เด็กอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2


ครูวิทยาศาสตร์กับการพัฒนางานเด็กอัจฉริยะ

ของฝากครูวิทย์ประถม..............ที่รัก                                                                       จาก โตมร  ศรีโมรา     

      ครูธรรมดา  มาบอกเล่า   พร้อมกล่าวอ้าง  ไม่แตกต่าง                   จากนี้   ที่เคยเห็น   ครูชั้นดี    วจีร้อย   ถ้อยประเด็น   บรรยายเด่น          เน้นนำ    คำอธิบาย     ครูชั้นยอด   สอดแทรก   แลกความคิด        ร้อยเรียงติด  เติมต่อ   ทุกจุดหมาย               ครูชั้นเยี่ยม             เตรียมกลยุทธ์  จุดประกาย  และดลใจ  ให้ใฝ่รู้  คู่ควรคน..............

         บทบาทของครูวิทยาศาสตร์ที่คิดพัฒนางานวิชาชีพ    

     ครูวิทยาศาสตร์มีความสำคัญ ท่านควรจะมีความภูมิใจที่เป็น          ผู้บุกเบิก  ร่วมกันสร้างนักวิทยาศาสตร์ไทยในอนาคต  นอกเหนือจากการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้  คู่คุณธรรม ครูจะต้องเป็นแบบอย่าง    ที่ดี  มีเมตตา  กรุณา มุทิตา อุเบกขา  ช่วยเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้  โดยจัดสร้างบรรยากาศ สื่อICT/นวัตกรรมด้านICT (ผลงาน       ทางวิชาการ)   ให้ผู้เรียนซึ่งเป็นเด็กอัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ได้   เรียนรู้วิทยาศาสตร์   เทคโนโลยี  คอมพิวเตอร์ รวมทั้ง คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ ความเป็นมาของชาติไทย  การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ให้ผู้เรียนอัจฉริยะได้ตระหนักในความสำคัญของการอยู่ร่วมกันระหว่างเพื่อน  มนุษย์และกับธรรมชาติ

  • ครูต้องใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดเวลา  ในหลายกรณี เรียนรู้พร้อมกับ      ผู้เรียน
  • ครูต้องยอมรับว่า ผู้เรียนหลายคนเก่งกว่า มีจินตนาการไกลกว่า  ครูเพียงมีประสบการณ์มากกว่าเท่านั้น
  • ครูต้องจัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                      
  • ครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออก จัดเวที/ประกวดแข่งขันทุกระดับจนถึงระดับประเทศ / นานาชาติ 
  • ครูต้องแนะนำ Website การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
  • ครูต้องมุ่งเน้นให้ "เด็กอัจฉริยะ" เก่ง  ดี  มีสุข
  • ครูต้องแนะนำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้      ครูวิทยาศาสตร์อื่นที่มีความเชี่ยวชาญ           หรือนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

ดังนั้น..........ผลงานทางวิชาการสำหรับพัฒนาเด็กอัจฉริยะด้าน     วิทยาศาสตร์  จึงควรเป็นนวัตกรรม  ประเภท สื่อ ICT  , e - Learning,  ชุดฝึกกิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ / ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ฯลฯ  ...................

        เห็นไหมค่ะ...............ไม่ยากเลยการทำผลงานทางวิชาการไม่ใช่เฉพาะสำหรับแก้ปัญหาผ้เรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้เท่านั้น.........สำหรับเด็กอัจฉริยะเป็นการพัฒนา  หรือส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้วยตนเองเต็มตามศักยภาพโดยใช้สื่อ ICT.........ก็เป็นทางเลือกหนึ่งนะคะ................

       อย่าลืมติดตาม ตอนที่ 3 จะให้เด็กอัจฉริยะบันทึกการอ่าน /บันทึกการศึกษาดูงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 149039เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2007 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

          ครูวิทย์ท่านใดทราบวิธีการพิมพ์คำกลอนที่  เว้นวรรคตอนถูกต้อง เพราะพิมพ์ถูกต้องแล้วแต่พอ "บันทึก" กลับเรียงเป็นบรรทัดธรรมดาไม่ถูกต้อง ........

          ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ (มือใหม่หัดขับ)

..ป้าเจ้า..สุดยอด..มีกลอนตวย..ศน.อ้วนพิมพ์แล้ว..ก่อเป็นจะเอี๊ยะเจ้า..ฮ่า..ฮ่า..

....ผู้เชี่ยวชาญกรุณาช่วยอาจารย์นราวัลย์...ด้วยค่ะ....

เจอเหมือนกันเลยค่ะ   ก็ลองผิดลองถูกโดยใช้วิธีแก้ไขบันทึกใหม่  จะให้ข้อความใดอยู่บรรทัดใหม่ใช้วิธีกด shift + enter แล้ว  กด space bar  ให้ข้อความอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ลองทำดูนะคะ

   ขอบคุณมากค่ะ ..........คุณแจ่มใส........หัวอกเดียวกันเลยนะคะ   จะทำอย่างที่คุณแนะนำ............ดีใจค่ะที่มีเพื่อนร่วมทางที่แสนดี...................

ได้ความรู้ดีมากเลยคะ จะนำไปใช้พัฒนาตัวเองและก็เด็กด้วย....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท