เรียนรู้ที่กัมพูชา : หาช่องทางแก้ปัญหา


ผมใช้วิธีการตั้งคำถามให้ผู้สอนได้คิด

     ในบันทึกที่แล้วผมได้พยายามปรับจูนทัศนคติของผู้เรียน ให้ลดความกลัวแล้วกล้าบอกความจริง  ซึ่งเป็นลักษณะของการปรับจูนกลุ่มคนที่  มีระดับบังคับบัญชาน้อยกว่าผม  อายุก็น้อยกว่า ประสบการณ์ก็น้อยกว่า ฉะนั้นการพูดคุยกันย่อมง่าย ผมสามารถที่จะเข้าไปพูดคุยได้ด้วยตนเอง...

 

          ยังคงเหลือการปรับจูนทัศนคติของทีมคุณครู จากไทย ซึ่งถ้าเทียบแล้วเป็นพนักงานที่ถือได้ว่าเป็นระดับรุ่นพี่ของผม  ระดับบังคับบัญชาก็สูงกว่า  ประสบการณ์มากกว่า  ที่แน่ๆทำงานเก่งกว่าผมแน่นอน  ซึ่งความเก่งนั้นเป็นการเก่งเกี่ยวกับการ Operation เครื่องจักร แต่อาจจะขาด Skill เรื่องของ คน  เมื่อกลุ่มนี้ถ้าเทียบกันแล้วผมเป็นรองแทบทุกด้าน  หากจะเดินเข้าไปบอกตรงๆ คงลำบาก...แต่มีสิ่งหนึ่งที่พอเห็นทางบ้างก็คือ พี่ๆกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทัศนคติ ดี อยู่แล้ว และมีความสนิทกับผมเป็นการส่วนตัว...

 

          การที่พี่ๆเขามัศนคติที่ดี จึงพอมีช่องทางในการที่ผมจะปรับจูน วิธีการสอนได้ ผมพยายามคิด และหาโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนงานของพี่ๆ...เรียกได้ว่าพยายามจะให้เนียนที่สุด  เพื่อไม่ให้ไปสะดุดอารมณืของพี่ๆได้ ....ผมใช้ขั้นตอนดังนี้ครับ...

 

1.     เป็นพวกเดียวกัน  ผมเข้าไปอยู่ในกลุ่มพี่ๆ โดยเข้าไปช่วยงานเตรียมการสอน อำนวยความสะดวกให้  เรียกได้ว่าพี่เขาใช้อะไรก็ทำล่ะครับ  ช่วยผ่อนแรงพี่ๆ เช่นทำ Slide ให้ ถ่ายรูปที่จะใช้สอนงานให้ ,แม้กระทั่งการจัดหาน้ำให้ดื่ม ฯลฯ การทำเช่นนี้ผมต้องการให้พี่ๆรู้สึกผ่อนคลาย อย่างน้อยก็มีคนช่วยงานอีกคน ผมจะร่วมอยู่กับพี่ๆทุกกระบวนการ แม้แต่เขาบ่น ผมก็บ่นตาม..

 

2.     ตั้งคำถามชวนคิด  ในระหว่างการร่วมทำงาน หากมีโอกาสผมก็จะสอดแทรกคำถามที่ให้พี่ได้คิด เช่น จะถามว่าถ้าสอนแล้วไม่เข้าใจจะทำอย่างไร , เพราะอะไรเขาถึงไม่เข้าใจ...ซึ่งเมื่อถามๆไปพี่ก็จะบ่นว่าน้องๆกัมพูชาไม่สนใจเรียนบ้าง , คุยกันไม่รู้เรื่องบ้าง...

 

3.     ชวนย้อนอดีต..ถ้ามีโอกาสผมก็จะชวนพี่ๆย้อนอดีตโดยการถามอีกเช่นกัน เช่นถามว่า พนักงานกัมพูชาตอนนี้เหมือนเราตอนเข้างานใหม่หรือเปล่า, เราเข้างานใหม่เรียนงานอย่างไร..ซึ่งพอถึงตอนนี้คำตอบที่ได้มาจะเข้าทางผมล่ะครับ..พี่บางคนก็ตอบมาว่า ตอนเข้างานใหม่เวลาพี่สอนนึกภาพไม่ออก แต่ก็ยังดีเพราะคุยภาษาเดียวกัน..

  

ทั้งหมดทั้งสิ้นผมใช้เวลาพอสมควรครับ  ค่อยๆคุยกับพี่ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการคุยเล่นกันบ้าง คุยแบบทีเล่นทีจริง  แต่หวังผลจริงๆนะครับ การถามของผมเพื่อให้พี่ๆได้คิดหาวิธีการสอนงานใหม่  ถึงแม้ผมจะมีคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้วว่าสถานการณ์อย่างนี้จะต้องใช้วิธีไหนสำหรับการสอนงาน  แต่ผมก็ไม่บอกตรงๆ ผมใช้วิธีการตั้งคำถามให้ผู้สอนได้คิด ซึ่งคำถามแต่ละคำถามผมคิดแล้วคิดอีกว่าจะถามอย่างไร ถามแล้วไม่ให้ผู้ฟังรู้สึก หรือแม้บางครั้งผมถามไปก็ไม่ได้หวังผลว่าจะมีคำตอบ แต่หวังผลเพื่อให้ได้คิด พื่อต้องการให้เขารู้สึกว่าเขา คิดได้เอง จะก่อให้เกิดพลังในการปฏิบัติได้ดีกว่า ที่ผมจะเข้าไปบอกตรงๆ สุดท้ายผมใช้เวลาปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ สัปดาห์กว่าๆ พี่ๆเขาเปลี่ยนวิธีการสอนงานครับ...โดยเปลี่ยจากการสอนในห้อง  มาเป็นการพาเรียนที่หน้างานจริงๆ ให้เห็นถึงการทำงานจริงๆ

  หลังจากที่พี่ๆเปลี่ยนวิธีการสอนแล้ว เราได้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างชัด สิ่งแรกที่ได้เห็นก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  มีความเป็นกันเองมากขึ้น ...บรรยากาศการเรียน การสอนเริ่มดี..เท่านี้ผมก็สบายใจแล้วล่ะครับ.. 
หมายเลขบันทึก: 144553เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2007 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท