สมองคนเป็นไมเกรน(ปวดหัวข้างเดียว) ต่างจากคนทั่วไปอย่างไร


ไมเกรนทำให้เกิดการปวดหัว ซึ่งมักจะเป็นการปวดหัวข้างเดียว บ่อยครั้งจะปวดตุบๆ ตามจังหวะชีพจร บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องไมเกรน (migraine) หรือโรคปวดหัวข้างเดียวมาแล้วไม่มากก็น้อย

ไมเกรนทำให้เกิดการปวดหัว ซึ่งมักจะเป็นการปวดหัวข้างเดียว บ่อยครั้งจะปวดตุบๆ ตามจังหวะชีพจร บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

...

คนที่เป็นไมเกรนมักจะปวดมากขึ้นเวลาเห็นแสง โดยเฉพาะแสงจ้า แสงกระพริบ หรือได้ยินเสียงดัง เวลาตรวจก็ไม่พบความผิดปกติอะไร ทำให้ดูเหมือนแกล้ง หรือมารยา

ข่าวดีสำหรับผู้ชายคือ ผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 3 เท่า นอกจากนั้นยังพบร่วมกับประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้บ่อย

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์เนาชีน ฮัดจิคานิ และคณะ แห่งโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจเนอรัล สหรัฐฯ ทำการศึกษาสมองกลุ่มตัวอย่าง 24 คนที่เป็นไมเกรนบ่อย ประมาณ 4 ครั้งต่อเดือน มานาน 20 ปี เทียบกับสมองคนที่ไม่เป็นไมเกรน 12 คน

ผลการศึกษาพบว่า สมองส่วนนอกที่รับความรู้สึก (somatosensory cortex) เช่น ปวด สัมผัส ร้อนเย็น ฯลฯ หนาขึ้น 21% โดยเฉพาะส่วนที่รับความรู้สึกจากส่วนหัวและใบหน้า

...

อาจารย์ฮัดจิคานิกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้สมองคนเป็นไมเกรนหนาขึ้นนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

สาเหตุที่อาจเป็นไปได้คือ พันธุกรรมหรือยีนส์ที่สัมพันธ์กับโรค หรือเป็นผลจากการขยายหรือหดตัวของเส้นเลือดผิดปกติ

...

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สมองของคนที่เป็นโรคหลายอย่างจะบางกว่าปกติ เช่น สมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เด็กออทิสติก (autism) มัลทิเพิล สเคลอโรซิส (multiple sclerosis) ฯลฯ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน และอาจนำไปสู่วิธีการรักษาไมเกรนแบบใหม่ๆ ได้

...

วิธีลดความเสี่ยงปวดหัวไมเกรนที่สำคัญได้แก่

  1. นอนให้พอ และควรนอนให้ตรงเวลา
  2. ออกกำลัง-ออกแรงเป็นประจำ เพื่อลดความเครียด แต่ไม่ควรออกกำลังหักโหมในทันที เนื่องจากอาจกระตุ้นให้ปวดหัวได้
  3. หลีกเลี่ยงแสงจ้า แสงกระพริบ หรือเสียงดัง
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุณหภูมิร้อนจัด หนาวจัด หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมากๆ ในเวลาอันสั้น
  5. ควรสังเกตว่า มีอาหารอะไรที่กระตุ้นให้ปวดหัว (trigger) ซึ่งแต่ละคนจะมีสิ่งกระตุ้นไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีอาการปวดเพิ่มขึ้นหลังกินอาหารบางอย่างมากๆ เช่น กล้วย เนยแข็ง โกโก้ ชอกโกแลต ฯลฯ (กินคราวละน้อยๆ ได้)
  6. ใช้ยาถ้าจำเป็น (ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยใกล้บ้าน)

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                        

  • Thank Reuters > Will Dunham > Brain differences detected in migraine sufferers > [ Click ] > November 19, 2007. / J Neurology.
  • Thank Mayoclinic > Headache > Migraine > [ Click ] > September 20, 2007.
  • Thank BBC > Migrain brains 'are different' > [ Click ] > November 20, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 20 พฤศจิกายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 147803เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท