ยุทธศาสตร์ชุมชนอินทรีย์ นครศรีธรรมราช(2)


ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่สามารถกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องและยากจะประเมินผลเมื่อการดำเนินงานสิ้นสุดในรายปีและระยะ3ปีตามที่วางไว้

คณะทำงานชุดนี้มีทั้งสิ้น22คน ครอบคลุมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาข้างต้นทั้งหมด
ข้อสรุปที่ได้คือ

1)โครงสร้างคำสั่งซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน ที่ประชุมมอบหมายให้ผู้แทนจากสำนักงานจังหวัดคือหัวหน้าพลอยเป็นหัวหน้ากองเลขานุการ โดยมีเลขาฯจากคณะทำงาน/โครงการต่างๆร่วมทีม   มีมติให้จัดส่งรายชื่อทีมงานในคำสั่งต่างๆมาร่วมกันพิจารณาเพื่อจัดทำคำสั่งใหม่(ตามความจำเป็น)ให้ประสานสอดคล้องกัน

ผมขอแจ้งทีมเลขาผ่านblogในส่วนที่ผมร่วมเป็นคณะกรรมการของจังหวัด (ไม่รวมคณะทำงานพัฒนาและบูรณาการ) ดังนี้

1.คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชปีพ.ศ.2550-2551  
ตำแหน่ง คณะกรรมการอำนวยการ คำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชที่493/2550
2.คณะกรรมการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัด      
ตำแหน่ง คณะทำงานฝ่ายติดตามและประเมินผล คำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราขที่9/2550
3.คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมจังหวัดนครศรีธรรมราช        
4.คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดนครศรีธรรมราช        
ตำแหน่ง กรรมการ คำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชที่1472/2550
5.คณะทำงานจัดทำข้อเสนอวิสัยทัศน์เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชปี2551  
ตำแหน่ง คณะทำงาน คำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชที่978/2550
 

2)มีข้อเสนอให้ทบทวนผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาเพื่อสรุปเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามข้อเสนอวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ปี2551-2553 ซึ่งใช้กรอบการเคลื่อนงานของชุมชนอินทรีย์เป็นแนวทางหลัก โดยผมเสนอให้แบ่งคณะทำงานเป็น2ทีมย่อยคือ

1)ทีมสร้างความเข้าใจและสนับสนุนกระบวนการชุมชน
2)ทีมติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนายกระดับ (ตามวาระเพื่อพิจารณาของการประชุม)
โดยให้ทั้ง2ทีมจัดประชุมทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาเพื่อร่วมกันกำหนดฐานตั้งต้นของการพัฒนาที่ระบุความเข้มแข็งในระดับครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบลและชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ปัจจุบัน ก่อนที่จะดำเนินการตามแผนพัฒนาในปี2551จนถึงปี2553 ที่ได้ตั้งเป้าไว้
ซึ่งกระบวนการที่ว่านี้ ต้องมาจากการมีส่วนร่วมของครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบลและชุมชนตามกรอบ 5 ประการที่วางไว้เบื้องต้น (ชุมชนต้องร่วมกำหนดด้วย)
ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่สามารถกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องและยากจะประเมินผลเมื่อการดำเนินงานสิ้นสุดในรายปีและระยะ3ปีตามที่วางไว้ เช่น
ในเป้าหมายที่มาจากกลยุทธ์กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ณปัจจุบันคือทำครบ1550หมู่บ้าน
คุณภาพระดับ
Aจำนวน310หมู่บ้าน
ระดับ
Bจำนวน698หมู่บ้าน
ระดับ
C
จำนวน542หมู่บ้าน
เป้าหมายการพัฒนาในปี2551คือเรื่องคุณภาพที่จะขยายระดับ
A Bให้เพิ่มขึ้น และเชื่อมโยงเป็นระดับตำบล ที่ตั้งเป้าไว้คือ
ปี2551ระดับ
Aเพิ่มเป็น775หมู่บ้าน
ระดับ
B310หมู่บ้าน เป็นต้น

การเชื่อมโยงแผนระดับตำบลในปี2550

ระดับAไม่มี
ระดับ
Bจำนวน 74ตำบล
ระดับ
C จำนวน 91ตำบล
ก็จะขยายการเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นในปี2551
เป็นระดับ
A จำนวน 23 ตำบล
ระดับ
B จำนวน 51 ตำบล
ระดับ
C จำนวน 91ตำบล เป็นต้น

ตัวชี้วัดในกลยุทธ์นี้ คือ
คุณภาพของกระบวนการแผน(ที่นำสู่การปฏิบัติ/พึ่งตนเองอย่างเหมาะสม/เกิดการเรียนรู้ เป็นต้น)
ข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพที่ระบุไว้ในปี2550 มาจากไหน และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพระดับ
A B C มาจากไหน ใครกำหนด เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นฐานของการพัฒนาซึ่งได้ตั้งเป้าต่อเนื่องไว้ในปี2551จนถึงปี 2553 ซึ่งต้องใช้ในการติดตามประเมินผล

ตัวชี้วัดในกลยุทธ์อื่นๆก็เช่นกัน

ผมคิดไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไรให้การดำเนินงานขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งจังหวัดเป็นไปตามตามที่คิดฝันไว้
ถ้าเป็นโครงการนำร่องที่ทำเพียง 3 ตำบลก็คงจะง่าย แต่พอขยายให้ครอบคลุม   ทำให้ต้องทำงานกับกลไกขับเคลื่อน ทั้งการสร้างความเข้าใจ การเรียนรู้พัฒนาตนเองให้สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพในทุกระดับ เป็นเรื่องที่พวกเราได้คิดได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง ผมนำเสนอที่ประชุมตอนท้ายโดยอ้างคนนอกที่เฝ้ามองการทำงานของนครศรีธรรมราชว่า
แม้จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดและปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งกล้าสามารถ แต่ระดับรองฯไม่เอาด้วยก็ยากจะพัฒนาให้เป็นไปตามที่คาดหวังได้
อย่างไรก็ตาม พวกเราได้ช่วยกันสร้างพลังด้วยการให้กำลังใจกันว่า แม้ระดับรองฯจะไม่ขยับสักเท่าไร แต่ระดับกลางคือพวกเราที่มีรายชื่อในคณะทำงานพัฒนาและบูรณาการ เป็นต้น ก็จะผนึกกำลังกันเป็นทีมเรียนรู้ที่จะฝ่าฟันอุปสรรคที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้

วันที่9พ.ย. จะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป  อ.จำนงเสนอให้ทีมงานในคณะทำงานพัฒนาและบูรณาการอินทรีย์เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานโรงเรียนคุณเอื้ออำนวยกิจในช่วงเช้า ซึ่งผมถือว่าเป็นการใช้กระบวนการขับเคลื่อนคนทำงานในกลไกต่างๆให้เกิดการบูรณาการพร้อมๆกับการเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วย
ผมเสนอให้ใช้แนวทางโรงเรียนคุณเอื้ออำนวยกิจโดยกระบวนการจัดการความรู้เป็นตัวหมุนตราสังข์ที่มัดร่างคนทำงานในระบบที่ยังติดขัดอยู่ให้หลุดออกมาเป็นเสรีไทยเพื่อพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชให้เจริญก้าวหน้าตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ชุมชนอินทรีย์ที่ตั้งไว้
หมายเลขบันทึก: 144760เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท