ตอบ-ขยายความอ.วิจารณ์ "จัดการความรู้ในวลัยลักษณ์"


จัดการความรู้คือ มีความรู้ที่เอาตัวรอดได้ จะรอดขนาดไหนก็ต้องวินิจฉัยกันเอาเอง ถ้าพูดตามภาษาธุรกิจก็ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือภาษาพระก็ตามทิฏฐิของแต่ละคนนั่นแหละครับ การจัดการความรู้จึงเป็นการทำงานเรื่องความรู้ที่ต้องมองตนเองจากภายในซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะหากจัดการไม่ดี จะกลายเป็น ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

แร้วมีไว้ดักกระต่าย เมื่อจับได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้

การจัดการความรู้ภายในองค์กร-ภายในวลัยลักษณ์ เมื่อมีผู้รับผิดชอบดำเนินการแล้วก็หมดหน้าที่แล้ว ยิ่งมีการขยายเป็นแบบอย่างสู่ภายนอกยิ่งเป็นเรื่องดี ก็ติดตามข่าวด้วยมุทิตาจิตเสมอ

บทบาทที่ผมสนใจคือการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและประชาสังคม

ในความหมายอย่างกว้าง องค์กรภาครัฐก็เป็นภาคประชาสังคมด้วย แต่จุดเน้นสำคัญคือ ภาคชุมชน ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมาย   แต่กลายเป็นเครื่องมือของภาคส่วนต่างๆ ไม่อยากให้ใช้การจัดการความรู้เพื่อไปสู่ความสำเร็จของตนเองเช่นที่ภาคธุรกิจดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

ผมไม่มีอำนาจในฐานะผู้บริหาร ถ้าจะมีก็เป็นความรู้และความตั้งใจเท่านั้น หลักจัดการความรู้ของผมคือ
1)มรรคแปด(คนสนใจKMต้องทำเป็นการส่วนตัว)
2)ทิศหก(คนสนใจKMต้องรู้จักทิศของตัวเองและทำกับทิศรอบตัวให้ถูกต้อง)
3)ทิฏฐิและศีลเสมอกัน(ขยายข้อ1และ2 คนสนใจKMต้องมีทิฏฐิในข้อ1และมีศีลคือข้อปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างปกติตามบทบาทหน้าที่-ทิศของตนและรอบข้าง)

การจัดการความรู้จึงเป็นการทำงานเรื่องความรู้ที่ต้องมองตนเองจากภายในซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
เพราะหากจัดการไม่ดี จะกลายเป็น ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

จัดการความรู้คือ มีความรู้ที่เอาตัวรอดได้ จะรอดขนาดไหนก็ต้องวินิจฉัยกันเอาเอง ถ้าพูดตามภาษาธุรกิจก็ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือภาษาพระก็ตามทิฏฐิของแต่ละคนนั่นแหละครับ

หมายเลขบันทึก: 15004เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท