สรุป แนวคิด “วิถีแห่งโตโยต้า” หรือ The Toyota Way
หมายถึง ปรัชญาการทำงาน พฤติกรรมนิยม และวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรการปลูกฝังจนให้กลายเป็น DNA ของพนักงานทุกคน มีหัวใจสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1. ความท้าทาย
(Challenge)
2. ไคเซ็น
(Kaizen)
3. เก็นจิ
เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
4.
การยอมรับนับถือ (Respect)
5.
การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
Section I : Longterm Philosophy
หลักการข้อที่ 1
บริหารจัดการบนพื้นฐานของผลระยะยาว
แม้บางครั้งจะต้องยอมสูญเสียผลประโยชน์ทางการเงินในระยะสั้น
-
จงยึดปรัชญาเป้าหมายเพื่อการดำรงอยู่ระยะยาว
เหนือเป้าหมายระยะสั้น
จงอย่าทำเพื่อเงินเพียงอย่างเดียว
จงทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ขององค์กรและมุ่งมั่นยกระดับองค์กรขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้น
ปณิธานเชิงปรัชญาเป็นพื้นฐานของหลักการข้ออื่น ๆ
ที่เหลือทั้งหมด
-
จงสร้างคุณค่าและมูลค่า (value) ให้แก่ลูกค้า,
สังคมและเศรษฐกิจ
จงประเมินความสามารถของทุกภาคส่วนขององค์กร
ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าดังกล่าว
-
จงมีความรับผิดชอบ
จงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ตัดสินชะตาของตนเอง
จงปฏิบัติด้วยการพึ่งตนเองและเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
จงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะอยู่ตลอดเวลา
เพื่อเพิ่มพูนคุณค่าและมูลค่า
Section II : กระบวนการที่ถูกต้อง จะนำไปสู่ผลที่ถูกต้อง
หลักการข้อที่ 2
สร้างกระบวนการทำงานที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ปัญหาโผล่ออกมา
-
ออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อให้มีการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าอย่างสูง
เกิดการทำงานต่อเนื่อง (continuous flow)
พากเพียรปรับปรุง จนไม่มีจุดใดที่มีเวลาอยู่เฉย ๆ
หรือต้องรอคนมาดำเนินการ
-
ทำให้งานไหลต่อเนื่อง
ให้วัสดุและสารสนเทศเคลื่อนอย่างเร็ว,
เชื่อมกระบวนการและคนเข้าด้วยกัน
โดยมีเป้าหมายให้ปัญหาโผล่ออกมา
-
ทำให้การไหลของงาน (flow)
เห็นเด่นชัดทั่วทั้งวัฒนธรรมองค์กร
สำหรับเป็นกุญแจสำคัญของกระบวนการ CI (continuous improvement)
และของการพัฒนาคน
หลักการข้อที่ 3 ใช้ระบบ "pull"
เพื่อหลีกเลี่ยงการผลิตมากเกิน
- ใช้หลักการ
JIT (just - in - time)
ส่งผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการตรงตามเวลาที่ลูกค้าแจ้ง
ตามจำนวนที่ต้องการ
จัดหาวัสดุมาเพิ่มเติมตามที่ใช้ไป
-
ลดงานคั่งค้างในกระบวนการและวัตถุดิบในคลังให้มีน้อยที่สุด
และจัดหาเพิ่มตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ารับไป
-
ให้เชื่อทีมงานที่หน้างานมากกว่าเชื่อคอมพิวเตอร์ในการตรวจหาวัตถุดิบคงคลังที่มีมากเกินไป
หลักการข้อที่ 4 กระจายปริมาณงาน
ทำงานแบบเต่าไม่ใช่แบบกระต่าย
- การลดความสูญเสีย
(waste) เป็นเพียง 1/3 ของการดำเนินการ "ไร้ไขมัน" (lean)
อีก 2/3 ได้แก่การขจัดภาระที่มากเกินต่อบุคลากร
ต่อเครื่องจักร และขจัดกำหนดการผลิตที่ไม่ลื่นไหล
-
ดำเนินการไปสู่การเกลี่ยภาระงานในกระบวนการผลิตและบริการ
ให้งานลื่นไหล ไม่เกิดภาวะทำ ๆ หยุด ๆ
หรือทำเป็นชุด ๆ (batch) อย่างที่คุ้นเคยกันโดยทั่วไป
ไม่มีความเห็น