การเรียนการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach) และวิธีการศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study)


การจัดการเรียนการสอนที่เป็นจุดเล็ก ๆ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของการพัฒนาวิชาชีพครูของไทย

ไปเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเรื่อง Teaching Mathematics through problem solving and hand-on activities  ที่คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ที่นี่มีศูนย์คณิตศาสตรศึกษา ที่เป็นหน่วยงานที่น่าสนใจ เพราะเป็นองค์กรการเรียนรู้ มุ่งพัฒนานักศึกษาให้ทำงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ได้ฝึกการบริหารจัดการ การลงไปทำงานจริงในโรงเรียน  เพราะเขาเชื่อว่าวัฒนธรรมอย่างนี้ที่จะช่วยพัฒนาคนไปสู่ระบบการศึกษา  การจัดการประชุมครั้งนี้ เขาเชิญ  Prof. Dr. Akihiko  Takahashi จาก Depaul University ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study) มาอบรมให้ความรู้แก่พวกเรา และยังสาธิตการสอนแก่นักเรียนในโรงเรียนให้ดูด้วย การสอนครั้งนี้อาจารย์ใช้ Pattern Block มาเป็นอุปกรณ์การสอน ดูคล้ายกับบล็อกไม้ที่เราเคยต่อเล่นสมัยเด็ก  แต่ตรงนี้ให้เล่นหรือลงทำในลักษณะเรียนผ่านกาย เพื่อให้ได้ sense ของรูปทรงเรขาคณิต  เพราะเรืองเหล่านี้สอนตรง ๆ ไม่เข้าใจ เท่าการได้ลองทำ  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางตอนของการสอนในชั้นเรียนที่โรงเรียนบึงเนียมบึงใคร่นุ่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น  เป็นการสอนที่มีคนไปยืนดูเป็นร้อยคน  (เห็นบอกว่าที่ญี่ปุ่นในบางครั้งมีคนเป็นพันเลยก็มี)   

 

1.  การจัดสภาพชั้นเรียนให้นักเรียนได้นั่งเป็นคู่เพื่อทำงานร่วมกัน มีกระดานแม่เหล็กเพื่อใช้การนำเสนอผลงาน การตั้งกล้องเพื่อบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนไว้ใช้วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ

 

2.  ในการจัดการเรียนการสอน การให้นักเรียนได้เล่นอิสระเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสื่อใหม่นี้ การเล่นทำให้นักเรียนได้เรียนรู้คุณสมบัติของรูปทรงต่าง ๆ  โดยครูอาจสังเกตเห็นว่ามีนักเรียนบางคนต่อภาพได้น้อย ครูช่วยเหลือโดยการช่วยเทบล็อกออกจากกล่องให้มีปริมาณเพียงพอ และเลือกใช้ได้ตามความพอใจ  

 

3.  ผู้ร่วมสังเกตการเรียนการสอนประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู ที่อยู่ในพื้นที่ และมาจากที่อื่น ๆ การสังเกตช่วยให้เห็นลำดับขั้นตอนการสอนของครู  แนวคิดและการรับรู้ของนักเรียนผ่านการทำงาน การนำเสนองาน  หลายคนบันทึกประเด็นเพื่อใช้ประกอบการประชุมสะท้อนผลหลังสอนและนำไปปรับใช้ในการสอนของตนเอง

 

3.  ครูนำเสนอโจทย์สถานการณ์ให้นักเรียนเรียงบล็อกในรูปดอกไม้ที่แจกให้  โดยพยายามพูด กระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้บล็อกลักษณะต่าง ๆ เช่น ครูเห็นบางคนเริ่มใช้สีขาวแล้ว  จะทำอย่างไรถ้าเราไม่ใช้สีส้มเลย    

4.   ครูให้นักเรียนมานำเสนอผลงานของตนเองว่ามีวิธีการเรียงบล็อกเป็นรูปดอกไม้ได้กี่วิธี โดยเริ่มจากตรงเกสรของดอกไม้ว่าทำได้กี่แบบ แล้วจึงนำไปสู่รูปแบบอื่น ๆ ต่อไป สีขาวและเขียวด้านล่างเป็นรูปดอกไม้อีกแบบที่นักเรียนคิดขึ้น ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาใหม่ ให้นักเรียนเรียงบล็อกให้อยู่ในรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้ให้ได้มากที่สุด  

เมื่อนักเรียนทำงานเดี่ยวไปสักระยะหนึ่ง ครูอนุญาตให้นักเรียนเดินดูงานของเพื่อน เพื่อสังเกตว่าเพื่อมีแนวคิดในการทำอย่างไรได้บ้างเพื่อกลับไปปรับปรุงงานของตนเอง  ขณะเดียวกันก็อนุญาตให้ช่วยเพื่อนบางคนได้ถ้าพิจารณาเห็นว่าเพื่อนต้องการความช่วยเหลือ    

ครูนำเสนอผลงานนักเรียน โดยผู้ช่วยครูถ่ายภาพผลงานนักเรียน ให้นักเรียนเดาว่าเป็นผลงานของใคร แล้วจึงเฉลยด้วยภาพของนักเรียนกับผลงานชิ้นนั้น  นักเรียนตื่นเต้นมากยืดตัว และตาเป็นประกายเวลาเห็นผลงานของตนเองปรากฏในจอโทรทัศน์   คุณครูเข้าไปช่วยต่อบล็อกบางชิ้นให้กับนักเรียนบางคน เพื่อให้เข้าสามารถทำงานต่อไปได้ นักเรียนบางคนพยายามอยู่นาน ครูให้โอกาสลองทำ และเข้าไปช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม  ขณะนี้ครูสามารถสื่อสารกับนักเรียนได้ ทำให้อาจารย์ที่เป็นล่ามถอยไปยืนดูห่าง ๆ

หมายเลขบันทึก: 151370เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2007 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ดีใจค่ะที่ครูและนักการศึกษาให้ความสนใจกับกิจกรรมในครั้งนี้ เครือข่ายของเราจะได้กว้างขึ้น...กว้างขึ้น การเรียนการสอนแบบนี้...สนุกดีนะคะ

ได้รับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกัน นำไปใช้สอนแล้ว ดีมากเลย เด็กสนุก ครูก็สนุก แต่เหนื่อยมากเพราะเตรียมสื่อ

การสอน เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้ มีเหตุผลในการทำงานหรือในการแสดงกิริยาต่าง ๆ

ดีใจจัง เด็กจะได้พัฒนาและมีครูให้ความสนใจมากขึ้น

ดีใจกับเด็กไทยในอนาคต ที่มีครูพันธ์ใหม่ จะได้พัฒนาให้ได้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆบ้าง ครูมีจิตสำนึกที่ดี


อยากให้ทั่วประเทศได้ทดลองใช้การสอนแบบนี้บ้างจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท