พระราชบัญญัติธง ฉบับบใหม่


เห็นด้วยหรือไม่กับการที่จะออกพระราชบัญญัติธง ฉบับบใหม่

 เห็นด้วยหรือไม่กับการที่จะออกพระราชบัญญัติธง ฉบับบใหม่
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งมีบทบัญญัติที่เป็นประเด็นคือ
    มาตรา ที่ 45/4 ยังได้กำหนดไว้ว่า
"เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นและลงจากเสาธง ในกรณีดังต่อไปนี้
1 ตามเวลาปกติที่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 45/1
2 เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นหรือลง ในพิธีการต่างๆ
ให้จนกว่าจะเสร็จการ"

หากผู้ใดฝ่าฝืน จะต้องถูกลงโทษ ตามมาตรา 48 เช่นเดียวกันกับข้างบน คือจำคุกสองปี ปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และมาตราที่ 45/5 เขียนไว้ดังนี้
"ในกรณีที่ได้ยินเสียงเพลงชาติหรือสัญญาณชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยการหยุดนิ่งยืนตรงหันหน้าไปทางธงชาติหรือ
ทางที่เสียงเพลงชาติดัง ในกรณีอยู่ในอาคารให้หยุดนิ่งยืนตรงดังกล่าวด้วย หากไม่สามารถยืนแสดงความเคารพได้ ให้แสดงความเคารพโดยการหยุดนิ่งในอาการสำรวม
ในกรณีอยู่ในยานพาหนะ ให้หยุดยานพาหนะจนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีอยู่ในยานพาหนะที่สัญจรบนทางด่วน
ทางรถไฟ ทางน้ำ หรือทางอื่นที่ไม่อาจหยุดยานพาหนะได้ ตามรายละเอียดที่กำหนดในกฎกระทรวง"

โดยมาตรา 48 ได้ระวางโทษให้ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 45 เหล่านี้ จำคุกสองปี ปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 จากการที่มีการเสนอร่างพ.ร.บ.ธง ฉบับใหม่ตอ่สภานิติบัญญัติ ที่มีการกำหนดให้แสดงความเคารพโดยการหยุดนิ่งยืนตรงหันไปทางเสาธง อาคาร
หรือสถานที่ ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลงไม่ว่าจะเห็นหรือได้ยินเสียงเพลงชาติก็ตาม อีกทั้งยังกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว โดยมีโทษ จำคุกสองปี
ปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นการลงโทษที่เกินกว่าเหตุ และเกินสมควร ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การออกกฎหมายดังกล่าวเป็นการออก
กฎหมายที่ออกมากระทบกับ สิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวคือ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของประชาชน  ซึ่งหากพิจารณาจุดมุ่งหมายของร่างพ.ร.บ.
 ฉบับบนี้ก็เพื่อให้พลเมืองเกิดความรักชาติ จึงต้องแสดงความรักชาติออกมาด้วยการยืนตรงเคารพธงชาติ ซึ่งเราไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่าการที่คนยืนตรงเคารพธงชาตินั้น
เกิดจากความรักชาติหรือเกิดจากการที่เกรงกลัวกฎหมาย ดังนั้นการออกกฎหมายมาบังคับให้ยืนตรงแสดงความเคารพธงชาติ จึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีเลย อีกทั้งยังกระทบ
ต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของประชาชน   ถึงแม้ว่าจะออกาใช้บังคับโดยรัฐก็ตาม
 อนึ่งการออกร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ที่ต้องอยู่ในสถานการต่างๆในวเลาเดียวกัน ซึ่งบางสถานการ
ก็สามารถปฏิบัติตามได้ แต่บางสถานการก็ไม่สะดวกหรือไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้  ดังนี้หากมีการลงโทษแล้วย่อมไม่เกิดความยุติธรรมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  อีกเหตุผล
หนึ่งคือ การแสดงความเคารพธงชาติก็เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปปฏิบัติอยู่แล้ว ซึ่งหากมีบุคคลที่ไม่ปฏิบัติก็เป็นการผิดแผกจากคนในสังคม คล้ายกับการผิดจารีตประเพณี
ซึ่งบุคคลดังกล่าวก็จะถูกประณาม หรือการลงโทษทางสังคม (วิถีประชา) ซึ่งเป็นการลงโทษที่สมควรและเป็นไปโดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายบังคับ  และสุดท้ายการที่จะแสดง
ความเคารพธงชาติควรจะเป็นการแสดงออกมาจากจิตใจภายในและจากสำนึกของแต่ละบุคคลมากกว่าแารยืนตรงโดยไม่ได้มีความรักชาติเลย
 ข้าพเจ้าจึงไม่เห้นด้วยกับการที่จะมีการบังคับใช้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ด้วยเหตุที่นอกจากจะเป็นการจำกัดสิทะเสรีภาพเกินจำเป็นแล้วยัง จะก่อให้
เกิดปัญหาทางสังคมหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน หรือปัญหาส่วนรวมต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 151475เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2007 03:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 07:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ว้าว เรากำลังจะเข้าสู่ยุครัฐนิยมมาลานำไทยกันอีกแล้ว

คิดถึงนายมั่น นายคง แล้วก็ เฮียปอ จังเลยครับ ไม่สามารถแสดงภาพ “http://www.f0nt.com/forum/Smileys/iannnnn/42.gif” เนื่องจากเกิดข้อผิดพลาด

 

ชอบบทความจังครับ เขียนเยอะ ๆ นา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท