ความจริงเสมือน
คำว่า “ความจริงเสมือน” แปลว่าเหมือนจริงแต่ไม่จริง
ยุคนี้สมัยนี้เรื่องเหมือนจริงมากเลย
แต่สืบสาวถึงขั้นสุดท้ายกลับไม่จริง
อ้าวกลับกลายเป็นเช่นนี้ไปได้อย่างไร
แต่ความเหมือนจริงนั้นแนบเนียนเหมือนมากจนเราต้องใช้ปัญญาและความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างยิ่งจึงจะแยกแยะได้ว่าอะไร
คือ “ความจริง” อะไรที่ดูคล้ายจะใช่ความจริงแต่ไม่ใช่
อย่างหลังนี้เรียกว่า “ความจริงเสมือน”
ครับ
สมัยผมเด็กๆ โฆษณาสบู่ยี่ห้อหนึ่งระบุว่าเป็น
สบู่ที่นางงามจักรวาลชอบใช้
ต่อมาก็มีแชมพูอีกยี่ห้อหนึ่ง เชิญนางสาวไทยมาเป็นนางแบบโฆษณา
แล้วมีข้อความว่า แชมพูที่นางสาวไทยใช้
ล้วนเป็นตัวอย่างความจริงเสมือน ในยุคที่คนไทยยังเริ่มใช้แชมพู
ยังเริ่มใช้สบู่หอม
ยุคคุณป้าเขายังไม่พูดความจริงกันให้ครบเลยครับ
“ความจริง” ในกรณีข้างต้น คือ
สตรีที่งามงดได้ครองตำแหน่งนางงามจักรวาล
หรือ นางสาวไทยนั้น
ผมไม่ทราบแต่ค่อนข้างแน่ใจว่าสบู่และแชมพูไม่ได้ทำให้เธอผู้นั้นสวยเลิศเลอเหนือคนอื่น
แต่บริษัทสบู่
บริษัทแชมพูขอร้องให้นางงามช่วยโฆษณาสินค้าให้โดยมีค่าตอบแทนเป็น
สินน้ำใจตามควร พูดจาประสาชาวบ้านคือจ้างมาถ่ายโฆษณา
แบบที่งานรื่นเริงบันเทิงยุคนี้จ้างดารามาปรากฏตัว
ฉะนั้นความงามของนางสาวที่ว่า จึงไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าแต่ประการใด
อาจจะเกี่ยวข้องกับสบู่นั้นๆ สองสามวันก่อนถ่ายทำโฆษณา
ให้ลองใช้ให้แน่ใจว่าแก้มสวยๆ ของเธอจะ
ไม่พังหรือเสียโฉมเพราะสบู่นี้
ถ้ายังไม่ชัวร์อาจต้องมีการประกันแก้มนางงามคนนี้มีบริษัทที่
รับประกันการเสียโฉมขอให้มีเงินจ่ายค่าประกันเป็นพอ
“ความจริงเสมือน” ซึ่งผุดในมโนภาพผู้พบเห็นโฆษณาสบู่
โฆษณาแชมพู คือ ถ้าใช้แล้วจะสวยจะงามเหมือนนางงาม
สาวชนบทเข้าห้องน้ำก็หลับตานึกถึงนางสาวในอ่างอาบน้ำฟองสบู่ลอยฟ่อง
ฟอกสบู่ไปเอาขันตักน้ำจากโอ่งดินราดเนื้อราดตัว
แล้วนุ่งกระโจมอกออกจากห้องน้ำขึ้นเรือนไป
จะอาบไปจนเฒ่าก็คงไม่ขาวเหมือนนางงามหรอกครับ เพราะมันเป็นแค่โฆษณา
แค่เป็นความจริงเสมือน นางงามเขาเกิดมามีเชื้อฝรั่งมังค่า
เป็นลูกครึ่งเนื้อนมไข่จึงขาวจมูกโด่ง
แค่พันธุ์ของเธอก็ต่างจากเชื้อสายคนไทยแล้วครับ
ครั้งต่อไปที่ใช้สบู่ยี่ห้อนี้วาดภาพในใจว่าฟอกสบู่แล้วเนื้อตัวสะอาด
ฝ่ามือสะอาด สุขอนามัยดี น่าจะใกล้เคียงความจริงกว่าใช้สบู่นี้แล้วงาม
มันคน ละเรื่องกัน
“ผิวขาวอมชมพู” แบบสาวญี่ปุ่น
สาวเกาหลีนั้นเป็นกระแสที่มาแรงต่อเนื่องหลายปี
และมีสินค้าหลากหลายมาสนองความอยาก อาทิ โลชั่นทาแล้วขาว
ยาทารักแร้ดับกลิ่นตัวทาแล้วรักแร้ขาว ครีมหน้าขาวกันแดด 10
เท่าบ้าง 30 เท่าบ้าง สบู่กันตัวดำ ฯลฯ
คนอยากผิวขาวอมชมพูก็แห่ซื้อ หารู้ไม่ว่า
นางแบบตัวจริงนั้นผิวขาวราวไข่ปอกมาก่อนใช้สินค้านั้น
ช่างภาพเขาถ่ายตอน ตัวขาวๆ
แล้วให้ไปอาบแดดตากแดดจนตัวดำคล้ำแล้วมาเรียงลำดับภาพใหม่ คือ
เอาภาพตอน ผิวคล้ำขึ้นก่อน และตัดไปฉากที่ใช้ครีมหน้าขาว
โลชั่นหน้าขาว ตบท้ายด้วยภาพหน้าขาวอล่องฉ่อง คนดูก็เคลิบเคลิ้มเชื่อ
“ความจริงเสมือน” ซึ่งคนโฆษณาเสกสรรปั้นแต่ง
เชื่อสนิทว่าเพราะใช้สินค้านี้ใบหน้าและหน้าผิวจึงเปลี่ยนจากคล้ำเป็นขาว
ให้ลูกหลานบรรพบุรุษไทยที่อยุธยาเอาไปใช้ ไปทา
ถ้าปีหนึ่งขาวขึ้นได้ก็นับว่าสินค้านี้แน่มาก
สาวสวยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์นั้นต้องผิวคล้ำ
ฟันดำเพราะเคี้ยวหมาก ยิ่งฟันดำผิวคล้ำยิ่งสวยคม
มาตามกระแสเห่อผิวขาวเมื่อ 40 – 50 ปีนี้เอง
“ความจริงเสมือน” นั้นเป็นสิ่งเสพแล้วติด
ยิ่งเสพยิ่งเชื่อยิ่งหลงความยั่วยวนอยากลิ้มลองเหมือนขนมหวาน
ความหวานนั้นเสพติดครับ ทารกถ้าได้ดูดนมที่ผสมน้ำตาล
คือนมผงแทบ
ทุกยี่ห้อนั้นเขาศึกษาวิจัยว่าถ้าใส่น้ำตาลลงไปหน่อยแล้วให้ทารกวัย 8
เดือนดูด ทารกผู้น่าสงสารจะติดรสหวาน
และจะร้องไห้ขอดูดนมที่มีน้ำตาลเป็นหลักไม่ยอมดูดนมจืดจนออกฤทธิ์เดชงอแงแม้ในวัยยังไม่หัดพูด
ก็ยังติดหวาน
การติดรูปลักษณ์ภายนอกหรือรูปร่างหน้าตาของหนุ่มสาวสมัยนี้
ต้องสวยต้องหล่อไว้ก่อน
มีรายงานวิจัยว่าหนุ่มวัยทำงานสมัยนี้หมดค่าเครื่องสำอางประทินโฉมปีละ
สองหมื่นบาท!!! เรียกว่าสาวๆ
ตามไม่ทันหนุ่มผู้หลงความจริงเสมือนนี้เลย
“เรียลลิตี้โชว์” คือ
รายการโทรทัศน์ที่ตั้งกล้องไปถ่ายทำชีวิตใครบางคนที่ยินยอมพร้อมใจเข้าบ้านอยู่รวมกันตลอด
24 ชั่วโมง ต่อกันเป็นสัปดาห์
แล้วมีกล้องถ่ายโทรทัศน์ทุกห้องยกเว้น ห้องน้ำ
ตอนนอนใครนอนท่าไหนกรนหรือเปล่าเขาก็ถ่ายทอด
และให้ผู้ชมโทรศัพท์ไปโหวตให้คะแนนจะเอาผู้แสดงคนไหนไว้
คนไหนต้องออกจากบ้านไป
ขึ้นอยู่กับการหยิบโทรศัพท์มือถือมากดเครื่องหมายดอกจันตามด้วยหมายเลขที่ระบุ
หน้าจอโทรทัศน์ก็จะปรากฏว่า มีคนเห็นด้วย
ร้อยละเท่าใด ไม่เห็นด้วยร้อยละเท่าใด
แต่มักไม่ระบุว่ามีผู้ตอบมากี่ราย เช่น ตอบมาสิบราย
แปดรายเชียร์หมายเลขหนึ่ง
จะปรากฏหน้าจอว่าเบอร์หนึ่งได้ 80 เปอร์เซ็นต์
นึกว่าเยอะ
ที่ไหนได้แปดคนเอง!
นึกย้อนไปถึงการเชียร์ธิดางานบอลล์ที่นับคะแนนจากจำนวนลูกโป่งที่แต่ละนางสาวถือ
ผู้ถือลูกโป่งมากได้คะแนนมากมีโอกาสเป็นธิดางานบอลล์
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสวยงามกว่า คู่แข่งรายอื่น
แค่ถือลูกโป่งมากกว่าเท่านั้น กรุณาอย่าแปลความเป็นอย่างอื่น คือ
ต้องรู้ว่าสิ่งนี้ เป็นแค่ความจริงเสมือนแต่ไม่ใช่
“ความจริง”
สังคมไทยทุกวันนี้การแยกแยะว่าสิ่งใดเป็น “ความจริงเสมือน”
และ “ความจริง” นั้นยากมากขึ้นมากขึ้นทุกที
เพราะกระบวนการที่ทำให้ “ความจริงเสมือน”
เหมือนความจริงยิ่งขึ้นทุกทีชนิดที่ดูรอบเดียวแยกไม่ออกต้องตามดูต่อเนื่องนานๆ
แล้วค่อยสรุปว่าอะไรคือ “ความจริง” เช่น
รถเก๋งป้ายแดงที่วิ่งเกร่อ ก็คงบอกได้แค่ว่าสวย
แต่ถ้าจะพิสูจน์ว่าการกันสนิมดีหรือไม่ต้องให้เวลาผ่านไปสามสี่ปีก่อนจึงจะสรุปได้
แต่ถ้าจะไปตัดสินจ่ายเงินซื้อรถยนต์ที่โชว์รูม ก็บอกได้ว่าสวย/ไม่สวย
ชอบ/ไม่ชอบเท่านั้น มันสรุปได้แค่นี้จริงๆ
คนทุกวันนี้ยังชินหูที่ได้ยินคนพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว คือ พูดแต่ด้านดีของตน ด้านผลงานที่เป็นรูปธรรมมีคนเห็น แต่จะอุบความไม่ดี หรือความผิดพลาดของตนไว้ เปรียบเทียบอย่างนี้ครับ สาวนางหนึ่งขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานจึงหาพรรคพวกเล่าความดีของเธอให้ฟังหมด ส่วน คู่กรณีนั้นหาความดีไม่ได้ และที่ไม่พูดถึงเลยคือสาเหตุของความขัดแย้งนั้นเป็นเพราะลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของสาวเจ้าหรือไม่ หรือบางทีใจของเธอไม่ได้พินิจพิจารณาปฐมเหตุของเรื่องนี้ด้วยซ้ำ ถ้าท่านผู้อ่านสังเกตให้ดีจะพบกรณีตัวอย่างการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวได้ทุกวัน คนรอบๆ ตัวท่านก็มี
ขึ้นกับเราท่านจะเลือกเชื่อใคร หรือเชื่อความจริงครึ่งไหน หรือเลือกที่จะทวงถามขอทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด แล้วค่อยใช้สติปัญญากลั่นกรองสิ่งที่ควรเชื่อตามยถากรรม คือ แล้วแต่บุญ แต่กรรม
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า “อะไรคือความจริง”
สุภาษิตจีนว่า ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน
นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร
ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่านท่านดูคน
ต้องดูต่อเนื่องอย่างน้อยสามปีจึงจะพอสรุปได้ว่าเป็นคนเช่นไร
“กรรม (หรือการกระทำ) คือ
เครื่องส่อเจตนา” พุทธพจน์
บางครั้งความจริงที่ไม่น่าดูน่าชมผุดขึ้นจากกรรมหรือการกระทำแม้เวลาผ่านไปเพียงวันหรือสัปดาห์ก็หางโผล่แล้ว
เคยพูดไว้อย่างแต่พอทำกลับทำอีกอย่าง
แล้วมาออกตัวว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าพวกเราเก็บรวบรวมข้อมูลให้ดีๆ
เราจะแยกแยะ “ความจริง” และ “คนจริง”
ออกจากความจริงเสมือนได้ไม่ยากนัก
“ความจริง” หรือ
“ความจริงเสมือน”
ในการบ้านการเมืองสมัยนี้คงต้องให้เวลาและการกระทำเป็นเครื่องพิสูจน์
แต่กว่าจะถึงเวลาที่ความจริงปรากฏคงไม่สายเกินไป
6
กุมภาพันธ์ 2549