สนุกกับภาษาไทย – ภาษาอัชฌาไศรย ๒๓. ชายคาภาษาไทย (๒)


กดหมาย / กฎหมาย


         อักขราภิธานศรับท์ ของบรัดเลให้ความหมายของคำว่า กดหมาย ว่า “คือ บัญญัติที่พระมหากระษัตรแต่ก่อนตั้งไว้, หฤาเปนข้อบัญัติที่สมเดจ์บรมกระษัตรตั้งขึ้นใหม่ว่ากฎหมาย” ผู้เขียนมีความเห็นว่า กดหมาย / กฎหมาย อาจมีที่มาทางนิรุกติประวัติได้สองทาง

1. คำว่า กฎหมาย ประกอบด้วยคำสองคำ คำว่า “กฎ” เป็นคำเขมรโบราณ มีความหมายตรงกับคำไทยเดิมว่า “หมาย” แปลว่า เขียน จดลงไว้ ใช้เป็นคำกริยาเป้นส่วนใหญ่ ลักษณะการใช้คำซ้อนที่ซ้ำความหมายเป็นเรื่องปกติในสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมแห่งการประสมประสานทางวัฒนธรรม ดังตัวอย่างจริงจากความใน “พระราชกำหนดใหม่” ในประมวลกฎหมายตราสามดวง

         “39  กฎให้ไว้แก่พระสุรัศวดีซ้ายขวาในนอก ให้กดหมายบอกแก่เจ้าพระยา พระยาและพระยาพระหลวงเจ้าราชนิกูล ขุนหมื่นพันทนายฝ่ายทหารพลเรือนมหาดเล็กขอเฝ้าข้าเจ้าต่างกรม”

2. คำว่า กด ใน กดหมาย / กฎหมาย อาจหมายถึง กดประทับ ส่วนคำว่า หมาย นั้นแปลว่า หนังสือ อย่างเช่น การที่สั่งให้มีหมายไปยังกรมการเมือง หรือ สำนวนว่า ตัดหมาย หรือ บาดหมาย คือ ออกหนังสือคำสั่ง กดหมาย จึงอาจหมายถึง หมายหรือหนังสือที่ประทับตราสำคัญของแผ่นดิน และพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นที่ให้กดหมายได้ เพราะฉะนั้น จึงมีสถานภาพการเป็นกฎหมายบ้านเมือง

จากหนังสือ “ภาษาอัชฌาไศรย”  โดยวินัย พงศ์ศรีเพียร
 

หมายเลขบันทึก: 147534เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท