มหาสงครามสะท้านนรก


สงครามภายหลังพระสุริโยไทสิ้นพระชนม์นั้น เป็นมหาสงครามครั้งใหญ่และน่าหวาดหวั่นเป็นที่สุด ผมจึงขอเรียกมหาสงครามนี้ไว้อย่างน่ากลัวว่า “มหาสงครามสะท้านนรก”

 

มหาสงครามสะท้านนรก 

มหาสงครามภายหลังพระสุริโยไทสิ้นพระชนม์ 

           ท่านที่เคยชมสุดยอดภาพยนตร์ไทย เรื่อง  สุริโยไท  ของ ม.จ.ชาตรี  เฉลิม ยุคล  หลายคนอาจสงสัยว่า หลังจากพระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้างด้วยต้องง้าวของพระเจ้าแปรแล้ว สงครามดำเนินไปอย่างไร?

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             ความสงสัยนี้ผมเองก็ลืมไปเหมือนกัน แม้จะเคยเรียนประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว ในสมัยผมเรียนปริญญาตรี วิชาโทประวัติศาสตร์ ผมก็รื้อฟื้นความทรงจำไม่ได้ ผมจึงต้องกลับไปอ่านอีกครั้ง พอดีผมมีหนังสือของ ม.จ.ชาตรี เล่มหนึ่งที่ท่านได้เขียนเป็นจดหมายเหตุเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลมาสร้างภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ผมจึงหยิบมาอ่านศึกษาและพบว่า  สงครามภายหลังพระสุริโยไทสิ้นพระชนม์นั้น เป็นมหาสงครามครั้งใหญ่และน่าหวาดหวั่นเป็นที่สุด  ผมจึงขอเรียกมหาสงครามนี้ไว้อย่างน่ากลัวว่า  มหาสงครามสะท้านนรก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ย้อนรอยสงครามก่อนพระสุริโยไทสิ้นพระชนม์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            จึ่งเชิญสมเด็จพระเธียรราชาธิราชเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักพรรดิ  (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์)</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             เมื่อครั้งเสร็จสิ้นปราบกบฏแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนชินราชแล้ว บรรดาอำมาตย์ ข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระเธียรราชาขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             ปีพุทธศักราช  ๒๐๙๑  ครั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสวยราชย์ได้ ๗ เดือน   สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี  ตะเบงชะเวตี้   ได้ทรงกรีฑาทัพด้วยรี้พลถึง ๓ แสน (คำให้การชาวกรุงเก่า ว่า มีถึง ๕ แสนคน)   ช้าง ๗๐๐ เชือก   ม้า ๓,๐๐๐ ตัว  (ประวัติศาสตร์พม่ายังระบุว่ามีรี้พลถึง ๘ แสนคนและทหารองครักษ์โปรตุเกสอีก ๔๐๐ คน)  ดูตัวเลขแม้จะไม่ตรงกันแต่ก็มากมาย  ด้วยหวังขยี้ศรีอโยธยาให้แหลกเป็นผุยผง เนื่องจากเห็นเป็นโอกาสเหมาะขณะที่ศรีอโยธยาเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บ้านเมืองวุ่นวาย ไม่มั่นคง หัวเมืองต่างๆ กระด้างกระเดื่องอยู่คงไม่อาจต้านทานกองทัพมหึมาและแข็งแกร่งของหงสาวดีได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">               กองทัพหงสาวดีจำนวนมหาศาลและเกรียงไกร ยกพลมาทางเมืองเมาะตะมะ เดินทัพผ่านเมืองถึง ๗ วัน ไพร่พลจึงสิ้น  แล้วเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ มุ่งสู่อโยธยา   ข่าวศึกครั้งนี้รู้ถึงอโยธยาอย่างรวดเร็ว จึงตระเตรียมตั้งรับทัพภายในพระนคร </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>                วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๔  (พ.ศ.๒๐๙๑)  กองทัพพระเจ้าหงสาวดีก็เข้าล้อมกรุงศรีอโยธยา  โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง  ทัพพระมหาอุปราชตั้งค่ายที่ตำบลเพนียด และทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายที่ตำบลทุ่งวัดวรเชษฐ์</p><p>   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">              วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน กองทัพหงสาวดี เข้าโจมตีกรุงศรีอโยธยาเป็นครั้งแรก   ภายในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง  จะมีทหารกว่าหนึ่งหมื่นคนนอนตายทั้งสองข้างของกำแพง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไม่สำเร็จ  จึงโจมตีระลอกใหม่โดยใช้ช้าง ๕,๐๐๐ เชือก และทหารมอญและจาม ๒ หมื่นนาย แต่ไม่อาจทะลวงเข้าผ่านกำแพงเมืองไปได้ สถานการณ์เริ่มคับขัน เพราะทหารของหงสาวดีไหลเข้ามาระลอกแล้วระลอกเล่า  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงคชาธารออกบัญชาการรบเอง โดยมีพระสุริโยไท(ปลอมพระองค์เป็นชาย) พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสตามเสด็จ  การบพุ่งครั้งนั้นเป็นไปด้วยความดุเดือด ในที่สุดความสูญเสียครั้งใหญ่ก็บังเกิดแก่กรุงศรีอโยธยา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิดำรัสให้แยกพลเป็นปีกกา  พลโยธาหาญทั้งสองฝ่ายบ้างเห่โห่เป็นโกลาหล  เข้าปะทะประจันตีฟันแทงแย้งยุทธ ยิงปืนระดมศัตราธุมาการคลบไปทั้งอากาศ  พลทั้งสองฝ่ายบ้างตาย บ้างลำบากกลิ้งกลาดเกลื่อนท้องทุ่งเป็นอันมาก  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองหน้าพระเจ้าหงสาวดี  พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่  พระเจ้าแปรได้ท้ายข้าศึกดังนั้น  ก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ  พระสุริโยทัยเห็นพระราชสามีเสียทีไม่พ้นมือข้าศึก  ทรงพระกตัญญูภาพ    ก็ขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์สะอึกออกรับ  พระคชาธารพระเจ้าแปรได้ล่างแบกถนัด พระคชาธารพระสุริโยทัยแหงนหงายเสียที  พระเจ้าแปรจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวต้องพระอังสาพระสุริโยทัยขาดกระทั่งถึงราวพระถันประเทศ  พระราเมศวรกับพระมหินทราธิราชก็ขับพระคชาธารถลันจะเข้าแก้พระราชมารดาไม่ทันที  พอพระชนนีสิ้นพระชนม์กับคอช้าง  (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มหาสงครามสะท้านนรก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          เหตุการณ์หลังจากนี้  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า จึงได้อัญเชิญพระศพพระสุริโยทัยผู้เป็นอัครมเหสีมาไว้ตำบลสวนหลวง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        สงครามดำเนินต่อไปเป็นวันที่สอง กองทัพพระเจ้าหงสาวดีสามารถตีค่ายพระสุนทรสงครามและค่ายป้อมจำปาแตก แต่ก็เสียรี้พลไปเป็นจำนวนมาก  พระองค์ได้รับสั่งให้มีการตรวจพล และพบว่าพระองค์สูญเสียไพร่พลไปกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน ในระยะเวลาสี่เดือนครึ่งที่ทรงโจมตีกรุงศรีอโยธยา ส่วนใหญ่จากโรคภัยไข้เจ็บ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       การโจมตีกรุงศรีอโยธยาดำเนินมาเป็นครั้งที่ ๗ แล้ว แต่ก็ไม่อาจหักเอากรุงศรีอโยธยาได้ ซ้ำรี้พลก็ล้มตายไปเป็นอันมากเกือบครึ่งหนึ่ง เวลาที่เนิ่นนานไปเท่าใดก็ยิ่งจะเสียทีแก่กรุงศรีอโยธยามากขึ้นเท่านั้น เพราะทหารอโยธยากล้าแกร่งและมีฝีมือในการรบพุ่งมาก กำแพงป้อมปราการก็หนาแน่นแข็งแรง  ในที่สุด พระเจ้าหงสาวดีจึงคิดโจมตีขั้นแตกหัก เป็นครั้งที่แปด โดยครั้งนี้จะโจมตีในเวลากลางคืน  ทรงสั่งให้ตระเตรียมการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นให้พรั่งพร้อม   ภายใน ๑๗ วัน หอคอยขนาดใหญ่และแข็งแรงบนล้อเหล็กเลื่อนเพื่อการรบ ๒๕ หอคอยก็พร้อม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        คืนวันศุกร์ที่มืดครึ้ม  ฝนตกหนัก และทึบทึม  เวลาเที่ยงคืน กษัตริย์พม่าได้สั่งให้ปืนใหญ่ทั้งหมดที่มีอยู่ในค่าย  ๑๖๐ กระบอก ปืนคาบศิลากว่า ๑,๕๐๐ กระบอก  รวมปืนทุกชนิดกว่า ๑ แสนกระบอก ยิงพร้อมกัน ๓ ครั้ง…ทำให้แผ่นดินสะท้านสะเทือนเลื่อนลั่นน่ากลัวหนักหนา ซึ่ง…สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า  จะมีแต่ในนรกเท่านั้นที่จะมีอะไรเสมอเหมือนได้…ปืนเหล่านี้ยิงต่อเนื่องกันเป็นเวลามากกว่าสามชั่วโมงในคืนเดือนมืดที่พายุฝนพัดกระหน่ำ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยสายอสุนีบาต แลบสว่างไสว ฟ้าผ่ากึกก้อง…. .ในเวลาสุดยอดของพายุมหากาฬที่ดุเดือดอย่างไม่มีที่เปรียบครั้งนี้  พวกทหารพม่าจุดไฟเผาหอคอยทั้งยี่สิบห้าหอ  แล้วลากมันเข้ามาประชิดติดกำแพง พลังของไฟที่กระพือโหมด้วยลมพายุที่ครวญครางอยู่ในขณะนั้น ทำให้ถังน้ำมันดินเป็นจำนวนมากที่อยู่ในบริเวณนั้นติดไฟลุกโชติช่วงเป็นเพลิงนรก  และนั่นเป็นคำเดียวที่เหมาะสม เพราะว่าไม่มีอะไรอีกแล้วในโลกนี้ที่จะนำมาเปรียบเทียบได้ แม้กระทั่งผู้ที่อยู่นอกกำแพง ยังสั่นสะท้านไปด้วยความกลัว นับประสาอะไรผู้ที่ถูกบังคับให้ผจญกับพลังอันมหาศาลนี้  และหลังจากนั้น การต่อสู้อย่างดุเดือดเลือดพล่านก็เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ๔ ชั่วโมงแล้วหลังจากโจมตี เพลิงเผาผลาญหอคอย ๒๕ หอจนกลายเป็นถ่านแดงส่งรัศมีความร้อนแรงไปไกล แม้จนทหารพม่าก็ทนร้อนไม่ไหว ในที่สุดพระเจ้าหงสาวดีก็ตรัสสั่งให้ถอย  แล้ววางแผนโจมตีอีกระลอกหนึ่งด้วยการสร้างพูนดินเสริมด้วยไม้ให้สูงกว่ากำแพงเมืองอโยธยา แล้วตั้งปืนใหญ่เล็งเข้าไปในพระนคร เรียงรายเป็นแนวยาวถึง ๖๐ กระบอก จากนั้นก็ให้ระดมยิงปืนใหญ่ถล่มพร้อมกัน  แต่ยังไม่ทันโจมตี  ก็มีข่าวจากหงสาวดีแจ้งเข้ามาว่า  สมิงธอรามก่อกบฏในหงสาวดีฆ่าทหารพม่าล้มตาย ๑๕,๐๐๐ คน พระเจ้าหงสาวดีตระหนกพระทัย จึงยุติการโจมตีและเร่งถอนทัพกลับโดยเร็ว  พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชได้จัดกองทัพพล ๑ หมื่นติดตามตีทัพพม่าแต่กลับถูกกลศึกถูกจับได้ พระเจ้าจักรพรรดิมีหนังสือขอให้พระเจ้าหงสาวดีปล่อยพระโอรส  พระเจ้าหงสาวดียื่นข้อเสนอให้นำช้างศึกพลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปไปแลก พระเจ้าจักรพรรดิทรงยินยอม แต่ภายหลังพระเจ้าหงสาวดีก็ถวายช้างศึกทั้งสองเชือกคืน เพราะช้างศึกทั้งสองเชือกอาละวาดไม่อาจควบคุมได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         สงครามครั้งนี้ยุติลงแล้ว ไม่มีใครเป็นฝ่ายชนะ มีแต่ความพ่ายแพ้และสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ มหาสงครามสะท้านนรกในคืนนั้น ยังเป็นที่กล่าวขวัญ บันทึกถึงความน่ากลัวสืบต่อมา  สงครามที่แม้นรกก็ยังครั่นคร้าม ภาพของทหารสองฝ่ายล้มตายกลาดเกลื่อน ภาพพระเพลิงที่ลุกโชติช่วง แม้เราซึ่งเป็นคนในปัจจุบัน ไม่อาจจะมองเห็นภาพที่น่ากลัวนั้นได้ แต่จากบันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น  ก็พอจะทำให้เราจินตนาการได้ถึงความน่ากลัวของสงครามขั้นแตกหักในครั้งนี้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>          อาศัยภาพจินตนาการ ขอบันทึกภาพ มหาสงครามสะท้านนรก นี้ไว้ว่า         </p><p></p><p>ระดมสาดศรศัตราวุธ            อึงอุดโห่ก้องโกลาหล  </p><p>ท่ามกลางพายุที่อึงอล          อสุนีก้องจนถึงโลกันต์ </p><p>เพลิงผลาญราญรอนไอระอุ    ฟืนปะทุโหมเปลวร้อนมหันต์ </p><p>พระนครร้อนแรงยิ่งตะวัน       แผ่นดินสั่นลั่นเลื่อนสะเทือนไกล </p><p>ทวยหาญมอญพม่าดารดาษ   หมายพิฆาตแตกหักจักให้ได้ </p><p>อโยธยากล้าแกร่งป้องกันภัย  ยืนหยัดด้วยใจคนกล้าจริง </p><p>กำแพงแกร่งสูงใหญ่เยี่ยงหินผา  มอญพม่าโหมรุกไม่หยุดนิ่ง </p><p>สี่ชั่วโมงปืนหนักระดมยิง       ชีวิตทิ้งเกลื่อนไปในกำแพง </p><p>กัมปนาทก้องกึกฟ้าพิโรธ      สงครามโหดดั่งนรกมากลั่นแกล้ง </p><p>กี่หมื่นพันศพดาษเลือดสาดแดง     หัวใจแกร่งเท่านั้นจะหยัดยืน   </p><p></p><p>     </p>

หมายเลขบันทึก: 148640เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวครับ  ผมเป็นคนที่ชอบศีกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อย่างมาก 

 

ขออนุญาติจัดเก็บครับ  แล้วจะแวะเวียนมาเสมอ

การบรรยายเหตุการณ์ด้วยบทกลอน มองเห็นภาพเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดีและสะเทือนอารมณ์กว่าบรรยายแบบธรรมดา

ขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านโดยไม่ต้องออกแรง ขอบคุณมากๆๆครับ

สวัสดีครับP

            ขอบคุณครับ  ยินดีครับ ผมจะพยายามเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้มากขึ้น

สวัสดีครับP

          ขอบคุณครับ ผมเขียนเรื่องใหม่ให้อ่านแล้วนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท