กลับมาทำการบ้านจากการประชุมปขมท แล้วนะคะ


KPI มุ่งสู่คุณภาพ

            ดิฉันและคุณธนพร ประเสริฐกุล พร้อมน้องปริญดา บุคลากรของห้องสมุดได้มีโอกาสเข้าร่วม การประชุมทางวิชาการ ปขมท (ที่ประชุมสภาข้าราชการและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย )  ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์  ที่เชียงใหม่หลายวัน  แต่ไม่ได้เริ่มลงมือเขียนซักทีค่ะ  นัดกันแล้วกับพี่อ้อย ธนพร ว่าจะกลับมาเขียน แต่พี่อ้อยติดเหตุปัจจุบันทันด่วนอันทำให้ไม่สามารถเขียนออกได้ในช่วงนี้  ดิฉันเลยขอทำหน้าที่บอกเล่าไปก่อนนะคะ

             อยากบอกว่ากลับมาแล้ว ไม่ได้ทิ้งสาระที่ได้จากการฟังการบรรยายให้เปล่าประโยชน์ ด้วยสาระที่ได้จากตัวอย่างของ KPI หรือดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานที่ปขมท. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับหน่วยงาน ถึงแม้จะงงว่าสามารถเข้ากลุ่มใดในสายสนับสนุน 5 กลุ่มนี้ได้บ้าง อันได้แก่  1. สายงานการเจ้าหน้าที่ 2. สายงานการเงินและพัสดุ 3.  สายงานบริการการศึกษา 4. สายงานกิจการนักศึกษา (มีเอกสาร แบบ 1 และ แบบ 2)   5. สายงานนโยบายและแผน   6. สายงานบริหารงานทั่วไป

ดิฉันกับน้องปริญดา พร้อมพี่อ้อยเลยเข้ากลุ่มบริหารงานทั่วไป แต่ความจริงสนใจเข้ากลุ่มงานบริการการศึกษา เพราะเห็นว่างานคล้ายกัน ปรากฎว่ากลุ่มบริหารงานทั่วไป กว่าจะคุยเข้าที่เข้าทางก็เอาซะงง เพราะคนเยอะ เค้าจึงแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ระดับ 3-5 กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ระดับ 6-7 และกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ระดับ 8-9  ทีนี้ล่ะ พี่อ้อยต้องแยกไปเข้ากลุ่มระดับอาวุโส  ดิฉันกับน้องปริญดาเลยต้องเข้ากลุ่มระดับกลาง แต่ขนาดระดับกลาง ยังรู้สึกตัวลีบเลยเหมือนกันค่ะ  555... แม้สายงานปฏิบัติงานห้องสมุดจะมีหลายส่วน ทั้งงานวิชาชีพและสายบริหารงานทั่วไป  อาจแตกต่างกันบ้าง แต่เราก็ฟังไว้เผื่อบุคลากรที่ไม่ได้มาด้วย

                สำหรับเอกสารประกอบทั้งหมด ทั้งสรุปกลุ่มย่อยและเอกสารจากการบรรยายของท่านอธิการบดี ม. เชียงใหม่ และวิทยากรท่านอื่นๆนั้น ทางปขมท ได้นำลง web ให้แล้วที่ http://www.cuast.org/ และยังแจก CD ให้สถาบันละ 1 ชุด คิดว่าผู้ที่สนใจคงสอบถามจากกองแผนหรืองานการเจ้าหน้าที่ดูได้ค่ะ

                หลังจากดิฉันกลับมาได้มีโอกาสค้นหาข้อมูลจากหน่วยงานที่เป็นห้องสมุดหลายแห่งว่ามีที่ไหนทำ KPI แล้วบ้าง พบว่ามีที่ สำนักหอสมุด ม.เชียงใหม่ สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต  ส่วนที่ทำแล้วแต่ไม่ได้เผยแพร่ลง web คงมีอีกหลายที่น่ะค่ะ   ดิฉันดูจากเอกสารของสถาบันเหล่านี้แล้ว สามารถนำมาปรับใช้ได้กับหน่วยงาน รวมทั้งตัวอย่างเกณฑ์ดัชนีของมขปท ที่ทำมาให้ด้วย 

                 ช่วงระหว่างฟังบรรยายดิฉันได้ทดลองสร้างตัวบ่งชี้คุณภาพของงานในฝ่ายที่รับผิดชอบออกมา โดยยึดตามภาระหน้าที่หลักของฝ่าย/งาน  แต่ทั้งนี้ KPI ของห้องสมุด อาจทำในภาพรวมของห้องสมุดก่อน เหมือนเช่นของสำนักหอสมุด มช. สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ และสำนักวิทยบริการ ม.ราชภัฏสวนดุสิตก็ได้ค่ะ

                  *** สำนักหอสมุดคงต้องคุยกันอีกยาว ถ้าหากจะทำ KPI กันจริงๆ และคงจะต้องร่วมมือกันทำพร้อมกันทั้งหน่วยงาน ถึงจะได้คุณภาพน่ะค่ะ   ***

 
หมายเลขบันทึก: 14673เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ดีมากเลยครับ มีทั้ง Powerpoint ลิ้งไฟล์ เว็บลิ้ง ผมกำลังว่าจะหาเอกสารประกอบที่เราจะทำ วิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ และ KPI อยู่พอดีเลยครับ ผมว่า เลขาสำนัก อาจลองพิจารณาดูว่าถ้าสรุปรายงานการไปสัมมนา ฝึกอบรม เปลี่ยนมาใช้วิธีบันทึกผ่านบล็อกก็น่าสนใจนะครับ

ดิฉันได้ยินคนรอบข้างที่ไปงาน ปขมท.ครั้งนี้ ต่างก็ชื่นชมการจัดงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงาน อีกทั้งมีเนื้อหาที่สาระที่ตรงประเด็น โดนใจ (สังเกตได้จากผู้เข้าร่วมประชุมที่ล้นหลามกว่าทุกๆ ปี) ..ส่วนตัวก็รู้สึกเสียดายเหมือนกันที่ไม่ได้ไป แต่อย่างไรก็ตามสำนักหอสมุดก็ได้ส่งตัวแทนที่นับว่าเป็นหัวกะทิของหน่วยงานไป คาดว่าจะมีอะไรดีๆ ติดไม้ติดมือกลับมาฝากพวกเรามากมาย ...ซึ่งก็ไม่ผิดหวังค่ะ

หลังจากนี้แล้ว อย่างที่พี่ศศิธรบอกค่ะ พวกเราชาวสำนักหอสมุดคงต้องทำงานกันหนักขึ้น และร่วมมือร่วมใจกันทั้งหน่วยงานเพื่อพัฒนา KPI ของตนเองขึ้นมา ...พวกเรา สู้ๆๆ

เสียดายเหมือนกันที่ไม่ได้ไป แต่พี่ศศิธร ก็มาถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี

ขอเป็นกำลังใจในการทำ KPI ด้วยคนค่ะ  ถ้าได้ลองทำแล้วจะรู้ว่าไม่ยาก และ ไม่ง่าย  อย่างที่คิด

ตอนแรกที่เห็นเรื่อง ปขมท.จัดประชุมเกี่ยวกับ KPI ที่เชียงใหม่ก็สนใจและสมัครเข้าประชุมด้วย แต่ด้วยภาระหน้าที่อันใหญ่หลวงทำให้ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมประชุมในครั้งนี้....กำลังนึกอยู่ว่าจะหาเอกสารอ่าน..พอดีวันนี้อ่าน..สามแรง..แข็งขัน..ก็ลองย้อนไปดูบันทึกอื่น ๆ ของ moonlight  นับว่าโชคดี..ของตัวเองที่เจอข้อมูลที่โดนใจ...ที่ moonlight นำมา sharing ไว้ซึ่งเป็นประโยชน์มากเลย  ต้องขอขอบคุณที่นำสาระดี ๆ มาบอกเล่ากัน และคิดว่าต่อ ๆ ไปคงจะต้องเข้า goto know ทุก ๆ วัน เพื่อเพิ่มเติมสาระความรู้ให้กับตนเอง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท