ผลสัมฤทธิ์ของ KM วัดได้อย่างไร? (1)


เราอาจจะกำลังสร้างจุดอ่อน ให้กับประเทศโดยไม่ตั้งใจ

ฟ้าครับ

หมู่นี้หน่วยงานของผม คือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มักจัดประชุมเพื่อคุยกันเป็นการภายใน ทุกครั้งจะต้องไปต่างจังหวัดใกล้ ๆ กรุงเทพฯ ถ้าไม่เขาใหญ่ก็พัทยา

ต้นเหตุของการที่ต้องหารือกันบ่อย ๆ ก็ไม่มีอะไร คือเรากำลังอยู่ในช่วงทบทวนตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ กระบวนการนี้ทำกันอย่างกว้างขวางจริงจังทั่วทั้งองค์กรที่มีคนทำงานอยู่นับเป็นพัน ๆ ทำให้เราต้องมาต้องสุมหัวกันคิดเรื่องนี้อย่างให้เวลากับมันพอเพียง ไม่สุกเอาเผากิน และไม่ใช่ทำเพราะเป็นแฟชั่น

นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย...

ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้องค์กรวิจัยและพัฒนา (โดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์) มักถูกบังคับจากผู้ถือหุ้นใหญ่ (สำหรับหน่วยงานของรัฐคือนักการเมืองและกลไกรัฐบาล เช่น สำนักงบฯ) ให้ทำผลงานออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์กลายเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่สำคัญที่สุดที่องค์กรเหล่านี้จะต้องวิ่งไล่ตาม และล่ามาเป็นอาหารเย็นให้ได้ทุกวัน

KPI

ผลก็คือ การสร้างฐานความรู้ให้กับประเทศเพื่อเป็นทุนทางปัญญาสำหรับใช้ในระยะยาว สำหรับเป็นภูมิป้องกันหรือกอบกู้ประเทศให้พ้นจากวิกฤติ (เมื่อเวลานั้นมาถึง) จึงถูกทำให้ต้องละเลยไป (หรือเปล่า?) ทั้ง ๆ ที่น่าจะเป็นหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วย

หากเราเน้นแต่ KPI ที่เป็นวัตถุและนับได้เป็นชิ้นๆเราอาจจะกำลังสร้างจุดอ่อนให้กับประเทศโดยไม่ตั้งใจ ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ หรือรับมือกับปัญหาความจำเป็นในอนาคตก็เป็นได้

ยังไม่ถึงเรื่อง KM เลย งั้นเดี๋ยวจะมาเล่าต่ออีกนะครับ

หมายเลขบันทึก: 14563เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท