บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ฟ้อนโหวด


ฝ่ายชายเข้าป่าไปหาตัดไม้กู่แคน นำมาตากแห้ง เลือกตัด ตกแต่ง ติดขี้สูดประกอบเข้ากับแกนโหวด เทียบเสียง แกว่งโหวดทดสอบ

ฟ้อนโหวด

<p align="left">
       วันนี้เรายังคงนำเสนอการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน มาชมการแสดงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของภาคอีสาน คือ โหวด เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับภาคอีสานมาช้านาน จังหวัดร้อยเอ็ดมีชื่อเสียงในด้านการผลิตโหวด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด การแสดงชุดนี้จึงได้เกิดขึ้น  </p>
<p align="left"></p><p align="center">  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ฟ้อนโหวด เป็นชุดการแสดงที่จัดทำขึ้นใหม่ โดยภาควิชานาฏศิลป์ไทย โดยวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ด้วยการนำขั้นตอนในการจัดทำโหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด มาปรับปรุงเป็นท่าฟ้อนที่มีความละเอียดอ่อน และสวยงาม สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกรรมวิธีการประดิษฐ์โหวดได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการฝ่ายชายเข้าป่าไปหาตัดไม้กู่แคน นำมาตากแห้ง เลือกตัด ตกแต่ง ติดขี้สูดประกอบเข้ากับแกนโหวด เทียบเสียง แกว่งโหวดทดสอบ แล้วฝ่ายหญิงออกมาแสดงความรื่นเริง สนุกสนาน ปิดท้ายด้วยการที่ฝ่ายชายออกมาเกี้ยวพาราสี หยอกล้อกัน
</p><p align="center"> </p><p align="center"></p>
เครื่องแต่งกายชาย
        ใส่เสื้อคอตั้งผ่าหน้าติดกระดุม นุ่งผ้าโจงหยักรั้ง ทิ้งชายพกด้านหน้า ผ้าขิดผูกเอวและโพกศีรษะ

เครื่องแต่งกายหญิง
        
เกล้าผมตลบไปด้านหลังคล้ายทรงดอกกระทุ่ม ประดับดอกไม้ และสร้อยเงินสวมเสื้อไม่มีแขน ห่มผ้าเบี่ยงทิ้งชายด้านหน้าและด้านหลัง นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมน่อง คาดเข็มขัดเงิน สวมกำไลเงิน ต่างหูเงิน  <p style="margin: auto 0cm; text-align: center" class="style1" align="center"></p><p style="margin: auto 0cm; text-align: center" class="style1" align="center"></p> 

หมายเลขบันทึก: 146697เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

 

          ขี้สูด  เป็นรังของผึ้งขนาดเล็ก ทำรังตามโพรงไม้ ตามพื้นดิน รังเป็นรูปท่อยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะเป็นยางเหนียวคล้ายตังเม เมื่อนำมาขยำเข้ากันก็จะติดพวกแคน โหวด หรืออุดรูรั่วได้

 

 

P สวัสดีครับ

  • ชุดนี้นักแสดงใส่สีแดงสะดุดตาจริงๆ
  • ได้ยินเสียงโหวดแล้ว ทำให้นึกถึงเสียงป่าเขาลำเนาไพร เห็น pan pipe ของทางตะวันตก ก็คล้ายๆ กัน แต่ของเขาเรียงตรง ของเราเรียงเป็นวงกลม ใช้งานสะดวกกว่า นี้เป็นเครื่องเป่าที่เล่นมือเดียวได้
  • น่าสนุกดีครับ

  สวัสดีครับ

  • เห็นชื่อยังงง ฟ้อนโหวตแบบไหน
  • พอเข้ามาดูจึงรู้
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีค่ะ 
  • ตามมาดูฟ้อนโหวด
  • สวยจังค่ะ
  • โหวด นี่เล็ก ๆ น่ารักดีนะคะ 
  • อ.เป่า โหวด เป็นหรือเปล่าคะ
  • วันหลังจะขอชิมกาแฟ  แกล้มเสียงโหวด

 

Picture+023าแฟ

  • สวัสดีครับลุงวอP
  • การแสดงชุดฟ้อนโหวด ได้ความรู้จากลุงวอในเรื่องของขี้สูด
  • ผมเองทราบแต่ว่าเป็นยางเหนียวๆใช้ติดอะไรได้สาระพัด
  • แต่ไม่ทราบที่มาที่แท้จริง
  • ขอบคุณลุงวอมากครับ
  • สวัสดีครับคุณธวัชชัยP
  • การแสดงชุดนี้เน้นเครื่องแต่งกายให้โดดเด่นเป็นพิเศษครับ
  • ภูมิปัญญาของไทยเราก็ไม่แพ้ต่างชาติครับในการประดิษฐ์เครื่องดนตรี
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณไมตรีP
  • ฟ้อนโหวดเน้นขั้นตอนการทำโหวดและลีลาการร่ายรำหลังจากที่ทำโหวดเสร็จของบรรดาชายหนุ่มและหญิงสาวครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณหมอกุ้งP
  • โหวดผมเป่าได้ครับแต่ไม่เป็นเพลงอิอิ
  • ผู้ที่เป่าได้ต้องมีความสามารถเฉพาะตัวครับ
  • ส่วนผู้รำก็ทำท่าประกอบให้เหมือนเป่าจริง
  • ผู้ที่เป่าจริงคือนักดนตรีครับ
  • ชิมกาแฟแกล้มเสียงโหวดคงแปลกดีครับ
  • ไม่รู้ว่ารสกาแฟจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า
  • ขอบคุณหมอกุ้งครับ
  • สวัสดค่ะ
  • เคยเห็นแต่โหวดที่นำมาเปล่าเล่น
  • การแสดงฟ้อนโหวดไม่ค่อนเห็น
  • ขอบคุณมากที่นำมาให้ชมค่ะ
  • ป.ล.  ลุงวอเก่งจังค่ะ 

 

  • สวัสดีครับคุณครูรักษ์P
  • ฟ้อนโหวดเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ10ปีที่แล้วครับ
  • ครับ ลุงวอท่านมีภูมิความรู้เกี่ยวกับทางภาคอีสานมากครับ
  • ขอชื่นชมลุงวอครับ
  • ขอบคุณครูรักษ์ครับ
การฟ้อนอย่างนี้ คล้ายๆฟ้อนอะไรคะ ไม่เคยดูค่ะ
  • สวัสดีครับคุณsasinandaP
  • การแสดงชุดนี้คล้าย รำเต้ยครับ
  • โดยเฉพาะ รำเต้ยเกี้ยว
  • ขอบคุณครับ

กำลังแกะลายฟ้อนโหวดค่ะ เเวะมาดูรูปแบบเครื่องแต่งกายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท