Healthy Thailand


Healthy Thailand = เมืองไทยสุขภาพดี
              เมืองไทยแข็งแรง คนไทยแข็งแกร่ง เป็นโครงการของกระทรวงสาธารณสุขตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเสริมสร้างสุขภาพคนไทยให้แข็งแรง โดยพิจารณาจากการปรับปรุงปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนไทยได้  จากการที่เมืองไทยได้ประกาศเรื่องของสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2000 ไปแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปกลับพบว่าคนไทยยังไม่ได้มีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างแท้จริง ยังมีปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆที่ยังเป็นการท้าทายความสามารถของรัฐบาลไทยภายใต้ความรับผิดชอบหลักของกระทรวงสาธารณสุข
             การที่เคยบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for All) มาแล้ว ทำไมต้องมาทำเรื่องเมืองไทยสุขภาพดีอีก หากมองแง่ลบก็อาจจะบอกว่าสงสับมีการเมคข้อมูลกัน แต่ถ้ามองในเชิงบวกก็จะพบว่า เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องพลวัต (Dynamic) เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง ตามหลักการแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหนีไม่พ้น
             ปัญหาสุขภาพเดิมๆได้รับการแก้ไขไปแล้ว แต่ก็มีกลุ่มโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ โรคไม่ติดต่อที่มีมากขึ้น ตรวจพบมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการระดับชาติเข้ามา รวมทั้งโรคที่สามารถแพร่กระจายได้มากขึ้น หากเมืองไทยไม่มียุทธศาสตร์ที่จะรับมือกับภาวะเสี่ยงทางด้านสุขภาพเหล่านี้ ก็อาจจะส่งผลกระทบและความเสียหายมากในอนาคตได้ การมีนโยบายโครงการเมืองไทยสุขภาพดี จึงน่าจะเป็นตัวช่วยในการับมือกับภาวการณ์เหล่านี้ได้  หากได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่หวังแค่การสร้างข้อมูลตัวเลขเท่านั้น  และพยายามมุ่งปรับไปสู่กิจกรรมที่ส่งผลลัพธ์ที่แท้จริงถึงสุขภาพของประชาชน

ตามแนวคิดของโครงการเมืองไทยแข็งแรงนั้น เป็นสิ่งที่ดีมาก มีทั้งแนวคิด หลักการ ที่ชัดเจน ดังนี้

Healthy Thailand Principle

  1. Area based Implementation & Evaluation
  2. Integration & Intersectual  action collaboration
  3. Community based Approach
  4. Knowledge Worker & Knowledge Organization

Healthy Thailand Strategy

  1. Community participation
  2. Public Communication
  3. Capacity Building
  4. Quality of Care
  5. Social measures
  6. Knowledge Management
  7. Result  oriented  Management

           เมื่อมีการแปลงนโยบาย แนวคิดมาสู่การปฏิบัติเพื่อให้มีความเป็นรูปธรรม จับต้องได้ชัด กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดออกมาเป็นเป้าหมายและตัวชี้วัด ดังนี้

ตัวชี้วัดหมู่บ้าน/ตำบล          ความสำเร็จ > 8
ออกกำลังกาย
1.ประชากร>6ปีออกกำลังกายตามวัย > 50 %
อาหาร
2.อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6ชนิด> 90 %
3.ตลาดสดผ่านเกณฑ์ขั้นพื้นฐานตลาดสดน่าซื้อ> 80
1.ร้านอาหาร/แผงลอยผ่านCFGT>30
2.ตลาดสดน่าซื้ออำเภอละ 1 แห่ง
3.รง.อาหารผ่านGMP >50 %
อารมณ์
4.วัยรุ่นเป็นสมาชิกTBN1/มีกิจกรรมต่อเนื่อง>50
5.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรม/กิจกรรมต่อเนื่อง>50
อโรคยา
6.ไข้เลือดออกไม่เกิน 50ต่อแสนประชากร
7.ปชก>40ปีตรวจปัสสาวะ/BPทุกปี > 80%
8.สตรี>35ปีรู้เรื่องตรวจเต้านมถูกต้อง> 85 %
อนามัยสิ่งแวดล้อม
9.เด็ก<5ปีมีการเจริญเติบโตพัฒนาการสมวัย>80%
ตำบลศูนย์เด็กเล็กเข้ากระบวนการศูนย์เด็กเล็กน่า  อยู่ อย่างน้อย 1 แห่ง
10.รร.ผ่านเกณฑ์พื้นฐานรร.ส่งเสริมสุขภาพ>50%
ตัวชี้วัดอำเภอ/จังหวัด          ความสำเร็จ > 80%
อาหาร
1.ร้านอาหาร/แผงลอยผ่านCFGT>30
2.ตลาดสดน่าซื้ออำเภอละ 1 แห่ง
3.รง.อาหารผ่านGMP >50 %
อนามัยสิ่งแวดล้อม
4.ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ >30 %
5.โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ >30%
6.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 อ.หรือในจังหวัด > 50 %
                สรุป ผลการประเมิน ดังนี้
หมู่บ้านสุขภาพดี
75% หมู่บ้านผ่านเกณฑ์เป็นตำบลสุขภาพดี
50% ตำบลผ่านเกณฑ์ เป็นอำเภอสุขภาพดี
50% อำเภอผ่านเกณฑ์ เป็นจังหวัดสุขภาพดี
50% จังหวัดผ่านเกณฑ์ เป็นเมืองไทยสุขภาพดี
                ข้อสังเกตว่า การผ่านเกณฑ์เมืองไทยสุขภาพดีนั้น เป็นการผ่านตามนิยามที่กำหนดไว้ ส่วนเกณฑ์ก็เป็นการวัดที่ตัวกระบวนการและผลผลิตเท่านั้น ยังไม่ได้วัดที่ตัวผลลัพธ์ต่อประชาชน  โดยอาจคิดว่าถ้าทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ครบ ผลลัพธ์จะได้มาเอง แต่เราก็พบว่าในความเป็นจริง หลายๆกิจกรรมที่ดูดี แต่ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีก็มีมากมาย
                ในขณะนี้ กำลังมีการศึกษาเพื่อปรับปรุงเกณฑ์การประเมินกิจกรรมให้มีความเข้มข้นขึ้น ก็หวังว่าจะสามารถวัดไปถึงผลลัพธ์ต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงได้ แม้จะยากก็ตาม

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 14697เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความนี้ อธิบายสิ่งซับซ้อนให้เข้าใจภาพรวมได้อย่างดียิ่ง ขอบคุณมากจริงๆ

มีความรู้สึกว่า นโยบายการสร้างเมืองไทยสุขภาพดี ตามที่อธิบายมาเป็นขั้นตอน ทั้งหลักการ ยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัด เป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งมีกิจกรรมหลากหลาย ที่หลายภาคส่วนได้ดำเนินการกันมาโดยตลอด แต่รู้สึกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่กระทบต่อสุขภาพนั้นมีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบที่รวดเร็วมาก ทำให้ดูเหมือนว่ากลยุทธ์เมืองไทยสุขภาพดีตามไม่ค่อยทัน จะมีนโยบายอะไรบ้างที่ทำให้คนไทยตื่นตัวเรื่องสุขภาพและมีความรู้เรื่องสุขภาพที่ถูกต้อง ตลอดจนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท