ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอวิภาวดี


บ้านประธานศูนย์บริการตะกุกใต้

เมื่อวันที่ 5 9 พฤศจิกายน 2550 คณะติดตามนิเทศงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ติดตามนิเทศงานโครงการส่งเสริมการเกษตร พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมงาน ปี 2551 ในพื้นที่อำเภอ มีจุดที่น่าสนใจในอำเภอวิภาวดี เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของ คุณไพศาล ซึ่งมีตำแหน่งทางสังคมเกี่ยวกับองค์กรด้านการเกษตรหลายตำแหน่ง ได้แก่ ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลตะกุกใต้ อำเภอวิภาวดี หมอดินอาสา อาสาสมัครเกษตรกรฯ จากการพูดคุยท่านมีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการปรับใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ทำให้รอบ ๆ บริเวณบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ อย่างน่าสนใจ ซึ่ง คุณมนัส  อัมรักษ์  เกษตรอำเภอวิภาวดี และคณะจากอำเภอวิภาวดีได้ส่งเสริมให้เป็นจุดเรียนรู้หลักด้านเศรษฐกิจพอเพียง                                กิจกรรมรอบ ๆ บ้านคุณไพศาล มีทั้งกิจกรรมส่วนตัวและกิจกรรมของสมาชิกศูนย์เรียนรู้ฯ ได้แก่ การปลูกยางพารา ไม้ผล การอนุรักษ์ดินด้วยการปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่ลาดชัน การเลี้ยงหมูหลุม (หมูขุน) เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หมู เลี้ยงปลาไหลและปลาดุกทั้งในท่อและโอ่งเก่า ทำน้ำส้มควันไม้ใช้กำจัดแมลง การเพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง และโรงเรือนขนาดใหญ่ มีสมาชิกกลุ่มเรียนรู้เข้ามาช่วยกันดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวเห็ด ทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสุกรต่าง ๆ ปลูกพืชผักสวนครัวทุกชนิดบริเวณบ้านที่มีที่ว่าง                                เกี่ยวกับการเลี้ยงหมูหลุม ได้อ่านจากเว็บไซด์มาบ้าง มีประเด็นที่น่าสนใจทางเทคนิคที่        คุณไพศาล นำมาปรับใช้ โดยการเริ่มต้นเรียนรู้จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แล้วนำความรู้จากการดูงานมาปรับใช้ โดยใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุรองพื้น ราดด้านบนขุยมะพร้าวด้วยรำข้าว และใช้ นด.1 จำนวน 1 ซอง ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดด้านบนเพื่อกำจัดกลิ่น เมื่อเลี้ยงลูกหมูอายุ 1 เดือนแล้ว ก็ใช้ขุยมะพร้าว รำข้าว และน้ำ พด.1 ราดเช่นเดิมจนครบ 4 ชั้น เท่ากับ 4 เดือน ก็ถึงเวลาจับขายหลังจากนั้น  15  วันก็ขายปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากวัสดุรองพื้น

                                มีข้อสังเกตจากการไปดูสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณเลี้ยงมีความแตกต่างจากคอกหมูทั่วไป คือ ไม่มีกลิ่นเหม็น หมูอารมณ์ดี ร่าเริง มีเพลงฟังตลอดวัน ตัวหมูสะอาดมาก และขณะนี้กำลังก่อสร้างคอกหมูหลุมเพิ่มอีก 4 คอก แสดงว่ากิจการเลี้ยงหมูของคุณไพศาล ประสบผลสำเร็จทั้งด้านสภาพแวดล้อม และรายได้ ทั้งจากการจำหน่ายหมู และจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากวัสดุรองพื้น ที่คอกหมูคุณไพศาล เขียนว่า คอกหมูอินทรีย์ หรือจะเรียกว่าหมูชีวภาพก็ได้ คาดว่าทั้งคนในครอบครัวคุณไพศาลและผู้บริโภคที่ซื้อผลผลิตจากแปลงนี้จะได้อาหารที่ปลอดภัยสนับสนุนโครงการอาหารปลอดภัยของประเทศไทยด้วย  ศุนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนี้สามารถเป็นศูนย์ที่ผู้สนใจในพื้นที่ใกล้เคียงใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้อย่างน่าสนใจ

                

คุณไพศาลและหัวหน้าทีมนิเทศงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

- - - - - - -

หมายเลขบันทึก: 146165เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาเยี่ยม  เรื่องหมูหลุม ที่ขอนแก่นก็มีการเลี้ยงเหมือนกันพี่เคยยกร่างเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะสนับสนุนในโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของงบCEO แต่ นักวิชาการปศุสัตว์ห้ามไว้ บอกว่าเป็นเทคโนโลยีที่กรมปศุสัตว์ยังไม่ยอมรับ (คงเหมือนน้ำหมักชีวภาพของเราที่กรมวิชาการเกษตรไม่ยอมรับนะ)  เหตุผลคือ มันไม่มีกลิ่นก็จริง แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือพยาธิ .. เราก็ต้องเอากิจกรรมนี้ออกแบบงงๆ.. ใช่มั้ย... ไม่รู้ ...แต่เมื่อจิ้งจกทักเราก็ต้องเชื่อหล่ะ..

ทุกภาคมีการเลี้ยงก็คงมีข้อดี - ข้อเสียใช้เป็นข้อมูล

หวัดดีครับคุณ ใจทิพย์

  • อ.วิภาวดี มีเรื่องน่าสนใจอีกมาก คราวหน้าเก็บมาฝากเพื่อนๆอีกนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีดีคับ
  • หมูมีเพลงฟังอารมดี......น่าลองทำดู...
  • เล่าเรื่องแดนไกลให้อ่านบ้างนะคับพี่สาว...
  • ขอบคุณคับ....
  • คิดถึงมั๊กๆๆๆๆๆ

พอดีรับผิดชอบศูนย์เรียนร้การเกษตรพอเพียงเรื่องหมูหลุมเป็นเป็นองค์ความร้ที่ดีมากอย่างไรจะนำไปบอกต่อเพื่อที่เกษตรกรจะได้นำไปปฏิบัติ

สวัสดีค่ะ  พี่ใจทิพย์

ดีใจจังเลยค่ะทีวิภาวดีมีศูนย์เรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอีกหนึ่งศูนย์  ว่างๆ ถ้ามีโอกาสจะกลับไปเยี่ยมเยียนนะค่ะ

สนใจอยากได้ข้อมูลการเลี้ยงหมูหลุมครบทำไงดีครับตอบด้วย

สุราษฎร์มีจุดสาธิตหลายแห่งเลยค่ะ อยากให้มาเยี่ยม ขอให้เข้าไปที่ web ของสำนักงานเกษตรอำเภอวิภาวดี ลองดูรายละเอียดน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท