ณรงค์ชัย 06/02/49


ไม่น่าเชื่อนะครับฝึกงานจะเสร็จแล้ว

เช้าวันนี้เริ่มงานด้วยการตรวจสอบรายการทางโทรทัศน์ครับว่ามีรายการไหนบ้างที่มีการนำเสนอเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนาพุทธ วันมาฆบูชา ซึ่งก็พยายามเช็คหลาย ๆ ช่องแต่ไม่พบ แต่ก็ได้พยายามหาข้อมูลจากอินเตอรืเนตโดยได้ข้อมูลเกี่ยวกับวันนี้มาได้พอสังเขปเพื่อเตรียมการเขียนบทรายการโฮมรูม ซึ่งได้ข้อมูลจากอินเตอร์เนตพอสังเขปดังนี้

วันมาฆบูชา

 

ตรงกับวัน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

๏ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้มาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว เมื่อถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๓ ( มาฆปุรณมี ) ซึ่งตรงกับวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ โดยพราหมณ์เรียกว่าวันศิวาราตรี คือวันทำพิธีลอยบาปของพราหมณ์ พระพุทธองค์ได้ประทับ ณ เวฬุวนาราม ( วัดเวฬุวัน ) เมืองราชคฤห์

 

ครั้งนั้นได้มีพระอรหันต์ขีณาสพเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ คือพระอรหันต์ซึ่งอยู่ในคณะของพระอุรุเวลกัสสปเถระ พระนทีกัสสปเถระ และพระคยากัสสปเถระรวม ๑,๐๐๐ องค์ กับพระอรหันต์ซึ่งอยู่ในคณะของพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานะเถระ ๒๕๐ องค์ รวมทั้งสองคณะเป็น ๑,๒๕๐ องค์ ได้พร้อมกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเห็นเป็นนิมิตอันดี จึงได้เสด็จท่ามกลางพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์นั้นแสดง โอวาทปาติโมกข์ ทรงทำวิสุทธิอุโบสถประทานธรรมอันเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาสำหรับพระสาวกสืบไป

 

๏ การมาชุมนุมของพระสาวกของพระพุทธองค์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่แปลกกว่าทุกคราวในสมัยพุทธกาล เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

 

- พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายมาก่อน
- พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุคือพระพุทธองค์อุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง
- พระสงฆ์เหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
- ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ ( ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ )

 

โอวาทปาติโมกข์ : คือหลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสเป็พระคาถา รวม ๓ พระคาถาครึ่งดังนี้

 

พระคาถาที่ ๑
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ

 

พระคาถาที่ ๒
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ

 

พระคาถาที่ ๓
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ

 

ครึ่งพระคาถา
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ

 

ใจความแห่งพระปาติโมกข์ นั้น มีดังนี้

 

ในพระคาถาที่ ๑ พระองค์ทรงแสดงถึงคุณธรรมคือขันติ ความอดทนอดกลั้น ว่าเป็นเครื่องอุดหนุนให้บุคคลบรรลุบรมธรรมคือพระนิพพาน พร้อมทั้งทรงแสดงลักษณะของบุคคลผู้เป็นบรรพชิตหรือสมณะไว้ว่า บุคคลผู้ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้ลำบาก หาชื่อว่าเป็นบรรพชิตหรือสมณะไม่

 

ในพระคาถาที่ ๒ พระองค์ทรงแสดงถึงหลักคำสอนที่สำคัญซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกได้นำไปใช้เป็นหลักในการเผยแพร่และสั่งสอนไว้ ๓ ประการคือ

 

๑ เว้นจากทุจริต คือการประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ( ไม่ทำชั่ว )
๒ ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ( ทำแต่ความดี )
๓ ทำจิตใจของตนให้หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง ( ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว )

 

ในพระคาถาที่ ๓ กับอีกครึ่งพระคาถา พระองค์ทรงแสดงถึงปฏิปทา ข้อสำหรับปฏิบัติตนของพระสงฆ์สาวก ๖ ประการคือ

 

๑ ห้ามมิให้ว่าร้ายผู้อื่น
๒ ห้ามมิให้เบียดเบียนผู้อื่น
๓ ต้องสำรวมในพระปาติโมกข์ คือไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทบัญญัติ
๔ ต้องรู้จักประมาณในการแสวงหาและในการบริโภคใช้สอย
๕ ควรอยู่ในสถานที่อันสงบเงียบ เพื่อ
๖ ประกอบความเพียรในอธิจิต คือชำระจิตให้ปราศจากนิวรณธรรมูปกิเลส มีกามฉันท์เป็นต้น เพื่อให้เกิดมีสมาธิและปัญญา รู้เท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในที่สุด

 

๏ ตั้งแต่นั้นมา ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือนพระองค์ก็ทรงยกขึ้นตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ในที่ประชุมเสมอ แต่ภายหลังได้ทรงยกเลิกเสีย แล้วทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์เอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มาสวดในที่ประชุมแทน ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า สวดปาติโมกข์ หรือ ลงปาติโมกข์ นั่นเอง

 

 

ในช่วงบ่ายของวันนี้ได้จำพิมพ์ตารางออกอากาศจนเสร็จสมบูรณ์แล้วทำการช่วยครูพี่เลี้ยงพี่วุธในการบันทึกสำเนารายการดาดฟ้าท้าทดลองจำนวน 2 ม้วนแล้วเสร็จเวลา 17.00น.เดินทางกลับที่พัก
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14569เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท