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง อ. อนุชาติ ได้นำเสนอในงานประชุมวิชาการกิจกรรมบำบัดแล้ว เมื่อปลายเดือน พ.ย. และกำลังตรวจสอบจากคณะกรรมการพิจารณาเนื้อหาลงวารสารระบบสาธารณสุขอยู่

ผลการทดสอบประสิทธิผลทางคลินิก ท่านสามารถอ่านข้อมูลได้จาก http://researchers.in.th/blog/otpop/592

ผมขอสรุปข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบงานคลินิกกิจกรรมบำบัด ม. มหิดล ดังนี้

  • ระบบ OT-MCS และการใช้ ICF-OPP screening form + Progression note (modified SOAP note) สามารถครอบคลุมกระบวนการทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางร่างกายและจิตสังคม แต่การใช้สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดควรมีความต่อเนื่องของขั้นตอนการรักษา เช่น กิจกรรมใดที่ให้ผู้รับบริการเรียนรู้ใหม่ ถือว่าต้องเริ่มแนะนำกิจกรรมแบบ structured participation แล้วค่อยๆ พัฒนาเป็นระดับอื่นๆ ที่สูงขึ้น ได้แก่ cooperative participation, self-participation, generalization as a home program
  • การประเมินและตั้งเป้าหมายการรักษา ควรมีเหตุผลทางคลินิกที่ชัดเจน และสามารถแยก improved หรือ maintained performance ให้มีความสัมพันธ์กับการใช้สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ควรคิดลึกๆ ว่า กิจกรรมหนึ่งควรครอบคลุมกับเป้าหมายการรักษาที่แท้จริง ที่น่าจะสัมพันธ์กันในแต่ละเป้าหมายย่อย มิใช่ว่าเราจะแยกกิจกรรมหนึ่งต่อเป้าหมายหนึ่งเท่านั้น
  • ใน maintained performance pathway ผู้ป่วยต้องประเมินและกำหนดกิจกรรมการรักษาร่วมกับผู้บำบัด การเลือกใช้ activity catalogue เป็นเพียงสื่อการรักษาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ควรต่อยอดในด้าน leisure management ได้แก่ leisure exploration กับ leisure participation ที่เราลองปฏิบัติดูในคลินิกที่นี่ เช่น circuited training of life activities, productive group activities (music, art, cooking, hardening work), meaningful task for individuals
  • สำหรับการนำ treatment approach ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งใน OT-MCS สามารถนำไปใช้ในผู้ป่วยเด็กได้ ขณะนี้ อ.ณิชาภัทร กำลังเขียน single-case subject research อยู่ และอาจารย์กำลังพัฒนาการประเมิน Hand Writing Skill Assessment ส่วน อ. ณัฐสุดา กำลังพัฒนา Learning Participation Assessment อยู่ คาดว่าวิธีการปรับขั้นตอนการรักษาต้องมีการประเมินร่วมกันแบบ Buddy Ax ระหว่างอาจารย์และนักกิจกรรมบำบัด เนื่องจากปัญหา Performance component ของเด็กค่อนข้างละเอียดและซับซ้อนมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กพิเศษที่มีปัญหา school performance
  • การประเมินที่ละเอียดถึงที่มาที่ไปของปัญหาเฉพาะของเด็ก น่าจะช่วยแนะนำแนวทางการรักษาปัญหาได้ชัดเจน กว่าการประเมินคัดกรองปัญหาหลายๆด้านมากเกินกว่าที่นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยได้ ถ้าเป็นปัญหามากมายเช่นนั้น เราคงต้องมี Multidisciplinary Team Approach ครับ จะได้ช่วยได้ดีมากๆ
  • คลินิกกิจกรรมบำบัดของเรา จึงเน้นประเมินและรักษาเด็ก ในปัญหา 5 ด้าน คือ sensorimotor integration, visual-cognitive perception, hand writing skill, learning skill, and self-feeding skill
  • ส่วนปัญหาอื่นๆ เช่น movement pattern, delayed motor development เราคงส่งปรึกษาต่อนักกายภาพบำบัดเด็ก หรือ communication disorder เราคงส่งปรึกษาต่อนักแก้ไขการพูดในเด็ก หรือปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินชีวิตและไม่ได้มีผลต่อปัญหา 5 ด้านข้างต้น นักกิจกรรมบำบัดจะสอนผู้ปกครองและให้นำไปทำเป็น Home Program แทน

จากข้อแนะนำทั้งหมด ขอเชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจอ่านและให้คำแนะนำเพิ่มเติม โดยเน้นการให้เหตุผลทางคลินิกแทรกกับคำแนะนำ พร้อมยกตัวอย่างด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

เราต้องการ "ความสามัคคี" ในการทำงานร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติครับ

หมายเลขบันทึก: 151712เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราต้องการ "ความสามัคคี" ในการทำงานร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพ  

พี่คิดว่า ไม่เฉพาะในสายของดร.ป๊อปเท่านั้น ประโยคนี้เป็นจริงและจำเป็นในทุกวงวิชาการ เพื่อให้ความรู้ความชำนาญของแต่ละฝ่ายสามารถนำมาบูรณาการใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง เป็นการสนธิพลัง หรือ สร้างsynergy นั่นเองค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ยุวนุช

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ "ความสามัคคี" ควรมีอยู่ในกลุ่มงานทุกระดับ

ใกล้ปีใหม่แล้ว ขอให้อาจารย์มีความสุขครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท