สัตว์หน้าดินในแม่น้ำมูล


การสำรวจชนิดและจำนวนสัตว์หน้าดิน
สัตว์หน้าดินในแม่น้ำมูลและลำน้ำสาขาเขื่อนปากมูล
สัตว์หน้าดินในแม่น้ำมูลและลำน้ำสาขาในช่วงการเปิดประตูเขื่อนปากมูล
กาญจนา  พยุหะ  ประณีต  งามเสน่ห์  ชัยวุฒิ  กรุดพันธ์  ธนาทิพย์  แหลมคม  ทวนทอง  จุฑาเกตุ
บทคัดย่อ
            การสำรวจชนิดและจำนวนสัตว์หน้าดินในแม่น้ำมูลและลำน้ำสาขาที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูลโดยใช้ Ekman Grab ขนาด 15x15 ซ.ม. ในช่วงการเปิดประตูเขื่อนปากมูล โดยสำรวจตั้งแต่บริเวณแก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี  จนถึงจุดที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี โดยแบ่งเขตการศึกษาเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตเหนือเขื่อน ตั้งแต่บ้านสะพือใต้จนถึงบ้านคันเปือย เขตใต้เขื่อนตั้งแต่บ้านหัวเห่วจนถึงแม่น้ำโขง และ 7 ลำน้ำสาขาที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูล เขตการศึกษาประกอบด้วย 25 จุดสำรวจ โดยเก็บข้อมูลทุกเดือนระหว่างเดือนสิงหาคม 2544 ถึงเดือนมิถุนายน 2545 จากการศึกษาพบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 4 ไฟลั่ม (Phylum) ได้แก่ Arthropoda 75.38% Annelida 14.27% Mollusca 10.25% และ Nematoda 0.13% ประกอบด้วย 47 ครอบครัว (Family) และ 87 สกุล (Genus) ครอบครัวที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ได้แก่ Chironomidae (66.5% ) ซึ่งเป็นสัตว์หน้าดินประเภทริ้นน้ำจืดหรือหนอนแดง อันดับที่ 2 ได้แก่ Family Amblemidae (6.1%) ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทหอยสองฝา อันดับที่ 3 Family Tubificidae (4.6%) ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทไส้เดือน ช่วงเวลาที่พบจำนวนสัตว์หน้าดินมากที่สุด คือ ในเดือนพฤษภาคม (62 ตัวต่อตารางเมตร) รองลงมาได้แก่ เดือนเมษายน (44 ตัวต่อตารางเมตร) และอันดับ 3 ได้แก่เดือนมกราคม (29 ตัวต่อตารางเมตร) เดือนที่พบมากเป็นอันดับ 4 ได้แก่เดือนธันวาคม (27 ตัวต่อตารางเมตร) และอันดับ 5 ได้แก่เดือนมีนาคม (20 ตัวต่อตารางเมตร) ตามลำดับ เดือนที่พบปริมาณสัตว์หน้าดินน้อยที่สุด ได้แก่ ตุลาคม (9 ตัวต่อตารางเมตร) จำนวนสัตว์หน้าดินเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาที่ศึกษาเท่ากับ 23 ตัวต่อตารางเมตร ค่าดัชนีความหลากหลาย (Diversity Index) ของสัตว์หน้าดินที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.15 เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำมูลเมื่อ 20 ปีที่แล้วพบว่า มีความแตกต่างกันมาก ซึ่งในการศึกษาครั้งนั้นพบจำนวนสัตว์หน้าดินเฉลี่ย 120 ตัวต่อตารางเมตร ขณะที่การศึกษาในช่วง พ.ศ. 2542-2543 (เป็นการศึกษาในระหว่างที่ไม่ได้เปิดประตูเขื่อนทั้ง 8 บาน) พบจำนวนสัตว์หน้าดินเฉลี่ย 51 ตัวต่อตารางเมตร จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติในกลุ่มสัตว์หน้าดินในแม่น้ำมูลลดลงอย่างมาก
คำสำคัญ : สัตว์หน้าดิน แม่น้ำมูล เขื่อนปากมูล
วารสารการประมง
ปีที่ 58 ฉบับที่ 4  เดือน กรกฎาคม-สิงหาคม  หน้า 337
แหล่งที่มา:
http://www.nicaonline.com/articles10/site/view_article.asp?idarticle=1445
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14814เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท