3 H กับการพัฒนาผู้ใหญ่ (หัวใจเด็ก) จริงหรือ?


ในความแตกต่างที่มีความเหมือนกัน เราสามารถประยุกต์หลักการนี้กับการสอนเด็ก(ลูก) มาใช้กับคนในองค์กรได้อย่างน่าประหลาดใจ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนนั้นต้องการการยอมรับ การเอาใจใส่เหมือนกันหมด

                ทุกครั้งที่คุยกับเด็กไม่ว่าจะเป็นลูกตนเองหรือเด็กที่ป่วยในโรงพยาบาล สิ่งหนึ่งที่เราจะพยายามคุยและอยากให้เป็น   คือน้องต้องทำอย่างนั้นน้องต้องทำอย่างนี้ แต่ผลลัพธ์ที่ตอบกลับมา คือ "ไม่เอา ไม่ทำ " ทำทุกอย่างที่ตรงกันข้ามหมด

         ทำไมถึงเป็นอย่างนี้หนอ

เหมือน ปู่ย่าตายาย ท่านบอกว่า หากสิ่งใดเราบอกให้ทำ สิ่งนั้นเด็กไม่ทำตาม แต่หากบอกตรงข้ามเด็กจะทำทันที (แต่ไม่ใช่ทุกอย่างนะค่ะ)

        ทีนี้จะทำอย่างไรดี

การสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีส่วนร่วม หรือ ให้ผู้ใหญ่มีส่วนร่วมดูคล้ายกัน หากเขาเหล่านั้นต้องการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ สิ่งนั้นทำให้เขาสามารถเรียนรู้ ได้ดี หรือทำงานได้ดี นับว่ายิงปืนครั้งเดียวได้นกสองตัว

หากเราลองเปรียบเทียบเรื่อง การทำยุทธศาสตร์ หรือ    การสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีส่วนร่วม นั้น ไม่แตกต่าง แต่มีความเหมือนเลยทีเดียว

 หลักยุทธศาสตร์ คือ การมุ่งที่ steakholder needs หรือที่ผู้ส่วนได้ส่วนเสีย ในงานก็คือคนที่เราร่วมทำงานทั้งหมด เราต้องให้เขาเหล่านั้นเขามามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิด รับชอบ เขาเหล่านั้นจะมีความภาคภูมิใจในงานของตน อยากสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง เพราะเขามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงาน

หลักการสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีส่วนร่วม เราเคยเจอปัญหา อยากให้เด็กเก่ง พยายามยัดความรู้ที่เราคิดว่าเขาต้องการ เขาต้องทำ แต่เด็กไม่มีส่วนร่วมเลย สุดท้ายเด็กแสดงพฤติกรรมต่างกันไป เช่น ปวดท้องจังเลยแม่ เมื่อเราพาไปเรียนพิเศษ หรือเป็นไข้ไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งมีทุกรูปแบบเลยก็ว่าได้

หลัก 3 H คืออะไร มี ดร.มาเรีย มอนเลส ซอรี กุมารแพทย์ บอกไว้ว่า

Head  คือ การสร้างความคิด ทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียน อยากทำ เด็กจะทำเมื่อเขาสนใจ เท่านั้น ลองให้ลูก (หรือผู้ใหญ่ ) ถามความสนใจ ว่าเขาสนใจสิ่งใด แล้วให้โอกาสเขาได้เรียนรู้สิ่งนั้น  เขาเหล่านั้นจะค้นพบตนเองในที่สุดว่าเขาถนัดอะไร

Heart  คือ ความใส่ใจ จะเกิดต่อเมื่อเขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาชอบสนใจ เขาจะทุ่มเท ใส่ใจ ส่วนการที่จะมาด้วยความใส่ใจ เขาจะต้องมี H ตัวสุดท้าย

Hands คือ การที่เขาได้มีส่วนร่วม ได้ลงมือทำ การได้เป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรม จะทำให้เขาได้ศักยภาพในตัวเองสูงสุด และนำมาซึ่งการจดจำได้อย่างเข้าใจ

    ในความแตกต่างที่มีความเหมือนกัน  เราสามารถประยุกต์หลักการนี้กับการสอนเด็ก(ลูก) มาใช้กับคนในองค์กรได้อย่างน่าประหลาดใจ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนนั้นต้องการการยอมรับ การเอาใจใส่เหมือนกันหมด

 

หมายเลขบันทึก: 151279เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2007 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การที่มนุษย์ต้องการ ในสิ่งที่ตนเองต้องการ

  • โดยเฉพาะการยอมรับ เอาใจเป็นต้น
  • สิ่งต่างๆ เล่านี้ ที่ปัญหากับเด็กบางคน
  • คือเรื่องของจิต ย้ากที่จะเข้าใจ
  • แวะเยียม ขอบคุณครับผม

ขอบคุณ คุณรักชาติมากค่ะที่ติดตาม

ขอเป็นกำลังใจให้เช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท