บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ฟ้อนภูไทสามเผ่า


ฟ้อนผู้ไท ๓ เผ่าจะเริ่มจากฟ้อนผู้ไทกาฬสินธุ์ ผู้ไทสกลนครและผู้ไทเรณูนคร ในการฟ้อนผู้ไท ๓ เผ่านี้จะเพิ่มผู้ชายฟ้อนประกอบทั้ง ๓ เผ่า มีการโชว์ลีลาของรำมวยโบราณต่อสู้ระหว่างเผ่าและ หรือการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง

 ฟ้อนภูไทสามเผ่า         

                 วันนี้การแสดงของเรายังอยู่บริเวณเทือกเขาภูพาน แถบจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด จึงได้ทำการคิดประดิษฐ์ขึ้นโดย เพื่อสะท้อนภาพชีวิตวัฒนธรรมของชาวภูไทยทั้ง เผ่า ที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาภูพาน โดยนำการฟ้อนทั้ง ๓ เผ่าเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยเริ่มเผ่าแรกคือ ภูไทสกลนคร เผ่าที่สองคือ ภูไทกาฬสินธุ์ เผ่าที่สามคือ ภูไทนครพนม

ฟ้อนภูไทสกลนคร เป็นฟ้อนภูไทที่มีลีลาแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากฟ้อนภูไทจังหวัดสกลนครจะสวมเล็บ คล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดง ใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ท่าฟ้อนที่ชาวผู้ไทสกลนครประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีเนื้อเพลงสลับกับทำนอง การฟ้อนจึงใช้ตีบทตามคำร้องและฟ้อนรับช่วงทำนองเพลง ท่าฟ้อนมีดังนี้ ท่าดอกบัวตูม ท่าดอกบัวบาน ท่าแซงแซวลงหาด ท่าบังแสง ท่านางไอ่เลาะดอน หรือนางไอ่เลียบหาด ท่านาคีม้วนหาง ดนตรีใช้กลองกิ่ง แคน กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บ


        เครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนภูไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน  

 

           ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ มีลักษณะการแต่งกายแตกต่างจากฟ้อนภูไทในถิ่นอื่น จะสวมเสื้อสีดำขลิบด้วยผ้าขิด ห่มผ้าแพรวา นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีเชิง ลีลาการฟ้อนได้รับการผสมผสานจากท่าฟ้อนภูไท และเซิ้งบั้งไฟ ท่าฟ้อนจะเริ่มจากท่าฟ้อนไหว้ครู ท่าเดิน ท่าช่อม่วง ท่ามโนราห์ ท่าดอกบัวบาน ท่ามยุรี ท่ามาลัยแก้ว โดยใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ ฟ้อนผู้ไทของกาฬสินธุ์จะมีการขับลำประกอบเรียกว่า "ลำภูไท"


          ฟ้อนภูไทนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ การฟ้อนภูไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม นายสง่า จันทรสาขาผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้นได้จัดให้มีการฟ้อนภูไทถวาย โดยมีนายคำนึง อินทร์ติยะ หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอเรณูนครได้ปรับปรุงท่าฟ้อนภูไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร  ได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา ท่าฟ้อนผู้ไทได้แก่ ท่าเตรียม ท่านกกระบาบิน ท่าลำเพลิน ท่ากาเต้นก้อน ท่ารำม้วน ท่าฉาย ท่ารำส่าย ท่ารำบูชา ท่าก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกเหล่า ท่าจระเข้ฟาดหาง ซึ่งการฟ้อนจัดเป็นคู่ๆ ใช้ชายจริงหญิงแท้ตั้งแต่ 10 คู่ขึ้นไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกิ่ง กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ


        สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมขลิบผ้าแดงนุ่งกางเกงขาก๊วยมีผ้าคาดเอวและโพกศีรษะ

   

ฟ้อนภูไท ๓ เผ่าเป็นการประยุกต์การฟ้อนผู้ไทของทั้ง ๓ ถิ่น ให้เห็นถึงลีลาการฟ้อนที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละถิ่น ซึ่งการฟ้อนภูไท ๓เผ่าจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะร่วมกันของชาวภูไททั้ง ๓ เผ่า 


      ฟ้อนภูไท ๓ เผ่าจะเริ่มจากฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ภูไทสกลนครและภูไทเรณูนคร ในการฟ้อนภูไท ๓ เผ่านี้จะเพิ่มผู้ชายฟ้อนประกอบทั้ง เผ่า มีการโชว์ลีลาของรำมวยโบราณต่อสู้ระหว่างเผ่าและ หรือการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง 

 

หมายเลขบันทึก: 146965เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีครับ


เคยไปชมการแสดงฟ้อนภูไทหลายชุด ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ไม่ผิดหวังเลยครับ สนุกสนาน สาวผู้ไทสวยจนหลายคนหลงใหล

ผมนำภาพฟ้อนกิงกาหล่า และมโนราห์ ภาพวาดฝีมืออ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต ในหน้าแสดงความเห็นตามบันทึกที่เกี่ยวข้องนะครับ อาจารย์ลองเข้าไปชมนะครับ

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แฟนขลับไปดงหลวงกันหมด
  • ครูหญ้าบัวก็ป่วยหรือเปล่าคะ
  • สาวภูไท  ผิวขาว  สวยค่ะ
  • ขอบคุณคุณครูเสกมากค่ะ

 สวัสดีค่ะ อ.บัวชูฝัก

ช่างฟ้อนสาวภูไท ดูบอบบาง

ดูท่าทาง จะมีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่าเกณฑ์ อิๆๆ

รอบเอว ก็ต้องอยู่ในช่วง ต้องเพิ่มน้ำหนัก...555

แต่ความงามของใบหน้า เเละท่วงท่าการรำ อยู่ในระดับดี เกินมาตรฐาน

...ขอบคุณ ครูเสกที่มีเรื่องเล่า การร่ายรำ ให้ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อ.บัวชูฝัก
  • นี่ถ้า อ.บัวชูฝัก
  • ไม่ได้สรรหามาให้ชม
  • ไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะ
  • ว่าบ้านเรา มีศิลปอะไรมากขนาดนี้
  • ขอบคุณค่ะ
  • มาทักทายน้องครูเศก
  • ดีจังเลย
  • สังเกตว่าทางภูไทหุ่นดีจริงๆๆด้วย
  • แสดงว่าฟ้อนบ่อย
  • ได้ออกกำลังกาย
  • ฮ่าๆๆๆ

สวัสดีครับอาจารย์

เคยชมแต่ฟ้อนภูไท เข้าใจว่าเป็นฟ้อนภูไทเรณูนคร ยังชอบความสวนงามและแฝงความสนุกอันเป็นสัญญลักษณ์ของการร่ายรำภาคอีสานครับ

  • สวัสดีครับคุณธวัชชัยP
  • ฟ้อนภูไท ทุกชุดมีเสน่ห์มากครับ
  • โดยเฉพาะของอ.เรณูนคร
  • ขอบคุณที่ส่งภาพมาฝากครับ ตามไปดูแล้วสวยมากครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณครูรักษ์P
  • เงียบเหงาเหมือนกันครับ
  • แอบอิจฉาคนที่ไปดงหลวงครับ อิอิ
  • ครูหญ้าบัวดีขึ้นแล้ว น่าจะเป็นปกติในเร็ววันนี้แหละครับ
  • ครูรักษ์กับป้าแดงเป็นสาวภูไทด้วยหรือเปล่าครับ
  • ขอบคุณครูรักษ์ครับ
  • สวัสดีครับ little cat P
  • ช่างฟ้อนภูไทน้ำหนักน่าจะตำกว่าเกณฑ์มาตรฐานครับ
  • ช่วงที่ผมเรียนเพื่อนๆผู้หญิงหลายคนก็น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ครับ
  • แต่ตอนนี้แต่ละคนเกือบจะเกินเกณฑ์กันหมดแล้วอิอิ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณหมอกุ้งP
  • การแสดงยังมีอีกมากครับ
  • จะค่อยๆนำเสนอไปเรื่อยๆครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับท่านพี่อ.ขจิตP
  • การฟ้อนรำเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งครับ
  • ช่วงที่น้องเรียนซ้อมรำทุกวัน น้ำหนัก 56
  • ตอนนี้จบมาหลายปีแล้วไม่ค่อยได้ซ้อม เลย 65 ครับ อิอิ
  • ขอบคุณท่านพี่ครับ
  • สวัสดีครับท่านบัณฑูรP
  • ส่วนมากฟ้อนภูไทเรณูนคร จะได้รับการถ่ายทอดทางโทรทัศน์บ่อยๆครับ
  • และมักจะได้แสดงในงานสำคัญๆด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

ฟ้อนภูไทสามเผ่า...  เป็นชุดที่นิยมแสดงมากในแถบอีสาน  แม้กระทั่งวงแคน (ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง)  ก็มักนิยมมาแสดงอยู่อย่างบ่อยครั้ง   และการแสดงในแต่ละครั้งก็ต้องอธิบายให้ผู้ชมได้รับรู้  เพื่อจะได้ความร้ติดตัวไปด้วย

  • สวัสดีครับอ.แผ่นดินP
  • ฟ้อนภูไทสามเผ่า กำลังเป็นที่นิยมในภาคอีสานหรือครับ ดีจังเลยครับ
  • ฟ้อนภูไทสามเผ่า สามารถแสดงถึงความเป็นชาวภูไทและชาวอีสานได้เด่นชัดครับ
  • ครับ การจะนำเสนอการแสดงชุดใด ก็จะต้องมีการบอกถึงที่มาของการแสดงชุดนั้นๆก่อนผู้ชมจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ
  • ขอบคุณอ.แผ่นดินครับ

สวัสดีคะ อ.บัวชูฝัก หนูอยากรู้จักวิธีทำเล็บในการรำภูไท คะ บอกหน่อยนะคะ

ฟ้อนภูไ 3 เผ่า

คำว่า “ภูไท” ในภาษาภูไทและภาษาอีสาน หมายถึง กลุ่มชนผู้ที่อาศัยตามแนวภูเขา

แต่ภาคกลางมักเขียนว่า “ผู้ไทย” ซึ่งหมายถึง กลุ่มชนเชื้อชาติไทย

ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวภูไทอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย หรือแคว้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวภูไทซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการช่วยปราบกบฏในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบ กษัตริย์เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทานพระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราช หัวหน้าชาวภูไท และเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คน แยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวภูไท คือ เมืองสบแอก เมืองเชียงค้อ พร้อมกับอพยพชาวภูไทลงไปทางใต้ของราชอาณาจักรเวียงจันทน์ เป็นเมืองวัง เมืองตะโปน(เซโปน) อันเป็นถิ่นกำเนิดของชาวภูไท (เรียบเรียงจากลายพระหัตถ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารี ในหนังสือชื่อพระราชธรรมเนียมลาว ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479) พระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาดวงคำ (เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์)

ต่อมาชาวภูไทได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสวรรณเขต ของประเทศลาว

ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบราบคาบแล้วทางพระนคร มีนโยบายจะอพยพชาวภูไท ข่า กะโซ่ กะเลิง ไทดำ ไทพวนฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีก

ปัจจุบันชาวภูไทได้กระจัดกระจายอาศัยในจังหวัดต่างๆในภาคอีสานส่วนมากในจังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม และบางส่วนในจังหวัด ร้อยเอ็ด อุดรธานี ยโสธร อำนาจเจริญ หนองคาย และอุบลราชธานี

การฟ้อนภูไท 3เผ่า เป็นการนำเอามรดกทางวัฒนธรรมของชาวภูไทที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพานซึ่งได้ยกมา 3จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม มาเปรียบเทียบในเชิงของการจัดการแสดงทางด้านนาฏกรรม อันเนื่องมาจากชาวภูไททั้งสามกลุ่มนี้มีรูปแบบและ เอกลักษณ์ของตนเองที่แตกต่างกัน

ในปี พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน จึงได้จัดส่งคณาจารย์พร้อมนักเรียนจากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม(ต่อมามีพื้นที่แยกตัวเป็นจังหวัดออกจากนครพนมคือ มุกดาหาร) โดยรวบรวมเอาท่าฟ้อน กลอนลำ ดนตรีและการแต่งกาย จนเป็นผลงาน “ฟ้อนภูไท 3 เผ่า” ขึ้นมาครั้งแรก

ฟ้อนภูไท 3 เผ่า จะเริ่มจากการฟ้อนของชาวภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ ภูไทจังหวัดสกลนคร และภูไทจังหวัดนครพนม ในการฟ้อนภูไททั้ง 3 เผ่านี้ จะมีผู้ชายเข้ามาฟ้อนประกอบทั้งสามเผ่า มีการแสดงการฟ้อนมวยโบราณต่อสู้แสดงเชิงมวยกันระหว่างเผ่า และตลอดจนการฟ้อนเกี้ยวพาราสีของชายหญิงอีกด้วย

หลังจากนั้นไม่นานวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ก็ได้ประดิษฐ์ ฟ้อนภูไท 3เผ่า ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ จะเริ่มการฟ้อนด้วยเผ่าสกลนครก่อน ตามมาด้วยภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ และภูไทจังหวัดนครพนม ซึ่งจะฟ้อนเฉพาะผู้หญิงล้วน

สำหรับ “ฟ้อนภูไท 3 เผ่า” ของ ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง (วงแคน) จะใช้วิธีการนำเสนอคล้ายกับฟ้อนภูไท 3 เผ่า ของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด เพียงแต่มีท่าฟ้อนที่แตกต่างกันเล็กน้อย

การแต่งกาย

เผ่ากาฬสินธุ์

หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำแนวปกคอเสื้อและแนวกระดุมตกแต่งด้วยผ้าแถบลายแพรวาสีแดง กุ๊นขอบลายผ้าด้วยผ้ากุ๊นสีเหลืองและขาว ประดับด้วยกระดุมเงิน ห่มผ้าสไบไหมแพรวาสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สีดำมีตีนซิ่น ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแพรมน หรือผ้าแพรฟอย และสวมเครื่องประดับเงิน

ชาย สวมเสื้อสีดำมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดเอว

เผ่าสกลนคร

หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำแต่งขอบเสื้อด้วยผ้าแดง มีแนวกระดุมเงินเรียงยาวตามแนวเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นพื้นสีดำต่อตีนซิ่นขิดยาวกรอมเท้า ห่มผ้าสไบขิดทางไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา สวมส่วยมือยาว(เล็บ)ทำมาจากกระดาษหรือโลหะพันด้วยด้ายและมีพู่ที่ปลายเล็บสีขาวหรือแดง ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแดง และสวมเครื่องประดับเงิน

ชาย สวมเสื้อสีดำมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าแดง นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขิดแดงมัดเอว

เผ่านครพนม (อ.เรณูนคร)

หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีครามแต่งของเสื้อด้วยผ้าแดง ที่กระดุมเงินมีสายคล้องเป็นคู่ๆ พันเอวด้วยผ้าแดง นุ่งซิ่นสีครามยาวกรอมเท้า ไหล่ซ้ายพาดสไบสีขาว ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายภูไทสีขาว และสวมเครื่องประดับเงิน

ชาย สวมเสื้อสีครามมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าแดง นุ่งกางเกงขาก๊วยสีคราม ใช้ผ้าแพรขาวม้ามัดเอว

-------------------------------------------------------

กลอนลำ ภูไท 3เผ่า ของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

เผ่ากาฬสินธุ์ (บรรเลงลายภูไทใหญ่)

โอ่เด้......โอ...นา

โอ่เด้ อ้ายบ่าวภูไทเอย น้องนี่แหล่ว น้องนี่แนวนามเซอ ดอกสะเดอบานเข อ้ายบ่าวภูไทเอ้ย

โอ่เด้ อ้ายมิเหลียวตาต้อง มองดายกะแล้วเปล่า บานมิมีผู้เก็บ บานมิมีผู้ฮ้อย สิคาต้นหล่นเหลิง น้อยเลินเหล่อกะตาเป๋อแม่เจ้าแพง นอ........

โอ่เด้ อ้ายบ่าวภูไทเอย น้องนี่แหล่ว น้องนี่มาคอยอ้ายคือนกเจ่าคอยหาปลา อ้ายบ่าวภูไทเอย น้องนี้แหล่ว น้องนี่มาคอยอ้ายคือนกทาคอยหาโคก

โอ๋เด๋ เพิ่นว่าโคกมิกว้าง คอยหาอ้ายกะมิเห็น เย็นทางเมอ ...นอ........

เผ่าสกลนคร (บรรเลงลายภูไทเลาะตูบ) ในท่อนนี้ไม่มีเนื้อร้อง ซึ่งจะบรรเลงลายเพียงอย่างเดียว

เผ่านครพนม (บรรเลงลายลมพัดพร้าว)

โอ หนอ บ่าวภูไทเอย... บัดนี้ หันมาเว้า ลายภูไทกันสาก่อน สิลำติดกาพย์สร้อย ผญาน้อยตื่มใส่กัน อ้ายเอย.........

ชายเอย เพิ่นว่าสิบปีล่ำ เพิ่นว่าซาวปีล่ำ จั่งเห็นโองมายามมั่ง เพิ่นว่าข้าวขึ้นเล้า จั่งเห็นเจ้าแม่นเทือเดียว อ้ายเอย.........

โอ หนอ บ่าวภูไทเอย... ชายเอย ไปบ่เมือนำน้อง แดนภูไทบ้านน้องอยู่ คันสิเมือนำน้อง ค่ารถมิให้เสียเด้ละอ้าย คันสิเมือนำน้อง ค่าเฮือมิให้จ้าง นางสิไปดอกเอาซ้างเมืองสุรินทร์มาให้ขี่ ไปบ่เล่าอ้าย ม่วนอีหลีตั้วเล่าอ้าย ไปเล่นถิ่นภูไท อ้ายเอย..............

โอ หนอ บ่าวภูไทเอย... ชายเอย ไผว่าเมืองภูไทฮ้าง อยากอันเชิญท่านไปเบิ่ง ฮ้างจั่งใด๋ ป่าไผ่ยังส่วยล่วย ป่ากล้วยยังส่ายหล่าย มันสิฮ้างบ่อนจั่งใด๋ อ้ายเอย อ้ายเอย.............

-------------------------------------------------------

กลอนลำ ภูไท 3เผ่า ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

เผ่าสกลนคร (บรรเลงลายภูไทเลาะตูบ)

ไปเย้อไป ไปโห่เอาชัยเอาซอง(ซ้ำ) ไปโฮมพี่โฮมน้อง ไปร่วมแซ่ฮ้องอวยชัย

เชิงเขาแสนจน หนทางก็ลำบาก(ซ้ำ) ตัวข้อยสู้ทนยาก มาฟ้อนรำให้ท่านชม

เผ่ากาฬสินธุ์ (บรรเลงลายภูไทน้อย)

โอ้ยนอ....ละบ่าวภูไทเอย

ชายเอ๋ย อ้ายได้ยินบ่เสียงน้อง คองน้ำตาเอิ้นมาใส่ สาวภูไทไห้สะอื้น มายืนเอิ้นใส่พี่ชาย อ้ายเอย อ้ายเอย............

ชายเอย เห็นว่าสาวภูไทน้อง อยู่บ้านป่านาดอน หากินหนูกินแลน หมู่กระแตดอกเห็นอ้ม

ซางมาตั๋วให้นางล้ม โคนหนามแล้วถิ่มปล่อย ทำสัญญากันเฮียบฮ้อย ซางมาฮ้างดอกห่างกัน อ้ายเอย........

เผ่านครพนม (บรรเลงลายลมพัดพร้าว)ในท่อนนี้ไม่มีเนื้อร้อง ซึ่งจะบรรเลงลายเพียงอย่างเดียว

…………………………….

อยากให้ อ.บัวชูฝัก หารูปเกี่ยวกับมโนราห์ตัวอ่อนมาให้ดูหน่อยค่ะแบบท่าทางต่างๆนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

อยากให้ อ.บัวชูฝัก หารูปเกี่ยวกับมโนราห์ตัวอ่อนมาให้ดูหน่อยค่ะแบบท่าทางต่างๆนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับการใหความรู้เกี่ยวฟ้อนภูไท ผมเป็นลูหลานภูไทเมิงกุดสิม อยากเรียนว่าการเรียกฟ้อนภูไทสามเผ่าในเชิงการแสดงก็พอยอมรับได้ ถ้าจะให้ถูกต้องเรียกฟ้อนภูไทสามเมือง หรือสามจังหวัด เนื่องจากคนภูไทมีเผ่าพันธุื์เดียว เรียกตัวเองตามเมืองที่อพยพมา เช่น ภูไทวัง อพยพมาจากเมืองวัง เป็นต้น การเรียกภูไทเผ่ากาละสิน เผ่าสกลนคร อันนี้ผิด

ช่วยแปลเนื้อเพลงให้หน่อยได้ไหมค่ะ จะได้ใช้สอนเด็ก ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท