การศึกษาสร้างคนให้เป็นมนุษย์ ๒


คนดี คนเก่ง มีความสุข

     การอภิปราย  " ถึงเวลาแล้วการจัดการศึกษาต้องเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง "  ดำเนินรายการโดย  คุณนิรมล  เมธีสุวกุล  แห่งรายการบ้านทุ่งแสงตะวัน  และมีผู้ร่วมอภิปรายได้แก่

       คุณวัชระ  เกตุชู   ตัวแทนจากชุมชนบ้านท่าสะท้อน  :  บอกเล่าเหตุการณ์และพัฒนาการของเหตุแห่งการที่ชาวบ้านท่าสะท้อนต้องร่วมกันจัดการศึกษา  เพราะโรงเรียนแห่งนี้จะถูกมาตรการยุบเลิก  ...... ชาวบ้านจึงร่วมมือกัน  สร้างหลักสูตรเพื่อสั่งสอนลูกหลาน  ให้เกิดสำนึกรักท้องถิ่น  รักชุมชน  ด้วยการเรียนรู้อย่างมีควาสุข  สนุกอย่างมีเหตุมีผล  ใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน   ฐานทรัพยากรป่าพรุที่อุดมสมบูรณ์เป็นห้องเรียน   กิจกรรมอาชึพก็ (ทำปุ๋ย , สานจูด , ทำขนม, หาปลา , จับผึ้ง ฯลฯ )เป็นห้องเรียน  ของลูกหลาน  ฐานความรู้ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น  ฐานทุนวัฒนธรรม   พระ/วัด  ก็มาร่วมสร้างคุณธรรมศีลธรรมให้แก่เด็ก   ,  ระดมทุนด้วยการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาของลูกหลาน   และเชื่อมประสานกับเพื่อพ้อง/พันธมิตรเข้ามาช่วยเหลือ  ...... ร่วมกันสร้างเกราะคุ้มครองให้แก่เด็กผู้เป็นอนาคตของบ้าน  ชุมชน  ชาติ

      อาจารย์รัชนี  ธงไชย  จากหมู่บ้านเด็ก  เมืองกาญฯ  : ณ  วันนี้  รร.  เปรียบเสมือนส่วนเกินของชุมชน  ต่างฝ่ายก็คิดและมองแยกส่วนกัน  บ้าน  วัด  โรงเรียน  ต่างคนต่างอยู่   ครู กับ  คนในชุมชนก็แยกส่วนกัน  ทำหน้าที่คนละบทบาทกัน  ....  แล้วเด็กจะอยู่อย่างไร ?  เพราะในความเป็นจริงของชีวิตนั้น  มีองค์ประกอบหลายส่วนที่อยู่ร่วมกัน  ประสานสอดคล้อง  สนับสนุน  ส่งเสริม  ซึ่งกันและกัน  หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว  จะอยู่หรือ ดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไรกัน ?  การศึกษาที่แท้นั้น  ต้องเป็นกระบวนการ    เรียนรู้จากอายตนะทั้งหมด  เห็น  แล้วคิด  แสวงหาคำตอบ  ค้นหาอย่างสนุก - สุข    ชื่นชอบ  จดจำ  ( มิใช่ท่องจำ แบบนกแก้วนกขุนทอง)  เกิดปัญญา  .......  ต้องมีทั้งความรู้ควบคู่ความรัก  หรือ  ความรู้กับกรุณา  .....  ครูที่ดีนั้นต้องทำให้บทเรียนนั้นสนุก  ....

     คุณสมพงษ์   ผอ.สำนักแผน ฯ  จาก  สพฐ.  :    ณ  ขณะนี้มีโรงเรียนขนาดเล็ก  กว่า  12,000  โรง  ที่  สพฐ.  ต้องดำเนินการให้มีคุณภาพและมาตรฐานของการจัดการศึกษา   และ  ครม. เมื่อวันที่  27  พย.ที่ผ่านมา มีมติในการกำหนดยุทธศาสตร์  พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในสามปี 51 - 53  ดังนี้  1) การบริหารจัดการศึกษา  2)การสอนแบบบูรณการ  3)การจัดทำแผน 4) การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทางสังคม  เช่น  การพัฒนากรรมการสถานศึกษา , การพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครอง , การส่งเสริมให้ อปท. รับโอนหรือจัดการศึกษา , การเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา , การระดมทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสม  5) การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสม  ( เท่าที่จับใจความได้ )  .........  และได้กำหนดเป้าหมายของโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการพร้อมงบประมาณ  2750  ล้านบาทภายในสามปี  เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ    มาตรฐาน  .......  ของ  ใคร ?   ของเด็ก  ชุมชนหรือ ของ  สพฐ.  ติดตามตอนต่อไป

           นอกจากนี้ในเวทีก็ระดมความคิด  ความเห็น   ถึงโจทย์ใหญ่ของสังคม  ณ  วันนี้  ว่า  การศึกษาของ  ......... เรา  นั้นทำคนให้เป็นมนุษย์จริงหรือ ?  เป็น  คนดี  คนเก่ง  อย่างมีความสุข  .......

หมายเลขบันทึก: 150982เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 01:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท