ปลาดุกร้า : สินค้าคุณภาพจากบ้านลุงช่วง


             ยังติดใจเรื่องปลาดุกร้าของลุงช่วงอยู่  โชคดีที่มีข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มเล็ก  บันทึกการเรียนรู้ ตามไปดู ครูเกษตรอินทรีย์ที่พระพรหม  ของ คุณสมโภชน์ นาคกล่อม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ สรส.  ที่ได้ไปถอดความรู้จากลุงช่วงมาบันทึกไว้ ขออนุญาตนำมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แห่งการเรียนรู้ใน G2K  แห่งนี้            

                ส่วนประกอบที่สำคัญของปลาดุกร้า คือ เกลือหรือน้ำตาล เราเอาเกลือผสมน้ำตาลทราย โดยใช้สูตรน้ำตาลทราย 8 ขีด ใช้เกลือ 1 กิโลกรัมต่อปลา 10 กิโลกรัม ลองคำนวณตามสัดส่วนของปลาเล่น ๆ ดู ถ้าใช้ปลาหมดบ่อจะได้ 75 กิโลกรัม ก็ใช้เกลือตามสัดส่วนดังกล่าวคือ 7.5 กิโลกรัม เป็นต้น การเลือกใช้เกลือก็มีผลต่อรสชาติปลาดุกร้า ควรใช้เกลือเม็ดใหญ่เพราะอร่อยกว่าเกลือถุง ป้า (เมียลุงช่วง) แกได้ลองใช้เกลือถุงเปรียบเทียบแล้ว เรื่องสัดส่วนนี้ เที่ยงตรงเพราะป้าชั่งทุกครั้งที่ทำ          

           ตำให้เข้ากัน แล้วเอาเกลือและน้ำตาลที่ตำผสมกันเสร็จแล้วนี้จุกในพุงปลา เรียงเป็นชั้น ๆ โรยเกลือและน้ำตาลระหว่างชั้นให้ทั่วถึง หมักไว้ 3 คืน เอาออกมาตากแดด 3 แดด ก็จะได้ปลาดุกร้าพร้อมใส่ถุงขายได้ ปลาดุกร้าเก็บไว้ได้นาน ที่บ้านเก็บไว้ก็ไม่ได้กิน เขามาซื้อหมดถึงในบ้าน ตอนนี้ทราบว่ามีคนเอาไปขายถึงอีสานแล้ว         

            นอกจากปลาดุกร้าแล้วปลาดุกแดดเดียวก็สร้างรายได้ให้ลุงช่วงไม่น้อย ลุงช่วงมีเคล็ดลับในการเลือกปลา ใช้อายุประมาณ 4 เดือนกำลังดี เพราะปลาตัวโตและไม่เหนียว ต้องใช้ปลาเป็นมาทุบหัวให้ตาย อย่าใช้วิธีน็อคให้ตายในบ่อ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เลือดขังอยู่ในตัว ซึ่งจะทำให้คาวได้ ได้ความรู้          ลุงช่วงได้ความรู้ใหม่จากการจับปลาดุกมาแปรรูปในรอบนี้ ที่ได้ข้อสรุปว่า หากจะแปรรูปต้องจับหมดบ่อ จากเดิมที่เมื่อก่อนปลา 1 บ่อ จะตักแปรรูป 3 ครั้ง ตักแล้วปลาจะไม่กินอาหาร อีกอย่างหนึ่งถ้าเหลือปลาไว้ในบ่อไม่เติมน้ำ ปลาจะแทงผ้าพลาสติกที่ปูบ่อพังอีกด้วย (ปลาดุกมันตีกัน) แต่ละบ่อได้กำไร ขาดทุนเท่าใด ลุงช่วงมีสมุดบันทึกจดตัวเลขไว้หมดบ่อละ 1 เล่ม             

            ลุงช่วงยังมีความสามารถด้านช่างฝีมือและภูมิปัญญาอีกด้วย เช่น สานเสื่อจากต้นคล้าไว้นั่ง ไว้ตากข้าว ตากของ ทำไม้กวาดสวย ๆ จากไม้ไผ่สีสุกข้างรั้วบ้าน ขายในชุมชนอันละ 50 บาท นอกจากนี้ก็เป็นศิลปินพื้นบ้าน เล่นดนตรีไทย เช่น ขลุ่ย ซอ นักเรียนโรงเรียนท่าช้าง เครื่องดนตรีมาให้ลุงช่วงสอนถึงบ้าน   นอกจากนี้ยังเป็นครูสอนเกษตรให้กับนักเรียนนี้ด้วย  ไม่นานมานี้อาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร มทร.ศรีวิชัย นครศรี ฯ ได้พานักเรียนมาดูการแปรรูปผลผลิตการเกษตรจากลุงช่วง              

            อ่านเรื่องลุงช่วงเพิ่มเติมแล้วก็ชื่นชมในความเป็นคนเก่ง คนดีของลุงช่วง ที่ใช้ปรัชญาการทำมาหากิน แบบคนไม่อยู่นิ่ง ทำหลายสิ่ง แต่ละสิ่งไม่มาก    คำว่า พอเพียง  เป็นรูปธรรมชัดเจนทั้งวิธีคิด วิธีปฎิบัติ  ก็เห็นได้จากวิถีลุงช่วงนี่แหละ              

            ติดต่อลุงช่วง สิงโหพล 126 หมู่ 5 ตำบลช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช 085-8821852 

หมายเลขบันทึก: 149165เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 06:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

        เรียน  อ๊อด

        ใจพี่อยากให้อ๊อดนำความรู้บวกความคิดที่ได้จากใต้  มาเผยแพร่ที่สุรินทร์  แตการเผยแพร่อยากให่อ๊อดทำในลักษณะ C and D คือลอกเลียนเขาแต่พยายามทำให้ดีกว่าเขา พี่เชื่อว่าคุณลุงเจ้าของความคิด เขาไม่ว่าหรอก  พี่จะรอดูความสำเร็จของ อ๊อด นะ

อ่านเรื่องราวจากชุมชนเช่นนี้ทำให้รู้สึกมีพลังดีค่ะ และเป็นชีวิตที่มีความหมาย และความสุขด้วย คนที่ยังหาไม่พบความพอเพียงก็ทุกข์ต่อไป
  • อ็อด
  • พี่รอชิมปลาดุกร้าสูตรคุณนายอ็อดอยู่อะ

ขอบพระคุณทุกท่าน (ล้วนแล้วแต่เป็นคน กศน.ทั้งนั้น)

  P   ผอ.สมนึกค่ะ ทำไงดีล่ะ ช่วยชี้ช่องทางหน่อย คนจะทำได้อย่างลุงช่วงนี่ ควรต้อง "เข้าถึง เข้าใจ" และ "ระเบิดจากข้างใน"  อย่างลุงต้นแบบนี่แหละ ยั่งยืนจริงเน๊อะ

 P   อ.นุช ค่ะ เวลาได้ไปสัมผัสคนดี ๆ อย่างนี้ แล้วทำให้คนไทยอย่างเรา มีความหวังค่ะ

P  อ.แอ๊ว  หายไปนานจังเลย คิดถึงมากกกค่ะ อย่าเรียกอย่างนั้นเลย เอาแค่น้องอ๊อด ก็ให้เกียรติพอแล้วจ๊ะ

สวัสดีค่ะทุก ๆ ท่าน

เนื่องจากตนเองได้ตั้งหน้าตั้งตาทำงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนยีอาหารของปลาดุกร้า มาประมาณสองปีแล้ว และได้ศึกษาดูงานสถานที่การผลิตปลาดุกร้าในหลาย ๆ พื้นที่ ทั้ง นคร สงขลา และ พัทลุง ได้รับความรู้เยอะเลยค่ะ และทำให้ตนเองและนิสิตมีกำลังใจในการทำงานเพื่อสังคมต่อไป ส่วนลุงช่วงนั้นเป็นขวัญใจของพวกเราทุกคนเลยค่ะ ส่วนความอร่อยของผลิตภัณฑ์นั้นยกให้เป็นอันดับหนึ่งเลยค่ะ

ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาดุกร้าสำหรับเขียนหนังสือสักเล่มนึง โชคดีมหาวิทยาลัยทักษิณให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ให้เงินมาเขียนและทำต้นฉบับด้วย หวังว่าต้นปีหน้าชาวใต้เราจะมีหนังสือเกี่ยวกับปลาดุกร้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญา

สุดท้ายนี้ ขอบคุณมาก ๆ ที่ร่วมกันทำงานเพื่อสังคมไทยของเรา

ดร.อมรรัตนื ถนนแก้ว

ม.ทักษิณ พัทลุง

สวัสดีดีค่ะ

ขอชื่นชมคนรุ่นใหม่และมีใจรักถิ่นใต้อย่างอาจาย์ ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ ปลาดุกร้าจะได้มีคนรู้จักแพร่หลายซะที

ปล.เป็นคนที่ชอบปลาดุกร้า มากๆ เช่นกัน เห็นแล้วต้องซื้อให้ได้ทุกทีจ๊ะ

ญ นิศากร จันทรืแก้ว (งานหลักสูตร ม.ทักษิณ)

ขอบคุณสำหรับสาระดี ดี เป็นกำลังใจให้ครับ

ช่วงนี้งานวิจัยปลาดุกร้าก็ดำเนินการไปได้ด้วยดี มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากปลาดุกร้าออกจำหน่ายบ้างแล้วค่ะ เช่น ปลาดุกร้าทอดสำเร็จรูปพร้อมบริโภค น้ำพริกปลาดุกร้า ข้าวเกรียบปลาดุกร้า ใครอยากชิมก็ติต่อมาโดยตรงได้เลยค่ะ ถ้าผ่านที่ LOTUS พัทลุงก็แวะไปอุดหนุนได้ค่ะ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ทะเลน้อยเป็นผู้ผลิต ส่วนของลุงช่วงนั้นก็นำมาแปรรุปเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภค ทางมหาลัยดูแลเรื่องการควบคุมคุณภาพและการวิจัยและพัฒนา ถึงแม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างทำงานด้วยยากแต่ก็มีความสุขค่ะเพราะทำแล้วมันได้ผลจริง ๆ ในปีหน้าจะเน้นงานเรื่องการยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก เสร็จแล้วน่าจะส่งออกได้ เป็นคนไทยก็อย่าลืมอุดหนุนสินค้าบ้านเรานะค๊ะ

สุดท้ายก็ขอบคุณทุกคนที่เป็นกำลังใจให้กันเสมอค่ะ

อ.มอลลี่

สวัสดี ครับ

ขอบพระคุณมาก ครับ กับความรู้เรื่องปลาร้า ที่ใช้ปลาดุกเป็นวัตถุดิบ

น่าสนใจมากครับ

เลี้ยงปลาดุกไว้เยอะมากค่ะแต่ยังไม่มีตลาดรับซื้อขอคำแนะนำด้วยค่ะ0840573340

กำลังลองทำปลาดุกร้าไว้ทานเอง ได้อ่านวิธีทำและสูตรการทำของลุงช่วงแล้วจะลองไปทำดู

ได้ผลอย่างไร หรือมีปัญหาใดจะนำมาบอกเล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท