คณิตศาสตร์การเงิน: ทำไมออมก่อนจึงรวยกว่า ? (2)


อ่านกรุงเทพธุรกิจ ฉบับ วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในบทความหน้ากลาง "MONEY ILLNESS" ภาวะเสี่ยงทางการเงินของคนไทย ชี้ว่า คนไทยน่าห่วงเรื่องการออม 

"คนไทยโดยเฉลี่ยเริ่มคิดและวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณเมื่ออายุ 44 ปี ซึ่งช้ากว่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่มักจะวางแผนเมื่ออายุ 39 ปี"

"83% ของคนไทยไม่มีการออมเงินเป็นประจำ"

นั่นหมายความว่า ทุก 6 คน จะมีเพียง 1 คนเท่านั้น ที่ถือว่า การออมเป็นประจำ เป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ต้องทำ

ลองคิดดูเล่น ๆ ว่า หากผลักดันให้คนไทยออมเร็วขึ้น 10 ปี เมื่อถึงวัยเกษียณ ควรมีเก็บได้มากกว่าเดิมถึง 60 % เมื่อใช้แนวคิดของตอนก่อนหน้ามาทำนาย  ควรเป็นเบาะชั้นเลิศให้กับยุคสังคมชราภาพที่กำลังเคลื่อนตัวมาหาได้เป็นอย่างดี

แนวคิดเรื่อง สัจจะวันละหนึ่งบาท ที่รู้จักกันแพร่หลายในภาคใต้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของความพยายามสวนกระแสดังกล่าว ที่ถือเอาการสร้างนิสัยการออมและการพบปะเครือข่าย สำคัญกว่าเม็ดเงิน (แต่ในจุดแข็งก็มีจุดอ่อน เพราะมีผู้มองว่า กระแสเงินระยะยาวมาก อาจไม่ยั่งยืน)

เมื่อหลายปีก่อน ในกรุงเทพธุรกิจอีกเช่นกัน (ฉบับวันจันทร์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2546) ลงบทสัมภาษณ์ “เกรียงศักดิ์ ภู่อมร” ที่สร้างธุรกิจพันล้านด้วยสมองและสองมือ ว่ากันว่า ธนาคารมาง้อให้กู้เงินในยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 

"คนเรานี่แปลก เรียนจบมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีใครเข้าใจวงจรชีวิต สังคมสอนให้เราสบายก่อน ลำบากทีหลัง พอทำงานมีเงินเดือน ก็ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แต่งงาน ก็ผ่อนต่อ คิดว่าตัวเองมีเครดิต แต่มันทำให้ชีวิตเราไม่มี Cashflow ไปทำธุรกิจ กว่าหนี้จะหมด อายุก็ปาเข้าไป 35-40 ปี ช่วงวัยกล้าเราเกือบจะหมดไป

ผมบอกเลยว่าถ้าใครทนไม่ซื้อบ้าน ไม่ซื้อรถ อยู่แบบยาจก แต่มีเงินสดในมือไปซื้อของมาขาย คนพวกนี้จะรวยทีหลัง เป็นพวกที่มีเครดิตตัวจริง"

ลึกล้ำแบบนี้ คงไม่ค่อยมีสอนกันในโรงเรียน...

 

หมายเลขบันทึก: 146511เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

  • มาแวะชมทักษะความคิดแนวออม
  • ผมเห็นด้วยกับแนวคิดครับ ขอแอดไว้ในสมาชิกครับผม

สวัสดีครับ อาจารย์ P โกศล คงสมปราชญ์

 

สวัสดีค่ะคุณวิบุล

อ่านแล้ว ต้องบอกว่า เหมือนอย่างที่ใจคิดมาตลอด คือ ชอบออมเงิน ไม่ชอบใช้อะไรโยไม่ยั้งคิด

แต่ถ้ามาดูอีกแนวหนึ่ง ออมเงินมากไปก็ไม่ดี เพราะ เงินจะด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ เขาให้ออมสัก 5-6 เท่า ของเงินเดือนๆสุดท้ายตอนเกษียณ หรือพอให้รู้สึกว่า พอใช้สบายๆ (ประเมินไว้ล่วงหน้า) และฝากธนาคารไว้

ที่เหลือให้ซื้อที่ หรือ อสังหาฯอย่างอื่น หรือออมในรูปแบบอื่นๆไว้

ความเห็นคุณวิบุล ว่าอย่างไรคะ

ผมขอบ่นไปเรื่อยๆอีกนะครับ

  • ผมมองว่า แนวคิดเรื่องการออมเงิน เป็นการสร้างหลักประกันในอนาคตครับ เพราะคนเราไม่รู้ว่าในอนาคต แต่ละคนจะเป็นอย่างไร....ดังนั้น การเอาเงินปัจจุบัน เก็บไว้ สำหรับใช้ในอนาคต ก็เป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง
  • สำหรับผู้ที่ชอบเสี่ยง โลดโผน โจนทะยาน การเอาเงินในอนาคต มาใช้สร้างรายได้ในปัจจุบัน ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่สร้างความมั่นคงทางการเงินได้ และเป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ โดยเฉพาะเมื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้เงินในอนาคตนี้สามารถจ่ายคืนดอกเบี้ยได้
  • แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับ คนที่เอาเงินในอนาคตมาใช้จ่ายในปัจจุบันโดยไม่ก่อให้เกิดรายได้.....อย่างเช่นกู้เงินมาซื้อรถ ขับเฉิดฉาย รับสาวๆ เป็นต้น
  • แต่การใช้เงินในอนาคต มาลงทุนในปัจจุบัน เช่น การเอามาซื้อที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นอย่างเช่นความเห็นของคุณ sasinanda .....ผมมองว่าเป็นการแข่งขันครับ ว่าดอกเบี้ยจากการใช้เงินในอนาคต จะโตเร็วกว่า ราคาของที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์หรือไม่ ถ้า ดอกเบี้ย โตเร็วกว่า เราก็แพ้ในเกมนี้ครับ แต่ถ้าราคาที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์โตเร็วกว่า ก็ถือได้ว่าชนะในเกมครับ.....แต่เกมแบบนี้ถึงแม้จะแพ้ เราก็ยังได้ที่ดิน สำหรับปลูกผัก ปลูกหญ้า หรือยกให้เป็นมรดกลูกหลานต่อไป หรือถ้าเป็นบ้าน เราก็ยังได้อยู่ ได้อาศัย ซึ่งประเมินความสุขใจจากการอยู่อาศัยเป็นเงินเป็นทองไม่ได้หรอกครับ

"...แต่ถ้ามาดูอีกแนวหนึ่ง ออมเงินมากไปก็ไม่ดี เพราะ เงินจะด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ..."

สวัสดีครับ พี่Psasinanda

  • เห็นด้วยครับ
  • ถ้าออมเงินในยุคเงินเฟ้อ โดยไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อ 4 % ได้ ออมเร็วไปก็ไม่มีความหมาย
  • ถ้าออมเงินเพื่อฝากธนาคารอย่างเดียว ไปออมตอนใกล้เกษียณเลยก็ไม่ต่างนัก เพราะเงินเฟ้อกินเงินเก่าหมดแล้ว 
  • เก็บออมเงิน แต่ไม่จำเป็นต้องเก็บในรูปของ "เงิืน" เสมอไป
  • ควรเก็บในสิ่งที่สู้เงินเฟ้อได้ ไม่เสื่อมสภาพง่าย เช่น ที่ดิน บ้าน (แต่ซื้อผิดจังหวะ อาจเฉาแห้งไป 10-15 ปี)
  • ถ้าให้ดี ควรเอาชนะเงินเฟ้อได้ (ไม่ง่าย แต่เป็นไปได้) เช่น ซื้อกองทุนประเภท index fund หรือกองทุนรวม หรือลงทุนเอง ฯลฯ แบบนั้น ยิ่งออมเร็ว ยิ่งได้เปรียบครับ โดยลู่เวลา ควรยาวเกิน 20 ปีขึ้นไป จึงจะเห็นเป็นเนื้อเป็นหนังหน่อย
  • ผมเคยลองทำ simulation โดยใช้ข้อมูล 43-49 ว่า ถ้าตลาดไทยโตแบบที่เคยโตต่อไป ผลตอบแทนการลงทุนในกองทุนดัชนี น่าจะเอาชนะเงินเฟ้อได้ แต่ต้องถือยาวมาก เกิน 10 ปีขึ้นไปsimulation of index fund 

 

สวัสดีครับ คุณไมโต P  Mitochondria

 

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • หลายปีก่อน ก่อนฟองสบู่ดอทคอมของสหรัฐแตก จำได้ว่า นายอลัน กรีนสแปน เคยพูดเรื่องการลงทุนไว้น่าสนใจ

เขาบอกว่า...

"การลงทุนที่ดี ไม่ควรกู้หนี้มาลงทุน"

  • เพราะลงทุนปรกติ เราแค่เอาชนะเงินเฟ้อธรรมดา แค่นั้นก็เหนื่อยแล้ว
  • แต่ถ้ากู้มาลงทุน ต้องเอาชนะการที่"เงินเฟ้อเป็นพันธมิตรกับดอกเบี้ยเงินกู้" ซึ่งผมเชื่อว่า ในระยะยาวจริง ๆ ในโลกนี้ สามารถเอาชนะคู่โหดคู่นี้ได้ คงมีไม่กี่คน (ในระยะสั้นไม่เกี่ยว เพราะการลงทุนในระยะสั้น ผลจะใกล้เคียงการพนัน)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท